พระนามทรงกรมของพระราชโอรส พระราชธิดาในรัชกาลที่ ๕
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระนามทรงกรมของพระราชโอรส พระราชธิดาในรัชกาลที่ ๕ ตั้งตามชื่อหัวเมืองในราชอาณาจักร
- สุพรรณภาควดี - พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีวิไลยลักษณ์ กรมขุนสุพรรณภาควดี (พ.ศ. ๒๔๑๑-๒๔๔๗)
- พิจิตรเจษฎ์จันทร์ - สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจันทราสรัทวาร กรมขุนพิจิตรเจษฎ์จันทร์ (พ.ศ. ๒๔๑๖-๒๔๔๗)
- สวรรคโลกลักษณาวดี - สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าเยาวมาลย์นฤมล กรมขุนสวรรคโลกลักษณวดี (พ.ศ. ๒๔๑๖-๒๔๕๒)
- จันทบุรีนฤนาถ - พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ (พ.ศ. ๒๔๑๗-๒๔๗๔)
- ราชบุรีดิเรกฤทธิ์ - พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ (พ.ศ. ๒๔๑๗-๒๔๖๓)
- ปราจิณกิติบดี - พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประวิตรวัฒโนดม กรมหลวงปราจิณกิติบดี (พ.ศ. ๒๔๑๘-๒๔๖๒)
- นครไชยศรีสุรเดช - พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช (พ.ศ. ๒๔๑๙-๒๔๕๖)
- รัตนโกสินทร - สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าสุทธาทิพยรัตน์ สุขุมขัตติยกัลยาวดี กรมหลวงศรีรัตนโกสินทร (พ.ศ. ๒๔๒๐-๒๔๖๕)
- เทพนารีรัตน์ - สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าพาหุรัดมณีมัย กรมพระเทพนารีรัตน์ (พ.ศ. ๒๔๒๑-๒๔๓๐)
- ชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ - พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ (พ.ศ. ๒๔๒๓-๒๔๖๖)
- เทพทวาราวดี - พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (สมเด็จฯ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ กรมขุนเทพทวาราวดี พ.ศ. ๒๔๓๑) (พ.ศ. ๒๔๒๓-๒๔๖๘)
- นครสวรรค์วรพินิต - สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต (พ.ศ. ๒๔๒๔-๒๔๘๗)
- มไหสูริยสงขลา - (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมขุนมไหสูริยสงขลา พ.ศ. ๒๔๓๔ ต่อมาโปรดให้เปลี่ยนนามกรมเป็น กรมขุนนครสวรรค์วรพินิต เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๔)
- กำแพงเพ็ชรอัครโยธิน - พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน (พ.ศ. ๒๔๒๔-๒๔๗๙)
- ศรีธรรมราชธำรงค์ฤทธิ์ - สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าสมมติวงศ์วโรทัย กรมขุนศรีธรรมราชธำรงฤทธิ์ (พ.ศ. ๒๔๒๕-๒๔๔๒)
- พิไชยมหินทโรดม - พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม (พ.ศ. ๒๔๒๕-๒๔๕๓)
- พิษณุโลกประชานาถ - สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ (พ.ศ. ๒๔๒๕-๒๔๖๓)
- ลพบุรีราเมศวร์ - สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลฑิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศร์ (พ.ศ. ๒๔๒๕-๒๔๗๕)
- ลพบุราดิศร - (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลฑิฆัมพร กรมขุนลพบุราดิศร พ.ศ. ๒๔๓๔ ต่อมาโปรดให้เปลี่ยนนามกรมเป็น กรมขุนลพบุรีราเมศวร เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๙)
- สิงหวิกรมเกรียงไกร - พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวุฒิไชยเฉลิมลาภ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร (พ.ศ. ๒๔๒๖-๒๔๙๐)
- เพชรบุรีราชสิรินธร - สมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร (พ.ศ. ๒๔๒๗-๒๔๘๑)
- สรรควิสัยนรบดี - พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ กรมหมื่นสรรควิสัยนรบดี (พ.ศ. ๒๔๒๗-๒๔๕๕)
- ไชยาศรีสุริโยภาส - พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุริยงประยุรพันธ์ กรมหมื่นไชยาศรีสุริโยภาส (พ.ศ. ๒๔๒๗-๒๔๖๒)
- ศรีสัชนาลัยสุรกัญญา - สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามาลินีนพดารา กรมขุนศรีสัชนาลัยสุรกัญญา (พ.ศ. ๒๔๒๘-๒๗๖๗)
- ชัยนาทนเรนทร - สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร (พ.ศ. ๒๔๒๘-๒๔๙๓)
- อู่ทองเขตขัตติยนารี - สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้านิภานภดล กรมขุนอู่ทองเขตขัตติยนารี (พ.ศ. ๒๔๒๙-๒๔๗๔)
- นครราชสีมา - สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา (พ.ศ. ๒๔๓๒-๒๔๖๗)
- สงขลานครินทร์ - สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก (พ.ศ. ๒๔๓๔-๒๔๗๒)
- เพ็ชรบูรณ์อินทราชัย - สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย (พ.ศ. ๒๔๓๕-๒๔๖๖)
- สุโขทัยธรรมราชา - พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (สมเด็จฯ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมขุนสุโขทัยธรรมราชา พ.ศ. ๒๔๔๘) (พ.ศ. ๒๔๓๖-๒๔๘๔)
ในจำนวนนี้ มี ๘ พระองค์ ที่เป็นพระราชธิดา คือ กรมขุนสุพรรณภาควดี กรมขุนพิจิตรเจษฎ์จันทร์ กรมขุนสวรรคโลกลักษณวดี กรมหลวงศรีรัตนโกสินทร กรมพระเทพนารีรัตน์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร กรมขุนศรีสัชนาลัยสุรกัญญา และกรมขุนอู่ทองเขตขัตติยนารี
[แก้] ดูเพิ่ม
- ราชสกุล
- พระมเหสี เจ้าจอม พระราชโอรส และ พระราชธิดา ในรัชกาลที่ ๔
- พระราชนิพนธ์โคลงสี่สุภาพ รายพระนามพระราชโอรส-พระราชธิดา ในรัชกาลที่ ๔
- พระมเหสี เจ้าจอม พระราชโอรส และ พระราชธิดา ในรัชกาลที่ ๕
- พระนามทรงกรมของพระราชโอรส พระราชธิดาในรัชกาลที่ ๔
- พระบรมฉายาลักษณ์ พระราชโอรสที่ทรงเป็นต้นราชสกุล ในรัชกาลที่ ๔