เจ้าจอมมารดาเลื่อน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจ้าจอมมารดาเลื่อน ในรัชกาลที่ 5 สมภพเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2418 ที่บ้านบางขุนพรหมในพระนคร เป็นบุตรีของ พระนรินทราภรณ์ ( ลอย นิยะวานนท์ ) กับ ปริก โดยปู่ของท่านเป็น น้องชายของเจ้าจอมมารดาอำภา ในรัชกาลที่ 2 พระมารดาของต้น ราชสกุล กปิตถา และ ปราโมช
เมื่อท่านอายุได้ 9 ปี ได้เข้าไปอยู่ในพระบรมมหาราชวัง กับ เจ้าจอมมิ ในรัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นลูกของป้าท่าน ต่อมาถวายตัวแด่สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินินาถ แล้วได้เป็นละคร หลวง ต่อมาทรงพระกรุณาให้เป็นเป็นเจ้าจอม ประสูติพระเจ้าลูกเธอรวม 2 พระองค์คือ พระองค์เจ้าหญิงลวาดวรองค์ และ พระองค์เจ้าชายอุรุพงษ์รัชสมโภช ซึ่งพระองค์อุรุพงษ์ แม้จะไม่ทรงแข็งแรงนักแต่ก็มีพระชนมายุมาถึง 17 พรรษา ได้โดยเสด็จรับใช้ใกล้ชิดพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในตอนหลังเมื่อ พระองค์ไม่ทรงมีพระราชโอรสที่ทรงพระเยาว์เหลืออยู่ในพระบรมมหาราชวังแล้ว จนเป็นที่โปรดปรานสนิทสนมและโปรดเกล้าฯ ให้ทรงบัญชาการกรมมหาดเล็ก จนสิ้นพระชนม์ ในส่วนของเจ้าจอมมารดาเลื่อนนั้น ท่านจะมีหน้าที่ประจำคือ การอ่านหนังสือถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในเวลาเข้าที่ บรรทมเป็นนิจ เพราะพระองค์ทรงบรรทมยาก ท่านเจ้าจอมมารดาท่านมี เสียงที่ไพเราะ อ่านได้นานๆไม่แหบแห้ง ทั้งเป็นผู้ถูกอัธยาศัย ทรงพระ กรุณามาก เมื่อต่อมาพระราชโอรสทรงได้รับใช้ใกล้ชิดพระองค์ ก็เป็น เหตุให้ทรงยกย่องเจ้าจอมมารดาเลื่อนยิ่งขึ้น ถึงได้รับพระราชทานเครื่องราช อิสริยาภรณ์ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ และเหรียญรัตนาภรณ์ ในรัชกาลที่ 5 ชั้นที่ 2 ครั้นพระองค์เจ้าอุรุพงษ์ฯ สิ้นพระชนม์แล้ว ปลายรัชกาลที่ 5 เจ้าจอมมารดาเลื่อน จึงถวายคืนพระมรดกของพระองค์เจ้าอุรุพงษ์ฯ ทั้งหมด ถึงรัชกาลที่ 6 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชเงินปีเลี้ยง ชีพเป็นพิเศษอีกปีละ 30,000 บาท นอกเหนือไปจากอัตราปกติของ เจ้าจอมมารดาชั้นสูง และได้รับพระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 2 ในเวลาต่อมา เจ้าจอมมารดาเลื่อน ได้กราบถวายบังคมทูลลา ออกไปสร้างบ้านอยู่นอกวัง ที่ถนนพระราม 5 (โรงเรียนนันทนศึกษา ในปัจจุบัน ) และดำรงชีพอยู่โดยสัมมาปฏิบัติ ต่อมาท่านได้ย้ายไปสร้าง บ้านใหม่ที่ถนนเพชรบุรี ใกล้ประตูน้ำปทุมวัน แต่มีโรคเบียดเบียนในวัยชรา อยู่หลายปี จนในที่สุดก็ถึงอสัญกรรมลงที่บ้านถนนเพชรบุรีนี้ เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490
เจ้าจอมมารดาเลื่อน เป็นบุคคลที่ มีใจเป็นบุญ ทำการบริจาคทานอยู่เสมอๆ เช่น สร้างศาลาอุรุพงษ์ เป็นการ เปรียญใหม่ ที่วัดบรมนิวาศ และปฏิสังขรณ์ พระประธานองค์ใหญ่ ประดิษฐาน ไว้ในศาลานั้น สิ้นเงินในการนี่ 25,000 บาท และตั้งทุนช่วยวัด ที่ วัดเบญจมบพิตร ได้บริจาคเงิน 800 บาท ซ่อมศาลาที่บรรจุพระอังคาร พระองค์อุรุพงษ์ฯ เปลี่ยนเป็นศาลาจตุรมุข ผูกเหล็กหล่อคอนกรีตทั้งหลัง บริจาคสมทบทุนพยาบาลภิกษุสามเณรอาพาฐในวัดเบ็ญจมบพิตรอีกถึง 2,000 บาท และบริจาคทรัพย์อีก 2,500 บาท สำหรับเขียนภาพบรรจุ ช่องว่างในพระอุโบสถช่อง 1 เป็นภาพพระมหาธาตุเมืองศรีสัชนาลัย ด้วย กันกับเจ้านายและบาทบริจาริกาในรัชกาลที่ 5 และบริจาคเงินบำรุงพระ ภิกษุในวัดนั้นตลอดมา
|
สมเด็จพระบรมราชินีนาถ และ พระภรรยาเจ้า ใน รัชกาลที่ ๕ แก้ | ||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|