New Immissions/Updates:
boundless - educate - edutalab - empatico - es-ebooks - es16 - fr16 - fsfiles - hesperian - solidaria - wikipediaforschools
- wikipediaforschoolses - wikipediaforschoolsfr - wikipediaforschoolspt - worldmap -

See also: Liber Liber - Libro Parlato - Liber Musica  - Manuzio -  Liber Liber ISO Files - Alphabetical Order - Multivolume ZIP Complete Archive - PDF Files - OGG Music Files -

PROJECT GUTENBERG HTML: Volume I - Volume II - Volume III - Volume IV - Volume V - Volume VI - Volume VII - Volume VIII - Volume IX

Ascolta ""Volevo solo fare un audiolibro"" su Spreaker.
CLASSICISTRANIERI HOME PAGE - YOUTUBE CHANNEL
Privacy Policy Cookie Policy Terms and Conditions
โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี - วิกิพีเดีย

โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สถานีย่อย:ประเทศไทย

โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี

ตราประจำโรงเรียน สวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี

ชื่อ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี

(ส.ก.น.)

ชื่อ (อังกฤษ) Suankularb Wittayalai Nonthaburi School

(S.K.N.)

ก่อตั้ง 30 มีนาคม พ.ศ. 2521
ประเภทโรงเรียน รัฐบาล สังกัด สพฐ.
คำขวัญ สุวิชาโน ภวํ โหติ (ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ)
เพลงประจำสถาบัน เพลงประจำโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
สีประจำสถาบัน ชมพู-ฟ้า
ที่อยู่ 51/4 หมู่ที่ 5 ตำบลปากเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120
เว็บไซต์ www.skn.ac.th

โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี (Suankularb Wittayalai Nonthaburi School) (อักษรย่อ: ส.ก.น., S.K.N.) เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ ประเภทสหศึกษาในเครือสวนกุหลาบวิทยาลัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 2 สหวิทยาเขตเบญจวิทยานนท์ กองการมัธยมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ มีเนื้อที่ 25 ไร่ 3 งาน 10 ตารางวา ประกอบด้วยอาคารเรียน 9 หลัง ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 51/4 หมู่ที่ 5 ตำบลปากเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี เป็นสถานศึกษาที่ได้รับรางวัลสถานศึกษาพระราชทาน ประจำปีการศึกษา 2532 และ 2544

พระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

สารบัญ

[แก้] สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน

อักษรพระนามาภิไธยย่อ สธ บน อาคาร สธ 1
อักษรพระนามาภิไธยย่อ สธ บน อาคาร สธ 1
  • คติพจน์
"สุวิชาโน ภวํ โหติ" แปลว่า "ผู้รู้ดี เป็นผู้เจริญ"
  • ตราประจำโรงเรียน
เป็นรูปหนังสือ มีไม้บรรทัด ดินสอ ปากกา คั่นอยู่ หน้าปกหนังสือมี พระเกี้ยวยอด และอักษรพระปรมาภิไธยย่อ "จปร" ด้านขวามีช่อดอกกุหลาบ มุมซ้ายล่างมีริบบิ้นผูกช่อดอกกุหลาบ ซึ่งมีตัวอักษรกำกับว่า "โรงเรียน หลวง สวนกุหลาบ" ด้านบน จารึกปรัชญา และคติพจน์ "สุวิชาโน ภวํ โหติ" ด้านล่างมีคำแปลว่า "ผู้รู้ดี เป็นผู้เจริญ" โดยเรียงตัวกันเป็นรูปวงกลม และมีเส้นขอบวงกลมขนาบด้านซ้ายและขวา
  • พระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 5
เป็นพระบรมรูปประทับยืนเต็มพระองค์ ขนาดหนึ่งเท่าครึ่งของพระองค์จริง ฉลองพระองค์ชุดสากล พระหัตถ์ซ้ายถือธารพระกร พระหัตถ์ขวาถือพระมาลา ความสูง 267 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 800-1,000 กิโลกรัม รมสีเนื้อมันปู หรือสีเม็ดมะขามสุก
บนแผ่นจารึกที่ฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ ปรากฏมีข้อความ :-
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราช พระมหากษัตริย์ พระองค์ที่ 5 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ พระราชโอรส ใน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี
ทรงพระราชสมภพ วันที่ 20 กันยายน พุทธศักราช 2396
เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ วันที่ 1 ตุลาคม พุทธศักราช 2411
เสด็จสวรรคต วันที่ 23 ตุลาคม พุทธศักราช 2453

ทรงตั้งมั่นอยู่ใน ทศพิธราชธรรม กอปรด้วยพระเมตตาธรรม และ พระคุณธรรม อันประเสริฐ ทรงประกอบ พระราชกรณียกิจ นานัปการ สร้างความเจริญแก่ประเทศชาติ เป็นอเนกประการ ทางด้าน การปกครอง การเลิกทาส การเศรษฐกิจ การคมนาคม การสาธารณสุข การศาสนา ทรงส่งเสริมการศึกษา และ วางรากฐานการศึกษา อย่างเป็นระบบ ทรงจัดตั้งโรงเรียน เพื่อพสกนิกรได้มีโอกาสศึกษา อย่างเสมอภาค ดังพระราชปณิธาน

‘เจ้านาย ราชตระกูล ตั้งแต่ ลูกฉัน เป็นต้นไป ตลอดจนถึง ราษฎรที่ต่ำสุด จะให้ได้มีโอกาส เล่าเรียน ได้เสมอกัน ไม่ว่าเจ้า ว่าขุนนาง ว่าไพร่ เพราะฉะนั้น จึงพอบอกได้ว่า การเล่าเรียน ใน บ้านเมืองเรา นี้ จะเป็นข้อสำคัญข้อที่หนึ่ง ซึ่งฉันจะอุตส่าห์จัดขึ้น ให้เจริญจงได้’

ข้าราชการ ผู้ปกครอง ศิษย์เก่า และ นักเรียน โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี สำนึกใน พระมหากรุณาธิคุณ เป็นล้นพ้น จึงพร้อมใจกันสร้าง พระบรมราชานุสาวรีย์ เพื่อสักการะ เฉลิมพระเกียรติ ประกาศเกียรติคุณ ให้แผ่ไพศาล ตราบกาลนาน

ปัจจุบัน อัญเชิญขึ้นประดิษฐาน บนเวทีหน้าลานอเนกประสงค์ของโรงเรียน
แบบปักอกเสื้อนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย
แบบปักอกเสื้อนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย
  • สีประจำโรงเรียน
สีชมพู คือ สีประจำวันพระบรมราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว องค์ผู้พระราชทานกำเนิด โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ทั้งยังเป็น สีแห่งความรัก ความสามัคคี
สีฟ้า คือ สีประจำวันพระบรมราชสมภพ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทั้งยังเป็น สีแห่งความดีงาม มีความนึกคิดที่สูงส่ง
สีชมพู-ฟ้า จึงมีความหมายถึง องค์ผู้พระราชทานกำเนิด โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และ พระบรมราชินีนาถ ทั้งยังหมายถึง เป็นแหล่งที่มีความรัก ความสามัคคี ของผู้ที่มีความดีงาม มีความนึกคิดที่สูงส่ง
  • ต้นไม้ประจำโรงเรียน
ต้นกัลปพฤกษ์ (รูป) ที่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงปลูก เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2525
  • จริยธรรมประจำโรงเรียน
  1. ลูก สวนฯ นนท์ ต้องรู้จักกล่าวคำว่า "สวัสดี" "ขอบคุณ" "ขอโทษ" "เสียใจ" ได้เองจนเป็นนิสัย
  2. ลูก สวนฯ นนท์ ต้องรู้จักจัดอันดับตัวเอง ตามก่อน-หลังได้
  3. ลูก สวนฯ นนท์ ต้องรู้จักรักสะอาด ไม่ทิ้งขยะในที่ต่างๆ
  • คุณสมบัติของนักเรียน ส.ก.น.
ลูก สวนฯ นนท์ พึงประพฤติ และปฏิบัติตน ดังนี้
  1. แต่งชุดนักเรียน สะอาด ถูกต้องตามระเบียบ มีกระเป๋านักเรียน และ/หรือ เป้ของโรงเรียน พร้อมเครื่องเขียน แบบเรียน ครบตามที่โรงเรียนกำหนด
  2. ต้องเคารพ เชื่อฟัง และปฏิบัติตน อยู่ในโอวาท ของ คณาจารย์ทุกท่าน
  3. ต้องประพฤติ และ ปฏิบัติตน ตาม กฎหมายของบ้านเมือง จารีตประเพณี และ วัฒนธรรม อันดีงาม
  4. ต้องประหยัด ซื่อสัตย์ ตรงต่อเวลา มีน้ำใจนักกีฬา
  5. ต้องสุภาพอ่อนโยน มีสัมมาคารวะ ต่อบุคคลทั่วไป และ ปฏิบัติตนให้เหมาะสม ตามวัย และสถานภาพแห่งตน
  6. ต้องมีความเสียสละ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม รักษาทรัพย์สมบัติ ของโรงเรียน สังคม และ สาธารณะ
  7. ควรสร้างชื่อเสียงให้โรงเรียน ตามหนทางที่ปฏิบัติได้ และ ต้องไม่กระทำการใดๆ ที่เป็นการทำลายชื่อเสียงของโรงเรียน
  8. ต้องมีความรัก ความสามัคคี มีน้ำใจต่อกัน นับถือกันเสมือนพี่น้อง และ ต้องช่วยเหลือกันทุกเมื่อ
  9. ต้องมีความรัก และมีศักดิ์ศรีของชมพู-ฟ้า ดังนั้น ทุกคนต้องร้องเพลงประจำโรงเรียนได้
  • คุณลักษณะของนักเรียน ส.ก.น.
       
  นักเรียน ส.ก.น.   เป็นผู้ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน
เพียรทำดี มีวินัย   พลานามัยแข็งแรง
  หวงแหนสิ่งแวดล้อม   พร้อมคิดวิเคราะห์เป็นระบบ
พบทางเลือกที่เหมาะสม   อุดมคุณธรรม
  น้อมนำวัฒนธรรมไทย   ก้าวไกลเทคโนโลยี
มีประชาธิปไตย   คงความเป็นไทยในสังคม

[แก้] พระประจำโรงเรียน

พระพุทธรูปปาง 25 พุทธศตวรรษ, หลวงพ่อสวนกุหลาบ
พระพุทธรูปปาง 25 พุทธศตวรรษ, หลวงพ่อสวนกุหลาบ
  • หลวงพ่อสวนกุหลาบ (รูป)
เนื่องในโอกาส ครบรอบ 100 ปี โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ได้ร่วมกับ สมาคมศิษย์เก่าสวนกุหลาบวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ร่วมกันดำเนินการจัดสร้าง พระพุทธรูป หลวงพ่อสวนกุหลาบจำลอง (รูป) ขึ้น และ โรงเรียน ก็ได้มีโอกาส อัญเชิญ หลวงพ่อสวนกุหลาบจำลอง มาประดิษฐานยังโรงเรียน โดยความอุปการะ ของ คุณบุญมา พึ่งทอง และ คุณไพเราะห์ พึ่งทอง และ ได้มีพิธีอัญเชิญ หลวงพ่อสวนกุหลาบจำลอง มาประดิษฐานที่โรงเรียน เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2525
ต่อมา เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 นายโอฬาร อัศวฤทธิกุล ร่วมกับ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ได้ทำพิธีพุทธาภิเษก เททองหล่อ หลวงพ่อสวนกุหลาบ เนื่องในวโรกาส มหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ โดยมีขนาดหน้าตักกว้าง 19 นิ้ว เพื่อมอบให้กับ โรงเรียนในเครือสวนกุหลาบวิทยาลัย สำหรับเป็นพระพุทธรูปประจำโรงเรียน
วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 นายสุโข วุฑฒิโชติ ผู้อำนวยการโรงเรียนในขณะนั้น พร้อมด้วย คณาจารย์ และนักเรียน ได้จัดกระบวนอัญเชิญ หลวงพ่อสวนกุหลาบ มาประดิษฐานชั่วคราว ณ ห้องผู้อำนวยการ เมื่อหอพระจัดสร้างเสร็จสิ้น จึงได้อัญเชิญ หลวงพ่อสวนกุหลาบ มาประดิษฐาน ณ หอพระหน้าโรงเรียน เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543
เป็นพระพุทธรูปปางลีลา ลักษณะเดียวกับ พระศรีศากยทศพลญาณ (รูป) ประธานพุทธมณฑลสุทรรศน จัดสร้างในสมัยที่ นางดุษฎี พงศ์ศาสตร์ เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน เคยประดิษฐานอยู่หน้าโรงเรียน ปัจจุบัน ประดิษฐานเคียงคู่กับ หลวงพ่อสวนกุหลาบ ณ หอพระหน้าโรงเรียน

[แก้] เพลงประจำโรงเรียน

  • เพลงมาร์ชประจำโรงเรียน คือ เพลงมาร์ชสวนกุหลาบนนทบุรี ประพันธ์คำร้องและทำนองโดย นาวาตรี ประพันธ์ นิชโรจน์ ร.น. มีเนื้อร้อง ดังนี้
       
  สถาบันเรานี้ คือสวนกุหลาบนนทบุรี   แหล่งรวมคนดี เพียบพร้อมด้านการศึกษา
ฝึกฝนและเรียนรู้ เพื่อก้าวนำทุกด้านวิชา   เพื่อพัฒนา เพิ่มคุณค่าลูกสวนก้าวไกล
  เราสวนนนท์มีรัก มีความคงมั่นในสามัคคี   ต่างรักศักดิ์ศรี สิ่งดีต่างยืดมั่นไว้
เราผองชมพูฟ้า เด่นสมค่าและงามสมใจ   เป็นลูกหลานไทย ใฝ่พากเพียรเล่าเรียนวิชา
  องค์หลวงพ่อ สวนกุหลาบเป็นมิ่งขวัญ   ลูกสวนอภิวันท์ มหาราชันปิยราชา
ศูนย์รวมใจ เราลูกสวนตลอดมา   ต่างน้อมบูชา ด้วยศรัทธาลูกขอกราบกราน
  รวมพลังสร้างเสริม ให้สวนกุหลาบนนท์นี้เกรียงไกร   เทิดเกียรติวินัย คงไว้ด้วยใจประสาน
ความสัมพันธ์ดั่งนัย สืบสายใยสมปณิธาน   ชั่วนิรันดร์กาล ต่างกล่าวขานนาม ส.ก.น.

[แก้] ทำเนียบผู้อำนวยการ/อาจารย์ใหญ่

นายสุทธิศักดิ์ เฟื่องเกษม ผู้อำนวยการสถานศึกษา
นายสุทธิศักดิ์ เฟื่องเกษม ผู้อำนวยการสถานศึกษา

ทั้งสองท่าน เป็น อดีตผู้อำนวยการ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ซึ่งรักษาการในตำแหน่ง อาจารย์ใหญ่โรงเรียน อีกตำแหน่งหนึ่ง

นางอัมพา ดำรงตำแหน่ง อาจารย์ใหญ่ และเป็น ผู้อำนวยการโรงเรียน ท่านแรก ดำรงตำแหน่งยาวนานถึง 9 ปี ซึ่งถือว่ายาวนานที่สุด นับแต่ก่อตั้งโรงเรียน ท่านถึงแก่กรรมขณะดำรงตำแหน่ง ต่อมา โรงเรียน จึงได้ตั้งชื่อ อาคารกิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี เพื่อเป็นอนุสรณ์ ว่า "อาคารทศวรรษ อัมพา แสนทวีสุข"

นางสมหมาย ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียน ในปีที่ได้รับ รางวัลสถานศึกษาพระราชทาน สมัยแรก เมื่อ ปีการศึกษา 2532 และ เฝ้าฯ รับเสด็จฯ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ในโอกาส ทรงเปิดอาคาร สธ 3 เมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2535 นางสมหมาย พ้นจากตำแหน่ง เนื่องจาก ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น ผู้อำนวยการ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย

นางสาวผ่องศรี ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียน เป็นระยะเวลาสั้นๆ เพียงสองปีเท่านั้น

นางดุษฎี ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียน ในปีที่ ห้องสมุดโรงเรียน ได้รับเลือกให้เป็น ห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษก เมื่อ ปีการศึกษา 2539 และ เป็นผู้ริเริ่ม การจัดสร้าง พระพุทธรูป ปาง 25 พุทธศตวรรษ เพื่อประดิษฐานหน้าโรงเรียน ท่านเป็นภริยา ของ นายบรรจง พงศ์ศาสตร์ อดีตอธิบดีกรมสามัญศึกษา นางดุษฎี พ้นจากตำแหน่ง เนื่องจาก เกษียณอายุราชการ

นางกรองทอง ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียน เป็นระยะเวลาสั้นๆ เพียงสองปีเท่านั้น ก็พ้นจากตำแหน่ง เนื่องจาก ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น ผู้อำนวยการ โรงเรียนสายน้ำผึ้ง

นายสุโข ถือเป็น ผู้อำนวยการโรงเรียน ที่เป็นสุภาพบุรุษท่านแรก ท่านจบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษา และ เคยเป็นอาจารย์ ที่ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ก่อนจะได้รับการแต่งตั้งให้เป็น ผู้อำนวยการ โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย สมุทรปราการ เป็นท่านแรก จากนั้น จึงมาดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียน ท่านเป็นผู้พัฒนา และนำพาโรงเรียน เข้าสู่ความเป็นยุคใหม่อย่างแท้จริง ด้วยโครงการต่างๆ มากมาย ทั้งทางวัตถุ และ ทางจิตใจ เช่น พระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 5, ซุ้มทางเข้าหน้าโรงเรียน, สถานเชิญธง, หอพระหน้าโรงเรียน, ห้องจาริกานุสรณ์ (ห้องประวัติโรงเรียน), อาคารใหม่หน้าโรงเรียน, ห้องวิทยาศาสตร์โอลิมปิก, สนามวอลเลย์บอลชายหาด, ศาลากลางน้ำในสวนเสริมปัญญา, ปรับปรุงภูมิทัศน์ในส่วนต่างๆ ของโรงเรียน เป็นต้น นายสุโข พ้นจากตำแหน่ง เนื่องจาก เกษียณอายุราชการ ปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งเป็น ที่ปรึกษาผู้อำนวยการ โรงเรียนพิชญศึกษา (ลิงก์)

นายอุทัย รัตนพงศ์ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนในระยะเวลาสั้นๆ เพียงสองปีเท่านั้น ก่อนที่จะพ้นจากตำแหน่ง เนื่องจาก เกษียนอายุราชการ แต่ท่านก็ได้สานต่อนโยบายต่างๆ เมื่อครั้งที่ นายสุโข ยังดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ จนสำเร็จลุล่วงทั้งหมด

นายสุทธิศักดิ์ ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียน และเป็น ผู้อำนวยการสถานศึกษา หลังจากการเปลี่ยนแปลงระบบการบริหารสถานศึกษา ตามนโยบายของ กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 จนถึงปัจจุบัน

[แก้] ประวัติโรงเรียน

อาคาร สธ 2 ด้านข้าง มีตราประจำโรงเรียน และชื่อโรงเรียนจารึกอยู่
อาคาร สธ 2 ด้านข้าง มีตราประจำโรงเรียน และชื่อโรงเรียนจารึกอยู่

โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี ถือกำเนิดขึ้น โดยเจตจำนงของ นายผาสุก มณีจักร (รูป) และ นางเง็ก มณีจักร (รูป) คหบดีชาวปากเกร็ด ซึ่งมีบุตรชายเป็นศิษย์เก่า โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย บริจาคที่ดิน บริเวณใกล้กับถนนติวานนท์ เป็นจำนวน 25 ไร่ 1 งาน 18 ตารางวา เพื่อสร้าง โรงเรียนในเครือสวนกุหลาบวิทยาลัย เมื่อต้น ปีการศึกษา 2520 โดยมีผู้ร่วมก่อตั้ง คือ นายสุวรรณ จันทร์สม (รูป) ผู้อำนวยการ กองการมัธยมศึกษา ในขณะนั้น, นายสมพงษ์ พูลสวัสดิ์ และ นายกว้าง รอบคอบ อดีตอธิบดีกรมสามัญศึกษา ขณะนั้นเป็น ผู้อำนวยการ โรงเรียนปากเกร็ด เป็นผู้ประสานงาน และ กระทรวงศึกษาธิการ ได้ประกาศตั้งโรงเรียนฯ เมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2521 โดยใช้ชื่อว่า โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย 2 (ผาสุก มณีจักร)

แต่เนื่องจาก บริเวณที่ตั้งของโรงเรียนไม่ติดถนน ในเวลาต่อมา นายประพัฒน์ แก่นรัตนะ เจ้าของที่ดินด้านหน้าโรงเรียน ที่ติดถนนติวานนท์ จึงได้อนุญาตให้ที่ดิน เพื่อสร้างถนน "แก่นรัตนะ" (ถนนส่วนบุคคล) เป็นทางเข้าออกโรงเรียน ขนาดของถนน กว้าง 12 เมตร ยาว 343 เมตร และได้ทำหนังสือมอบไว้ต่อกรมสามัญศึกษา ต่อมา ในปี พ.ศ. 2545 ได้บริจาคที่ดินในส่วนที่เป็นถนน ให้กับทางโรงเรียน โดย เทศบาลนครปากเกร็ด จัดงบประมาณจัดสร้างถนนคอนกรีตให้กับโรงเรียน ทำให้พื้นที่ของโรงเรียนเพิ่มขึ้น เป็น 25 ไร่ 3 งาน 10 ตารางวา จนถึงปัจจุบัน

ต่อมา ในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2522 กระทรวงศึกษาธิการ ได้ประกาศเปลี่ยนชื่อโรงเรียน จาก โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย 2 (ผาสุก มณีจักร) เป็น โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี จนถึงปัจจุบัน

เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2525 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทาน พระนามาภิไธยย่อ “สธ” ให้เป็นนามของอาคารเรียนสองหลังแรก ของโรงเรียนฯ คือ อาคาร สธ 1 และ อาคาร สธ 2 พร้อมทั้งได้เสด็จพระราชดำเนิน ทรงเปิดอาคารเรียนทั้งสองหลัง ด้วยพระองค์เอง

ในวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2529 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานนาม อาคารหอประชุมโรงเรียนฯ ว่า หอประชุม "สิรินธราลัย" และ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ ศาสตราจารย์ ดร.ธานินทร์ กรัยวิเชียร องคมนตรี ผู้แทนพระองค์ เป็นประธานในพิธีเปิดหอประชุมฯ

วันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2535 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานนาม อาคารเรียนหลังใหม่ ว่า อาคาร สธ 3 พร้อมทั้งได้เสด็จพระราชดำเนิน ทรงเปิดอาคารเรียนดังกล่าว ด้วยพระองค์เอง

ปัจจุบัน (พ.ศ. 2548) นายสุทธิศักดิ์ เฟื่องเกษม เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนฯ จัดการเรียนการสอน ในระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึง มัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 76 ห้องเรียน ระดับ มัธยมศึกษาตอนต้น (ม.ต้น = ม.1-ม.3) จำนวน 38 ห้องเรียน (13-13-12) ระดับ มัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.ปลาย = ม.4-ม.6) จำนวน 38 ห้องเรียน (12-12-14) มีนักเรียนทั้งสิ้น 4,200 คน อาจารย์ 170 คน นักการภารโรง 10 คน ยาม 4 คน พนักงานขับรถ 2 คน

[แก้] อาคารต่างๆ ภายในโรงเรียน

"สธ 4 " อาคารเรียนล่าสุดของโรงเรียน
"สธ 4 " อาคารเรียนล่าสุดของโรงเรียน
  • อาคารเรียน "สธ 1"

สร้างขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2522 เป็นอาคารเรียนหลังแรกของโรงเรียน เป็นอาคาร 4 ชั้น ขนาด 32 ห้องเรียน หันหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ปัจจุบันมีห้องสำคัญดังนี้

    • โรงอาหาร ชั้น 1
    • ห้องอาหารอาจารย์ "สุโขสโมสร" ชั้น 1
    • ห้องพักอาจารย์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ ชั้น 3 ห้อง 1301
    • ห้องพักอาจารย์ หมวดคอมพิวเตอร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพ และเทคโนโลยี ชั้น 3 ห้อง 1310
    • ห้องเรียนคอมพิวเตอร์ ชั้น 3 ห้อง 1308-1309
    • ห้องพักอาจารย์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนา และ วัฒนธรรม ห้องที่ 2 ชั้น 2 ห้อง 1210
    • ห้องปฏิบัติการหุ่นยนต์ ชั้น 2 ห้อง 1209
    • ห้องระบบไฟฟ้าแรงสูง ชั้น 2
  • อาคารเรียน "สธ 2"

สร้างขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2524 เป็นอาคารเรียนหลังที่สองของโรงเรียน เป็นอาคารเรียน 4 ชั้น ขนาด 40 ห้องเรียน หันหน้าไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ลักษณะเหมือนกับ อาคาร สธ 1 ตั้งอยู่ฝั่งตรงข้าม อาคาร สธ 1 โดยมี ลานอเนกประสงค์ คั่นกลาง ปัจจุบันมีห้องสำคัญดังนี้

    • ห้องพักอาจารย์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ชั้น 1 ห้อง 2109
    • ห้องเทคโนโลยี (ชื่อเล่น ห้องเทคโนฯ) ชั้น 1 ห้อง 2108
    • ห้องพักอาจารย์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนา และ วัฒนธรรม ห้องที่ 1 ชั้น 3 ห้อง 2301
    • ห้องพิพิธภัณฑ์โรงเรียนฯ ชั้น 3 ห้อง 2309
    • ห้องพระพุทธศาสนา ชั้น 3 ห้อง 2310
    • ห้องพักอาจารย์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาต่างประเทศ ห้องที่ 2 ชั้น 4 ห้อง 2401
  • อาคารเรียน "สธ 3"

สร้างขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2533 เป็นอาคารเรียนหลังที่สามของโรงเรียน เป็นอาคาร 4 ชั้น ขนาด 24 ห้อง หันหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ปัจจุบันมีห้องสำคัญดังนี้

    • ห้องจาริกานุสรณ์ (ลพชัย แก่นรัตนะ) ชั้น 1
    • ห้องธุรการ ชั้น 1
    • ห้องผู้อำนวยการ ชั้น 1
    • ห้องทะเบียนและวัดผล ชั้น 1
    • ห้องวิชาการ ชั้น 1
    • ห้องพักอาจารย์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย ชั้น 2 ห้อง 3206
    • ห้องพักอาจารย์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาต่างประเทศ ชั้น 3 ห้อง 3306
  • อาคารเรียน "สธ 4"

สร้างขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2538 บริเวณติดกับอาคาร สธ 1 และ สธ 3 หันหน้าไปทางทิศตะวันตก เป็นอาคารเรียนหลังที่ห้าของโรงเรียน และยังเป็นอาคารใหม่ที่สุดด้วย ปัจจุบันมีห้องสำคัญดังนี้

    • ห้องฝ่ายบริการ ชั้น 1
    • ห้องประชุม ชั้น 1
    • ห้องแผนงานและสารสนเทศ ชั้น 1
    • ห้องพยาบาล ชั้น 1
    • ห้องพักอาจารย์ งานแนะแนว ชั้น 2 ห้อง 4202
    • ห้องโสตทัศนศึกษา ชั้น 2 ห้อง 4203
    • ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ชั้น 3 ห้อง 4301
    • ห้องปฏิบัติการทางภาษา (Sound Lab) ชั้น 3 ห้อง 4304
    • ห้องพักอาจารย์ หมวดพาณิชยกรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพ และเทคโนโลยี ชั้น 4 ห้อง 4401
หอประชุม "สิรินธราลัย"
หอประชุม "สิรินธราลัย"

สร้างขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2527 บริเวณติดกับถนนรอบลานอเนกประสงค์ ฝั่งตรงข้ามกับพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 5 หันหน้าไปทางทิศตะวันตก เพื่อเป็นอาคารหอประชุมของโรงเรียน ปัจจุบันมีห้องสำคัญดังนี้

    • หอประชุม ชั้น 2
    • ห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษก ชั้น 1
    • ห้องปฏิบัติการ Computer Graphic ชั้น 1
  • อาคารเอนกประสงค์ (ตึก 6)

สร้างขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2535 บริเวณติดกับอาคาร สธ 1 เป็นอาคารเรียนหลังที่สี่ของโรงเรียน หันหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ใช้เป็นห้องเรียนและห้องกิจกรรม ปัจจุบันมีห้องสำคัญดังนี้

    • ร้านสหกรณ์ ชั้น 1
    • ห้องปฏิบัติการเบเกอรี่ ชั้น 1
    • ศูนย์ปฏิบัติการ วิชา ศิลปศึกษา ก ชั้น 1
    • ห้องพักอาจารย์ หมวดคหกรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพ และเทคโนโลยี ชั้น 2
    • ห้องปฏิบัติการนาฏศิลป์ ชั้น 2
    • ห้องพักอาจารย์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลปะ ชั้น 3
    • โรงยิมเนเซียม ชั้น 4
  • อาคารทศวรรษ อัมพา แสนทวีสุข

สร้างขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2530 บริเวณข้างเรือนเกษตร เพื่อเป็นอาคารกิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี หันหน้าไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ตั้งชื่ออาคารเป็นอนุสรณ์แก่ นางอัมพา แสนทวีสุข อดีตผู้อำนวยการผู้ล่วงลับ ว่า "อาคารทศวรรษ อัมพา แสนทวีสุข" ต่อมา ได้เปลี่ยนเป็นอาคารกิจกรรมของวงโยธวาธิตโรงเรียน ปัจจุบันมีสภาพทรุดโทรมมาก ล่าสุด โรงเรียนจึงได้รื้อทำลาย เพื่อสร้างอาคารเรียนหลังใหม่

  • อาคารโรงฝึกงาน

สร้างขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2525 บริเวณใกล้ทางออกด้านหลังโรงเรียน หันหน้าไปทางทิศตะวันตก เพื่อเป็นอาคารปฏิบัติการ ห้องเรียน ห้องพักอาจารย์ ของ หมวดช่างอุตสาหกรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพ และเทคโนโลยี

  • เรือนเกษตร

สร้างขึ้น บริเวณหน้าโรงเรียน ติดถนนรอบสนามฟุตบอล ใกล้กับอาคาร สธ 2 ติดกับ อาคารทศวรรษ อัมพา แสนทวีสุข หันหน้าไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ เพื่อเป็นเรือนปฏิบัติการ ห้องเรียน ห้องพักอาจารย์ ของ หมวดวิชาเกษตรกรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพ และเทคโนโลยี ปัจจุบันมีสภาพทรุดโทรมมาก ล่าสุด โรงเรียนจึงได้รื้อทำลาย เพื่อสร้างอาคารเรียนหลังใหม่ และได้เคลื่อนย้าย เรือนเกษตร และ ห้องพักอาจารย์ หมวดวิชาเกษตรกรรม ไปอยู่ด้านหลัง ห้องสมุด "สวนเสริมปัญญา"

[แก้] สถานที่สำคัญภายในโรงเรียน

สถานเชิญธง "ลี้กุลเจริญ"
สถานเชิญธง "ลี้กุลเจริญ"
  • สถานเชิญธง "ลี้กุลเจริญ"

สร้างขึ้น เมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2545 เพื่อเป็นเสาเชิญธงชาติไทย ธงอักษรพระปรมาภิไธยย่อ ภปร และ ธงประจำโรงเรียน สีชมพู-ฟ้า ทุกเวลาเช้า 8 นาฬิกา อนุเคราะห์การจัดสร้างโดย นายอภิสิทธิ์ ลี้กุลเจริญ จึงได้ใช้นามสกุลของนายอภิสิทธิ์ เป็นชื่อสถานเชิญธงแห่งนี้

  • ห้องสมุด "สวนเสริมปัญญา"

สร้างขึ้น เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2534 ด้านข้างหอประชุมสิรินธราลัย เพื่อเป็นห้องสมุดธรรมชาติ มีศาลาพักผ่อนจำนวน 7 หลัง ทาสีตามวันในสัปดาห์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เสด็จฯ ทรงเปิด ในโอกาส เสด็จฯ ทรงเปิดอาคาร สธ 3 ทรงชื่นชมการจัดห้องสมุดธรรมชาติเช่นนี้อย่างมาก

  • ห้องจาริกานุสรณ์ (ลพชัย แก่นรัตนะ)

ตั้งอยู่ใต้อาคาร สธ 3 ติดกับบันไดทางขึ้นอาคารเรียนทางด้านขวา ในอดีต เป็นห้องฝ่ายปกครอง โดยเป็นห้องที่รวบรวมเรื่องราว และ ประวัติต่างๆ เกี่ยวกับโรงเรียน ทำเนียบผู้อำนวยการ แบบแปลนโรงเรียน รวมถึง รางวัลที่ได้รับ

  • สวนเฉลิมพระเกียรติ "60 พรรษา มหาราชินี"

สร้างขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2535 บริเวณด้านหน้าโรงเรียน ข้างอาคาร สธ 3 เนื่องในวโรกาสที่ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมายุ ครบ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เสด็จฯ ทรงเปิด ในโอกาส เสด็จฯ ทรงเปิดอาคาร สธ 3 ปัจจุบันเหลือเป็นเพียงสวนหย่อมรอบหอพระ และหน้าห้องจาริกานุสรณ์เท่านั้น

  • ศาลากลางน้ำ

สร้างขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2535 บริเวณใจกลางของสระน้ำ หลัง ห้องสมุด "สวนเสริมปัญญา" ในโอกาสที่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เสด็จฯ โรงเรียน

ปัจจุบัน ศาลากลางน้ำได้รับการปรับปรุงใหม่ เป็นเรือนไทยสวยงาม เพื่อเป็นสถาปัตยกรรมไทย ให้นักเรียนได้ศึกษา ให้ชื่อตามนามสกุลของผู้มีพระคุณจัดสร้าง ว่า "ศาลาแก่นรัตนะ"

[แก้] บุคคลที่มีชื่อเสียงที่เกี่ยวข้องกับโรงเรียน

นายเจษฎา จันทรนาคี ศิษย์เก่า รุ่นที่ 19
นายเจษฎา จันทรนาคี ศิษย์เก่า รุ่นที่ 19
  • นายครรชิต อมรภักดี อาจารย์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ สุขศึกษา และพลศึกษา ผู้ฝึกสอนเทควันโด แก่ เยาวภา บุรพลชัย เมื่อครั้งเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
  • นายอนุสรณ์ เกิดจนา อาจารย์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม แชมป์หลายสมัย จาก รายการเกมเศรษฐี เดอะ แชมเปียน ทาง ไอทีวี
  • นายธัญญะ วงศ์นาค (รูป) ผู้ประกาศข่าวกีฬา ไทยทีวีสีช่อง 3 (รุ่น 2)
  • นายสบชัย ไกรยูรเสน (รูป) "ฟอร์ด" นักร้อง เพลงไทยสากล, นักดนตรี (รุ่น 6)
  • นายเสกพล อุ่นสำราญ (รูป) "โก้" นักร้อง เพลงไทยสากล, นักดนตรี (รุ่น 6)
  • นางสาวพัชรี แสงเมือง นักกีฬา วอลเลย์บอล ทีมชาติไทย
  • นางสาวมนัสนันท์ แพงขะ นักกีฬา วอลเลย์บอลชายหาด ทีมชาติไทย
  • นางสาวรัตนาภรณ์ อาลัยสุข นักกีฬา วอลเลย์บอลชายหาด ทีมชาติไทย
  • นางสาวสายใจ แสนเสนีย์ (รูป) "สายใจ วลี" นักร้องเพลงลูกทุ่ง (รุ่น 16)
  • นายเจษฎา จันทรนาคี (รูป) ผู้ประกาศข่าว ช่อง 7 สี (รุ่น 19)
  • นางสาวเยาวภา บุรพลชัย (รูป) "วิว" นักกีฬา เทควันโด ทีมชาติไทย (รุ่น 20)
  • นางสาวอัมภิกา ชวนปรีชา (รูป) "กุ่กกุ๊ก" รองมิสไทยแลนด์ ยูนิเวอร์ส 2006 (ลิงก์) Miss Tourism Queen Of The Year International 2006 World Final (ลิงก์) (รุ่น 20)

[แก้] เกร็ดความรู้เกี่ยวกับโรงเรียน

  • สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงพระนิพนธ์ บทสักวาสด เพื่อทรงขับร้อง ร่วมกับ คณะนักเรียน ณ ศาลากลางน้ำ หลัง ห้องสมุด "สวนเสริมปัญญา" เมื่อวันพุธที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2535 ดังนี้
       
  สักวาแต่ก่อนมาโรงเรียนนี้   เออก็ตั้งสิบปีเข้าแล้วหนา
ได้พบครูและนักเรียนที่เปลี่ยนมา   ก็ล้วนมีหน้าตาที่เบิกบาน
  ได้นั่งเล่นเย็นใจที่ในสวน   แลก็ล้วนผู้รู้ดูสุขศานต์
บุปผชาติงามจริงยิ่งสำราญ   ยินกลอนกานต์ขับกล่อมพร้อมกันเอย
ต้นฉบับลายพระหัตถ์บทสักวานี้ ได้จัดใส่กรอบ เก็บรักษาไว้ที่ ห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษก
ศาลากลางน้ำ หลัง ห้องสมุดสวนเสริมปัญญา
ศาลากลางน้ำ หลัง ห้องสมุดสวนเสริมปัญญา
  • ในระยะเริ่มแรก โรงเรียนยังไม่มีอาคารเรียนถาวร มีเพียงที่ดินซึ่งกำลังถมและปรับสภาพ จึงต้องไปอาศัยใช้ โรงเรียนชลประทานสงเคราะห์ (ลิงก์) เป็นสถานที่ในการรับสมัครเข้าเรียน
  • เมื่อโรงเรียนเปิดดำเนินการ ในปีการศึกษา 2521 จึงได้มีการฝากนักเรียนชาย ให้เรียนที่ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และฝากนักเรียนหญิง ให้เรียนที่ โรงเรียนสตรีนนทบุรี (ลิงก์) โดยอยู่ในความดูแล ของ คณาจารย์ชายหญิง รวม 9 ท่าน
  • ต่อมา ในปีการศึกษา 2522 โรงเรียนได้รับงบประมาณก่อสร้าง อาคารเรียนชั่วคราว จำนวน 3 หลัง มี 25 ห้องเรียน ซึ่งเรียกกันในหมู่ศิษย์เก่า ว่า "ห้องเรียนเล้าไก่" จึงได้ย้ายนักเรียนกลับคืนมาทั้งหมด
  • รูปแบบการปักชื่อโรงเรียน บนอกเสื้อนักเรียน แบ่งเป็น 2 แบบ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ปักอักอักษรย่อ "ส.ก.น." ด้วยสีน้ำเงินเข้ม และ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ปักรูปเสมา แบ่งครึ่งสองด้าน ปักด้านขวามือของผู้สวม ด้วยสีชมพู และ ด้านซ้ายมือของผู้สวม ด้วยสีฟ้า เหนืออักษรย่อ "ส.ก.น." สีน้ำเงินเข้มเช่นกัน
  • ห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษก เดิมชื่อ ห้องสมุดติณสูลานนท์ ตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแด่ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี และ รัฐบุรุษ ศิษย์เก่า โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
  • กล่าวกันว่า นางอัมพา แสนทวีสุข ผู้อำนวยการ และ อาจารย์ใหญ่ ท่านแรก ถึงแก่กรรมในขณะที่กำลังทำงานอยู่ภายในโรงเรียนด้วย จึงเชื่อกันว่า ดวงวิญญาณของนางอัมพา ยังคงอารักขาคุ้มครองโรงเรียนอยู่ เพราะนางอัมพามีความผูกพันกับโรงเรียนมาก ถึงกับมีการสร้างศาลให้กับนางอัมพา ภายในโรงเรียนด้วย
  • นายชูเกียรติ วิเชียรชิต อดีตผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายปกครอง ประสบอุบัติเหตุถึงแก่กรรม หลังกลับจากการปฏิบัติราชการ ในกลางดึกคืนหนึ่ง บนถนน บริเวณด้านหน้า โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ หอวัง นนทบุรี ในขณะที่ รถตู้ที่นายชูเกียรติโดยสารมา เกิดเหตุยางระเบิด นายชูเกียรติจึงอาสาจะลงไปช่วยคนขับรถเปลี่ยนยาง ในขณะกำลังจะลงจากรถตู้ รถจักรยานยนต์ที่แข่งกันมาด้วยความเร็วสูง พุ่งเข้าชนนายชูเกียรติ จนร่างลอยกระเด็นไปตกลงบนพื้นถนน ห่างจากที่เกิดเหตุ ประมาณ 10 เมตร หลังจากนั้นจึงช่วยกันนำส่งโรงพยาบาลโดยด่วน แต่ทนพิษบาดแผลไม่ไหว

[แก้] ดูเพิ่ม

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

พิกัดภูมิศาสตร์

พิกัดภูมิศาสตร์
13.91010° N 100.51283° E

Static Wikipedia (no images)

aa - ab - af - ak - als - am - an - ang - ar - arc - as - ast - av - ay - az - ba - bar - bat_smg - bcl - be - be_x_old - bg - bh - bi - bm - bn - bo - bpy - br - bs - bug - bxr - ca - cbk_zam - cdo - ce - ceb - ch - cho - chr - chy - co - cr - crh - cs - csb - cu - cv - cy - da - de - diq - dsb - dv - dz - ee - el - eml - en - eo - es - et - eu - ext - fa - ff - fi - fiu_vro - fj - fo - fr - frp - fur - fy - ga - gan - gd - gl - glk - gn - got - gu - gv - ha - hak - haw - he - hi - hif - ho - hr - hsb - ht - hu - hy - hz - ia - id - ie - ig - ii - ik - ilo - io - is - it - iu - ja - jbo - jv - ka - kaa - kab - kg - ki - kj - kk - kl - km - kn - ko - kr - ks - ksh - ku - kv - kw - ky - la - lad - lb - lbe - lg - li - lij - lmo - ln - lo - lt - lv - map_bms - mdf - mg - mh - mi - mk - ml - mn - mo - mr - mt - mus - my - myv - mzn - na - nah - nap - nds - nds_nl - ne - new - ng - nl - nn - no - nov - nrm - nv - ny - oc - om - or - os - pa - pag - pam - pap - pdc - pi - pih - pl - pms - ps - pt - qu - quality - rm - rmy - rn - ro - roa_rup - roa_tara - ru - rw - sa - sah - sc - scn - sco - sd - se - sg - sh - si - simple - sk - sl - sm - sn - so - sr - srn - ss - st - stq - su - sv - sw - szl - ta - te - tet - tg - th - ti - tk - tl - tlh - tn - to - tpi - tr - ts - tt - tum - tw - ty - udm - ug - uk - ur - uz - ve - vec - vi - vls - vo - wa - war - wo - wuu - xal - xh - yi - yo - za - zea - zh - zh_classical - zh_min_nan - zh_yue - zu -

Static Wikipedia 2007 (no images)

aa - ab - af - ak - als - am - an - ang - ar - arc - as - ast - av - ay - az - ba - bar - bat_smg - bcl - be - be_x_old - bg - bh - bi - bm - bn - bo - bpy - br - bs - bug - bxr - ca - cbk_zam - cdo - ce - ceb - ch - cho - chr - chy - co - cr - crh - cs - csb - cu - cv - cy - da - de - diq - dsb - dv - dz - ee - el - eml - en - eo - es - et - eu - ext - fa - ff - fi - fiu_vro - fj - fo - fr - frp - fur - fy - ga - gan - gd - gl - glk - gn - got - gu - gv - ha - hak - haw - he - hi - hif - ho - hr - hsb - ht - hu - hy - hz - ia - id - ie - ig - ii - ik - ilo - io - is - it - iu - ja - jbo - jv - ka - kaa - kab - kg - ki - kj - kk - kl - km - kn - ko - kr - ks - ksh - ku - kv - kw - ky - la - lad - lb - lbe - lg - li - lij - lmo - ln - lo - lt - lv - map_bms - mdf - mg - mh - mi - mk - ml - mn - mo - mr - mt - mus - my - myv - mzn - na - nah - nap - nds - nds_nl - ne - new - ng - nl - nn - no - nov - nrm - nv - ny - oc - om - or - os - pa - pag - pam - pap - pdc - pi - pih - pl - pms - ps - pt - qu - quality - rm - rmy - rn - ro - roa_rup - roa_tara - ru - rw - sa - sah - sc - scn - sco - sd - se - sg - sh - si - simple - sk - sl - sm - sn - so - sr - srn - ss - st - stq - su - sv - sw - szl - ta - te - tet - tg - th - ti - tk - tl - tlh - tn - to - tpi - tr - ts - tt - tum - tw - ty - udm - ug - uk - ur - uz - ve - vec - vi - vls - vo - wa - war - wo - wuu - xal - xh - yi - yo - za - zea - zh - zh_classical - zh_min_nan - zh_yue - zu -

Static Wikipedia 2006 (no images)

aa - ab - af - ak - als - am - an - ang - ar - arc - as - ast - av - ay - az - ba - bar - bat_smg - bcl - be - be_x_old - bg - bh - bi - bm - bn - bo - bpy - br - bs - bug - bxr - ca - cbk_zam - cdo - ce - ceb - ch - cho - chr - chy - co - cr - crh - cs - csb - cu - cv - cy - da - de - diq - dsb - dv - dz - ee - el - eml - eo - es - et - eu - ext - fa - ff - fi - fiu_vro - fj - fo - fr - frp - fur - fy - ga - gan - gd - gl - glk - gn - got - gu - gv - ha - hak - haw - he - hi - hif - ho - hr - hsb - ht - hu - hy - hz - ia - id - ie - ig - ii - ik - ilo - io - is - it - iu - ja - jbo - jv - ka - kaa - kab - kg - ki - kj - kk - kl - km - kn - ko - kr - ks - ksh - ku - kv - kw - ky - la - lad - lb - lbe - lg - li - lij - lmo - ln - lo - lt - lv - map_bms - mdf - mg - mh - mi - mk - ml - mn - mo - mr - mt - mus - my - myv - mzn - na - nah - nap - nds - nds_nl - ne - new - ng - nl - nn - no - nov - nrm - nv - ny - oc - om - or - os - pa - pag - pam - pap - pdc - pi - pih - pl - pms - ps - pt - qu - quality - rm - rmy - rn - ro - roa_rup - roa_tara - ru - rw - sa - sah - sc - scn - sco - sd - se - sg - sh - si - simple - sk - sl - sm - sn - so - sr - srn - ss - st - stq - su - sv - sw - szl - ta - te - tet - tg - th - ti - tk - tl - tlh - tn - to - tpi - tr - ts - tt - tum - tw - ty - udm - ug - uk - ur - uz - ve - vec - vi - vls - vo - wa - war - wo - wuu - xal - xh - yi - yo - za - zea - zh - zh_classical - zh_min_nan - zh_yue - zu

Static Wikipedia February 2008 (no images)

aa - ab - af - ak - als - am - an - ang - ar - arc - as - ast - av - ay - az - ba - bar - bat_smg - bcl - be - be_x_old - bg - bh - bi - bm - bn - bo - bpy - br - bs - bug - bxr - ca - cbk_zam - cdo - ce - ceb - ch - cho - chr - chy - co - cr - crh - cs - csb - cu - cv - cy - da - de - diq - dsb - dv - dz - ee - el - eml - en - eo - es - et - eu - ext - fa - ff - fi - fiu_vro - fj - fo - fr - frp - fur - fy - ga - gan - gd - gl - glk - gn - got - gu - gv - ha - hak - haw - he - hi - hif - ho - hr - hsb - ht - hu - hy - hz - ia - id - ie - ig - ii - ik - ilo - io - is - it - iu - ja - jbo - jv - ka - kaa - kab - kg - ki - kj - kk - kl - km - kn - ko - kr - ks - ksh - ku - kv - kw - ky - la - lad - lb - lbe - lg - li - lij - lmo - ln - lo - lt - lv - map_bms - mdf - mg - mh - mi - mk - ml - mn - mo - mr - mt - mus - my - myv - mzn - na - nah - nap - nds - nds_nl - ne - new - ng - nl - nn - no - nov - nrm - nv - ny - oc - om - or - os - pa - pag - pam - pap - pdc - pi - pih - pl - pms - ps - pt - qu - quality - rm - rmy - rn - ro - roa_rup - roa_tara - ru - rw - sa - sah - sc - scn - sco - sd - se - sg - sh - si - simple - sk - sl - sm - sn - so - sr - srn - ss - st - stq - su - sv - sw - szl - ta - te - tet - tg - th - ti - tk - tl - tlh - tn - to - tpi - tr - ts - tt - tum - tw - ty - udm - ug - uk - ur - uz - ve - vec - vi - vls - vo - wa - war - wo - wuu - xal - xh - yi - yo - za - zea - zh - zh_classical - zh_min_nan - zh_yue - zu