นาง
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชาวนาง ตั้งถิ่นฐานในสุดชายแดนฝั่งขวาของแม่น้ำแดงในบริเวณที่มีรูปสี่เหลี่ยมซึ่งมีอาณาเขตถูกคั่นโดยประเทศจีน แม่น้ำแดง อาณาเขตแคว้นฟันสีพาน น้ำบ่อ และพลเมืองเชื้อชาติเดียวกัน และถือว่าเดิมเป็นคนไท เนื่องจากอยู่ใกล้ประเทศจีน อิทธิพลจีนจึงมีมาก (ติดต่อกันผ่านแม่น้ำแดง) ชาวนางมีประชากรประมาณ 20,000 คน
[แก้] ภาษา
พวกนางพูดภาษาใกล้เคียงกับภาษาไทยมาก แต่ทำการอะไรจะไปทางจีนมาก ซึ่งจะพบคุณลักษณะแบบในแคว้นชาวนาง คล้ายกันกับพวกทางพงโถ แต่พูดจาด้วยสำเนียงเร็วกว่า
[แก้] อุปนิสัย
ชาวนาง มีนิสัยเป็นนักรบ และมีลักษณะที่น่าสนใจของชาวนางคือ การค้าขาย ถึงจะต้องเดินทางไกลๆ หรือรายได้น้อยมาก พวกเขาก็ไม่ถอย
[แก้] ประเพณี
ชาวนางจะมี "การเต้นรำหมวก" เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายกันในพงโถ เต้นด้วยจังหวะช้านาบเนิบ ส่วนที่เมืองฮุมใช้กลองตีเข้าจังหวะช่วยในการเต้นรำ เหล่าหญิงจะเต้นรำชาวนางแห่งเมืองตำดวง เต้นรำแบบนักรบ โดยใช้ไม้พลองสำหรับหาบน้ำ
|
||||||||||||
|