สถาปนิก
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สถาปนิก คือบุคคลผู้เกี่ยวข้องในการออกแบบ และ วางแผน ในการก่อสร้าง หรือที่เรียกว่างานสถาปัตยกรรม โดยสถาปนิก จะเป็นผู้ที่เข้าใจในมาตรฐานการก่อสร้างของอาคาร เข้าใจถึงหน้าที่ใช้สอยของอาคารนั้น รวมถึงวัสดุที่จะนำมาเป็นส่วนประกอบของสิ่งก่อสร้างนั้น สถาปนิกจำเป็นต้องได้รับการศึกษาทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ และได้ัรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม ถึงจะสามารถทำงานในวิชาชีพสถาปนิกได้ ซึ่งคล้ายกับการทำงานในสาขาวิชาชีพอื่น
สถาปก คำเก่าของคำว่าสถาปนิก ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เป็นศัพท์ภาษาสันสกฤต หมายถึง ผู้สร้าง, ผู้ก่อตั้ง ในเอกสารโบราณก่อนสมัยรัตนโกสินทร์เคยปรากฏคำ "สถาบก" หมายถึง การสร้าง หรือผู้สร้าง
รางวัลที่น่ายกย่องของสถาปนิกที่รู้จักในฐานะผู้ก่อสร้างอาคารได้แก่ รางวัลพลิตซ์เกอร์ ซึ่งมักจะถูกเปรียบเทียบเหมือนกับ "รางวัลโนเบลในทางสถาปัตยกรรม"
สารบัญ |
[แก้] สถาปนิกที่มีชื่อเสียงจากอดีตถึงปัจจุบัน
[แก้] สถาปนิกจากต่างประเทศ
อดีตถึงคริสต์ศตวรรษที่ 14
- อิมโฮเตป (Imhotep)
- วิทรูเวียส (Vitruvius)
- โดนาโต ดันเจโล บรามันเต (Donato d'Angelo Bramante)
- ฟีลิปโป บรูเนลเลสกี (Filippo Brunelleschi)
- เลโอนาร์โด ดา วินชี (Leonardo da Vinci)
- อันเดรอา ปัลลาดีโอ (Andrea Palladio)
- มิเกลันเจโล บัวนาร์โรติ (Michael Angelo)
- ฟรองซัว มองซาร์ (François Mansart)
- ชูล อาร์ดูแอง มองซาร์ (Jules Hardouin-Mansart)
- กุสตาฟ ไอเฟล (Gustave Eiffel)
- อันโตนี เกาดี (Antoni Gaudí)
- หลุยส์ ซุลลิแวน (Louis Sullivan)
- เออแชน วีโยเล-เลอ-ดุก (Eugène Viollet-le-Duc)
- อัลวา อัลโต (Alvar Aalto)
- ริชาร์ด บักมินสเตอร์ ฟุลเลอร์ (Richard Buckminster Fuller (Buckminster Fuller)
- เอกตอร์ กีมาร์ (Hector Guimard)
- วอลเตอร์ โกรเปียส (Walter Gropius)
- ฮันส์ ฮอลไลน์ (Hans Hollein)
- วิกตอร์ ออร์ตา (Victor Horta)
- หลุยส์ คาห์น (Louis I. Kahn)
- เลอ กอร์บูซีเย (Charles-Édouard Jeanneret a.k.a. Le Corbusier)
- ลุดวิก มีส ฟันเดอโร (Ludwig Mies van der Rohe|Meis van de Roh)
- อองรี โซวาช (Henri Sauvage)
- เจมส์ สเตอร์ลิง (James Stirling)
- เยิร์น อุทซอน (Jørn Utzon)
- โรเบิร์ต เวนทูรี (Robert Venturi)
- แฟรงก์ ลอยด์ ไรต์ (Frank Lloyd Wright)
- อัลโด เวน เอค (Aldo van Eyck)
ร่วมสมัย (คริสต์ศตวรรษที่ 20 - คริสต์ศตวรรษที่ 21)
- ทะดะโอะ อันโด (Tadao Ando)
- อะซิมป์โทต (Asymptote)
- มารีโอ บอตตา (Mario Botta)
- ไมเคิล เกรฟส์ (Michael Graves)
- ปีเตอร์ ไอเซนมาน (Peter Eisenman)
- นอร์มัน ฟอสเตอร์ (Norman Foster)
- แฟรงก์ เกห์รี (Frank Gehry)
- ซาฮา ฮาดิด (Zaha Hadid)
- อะระตะ อิโซะซะกิ (Arata Isozaki)
- โตโยะ อิโตะ (Toyo Ito)
- เร็ม คูลฮาส (Rem Koolhaas)
- ริชาร์ด ไมเออร์ (Richard Meier)
- เอ็มวีอาร์ดีวี (MVRDV)
- ออสการ์ นีเมเยอร์ (Oscar Niemeyer)
- ชอง นูแวล (Jean Nouvel)
- น็อกซ์ (NOX)
- ไอเอ็มเป (Ieoh Ming Pei - I.M. Pei)
- เรนโซ เปียโน (Renzo Piano)
- กริสตียอง เดอ ปอร์ซอมปาร์ (Christian de Portzamparc)
- ริชาร์ด โรเจอส์ (Richard Rogers)
- อัลโด รอสซี (Aldo Rossi)
- เคนโซ ทังเงะ (Kenzo Tange)
- เบอร์นาร์ด ชูมี (Bernard Tschumi)
- เฮลมุต ยาห์น (Helmut Jahn)
[แก้] สถาปนิกในประเทศไทย
สถาปนิกที่ได้รับพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา
สถาปนิกที่ได้รับรางวัลศิลปินแห่งชาติ
- ศาสตราจารย์ พลเรือตรี สมภพ ภิรมย์ รน.
- หม่อมราชวงศ์ มิตรารุณ เกษมศรี
- ดร. ประเวศ ลิมปรังษี
- รศ.ดร. ภิญโญ สุวรรณคีรี
- นาวาเอก อาวุธ เงินชูกลิ่น
- รศ. ฤทัย ใจจงรัก
- วนิดา พึ่งสุนทร
- ดร. สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา
- นิธิ สถาปิตานนท์ (A49)
- ศ.กิตติคุณ เดชา บุญค้ำ
รายชื่อสถาปนิกที่คัดเลือกโดยสมาคมสถาปนิกสยาม ในบทความ "Reinvent" จำนวน 23 ท่าน[1]
- ดร. สุเมธ ชุมสาย ณอยุธยา
- องอาจ สาตรพันธุ์
- อรศิริ ปาณินท์
- นิธิ สถาปิตานนท์
- บุญฤทธิ์ ขอดิลกรัตน์
- อนุสรณ์ ภักดิ์สุขเจริญ
- จิรากร ประสงค์กิจ
- กรรณิการ์ รัตนปรีดากุล
- ผศ. ดร. ไขศรี ภักดิ์สุขเจริญ
- ดวงฤทธิ์ บุนนาค
- สุจินท์ โอสถารยกุล
- ปฐมา หรุ่นรักวิทย์
- กุลภัทร ยันตรศาสตร์
- ชนะ ส้มพลัง
- ดร. รชพร ชูช่วย
- สุริยะ อัมพันศิริรัตน์
- ผศ. ดร. มล.ปิยลดา ทวีปรังษีพร
- ทรงสุดา อธิบาย
- วรพันธุ์ คล้ามไพบูลย์
- บุษดี งามภักดีพาณิช
- ศาวินี บูรณศิลปิน
- ปิตุพงษ์ เชาวกุล
- ศัลยเวทย์ ประเสริฐวิทยาการ
อื่นๆ
- ชัชวาลย์ พริ้งพวงแก้ว
- เจน สกลธนรักษ์ (? ตัวสะกด)
- รังสรรค์ ต่อสุวรรณ
- ศ. กิตติคุณกฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา
- รศ.ดร.วิโรฒ ศรีสุโร (Appied Thai arts)
- รศ. ดร. บัณฑิต จุลาสัย (จุลาสัย)
- หม่อมหลวงตรีทศยุทธ เทวกุล
- รศ. เลอสม สถาปิตานนท์ (A49)
- รศ.ดร.ทิพย์สุดา ปทุมานนท์
- อาจารย์ยอดเยี่ยม เทพธรานนท์ (InterPac)
[แก้] สถาบันการศึกษาทางสถาปัตยกรรมในประเทศไทย
สถาบันการศึกษาที่ทำหน้าที่ผลิตสถาปนิกของประเทศไทยแห่งแรก คือ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2476 โดยอาจารย์นารถ โพธิประสาท ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2498 ได้มีการเปิดสอนคณะสถาปัตยกรรมไทย ปัจจุบัน คือ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร หลังจากนั้น ได้มีการสถาปนา สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ขึ้น ซึ่งมี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ เป็นคณะแรกของสถาบัน และนับเป็นสถาบันการศึกษาที่ผลิตสถาปนิกเป็นแห่งที่ 3 ของประเทศ ตามมาด้วยมหาวิทยาลัยขอนแก่น จากนั้น ก็ได้มีสถาบันอุดมศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชนเปิดสอนเป็นจำนวนมากดังปัจจุบัน
[แก้] อ้างอิง
[แก้] ดูเพิ่ม
รายชื่อคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ใน ประเทศไทย แก้ | |||
---|---|---|---|
|