พระมเหสี เจ้าจอม พระราชโอรส และ พระราชธิดา ในรัชกาลที่ ๔
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชโอรส-ธิดา ทั้งหมด ๘๒ พระองค์ พระนามของพระราชโอรส-ธิดานั้น ทรงเลือกพระราชทานด้วยพระองค์เอง ทั้งยังทรงผูกดวงพระชะตากำกับคาถาพระราชทานพรไว้ด้วยทุกพระองค์ มักจะทรงตั้งพระนามพระราชโอรสธิดาที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเดียวกัน คล้องจองเป็นชุด เช่น
- จุฬาลงกรณ์-จันทรมณฑล-จาตุรนต์รัศมี-ภาณุรังษีสว่างวงศ์
- อุณากรรณ-เทวัญ-สุนันทา-สว่างวัฒนา-เสาวภาผ่องศรี-สวัสดิโสภณ
[แก้] พระภรรยาเจ้า
[แก้] พระอัครมเหสี
รัชกาลที่ ๔ ทรงมีพระอัครมเหสีเพียงพระองค์เดียวคือ
[แก้] สมเด็จพระนางเจ้า โสมนัสวัฒนาวดี
สมเด็จพระนางเจ้า โสมนัสวัฒนาวดี ทรงเป็นพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้รับสถาปนาเป็น พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าโสมนัสวัฒนาวดี เมื่อมีพระชนมายุได้ ๑๘ พรรษา นับเป็นพระราชนัดดาที่ดำรงพระอิสริยยศเป็น พระเจ้าหลานเธอ เพียงพระองค์เดียวในรัชกาลที่ ๓
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ขึ้นเสวยสิริราชสมบัติ ก็จึงทรงสถาปนาพระนางเป็น สมเด็จพระนางเธอโสมนัสวัฒนาวดี พระนางนาฎบรมอัครราชเทวี ตรงกับวันอาทิตย์ที่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๓๙๔ นับเป็นสมเด็จพระอัครมเหสีพระองค์แรก แต่ก็ได้ทรงดำรงพระอิสริยยศอยู่เพียง ๙ เดือนเท่านั้น ก็สวรรคต
ทรงมีพระราชโอรส ๑ พระองค์ เรียกกันโดยทั่วไปว่า สมเด็จเจ้าฟ้าโสมนัส ซึ่งสิ้นพระชนม์ในวันประสูติ
ในรัชกาลที่ ๖ มีพระบรมราชโองการให้ออกพระนามาภิไธยว่า สมเด็จพระนางเจ้าโสมนัสวัฒนาวดี ตามที่ทรงเป็นสมเด็จพระอัครมเหสีในรัชกาลที่ ๔ หากแต่มิได้เป็นพระราชชนนีในพระมหากษัตริย์รัชกาลต่อๆ มา
[แก้] พระมเหสี
นอกจากนี้ยังทรงมีพระมเหสี (พระภรรยาเจ้า) อีก ๒ พระองค์คือ
[แก้] สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี
สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี พระนามเดิม หม่อมเจ้ารำเพย ศิริวงศ์ ต่อมา คือ พระนางเธอ พระองค์เจ้ารำเพยภมราภิรมย์ พระธิดาในกรมหมื่นมาตยาพิทักษ์ ทรงเป็นพระราชนัดดาในรัชกาลที่ 3 ทรงเป็นอัครมเหสีพระองค์ที่สอง[1] ประสูติเมื่อวันพฤหัสบดีที่วันที่ ๑๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๓๗๗ แต่พระองค์ก็ทรงมีพระชนมายุสั้นมาก เริ่มรับราชการในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวตั้งแต่พระชนมายุได้เพียง ๑๘ พรรษา และเสด็จสวรรคตเมื่อวันจันทร์ ตรงกับวันที่ ๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๐๔ สิริรวมพระชนมายุได้ ๒๘ พรรษา [1]
สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี ทรงมีพระราชโอรส-ธิดาทั้งหมด ๔ พระองค์เช่นเดียวกัน ดังนี้
- พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์) (พ.ศ. ๒๓๙๖-๒๔๕๓)
- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจันทรมณฑล กรมหลวงวิสุทธิกระษัตริย์ (สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจันทรมณฑล โสภณภควดี) (พ.ศ. ๒๓๙๘-๒๔๐๖)
- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงศ์ (สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี) (พ.ศ. ๒๓๙๙-๒๔๔๓)
- สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช (สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์) (พ.ศ. ๒๔๐๒-๒๔๗๑)
[แก้] พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพรรณราย
พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพรรณราย (หม่อมเจ้าหญิงแฉ่ ศิริวงศ์) (พ.ศ. ๒๓๘๑-๒๔๕๗)ทรงเป็นพระกนิษฐาในสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี จึงทรงเป็นพระมาตุจฉาในรัชกาลที่ ๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระเจ้าน้องยาเธอ น้องนางเธอร่วมพระมารดาตรัสเรียกว่า "น้าแฉ่" ส่วนพระเจ้าลูกเธอในรัชกาลที่ ๔ ตรัสเรียกว่า "ท่านแม่" [2] หลังจากที่พระเชษฐภคินีของพระองค์เสด็จสวรรคตแล้ว พระองค์จึงทรงเป็นพระมเหสีเพียงพระองค์เดียวในขณะนั้น และได้ทรงปกครองฝ่ายในสืบมา สังเกตได้จากการเสด็จออกรับแขกเมืองในฐานะ "ควีน" (รัชกาลที่ ๔ ทรงใช้คำว่าเจ้าฝ่ายใน) แต่อย่างไรก็ตามไม่มีการเฉลิมพระอิสริยยศให้สูงขึ้นแต่อย่างใด ทรงได้รับสถาปนาเป็นพระองค์เจ้าในรัชกาลที่ ๕ และเสด็จสิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๖[2]
- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรรณิการ์แก้ว กรมขุนขัตติยกัลยา (พ.ศ. ๒๓๙๘-๒๔๒๕)
- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจิตรเจริญ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ (พ.ศ. ๒๔๐๖-๒๔๙๐) (พระองค์เจ้าชายจิตรเจริญ)
[แก้] เจ้าจอมมารดา
![เจ้าจอมมารดาเปี่ยม(สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา)](../../../upload/thumb/2/2e/%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A1.jpg/175px-%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A1.jpg)
[แก้] สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา (เจ้าคุณจอมมารดาเปี่ยม)
สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา (เจ้าคุณจอมมารดาเปี่ยม) (พ.ศ. ๒๓๘๒-๒๔๔๗) ธิดาท้าวสุจริตธำรง (นาค สุจริตกุล)และหลวงอาสาสำแดง (แดง) [3]
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอุณากรรณอนันตนรไชย (พ.ศ. ๒๓๙๙-๒๔๑๖)
- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ (พ.ศ. ๒๔๐๐-๒๔๖๖)
- สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี (พระองค์เจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระมเหสีพระองค์แรกในรัชกาลที่ ๕) (พ.ศ. ๒๔๐๓-๒๔๒๓)
- สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า (พระองค์เจ้าสว่างวัฒนา) (พ.ศ. ๒๔๐๕-๒๔๙๘)
- สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ (พระองค์เจ้าเสาวภาผ่องศรี) (พ.ศ. ๒๔๐๖-๒๔๖๒)
- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ (พ.ศ. ๒๔๐๘-๒๔๗๘)
[แก้] เจ้าคุณจอมมารดาสำลี
เจ้าคุณจอมมารดาสำลี (พ.ศ. ๒๓๗๘-๒๔๔๓) ธิดาสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ (ทัด บุนนาค) [4]
- พระองค์เจ้าชายแดง (พ.ศ. ๒๓๙๗ พระชันษา ๓ เดือน)
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุษบงเบิกบาน (พ.ศ. ๒๔๐๒-๒๔๑๙)
- สมเด็จพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี (พ.ศ. ๒๔๐๔-๒๔๗๐) (พระองค์เจ้าหญิงสุขุมาลมารศรี พระราชเทวีในรัชกาลที่ ๕)
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านภาพรประภา กรมหลวงทิพยรัตนกิริฎกุลินี (พ.ศ. ๒๔๐๗-๒๕๐๑) พระราชธิดาในรัชกาลที่ ๔ พระองค์รองสุดท้ายที่สิ้นพระชนม์
[แก้] เจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์แสง ปาลกะวงศ์
เจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์แสง ปาลกะวงศ์ ธิดาหม่อมเจ้านิ่ม และหม่อมฟัก ปาลกะวงศ์ (พระราชทานเพลิงศพ พ.ศ. ๒๔๗๓)[5]
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประสานศรีใส (พ.ศ. ๒๔๐๗-๒๔๕๐)
[แก้] เจ้าจอมมารดาน้อย
เจ้าจอมมารดาน้อย (สิ้น พ.ศ. ๒๓๙๕) ธิดาพระอินทรอำไพ [6]
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านพวงศ์ กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส (พระองค์เจ้าชายนพวงศ์วรองค์เอก อรรคมหามกุฎ ปรมุตมราโชรส) (พ.ศ. ๒๓๖๕-๒๔๑๐)
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุประดิษฐ์ กรมหมื่นวิษณุนาถนิภาธร (พ.ศ. ๒๓๖๗-๒๔๐๕)
[แก้] เจ้าจอมมารดาแพ
เจ้าจอมมารดาแพ (สิ้น พ.ศ. ๒๔๐๔) ธิดาพระสำราญหฤทัย (อ้าว ธรรมสโรช) [7]
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ายิ่งเยาวลักษณ์ อรรคราชสุดา (พ.ศ. ๒๓๙๔-๒๔๒๙)
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพักตร์พิมลพรรณ (พ.ศ. ๒๓๙๗-๒๔๔๙)
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเกษมสันต์โสภาคย์ กรมหลวงพรหมวรานุรักษ์ (พ.ศ. ๒๓๙๙-๒๔๖๗)
- สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส (พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ) (พ.ศ. ๒๔๐๓-๒๔๖๔)
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบัญจบเบญจมา (พ.ศ. ๒๔๐๔-๒๔๓๕)
[แก้] เจ้าจอมมารดาพึ่ง(ผึ้ง)
เจ้าจอมมารดาพึ่ง ธิดาพระยาราชสงคราม (อิน อินทรวิมล) [8]
- พระองค์เจ้าชายทักษิณาวัฎ (พ.ศ. ๒๓๙๖-๒๓๙๗)
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคัคณางคยุคล กรมหลวงพิชิตปรีชากร (พ.ศ. ๒๓๙๘-๒๔๕๒)
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชุมพลสมโภช กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ (พ.ศ. ๒๔๐๐-๒๔๖๕)
[แก้] เจ้าจอมมารดาจันทร์
เจ้าจอมมารดาจันทร์ (สิ้น พ.ศ. ๒๔๔๘) ธิดาพระยาพิพิธสมบัติ (สุข สุขสถิต) [9]
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทักษิณชา นราธิราชบุตรี (พระองค์เจ้าหญิงทักษิณชา นราธิราชบุตรี พระภรรยาพระองค์แรกในรัชกาลที่ ๕ แต่มิได้จัดอยู่ในพระราชวงศ์ เนื่องจากทรงเสียสติหลังจากประสูติพระราชโอรส) (พ.ศ. ๒๓๙๕-๒๔๔๙)
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงมัณยาภาธร (พ.ศ. ๒๓๙๗-๒๔๒๘)
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศุขสวัสดี กรมหลวงอดิศรอุดมเดช (พ.ศ. ๒๓๙๘-๒๔๖๘)
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเกษมศรีศุภโยค กรมหมื่นทิวากรวงศ์ประวัติ (พ.ศ. ๒๔๐๐-๒๔๕๘)
[แก้] เจ้าจอมมารดาเทื่ยง
เจ้าจอมมารดาเทื่ยง (พ.ศ. ๒๓๗๔-๒๔๕๖) ธิดาพระยาอัพภันตริกามาตย์ (ดิศ โรจนดิศ) [10]
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมาวดี ศรีรัตนราชธิดา กรมหลวงสมรรัตนสิริเชษฐ์ (พ.ศ. ๒๓๙๕-๒๔๗๔)
- พระองค์เจ้าชายเสวตรวรลาภ (พ.ศ. ๒๓๙๙-๒๔๐๒)
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีนาคสวาดิ (พ.ศ. ๒๓๙๘-๒๔๕๖)
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากมลาสเลอสรรค์ กรมหมื่นราชศักดิ์สโมสร (พ.ศ. ๒๓๙๙-๒๔๗๔)
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากนกวรรณเลขา (พ.ศ. ๒๔๐๐-๒๔๖๑)
- พระองค์เจ้าหญิง (ประสูติเมื่อวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๐๒ สิ้นพระชนม์เมื่อมีพระชันษาได้ ๘ วัน)
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไชยานุชิต กรมหมื่นพงศาดิศรมหิป (พ.ศ. ๒๔๐๔-๒๔๗๘)
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าแขไขดวง (พ.ศ. ๒๔๐๖-๒๔๗๒)
- พระองค์เจ้าชายจรูญฤทธิเดช (พ.ศ. ๒๔๐๘ สิ้นพระชนม์เมื่อมีพระชันษาได้ ๙ วัน)
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพวงสร้อยสอางค์ (พ.ศ. ๒๔๐๙-๒๔๙๓)
[แก้] เจ้าจอมมารดาตลับ
เจ้าจอมมารดาตลับ ธิดาพระยาภูธราภัย(นุช บุณยรัตพันธุ์) [11]
- พระองค์เจ้าหญิง (ประสูติเมื่อวันที่ ๒๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๓๙๕ สิ้นพระชนม์เมื่อพระชันษา ได้ ๘ วัน)
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทวีถวัลยลาภ กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์ (พ.ศ. ๒๓๙๘-๒๔๔๐)
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากาพย์กนกรัตน์ (พ.ศ. ๒๔๐๑-๒๔๒๒)
[แก้] เจ้าจอมมารดาเอี่ยม
เจ้าจอมมารดาเอี่ยม (สิ้น พ.ศ. ๒๔๔๓) หลานพระยานุชิตชาญไชย (อ้น) [12]
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีพัฒนา (พ.ศ. ๒๓๙๖-๒๔๑๖)
[แก้] เจ้าจอมมารดาเกศ (เกษ)
เจ้าจอมมารดาเกศ
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงประภัศร (พ.ศ. ๒๓๙๗-๒๔๖๙)
[แก้] เจ้าจอมมารดากลิ่น
เจ้าจอมมารดากลิ่น (ซ่อนกลิ่น) (พ.ศ. ๒๓๗๙-๒๔๖๘) ธิดาพระยาดำรงค์ราชพลขันธ์ (จุ้ย คชเสนี) [13]
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากฤษดาภินิหาร กรมพระนเรศรวรฤทธิ์ (พ.ศ. ๒๓๙๘-๒๔๖๘)
[แก้] เจ้าจอมมารดาบัว
เจ้าจอมมารดาบัว (สิ้น ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๔๑) ธิดาเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย ณ นคร) [14]
- พระองค์เจ้าชายเฉลิมลักษณเลิศ (พ.ศ. ๒๓๙๘ พระชันษา ๒ ปี)
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีสิทธิธงไชย กรมขุนสิริธัชสังกาศ (พ.ศ. ๒๔๐๐-๒๔๕๓)
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรไทยเทพกัญญา (พ.ศ. ๒๔๐๒-๒๔๔๙)
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวัฒนานุวงศ์ กรมขุนมรุพงศ์สิริพัฒน์ (พ.ศ. ๒๔๐๖-๒๔๖๖)
- พระองค์เจ้าชายดำรงฤทธิ์ (พ.ศ. ๒๔๐๗ พระชันษา ๓ ปี)
[แก้] เจ้าจอมมารดามาไลย
เจ้าจอมมารดามาไลย หลานพระยาราชรองเมือง
- พระองค์เจ้าหญิง (พ.ศ. ๒๓๙๘ สิ้นพระชนม์หลังจากประสูติ ๑ เดือน)
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเสมอสมัยหรรษา (พ.ศ. ๒๔๐๐-๒๔๑๖)
[แก้] เจ้าจอมมารดาสังวาลย์
เจ้าจอมมารดาสังวาลย์ (พ.ศ. ๒๓๘๒-๒๔๕๖) ธิดานายศัลยวิชัย (ทองคำ ณ ราชสีมา) [15]
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม (พ.ศ. ๒๓๙๙-๒๔๖๗)
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทองแถมถวัลยวงศ์ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ (พ.ศ. ๒๔๐๐-๒๔๖๒)
- พระองค์เจ้าชายเจริญรุ่งราษี (พ.ศ. ๒๔๐๓ สิ้นพระชนม์เมื่อมีพระชันษาได้ ๕ พรรษา)
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากาญจนากร (พ.ศ. ๒๔๐๖-๒๔๗๕)
[แก้] เจ้าจอมมารดาเอม
เจ้าจอมมารดาเอม (พ.ศ. ๒๓๘๓-๒๔๕๖) ธิดาหลวงปราณีประชาชน [16]
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนงค์นพคุณ (พ.ศ. ๒๔๐๐-๒๔๒๖)
[แก้] เจ้าจอมมารดาหรุ่น
เจ้าจอมมารดาหรุ่น (พ.ศ. ๒๓๘๔-๒๔๗๒) ธิดาพระยาอภัยพิพิธ (กระต่าย) [17]
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรุณวดี (พ.ศ. ๒๔๐๐-๒๔๗๖)
[แก้] เจ้าจอมมารดาแก้ว
เจ้าจอมมารดาแก้ว (สิ้น พ.ศ. ๒๔๔๔) [18]
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวาณีรัตนกัญญา (พ.ศ. ๒๔๐๐-๒๔๗๘)
[แก้] เจ้าจอมมารดาโหมด
เจ้าจอมมารดาโหมด (พ.ศ. ๒๓๘๒-๒๔๖๒) ธิดาพระยาราชสงคราม(อิน อินทรวิมล) [19]
- พระองค์เจ้าหญิงมณฑานพรัตน์ (พ.ศ. ๒๔๐๑ พระชันษา ๔ ปี)
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจันทรทัตจุฑาธาร กรมหมื่นวิวิธวรรณปรีชา (พ.ศ. ๒๔๐๓-๒๔๗๕)
[แก้] เจ้าจอมมารดาหุ่น (ท้าวทรงกันดาล)
เจ้าจอมมารดาหุ่น ต่อมาได้ว่าราชการฝ่ายใน เป็น ท้าวทรงกันดาล เป็นผู้บังคับบัญชาพระคลังใน (พ.ศ. ๒๔๘๕ - ๑๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๖๖) [20]
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสวัสดิประวัติ กรมพระสมมตอมรพันธ์ (พ.ศ. ๒๔๐๓-๒๔๕๘)
[แก้] เจ้าจอมมารดาดวงคำ
เจ้าจอมมารดาดวงคำ (เจ้าหนูมาน แห่ง เวียงจันทน์) (สิ้น พ.ศ. ๒๔๔๙) [21]
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านารีรัตนา (พ.ศ. ๒๔๐๔-๒๔๖๘)
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐาสารี (พ.ศ. ๒๔๐๘-๒๕๐๕) พระราชธิดาพระองค์สุดท้ายในรัชกาลที่ ๔ ที่เสด็จทิวงคตช้าที่สุด
[แก้] เจ้าจอมมารดาเขียน
เจ้าจอมมารดาเขียน (พ.ศ. ๒๓๘๕-๒๔๘๔) ธิดาท่านอัน และท่านอิ่ม สิริวรรณ [22]
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรวรรณากร กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ (พ.ศ. ๒๔๐๔-๒๔๗๔)
[แก้] เจ้าจอมมารดาชุ่ม
เจ้าจอมมารดาชุ่ม (พ.ศ. ๒๓๘๗-๒๔๔๖) ธิดาพระยาอัพภันตริกามาตย์ (ดิศ โรจนดิศ) [23]
- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ (พ.ศ. ๒๔๐๕-๒๔๘๖)
[แก้] เจ้าจอมมารดาเพ็ง
เจ้าจอมมารดาเพ็ง ธิดาเจ้ากรมเกาเหลาจีน [24]
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านงคราญอุดมดี (พ.ศ. ๒๔๐๕-๒๔๗๔)
[แก้] เจ้าจอมมารดาเหม (ท้าวสมศักดิ)
เจ้าจอมมารดาเหม (พ.ศ. ๒๓๘๓-๒๔๖๕) ธิดาพระอัคนีสร(พิณ)และขรัวยายแย้ม ต่อมาเจ้าจอมมารดาเหม ได้ว่าราชการฝ่ายในเป็น ท้าวสุภัติการภักดี เลื่อนเป็นท้าวอินทรสุริยา ว่าห้องเครื่องวิเศษ แล้วเลื่อนเป็นท้าวสมศักดิ์ ว่าการพนักงานทั้งปวง ในรัชกาลที่ ๕ [25]
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีเสาวภางค์ (พ.ศ. ๒๔๐๕-๒๔๓๒)
[แก้] เจ้าจอมมารดาวาด (ท้าววรจันทร์)
เจ้าจอมมารดาวาด (พ.ศ. ๒๓๘๔-๒๔๘๒) ธิดาท่านสมบุญและท่านถ้วย ต่อมาได้ว่าราชการฝ่ายใน เป็นท้าววรจันทร์ มีหน้าที่พิทักษ์รักษาบังคับบัญชาดูแลพระสนมกำนัลทุกชั้น ในสมัยรัชกาลที่ ๕ [26]
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสณบัณฑิต กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา (พ.ศ. ๒๔๐๖-๒๔๕๖)
[แก้] เจ้าจอมมารดาห่วง
เจ้าจอมมารดาห่วง (สิ้น พ.ศ. ๒๔๖๑) ธิดาขุนเทพและท่านเกษ [27]
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุษบันบัวผัน (พ.ศ. ๒๔๐๖-๒๔๘๒)
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไชยันตมงคล กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย (พ.ศ. ๒๔๐๘-๒๔๕๐)
- พระองค์เจ้าหญิงเจริญกมลสุขสวัสดิ์ (พ.ศ. ๒๔๑๑ พระชันษา ๗ ปี)
[แก้] เจ้าจอมมารดาแสง
เจ้าจอมมารดาแสง (พ.ศ. ๒๓๘๙-๒๔๖๙) [28]
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประไพศรีสอาด (พ.ศ. ๒๔๑๐-๒๔๕๓)
[แก้] เจ้าจอมมารดาสุ่น (ท้าววนิดาพิจาริณี)
เจ้าจอมมารดาสุ่น ธิดาพระยาสุรินทรราชเสนี(จัน กุสุมลจันทร์) ต่อมาได้ว่าราชการฝ่ายใน เป็นท้าววนิดาพิจาริณี [29]
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประพาฬรัศมี (พ.ศ. ๒๔๐๘-๒๔๔๖)
[แก้] เจ้าจอมมารดาหว้า
เจ้าจอมมารดาหว้า ธิดาปลัดโรงทานอิ่ม [30]
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเสาวภาคย์พรรณ (พ.ศ. ๒๔๐๘-๒๔๓๗)
[แก้] เจ้าจอมมารดาเชย
เจ้าจอมมารดาเชย (สิ้น พ.ศ. ๒๔๕๑) [31]
- พระองค์เจ้าหญิง ประสูติวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๑๐ สิ้นพระชนม์ในวันที่ประสูติ
[แก้] เจ้าจอมมารดาพุ่ม
เจ้าจอมมารดาพุ่ม ธิดานายศัลยวิชัย (ทองคำ ณ นครราชสีมา) (พระราชทานเพลิงศพ พ.ศ. ๒๔๖๙) [32]
- พระองค์เจ้าหญิงพุทธประดิษฐา (พ.ศ. ๒๔๑๐ พระชันษา ๔ ปี)
[แก้] เจ้าจอมมารดาอิ่ม (ท้าวศรีสัจจา)
เจ้าจอมมารดาอิ่ม รัชกาลที่ ๕ โปรดฯ ให้ว่าราชการฝ่ายใน เป็นท้าวโสภานิเวศน์ แล้วเลื่อนเป็นท้าวศรีสัจจา (พระราชทานเพลิงศพ พ.ศ. ๒๔๕๐) [33]
- พระองค์เจ้าหญิง ประสูติเมื่อวันที่ ๑๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๑๑ สิ้นพระชนม์ในวันประสูติ
[แก้] เจ้าจอม
- เจ้าจอมมารดาทับทิม (เจ้าจอมมารดาในรัชกาลที่ ๕)
- เจ้าจอมเล็ก
- เจ้าจอมอิ่ม
- เจ้าจอมทับทิม
- เจ้าจอมรุน
- เจ้าจอมหนูสุด
- เจ้าจอมวัน
- เจ้าจอมหนูชี
- เจ้าจอมบุนนาค
[แก้] พระเจ้าลูกเธอในรัชกาลที่ ๔ ซึ่งได้เสด็จเถลิงราชย์สมบัติ
พระราชโอรสพระราชธิดาในรัชกาลที่ ๔ ซึ่งได้เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชย์สมบัติ ไม่ว่าจะโดยพระฐานะพระมหากษัตริย์หรือพระอัครมเหสี มี ๕ พระองค์ดังนี้
- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ กรมขุนพินิตประชานารถ เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ แห่งพระราชวงศ์จักรี
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ เสด็จขึ้นดำรงพระอิสริยยศเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี สมเด็จพระอัครมเหสีในรัชกาลที่ ๕
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุขุมาลมารศรี เสด็จขึ้นดำรงพระอิสริยยศเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี สมเด็จพระอัครมเหสีในรัชกาลที่ ๕
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสว่างวัฒนา เสด็จขึ้นดำรงพระอิสริยยศเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี สมเด็จพระอัครมเหสีในรัชกาลที่ ๕ และทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นพระบรมอัยยิกาในรัชกาลที่ ๘ และ รัชกาลที่ ๙
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเสาวภาผ่องศรี เสด็จขึ้นดำรงพระอิสริยยศเป็น สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระอัครมเหสีในรัชกาลที่ ๕ และทรงดำรงพระอิสริยยศเป็น พระบรมราชชนนี พระพันปีหลวงในรัชกาลที่ ๖ และรัชกาลที่ ๗
[แก้] พระนามกรมพระเจ้าลูกเธอในรัชกาลที่ ๔
พระเจ้าลูกเธอในรัชกาลที่ ๔ นั้น มี ๒๗ พระองค์ที่[3]ทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นเจ้าต่างกรม โดยทั้ง ๒๗ พระองค์นี้มีทั้งพระองค์ชาย และพระองค์หญิง และสถาปนาต่างๆ กันในหลายรัชกาลตั้งแต่พระองค์แรกในรัชกาลที่ ๔ จนถึงพระองค์สุดท้ายซึ่งสถาปนาในรัชกาลที่ ๗ อย่างไรก็ตามพระนามกรมเหล่านั้นก็เรียงร้อยกันไปตามลำดับพระชนมายุได้ทุกพระองค์ พระนามกรมนั้นมีดังนี้
มเหศวรศิววิลาส...วิษณุนาถนิภาธร...สมรรัตนสิริเชษฐ...นเรศวรราชวรฤทธิ์...พิชิตปรีชากร...อดิศรอุดมเดช...ภูธเรศธำรงศักดิ์...ประจักษ์ศิลปาคม...พรหมวรานุรักษ์...ราชศักดิ์สโมสร...ทิวากรวงศ์ประวัติ...ศิริธัชสังกาศ...สรรพศาสตร์ศุภกิจ...สรรพสิทธิประสงค์...เทวะวงศ์วโรปการ...วชิรญาณวโรรส...สมมติอมรพันธ์...วิวิธวรรณปรีชา...พงศาดิศรมหิป...นราธิปประพันธ์พงศ์...ดำรงราชานุภาพ...พิทยลาภพฤฒิธาดา...นริศรานุวัดติวงศ์...มรุพงศ์สิริพัฒน์...ทิพยรัตน์กิริกฎกุลินี...สวัสดิวัตน์วิศิษฎ์...มหิศรราชหฤทัย
[แก้] สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น ๔ เจ้าฟ้า ซึ่งทรงกรม
สำหรับพระราชโอรส พระราชธิดาในรัชกาลที่ ๔ ซึ่งดำรงพระอิสริยยศเป็น สมเด็จเจ้าฟ้า นั้นมี ๖ พระองค์ แต่มีที่ได้ทรงกรมทั้งสิ้น ๕ พระองค์ ๓ พระองค์ประสูติจากสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินีและอีก ๒ พระองค์ประสูติแต่พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงพรรณราย ดังมีรายพระนามต่อไปนี้
- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ กรมหมื่นพิฆเนศวรสุรสังกาศ ต่อมาในรัชกาลที่ ๔ ทรงเปลี่ยนพระนามกรมเป็น กรมขุนพินิตประชานาถ และเสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจันทรมณฑล กรมหลวงวิสุทธิกระษัตริย์ รัชกาลที่ ๕ ทรงสถาปนาเป็นกรมหลวงเมื่อสิ้นพระชนม์แล้ว ทรงเป็นพระเจ้าน้องนางเธอร่วมพระมารดาในรัชกาลที่ ๕
- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงศ์ รัชกาลที่ ๕ ทรงสถาปนาเป็นกรมหลวง ต่อมาทรงเลื่อนเป็นกรมพระ ทรงเป็นพระเจ้าน้องยาเธอร่วมพระมารดาในรัชกาลที่ ๕
- สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช รัชกาลที่ ๕ ทรงสถาปนาเป็นกรมหลวง ต่อมาทรงเลื่อนเป็น กรมพระ ทรงเป็นพระเจ้าน้องยาเธอร่วมพระมารดาในรัชกาลที่ ๕[4]
- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรรณิการ์แก้ว กรมขุนขัตติยกัลยา รัชกาลที่ ๕ ทรงสถาปนาเป็นกรมขุนเมื่อสิ้นพระชนม์แล้ว ต่อมาทรงเพิ่มพระเกียรติยศเป็นเจ้าฟ้า ทรงเป็นพระเจ้าน้องนางเธอในรัชกาลที่ ๕ พระมารดาคือพระองค์เจ้าหญิงพรรณรายนั้น ทรงเป็นพระกนิษฐาในสมเด็จพระเทพศรินทรา
- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจิตรเจริญ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ รัชกาลที่ ๕ ทรงสถาปนาเป็นกรมขุน ต่อมาทรงเลื่อนเป็นเจ้าฟ้า และเมื่อสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระจักรพรรดิพงศ์เสด็จทิวงคต ทรงเพิ่มพระเกียรติยศเป็น สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวง[5] ทรงร่วมพระมารดากับเจ้าฟ้ากรมขุนขัติยกัลยา
[แก้] พระราชธิดาในรัชกาลที่ ๔ ที่ได้ทรงกรม
พระราชธิดาในรัชกาลที่ ๔ ที่ได้ทรงกรมทั้ง ๔ พระองค์มีรายพระนามต่อไปนี้ (ตามลำดับพระอิสริยยศ)
- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจันทรมณฑล กรมหลวงวิสุทธิกระษัตริย์ รัชกาลที่ ๕ ทรงสถาปนาเมื่อสิ้นพระชนม์แล้ว ทรงเป็นพระเจ้าน้องนางเธอร่วมพระมารดาในรัชกาลที่ ๕
- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรรณิการ์แก้ว กรมขุนขัตติยกัลยา รัชกาลที่ ๕ สถาปนาเมื่อสิ้นพระชนม์แล้ว ทรงเป็นพระพี่นางในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมาวดี ศรีรัตนราชธิดา กรมหลวงสมรรัตนสิริเชษฐ์ สถาปนาในรัชกาลที่ ๕
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านภาพรประภา กรมหลวงทิพยรัตนกิริฎกุลินี สถาปนาในรัชกาลที่ ๗
[แก้] ดูเพิ่ม
- ราชสกุล
- พระมเหสี เจ้าจอม พระราชโอรส และ พระราชธิดา ในรัชกาลที่ ๒
- พระมเหสี เจ้าจอม พระราชโอรส และ พระราชธิดา ในรัชกาลที่ ๕
- พระราชนิพนธ์โคลงสี่สุภาพ รายพระนามพระราชโอรส-พระราชธิดา ในรัชกาลที่ ๔
- พระนามทรงกรมของพระราชโอรส พระราชธิดาในรัชกาลที่ ๔
- พระบรมฉายาลักษณ์ พระราชโอรสที่ทรงเป็นต้นราชสกุล ในรัชกาลที่ ๔
[แก้] เชิงอรรถ
- ↑ ในความเป็นจริงแล้ว ในรัชกาลที่ ๔ สมเด็จพระเทพศรินทราบรมราชินีทรงดำรงพระอิสริยยศเป็น พระนางเธอ พระองค์เจ้ารำเพยฯ เท่านั้น มิได้ทรงเป็นสมเด็จพระนางเธอฯ ดั่งที่สมเด็จพระนางเจ้าโสมนัสฯ ทรงเป็น พระองค์ทรงเป็นพระมเหสีที่มีพระอิสริยยศสูงสุด หากแต่มิใช่พระอัครมเหสีในรัชกาลที่ ๔ สังเกตได้จากพระราชโอรสพระราชธิดาประสูติแต่พระองค์เป็นสมเด็จเจ้าฟ้าชั้นโท มิใช่ชั้นเอก การเปลี่ยนพระนามาภิไธยเป็น กรมสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ นั้นรัชกาลที่ ๕ ทรงยึดแบบอย่างกรมสมเด็จพระศรีสุลาลัย พระราชชนนีในรัชกาลที่ ๓ และในรัชกาลที่ ๖ เมื่อทรงเป็นสมเด็จย่าของพระองค์ จึงทรงเปลี่ยนให้ออกพระนามาภิไธยว่า สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี อ้างอิงจาก http://www.pantip.com/cafe/library/topic/K5028740/K5028740.html และ http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/K2768730/K2768730.html
- ↑ ตามธรรมเนียมที่ต้องทรงพระดำรัสตรัสเรียกพระมเหสีในพระราชบิดาว่า แม่ ทุกพระองค์ตามแต่พระอิสริยศักดิ์ของพระมเหสีพระองค์นั้น เช่นพระเจ้าลูกเธอในรัชกาลที่ ๕ ตรัสเรียกสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรีฯ ว่าสมเด็จแม่ที่บน เป็นต้น สำหรับการเรียกพระองค์เจ้าหญิงพรรณรายว่าท่านแม่นั้น ปรากฏในสาส์นสมเด็จ ซึ่งกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงพระดำรัสเรียก และในพระราชหัตถเลขาสมเด็จพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี ถึงสมเด็จเจ้าฟ้าบริพัตรฯ
- ↑ ไม่รวมพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระจักรพรรดิพงศ์ สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธ์วงศ์วรเดช สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าหญิงกรมหลวงวิสุทธิกษัตรีย์ และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าหญิงกรมขุนขัติยกัลยา เพราะ ๔ พระองค์นี้ทรงรับสถาปนาทรงกรมขณะทรงดำรงพระอิสริยยศเป็น เจ้าฟ้า ในขณะที่สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์นั้น ทรงรับสถาปนาเป็นกรมขุนขณะเป็นพระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้า จึงนับรวมในที่นี้ด้วย
- ↑ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระจักรพรรดิพงศ์ กับกรมพระยาภาณุพันธ์วงศ์วรเดชนี้ ทรงอยู่ในข่ายที่จะได้รับสถาปนาเป็นกรมพระราชวังบวรฯ ได้ หากแต่เนื่องจากตำแหน่งนั้นไม่ว่างเสียแล้ว รัชกาลที่ ๕ จึงพระราชทานสถาปนาให้เกินพระอิสริยยศที่พระเจ้าน้องยาเธอจะทรงได้รับ คือปกติแล้วพระเจ้าน้องยาเธอจะทรงกรมได้เพียงชั้นกรมหลวงเท่านั้น ครั้งนี้เป็นการพระราชทานเกินพระราชกำหนดเป็นพิเศษ
- ↑ ตามประกาศพระราชกระแส...เดิมมามีพระราชอนุชาดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ ๒ พระองค์ มาบัดนี้ไม่มีบริบูรณ์เหมือนดั่งเก่าเป็นที่เปล่าเปลี่ยวพระราชหฤทัย ทรงพระราชดำริว่าพระราชอนุชาพระองค์นี้สามารถทรงดำรงพระอิสริยยศเป็น สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ ให้เป็นที่เชิดชูพระราชหฤทัยพระองค์หนึ่งได้