ประวัติศาสตร์ฝรั่งเศส
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ประวัติศาสตร์ฝรั่งเศส
[แก้] โกล
พวกโกลเป็นชนเผ่าพื้นเมืองโบราณในสมัยโรมันเรืองอำนาจ หลังจากโรมล่มสลายลง พวกโกลกระจัดกระจายอยู่ในแผ่นดินใหญ่ของยุโรป ประวัติศาสตร์ท้าวความไปถึงศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสต์ศักราช จนกระทั่งอาณาจักรโรมันที่อยู่ใต้การปกครองของโกล ล่มสลายด้วยฝีมือของพวกแฟรงก์ในปี ค.ศ. 498
'ไก่' สัญลักษณ์ของประเทศฝรั่งเศส อันเนื่องมาจากว่าไก่เป็นสัตว์เลี้ยงประจำครัวเรือนของชนเผ่าโกล และมีตำนานของชาวโกลที่เชื่อว่าท้องฟ้าจะถล่มลงมาเมื่อไก่ขัน
เพิ่มเติม en:Gaul
[แก้] ฟรองก์
พวกฟรองก์สามารถยึดแผ่นดินจากพวกโกลได้ และนำคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิกเข้ามา พวกฟรองก์เจริญสูงสุดในปี ค.ศ. 771 เมื่อพระเจ้าชาร์เลอมาญ ครองราชสมบัติ และขยายอาณาเขตครองยุโรปแผ่นดินหลัก ไปจนจรดอาณาจักรมุสลิมของพวกสเปน พระเจ้าชาร์เลอมาญได้เป็นผู้ปกครองจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (Holy Roman Empire) ในที่สุด
เพิ่มเติม en:Franks
[แก้] สมัยกลาง
หลังการตายของพระเจ้าชาร์เลอมาญ ฝรั่งเศสต้องประสบปัญหาการบุกรุกของเผ่าไวกิง ทีอพยพลงใต้มายังฝรั่งเศส พระเจ้าชาร์เลอมาญทรงยกนอร์มังดีเมืองนอร์มังดี ในปัจจุบันให้เป็นของพวกไวกิ้งจึงอยู่กันได้อย่างสงบ ชาวนอร์มังดีบางครั้งก็ว่าตนเป็นฝรั่งเศสบางครั้งก็เป็นอังกฤษ อังกฤษเปลี่ยนแผ่นดินก็ยกกำลังผลฝรั่งเศสไปชิงบังลังค์ ได้บังลังค์อังกฤษแล้วก็ยกมาตีฝรั่งเศสใหม่
เพิ่มเติม en:France in the Middle Ages
[แก้] ราชวงศ์วาลัว (ค.ศ. 1328 - ค.ศ. 1589)
ราชวงศ์วาลัว (Valois Dynasty) มีกษัตริย์ปกครอง 14 พระองค์ เริ่มจากพระเจ้าฟิลิปที่ 6 ไปจนถึงพระเจ้าอองรีที่ 3
ในช่วงที่แพ้สงครามกับอังกฤษ ก็เกิดตำนานของโจนออฟอาร์ค (ชาน ดาร์ก) (Joan of Arc) หญิงสาวที่อ้างว่าได้ยินเสียงของพระเจ้าให้มาปลดปล่อยฝรั่งเศส
ราชวงศ์วาลัวได้รับผลกระทบอย่างหนักในช่วงที่เกิดการแตกนิกายโปรเตสแตนต์ ออกจากนิกายโรมันคาทอลิก และส่งผลให้เกิดสงครามศาสนาในที่สุด
เพิ่มเติม en:Valois Dynasty
[แก้] สงครามศาสนา
เริ่มตั้งแต่ยุคของพระนางแคเทอรีน เดอ เมดิซี ที่ต้องถ่วงดุลอำนาจระหว่างพวกบูร์บง ซึ่งนับถือนิกายโปรเตสแตนต์ กับพวกกีส ซึ่งเป็นฝ่ายโรมันคาทอลิก
สงครามศาสนาจบลงด้วยการลอบปลงพระชนม์พระเจ้าอองรีแห่งกีส และพระเจ้าอองรีที่ 3 ในปี ค.ศ. 1589 พระเจ้าอองรีที่ 4ซึ่งเป็นโปรเตสแตนต์ ได้ขึ้นครองราชย์ และเริ่มต้นราชวงศ์บูร์บง
เพิ่มเติม en:French Wars of Religion
[แก้] ราชวงศ์บูร์บง (ค.ศ. 1859 - ค.ศ. 1793)
เพิ่มเติม ราชวงศ์บูร์บง
[แก้] พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 (ค.ศ. 1643 - ค.ศ. 1715)
พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 เป็นกษัตริย์ที่ปรีชาสามารถ และรวมเอาภาพของประเทศเข้ากับตัวกษัตริย์ เป็นที่มาของคำพูดว่า
"L'État, c'est moi!" (I am the state!) ซึ่งหมายถึง "รัฐ คือตัวข้า"
เป็นผู้เริ่มก่อสร้างพระราชวังแวร์ซาย (Versailles) และตรงกับสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชของไทย
[แก้] พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 (ค.ศ. 1754 - ค.ศ. 1793)
พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ทรงอภิเษกสมรสกับพระนางมารี อองตัวเนต การใช้ชีวิตในราชสำนักอย่างฟุ่มเฟือยทำให้เกิดการปฏิวัติฝรั่งเศส ทั้งสองพระองค์โดนประหารด้วยกีโยตินในปี ค.ศ. 1793ซึ่งการถูกประหารของทั้ง 2 พระองค์ ทำให้เกิดแนวคิดการปฏิวัติเป็นแรงผลักดันที่ทำให้ประชาชนในประเทศยุโรปเริ่มทำการต่อต้าน กษัตริย์ของตนเอง เพื่อให้พวกเขาได้ปลดแอกเป็นอิสระ และในขณะที่ประหารนั้น ประชาชนได้มามุงดูเพื่อจะดูว่า สีเลือดของกษัตริย์นั้นเป็น สีน้ำเงินหรือสีแดง ปรากฏเลือดเป็นสีแดง ทำให้พวกเขาได้ทราบว่าสีเลือดของกษัตรฺย์นั้นไม่ได้แตกต่างกับพวกตน ทำให้เกิดความเชื่อที่ว่ากษัตริย์ก็เหมือนพวกเขานั่นเอง
[แก้] การปฏิวัติฝรั่งเศส (ค.ศ. 1793 - ค.ศ. 1804)
บทความหลัก การปฏิวัติฝรั่งเศส
หลังจากนั้นเป็นการปกครองแบบประชาธิปไตย โดยเรียกว่ายุคสาธารณรัฐที่ 1 ซึ่งมีเปลี่ยนรูปแบบการปกครองสามครั้ง ดังนี้
[แก้] สมัชชาแห่งชาติ (ค.ศ. 1792 - ค.ศ. 1795)
หลังการปฏิวัติฝรั่งเศส ได้มีการร่างรัฐธรรมนูญ และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ซึ่งเลือกตั้งโดยชายชาวฝรั่งเศสที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไป ซึ่งนับเป็นการใช้สิทธิ์ออกเสียงครั้งแรกของโลก ที่ไม่ได้แบ่งแยกชนชั้นที่มีสิทธิ์เลือกตั้ง มีสมาชิกในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ 183 คน
การปกครองนำโดยคณะกรรมการซึ่งมีหลายชุด ที่มีชื่อเสียงคือ 'คณะกรรมาธิการความปลอดภัยแห่งสาธารณะ' และ 'คณะกรรมาธิการความมั่นคงทั่วไป'
เพิ่มเติม en:National_Convention
[แก้] การปกครองโดยคณะมนตรี (ค.ศ. 1795 - ค.ศ. 1799)
ช่วงที่การปกครองแบบใหม่ยังไม่เข้ารูปเข้ารอย มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาใหม่หลายครั้ง และสุดท้ายอำนาจการปกครองตกไปอยู่ในมือของคณะมนตรี ซึ่งประกอบด้วยผู้มีอำนาจ 5 คนคานอำนาจกันอยู่
นโปเลียน โบนาปาร์ต เกิดในปีค.ศ. 1769 ที่เกาะคอร์ซิกา ซึ่งอยู่ทางใต้ของประเทศฝรั่งเศสในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เป็นทหารในกองทัพฝรั่งเศสที่มีความสามารถ หลังจากทำศึกได้ชัยชนะต่ออิตาลี และออสเตรียในปีค.ศ. 1797 ทางรัฐบาลเกรงว่านโปเลียนจะเป็นอันตรายต่อ จึงถูกส่งไปยังอียิปต์ เพื่อตรวจสอบความเคลื่อนไหวของอังกฤษในอินเดีย นโปเลียนแพ้สงครามแห่งแม่น้ำไนล์ ให้กับอังกฤษ และถูกเรียกตัวกลับในปีค.ศ. 1799
เพิ่มเติม en:French Directory
[แก้] การปกครองโดยคณะกงสุล (ค.ศ. 1799 - ค.ศ. 1804)
ค.ศ. 1799 นายพลนโปเลียน โบนาปาร์ต ยึดอำนาจจากคณะมนตรี และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกงสุลคนแรกของสาธารณรัฐฝรั่งเศส ซึ่งเป็นผู้ปกครองที่มีอำนาจสูงสุด นโปเลียนดำรงตำแหน่งกงสุลในปี ค.ศ. 1799 - ค.ศ. 1803 ก่อนที่นโปเลียนจะสถาปนาตนเองขึ้นเป็นจักรพรรดิในเวลาต่อมา
หลังจากนั้นฝรั่งเศสต้องเปลี่ยนแปลงการปกครองอีกหลายครั้ง สลับกันระหว่างแบบกษัตริย์ กับแบบสาธารณรัฐ จนกระทั่งปัจจุบัน
เพิ่มเติม en:French Consulate
[แก้] จักรวรรดิที่ 1 (ค.ศ. 1804 - ค.ศ. 1815)
ในช่วงจักรวรรดิที่ 1 มีเหตุการณ์สำคัญดังต่อไปนี้
- ค.ศ. 1804 นโปเลียนสถาปนาตัวเองเป็นจักรพรรดิ และนับเริ่มยุคของจักรวรรดิฝรั่งเศสตั้งแต่นั้น
- ค.ศ. 1805 ความพยายามของฝรั่งเศสร่วมกับสเปนในสงครามทางทะเลเพื่อล้มอังกฤษล้มเหลว ลอร์ดเนลสันได้ชัยชนะที่แหลมทราฟัลการ์ในสเปน (สงครามที่ทราฟัลการ์) และส่งผลให้อังกฤษได้เป็นเจ้าทะเลในช่วงศตวรรษที่ 18 นโปเลียนจึงเบนความสนใจมายังภาคพื้นทวีปแทน
- ค.ศ. 1805 นโปเลียนได้ชัยชนะต่อออสเตรียซึ่งมีรัสเซียหนุนหลัง ในสงครามที่ ออสเตอร์ลิตซ์
- ค.ศ. 1812 นโปเลียนแพ้ในการบุกรุกเข้าไปในพรมแดนรัสเซียเนื่องจากเผชิญกับอากาศที่หนาวเหน็บ ทหารฝรั่งเศสเหลือเพียง 1 หมื่นคน จาก 6 แสนคนในตอนแรก
- ค.ศ. 1813 ชาติต่างๆ ในยุโรปรวมตัวกันต่อสู้กับฝรั่งเศส ในสงครามนานาชาติ ที่เมืองไลปซิก ฝ่ายพันธมิตรชนะ และทำให้ดินแดนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำไรน์เป็นของประเทศเยอรมนี
- ค.ศ. 1814 ประเทศอังกฤษ ปรัสเซีย รัสเซีย และออสเตรีย รวมกำลังกันยึดปารีสได้ในเดือนมีนาคม นโปเลียนถูกบังคับให้สละบัลลังก์ และถูกเนรเทศไปยังเกาะเอลบา (Elba) ในทะเลเมดิเตอเรเนียน นับเป็นการสิ้นสุดยุคจักรวรรดิที่ 1
เพิ่มเติม en:First French Empire
[แก้] ยุคราชวงศ์ฟื้นฟู
หลังจากเอาชนะนโปเลียนได้ ฝ่ายพันธมิตรได้ฟื้นฟูราชวงศ์บูร์บง ขึ้นมาใหม่ โดยมีกษัตริย์สององค์คือ
และหลุยส์-ฟิลิปที่ 1 ได้ตั้งราชวงศ์ออร์เลออง ซึ่งมีกษัตริย์เพียงพระองค์เดียว จนถึงการปฏิวัติ ค.ศ. 1948 ในฝรั่งเศส
ในสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 18 (Louis XVIII) ปี ค.ศ. 1815 นโปเลียนได้หลบหนีออกมาจากเกาะเอลบา และเผชิญหน้ากับกองทัพที่พระเจ้าหลุยส์ที่ 18ส่งมา นโปเลียนเดินเข้าหาเหล่าทหารและพูดว่า "ทหารคนไหนต้องการยิงจักรพรรดิของท่าน เชิญยิงได้เลย" ("If any man would like to shoot his emperor, he may do so") ทหารทุกคนหันมาอยู่ข้างนโปเลียนและนโปเลียนได้ยึดฝรั่งเศสเป็นเวลา 100 วัน
ดยุคแห่งเวลลิงตัน (Duke of Wellington) (อังกฤษ) และนายพลบลือเชอร์ (Gebhard Leberecht von Blücher) (เยอรมัน) ได้เอาชนะนโปเลียนในการรบที่วอเตอร์ลู (Battle of Waterloo) ในเบลเยียม คืนอำนาจให้พระเจ้าหลุยส์ที่ 18 และเนรเทศนโปเลียนไปยังเกาะแซงเตแลน (เซนต์เฮเลนา) นอกชายฝั่งแอฟริกาตะวันตก นโปเลียนเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1821
[แก้] สาธารณรัฐที่ 2 (ค.ศ. 1848 - ค.ศ. 1852)
หลุยส์ นโปเลียน (Louis Napoleon) หลานลุงของนโปเลียน ซึ่งหลบหนีไปยังอังกฤษในปี ค.ศ. 1846 ได้กลับมารับเลือกตั้ง และได้เป็นประธานาธิบดีคนแรกของสาธารณรัฐฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1848
ในปี ค.ศ. 1852 เขาสถาปนาตัวเองเป็นจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 และเริ่มยุคจักรวรรดิที่สอง
เพิ่มเติม en:French Second Republic
[แก้] จักรวรรดิที่ 2 (ค.ศ. 1852 - ค.ศ. 1870)
จักรพรรดินโปเลียนที่ 3 แพ้สงคราม en:Franco-Prussian War ให้แก่นายกรัฐมนตรีบิสมาร์ค (Otto von Bismarck) ของเยอรมัน และถูกล้มล้างจากคณะปฏิวัติ หลุยส์ นโปเลียน ตายในปี ค.ศ. 1873 ที่ประเทศอังกฤษ
เพิ่มเติม en:French Second Empire
[แก้] สาธารณรัฐที่ 3 (ค.ศ. 1870 - ค.ศ. 1940)
เป็นระบอบสาธารณรัฐที่อยู่ได้นานถึง 70 ปีจนกระทั่งการบุกของเยอรมันในสงครามโลกครั้งที่ 2
เพิ่มเติม en:French Third Republic
[แก้] ฝรั่งเศสยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ. 1940 - ค.ศ. 1946)
หลังจากถูกนาซีเยอรมันยึดกรุงปารีสได้ นาซีได้ตั้งรัฐบาลหุ่นฝรั่งเศสขึ้นที่เมืิองวิชี รัฐบาลในช่วงนี้จึงเรียกว่า วิชีฝรั่งเศส อีกด้านหนึ่งนายพลชาลส์ เดอ โกล ได้ตั้งแนวร่วมปลดปล่อยฝรั่งเศส (France Libre หรือ en:Free French Forces) ที่กรุงลอนดอนเพื่อต่อต้านนาซีและรัฐบาลวิชีฝรั่งเศส ในขณะนั้น
[แก้] สาธารณรัฐที่ 4 (ค.ศ. 1946 - ค.ศ. 1958)
รัฐบาลใหม่หลังสงครามโลกครั้งที่สองมีบทบาทในสงครามอินโดจีนครั้งแรก และพ่ายแพ้ต่อเวียตนามเหนือที่นำโดยโฮจิมินห์ โดยเฉพาะการศึกที่เดียนเบียนฟู รัฐบาลในช่วงนี้ไม่มีเสถียรภาพ และเหตุการณ์สุกงอมเมื่อปี 1958 ฝรั่งเศสแพ้สงครามที่แอลจีเรีย ปลดปล่อยอิสรภาพ (en:Algerian War) นายพลชาลส์ เดอ โกลจึงยึดอำนาจและร่างรัฐธรรมนูญใหม่เป็นสาธารณรัฐที่ 5
เพิ่มเติม en:French Fourth Republic
[แก้] สาธารณรัฐที่ 5 (ค.ศ. 1958 - ปัจจุบัน)
นายพลชาร์ล เดอ โกลใช้ระบบประธานาธิบดีที่เลือกตั้งจากประชาชนโดยตรง แทนระบบรัฐสภาแบบเดิม ซึ่งคงอยู่มาถึงปัจจุบัน สาธารณรัฐที่ 5 ของฝรั่งเศสมีประธานาธิบดีมาทั้งหมด 5 คนดังนี้
- นายพลชาลส์ เดอ โกล ค.ศ. 1958 - ค.ศ. 1969
- ชอร์ช ปงปีดู ค.ศ. 1969 - ค.ศ. 1974
- วาเลรี ชีสการ์ แดสแตง ค.ศ. 1974 - ค.ศ. 1981
- ฟรองซัว มีแตรอง ค.ศ. 1981 - ค.ศ. 1995
- ชาก ชีรัก ค.ศ. 1995 - ปัจจุบัน
เพิ่มเติม en:French Fifth Republic
[แก้] อ้างอิง
- History of France, วิกิพีเดียฉบับภาษาอังกฤษ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ประวัติศาสตร์ฝรั่งเศส - ประเทศฝรั่งเศส |