มหาภารตะ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มหาภารตะ (อักษรเทวนาครี: महाभारत) บางครั้งเรียกสั้นๆ ว่า ภารตะ นับเป็นหนึ่งสองของมหากาพย์ที่ยิ่งใหญ่ของอินเดีย (มหากาพย์อีกเรื่องคือ รามายณะ)โดยประพันธ์เป็นโศลกภาษาสันสกฤต
ตามตำนานเล่าว่าผู้แต่งมหากาพย์เรื่องนี้คือ ฤๅษีกฤษณะ ไทวปายนะ วยาสะ นับเป็นมหากาพย์ที่ยาวที่สุดในโลก มีเนื่อหาซับซ้อน เล่าเรื่องอันยืดยาวที่เกี่ยวข้องกับปกรณัม และหลักปรัชญาของอินเดีย ทั้งนี้ยังมีเรื่องย่อยๆ แทรกอยู่มากมาย เช่น ภควัทคีตา ทมยันตี, เป็นต้น ทั้งนี้ ถือว่าเป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ที่สำคัญของศาสนาฮินดูด้วย
[แก้] บรรพ
มหาภารตะประกอบด้วยบรรพ (ภาค หรือบท) ทั้งหมด 18 บรรพ ดังนี้
- อทิบรรพ - บทนำ การกำเนิดเจ้าชายต่างๆ
- สภบรรพ - ชีวิตในราชสำนัก การเล่นสกา การเนรเทศเหล่าปาณฑพ
- อรัณยกะบรรพ (เรียก วนบรรพ หรือ อรัณยบรรพ ก็มี) - ช่วง 12 ปีของการเดินป่า
- วีรตบรรพ - ช่วงที่พำนักในราชสำนักของท้าววิรตะ
- อุทโยคบรรพ - เตรียมการรบ และพระกฤษณะสาธยายคำสอนภควัทคีตาแก่อรชุน
- ภิษมบรรพ - ช่วงแรกของมหาสงคราม มีภีษมะเป็นแม่ทัพฝ่ายเการพ
- โทรณบรรพ - ภีษมะบาดเจ็บหนักจนดำเนินการรบต่อไปไม่ได้ โทรณาจารย์จึงเป็นแม่ทัพฝ่ายเการพแทน
- กรรณบรรพ - โทรณาจารย์สิ้นชีวิตในการรบ กรรณะดำรงตำแหน่งแม่ทัพฝ่ายเการพคนถัดมา
- ศัลยบรรพ - การต่อสู้ช่วงหลัง เนื่องจากกรรณะถูกอรชุนสังหาร ท้าวศัลยะจึงเป็นแม่ทัพแทน
- เสาปติกบรรพ - อัศวัตถามาและและเการพที่เหลือทำลายกองทัพปาณฑพขณะหลับไหล
- สตรีบรรพ - คานธารีและหญิงคนอื่นๆ โศกเศร้ากับความตายของเหล่านักรบ
- ศันติบรรพ - ยุธิษฐิระขึ้นครองอำนาจ และคำสอนจากภีษมะ
- อนุษสนบรรพ - คำสอนครั้งสุดท้ายของภิษมะ
- อัศวเมธิกบรรพ - ยุธิษฐิระทำพิธีอัศวเมธ
- อาศรมวาสิกบรรพ - ท้าวธฤตราษฎร์, นางคานธารี และนางกุนตี ออกจากอาศรม และสุดท้ายถึงแก่ความตายในป่า
- เมาสลบรรพ - ความพินาศของเหล่ากษัตริย์ยาทวะ วาระสุดท้ายของพระกฤษณะและนครทวารกา
- มหาปรัสถานิกบรรพ - ช่วงแรกของเส้นทางสู่ความตายของยุธิษฐิระและพี่น้อง
- สวรรคโรหนบรรพ - พี่น้องปาณฑพกลับสู่สวรรค์
มหาภารตะ เป็นบทความเกี่ยวกับ วรรณคดี วรรณกรรม หรือหนังสือ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับ มหาภารตะ ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ |