เฟรเดริก ฟรองซัวส์ โชแปง
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เฟรเดริก ฟรองซัวส์ โชแปง เป็นคีตกวีชาวโปแลนด์เกิดเมื่อวันที่ 1 มีนาคม ค.ศ. 1810 เสียชีวิตเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม ค.ศ. 1849 จากวัณโรคที่ส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจ ชื่อที่บิดามารดาของเขาตั้งให้คือ Fryderyk Franciszek Chopin ต่อมาได้หันมาใช้ชื่อแบบฝรั่งเศสเมื่อเขาได้ตัดสินใจจากประเทศบ้านเกิดเป็นการถาวรเพื่อมุ่งหน้าสู่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส
สารบัญ |
[แก้] ชีวประวัติ
โชแปงเกิดเมื่อวันที่ 1 มีนาคม ค.ศ. 1810(ตามบันทึกของสังฆมณฑลบอกว่าเป็นวันที่ 22 กุมภาพันธ์) ที่เมือง เซลาโซวา โวลาซึ่งตั้งอยู่ตอนกลางของประเทศโปแลนด์ บิดาของโชแปงเป็นชาวฝรั่งเศสโดยกำเนิด พื้นเพมาจากเมืองมารังวิลล์-ซูร์-มาดง(Marainville-sur-Madon)ในแคว้นลอเรนน์ มารดาเป็นชาวโปแลนด์ โชแปงเริ่มเรียนดนตรีตั้งแต่อายุหกขวบ(ค.ศ. 1816) และแต่งเพลงแรกเมื่ออายุเพียงเจ็ดขวบ(ค.ศ. 1817) และเปิดการแสดงต่อสาธารณะชนครั้งแรกเมื่ออายุแปดขวบ(ค.ศ. 1818) ครูสอนดนตรีคนแรกของโชแปงได้แก่ โวซีเอค ซีนี(Wojciech Żywny) และหลังจากปี ค.ศ. 1826 เขาได้เข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนดนตรีแห่งกรุงวอซอ ซึ่งเขาได้รับการถ่ายทอดวิชาดนตรีจากโจเซฟ เอลส์เนอร์ (Joseph Elsner) เป็นหลัก
ในปีค.ศ. 1830 เขาได้จากโปแลนด์ประเทศบ้านเกิดเพื่อมาประกอบอาชีพนักดนตรีที่ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเขาได้ใช้ช่วงชีวิตที่เหลือพำนักอยู่ที่กรุงปารีส หรือไม่ก็ในบริเวณใกล้เคียง เขาตกหลุมรักสาวนางหนึ่งอย่างหัวปักหัวปำ ความรักที่เขามีต่อหล่อนได้เป็นแรงบันดาลใจในการประพันธ์เพลง "บัลลาด หมายเลข 1 โอปุสที่ 23" ที่แสนไพเราะ รวมถึงมูฟเมนท์ที่สองของคอนแชร์โต้หมายเลขหนึ่ง ระหว่างปีค.ศ. 1838 ถึง 1847 เขาได้กลายเป็นชู้รักของจอร์จเจอ ซ็องด์(George Sand) นักประพันธ์นวนิยายชาวฝรั่งเศสผู้อื้อฉาว แต่ในที่สุดก็ได้แยกทางกันด้วยความเต็มใจของทั้งสองฝ่ายเมื่ออาการป่วยของโชแปงทรุดหนัก ฉากหนึ่งของเรื่องราวความรักของคู่รักบันลือโลกที่ผู้คนจดจำได้ดีที่สุด เห็นจะได้แก่เหตุการณ์ในเกาะมายอร์ก้า ประเทศสเปน ในช่วงที่โชแปงใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่อย่างอนาถในบ้านชาวนาโดยปราศจากเครื่องทำความร้อน บทเพลงเขาได้ประพันธ์ระหว่างช่วงเวลาอันน่าสังเวชนี้ได้แก่พรีลูด โอปุสที่ 28 อันพรรณนาถึงความสิ้นหวังของทั้งคู่ ช่วงเวลาดังกล่าวได้มีผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อสุขภาพของโชแปง ที่ป่วยจากวัณโรคเรื้อรัง ทำให้เขาและจอร์จเจอ ซ็องด์ต้องตัดสินใจเดินทางกลับกรุงปารีสเพื่อรักษาชีวิตของโชแปงเอาไว้ เขารอดชีวิตมาได้ก็จริง แต่ก็ไม่หายขาดจากอาการป่วย จนกระทั่งจบชีวิตอย่างน่าสลดด้วยวัยเพียง 39 ปี
โชแปงสนิทกับฟร้านซ์ ลิซ (Franz Liszt) วินเซนโซ เบลลินี (Vincenzo Bellini - ผู้ซึ่งศพถูกฝังอยู่ใกล้กับเขาที่สุสานแปร์ ลาแชสในกรุงปารีส) และยูจีน เดอลาครัวซ์ เขายังเป็นเพื่อนกับคีตกวีเฮกเตอร์ แบร์ลิออซ (Hector Berlioz) และโรเบิร์ต ชูมันน์ (Robert Schumann) และแม้ว่าโชแปงจะได้มอบบทเพลงบางบทเพื่ออุทิศให้เพื่อนนักประพันธ์ทั้งสองก็ตาม แต่เขาก็ไม่ค่อยประทับใจกับบทเพลงที่ทั้งสองแต่ขึ้นสักเท่าไหร่นัก เขาได้ขอร้องให้ร้องเพลงสวดเรเคียมของโมซาร์ทในงานศพของเขา แต่เมื่อเขาเสียชีวิตลงในปีค.ศ. 1849 พิธีศพที่จัดขึ้นที่โบสถ์ ลา มัดเดอเล็น(La Madeleine)ไม่ได้ราบเรียบเสียทีเดียว เนื่องจากเป็นครั้งแรกที่ได้มีการขออนุญาตให้ใช้วงประสานเสียงสตรีในการร้องเพลงสวด ข่าวอื้อฉาวดังกล่าวได้แพร่ออกไปส่งผลให้ต้องเลื่อนพิธีฝังศพออกไปอีกสองสัปดาห์ แต่ในที่สุดโบสถ์ก็ยอมรับคำขอดังกล่าว ทำให้คำขอร้องครั้งสุดท้ายของโชแปงก็เป็นจริงขึ้นมา
ผลงานทุกชิ้นของโชแปงเป็นผลงานชิ้นเอก รวมถึงเพลงบรรเลงสำหรับเปียโน ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้สำหรับการเดี่ยวเปียโน งานประพันธ์ประเภทเรียบเรียงเสียงประสานมีเพียงคอนแชร์โต้สองบท โปโลเนส(polonaise)หนึ่งบท รอนโด้(rondo)หนึ่งบท และวาริอาซิยง(variation)อีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งทั้งหมดบรรเลงด้วยเปียโนและวงออเคสตร้า เพลงเชมเบอร์มิวสิคมีเพียงห้าชิ้น ซึ่งสี่ชิ้นแรกแต่งไว้ตั้งแต่วัยเด็ก ชิ้นสุดท้ายเป็นโซนาต้าสำหรับเชลโล่และเปียโน ซึ่งเป็นผลงานชิ้นสุดท้ายที่เขาได้นำออกแสดงต่อสาธารณชนร่วมกับออกุสต์ ฟร็องชอมม์ (Auguste Franchomme) เพื่อนของเขาผู้เป็นนักเชลโลเลื่องชื่อ มิตรภาพได้ถูกถ่ายถอดมาเป็นความละเมียดละไมของเชลโล เนื่องจากเชมเบอร์มิวสิคของโชแปงได้ใช้เชลโล่บรรเลงถึงสี่ในห้าชิ้นด้วยกัน
[แก้] บทเพลงสำหรับบรรเลงเปียโน เรียงลำดับตามหมายเลขของโอปุส
Opus
- 1 รอนโด้ ในบันไดเสียง c (1825)
- 2 วาริอาซิยง สำหรับเปียโนและวงออเคสตร้า จาก „Lá ci darem la mano“ ของโมซาร์ท (Mozart) ในบันไดเสียง H (1827/8)
- 3 อังโทรดุกซิยง และโปโลเนส สำหรับเชลโล่ และเปียโน ในบันไดเสียง c (1829)
- 4 โซนาต้าสำหรับเปียโน หมายเลข 1 ในบันไดเสียง c (1828)
- 5 รอนโด้ อา ลา มาซูร์ ในบันไดเสียง f (1826/7)
- 6 มาซูร์ก้าสี่บท ในบันไดเสียง fis, cis, E, es(1830/2)
- 7 มาซูร์ก้าห้าบท ในบันไดเสียง B, a, f, As, C (1830/2)
- 8 ทริโอ้ สำหรับเปียโน ไวโอลิน และเชลโล่ ในบันไดเสียง g (1829)
- 9 น็อคเทิร์น สามบทในบันไดเสียง b, Es, H (1830/2)
- 10 เอตู๊ดสิบสองบท(อุทิศให้แก่สหายฟร้านซ์ ลิซ)ในบันไดเสียง C, a, E, cis, Ges, es, C, F, f, As, Es, c (1830/2)
- 11 คอนแชร์โต้ สำหรับเปียโนและออเคสตร้าหมายเลข 1 ในบันไดเสียง e (1830)
- 12 อังโทรดุกซิยง และวาริอาซิยง บริลย็องต์ จาก „Je vends des scapulaires“ ของ „Ludovic“ d’Hérold ในบันไดเสียง B (1833)
- 13 ฟ็องเตซีสำหรับเปียโนและออเคสตร้า จากทำนองเพลงของโปแลนด์ ในบันไดเสียง A (1829)
- 14 รอนโด้ของชาวคราโควี สำหรับเปียโนและออเคสตร้า ในบันไดเสียง F (1831/3)
- 15 น็อคเทิร์น สามบทในบันไดเสียง F, Fis, g (1831/3)
- 16 อังโทรดุกซิยง และ รอนโด้ ในบันไดเสียง c (1829)
- 17 มาซูร์ก้าสี่บท ในบันไดเสียง B, e, As, a (1831/3)
- 18 กร็องด์ วาลซ์ บริลย็องต์ ในบันไดเสียง Es (1833)
- 19 โบเลอโรในบันไดเสียง C (etwa 1833)
- 20 แชโซหมายเลข 1 ในบันไดเสียง h (1831/4)
- 21 คอนแชร์โต้ สำหรับเปียโนและออเคสตร้าหมายเลข 2 ในบันไดเสียง f (1829/30)
- 22 อานดันเต้ สปิอานาโต้ และ กร็องด์ โปโลเนส บริลย็องต์ ในบันไดเสียง Es (1830/6)
- 23 บัลลาด หมายเลข 1 ในบันไดเสียง g (1835)
- 24 มาซูร์ก้าสี่บท ในบันไดเสียง g, C, As, b (1833/6)
- 25 เอตู๊ดสิบสองบท(อุทิศให้แก่มาดามก็องเตส โดกุลต์)ในบันไดเสียง As, f, F, a, e, gis, cis, Des, Ges, h, a, c (1833/7)
- 26 โปโลเนส สองบท ในบันไดเสียง cis, es (1831/6)
- 27 น็อคเทิร์น สองบท ในบันไดเสียง cis, Des (1833/6)
- 28 พรีลูด 24 บทในทุกบันไดเสียง (1838/9)
- 29 อิมพร็อมตู หมายเลข 1 ในบันไดเสียง As (etwa 1837)
- 30 มาซูร็ก้าสี่บท ในบันไดเสียง c, h, Des, cis (1836/7)
- 31 แชโซหมายเลข 2 ในบันไดเสียง b (1835/7)
- 32 น็อคเทิร์น สองบท ในบันไดเสียง H, As (1835/7)
- 33 มาซูร์ก้าสี่บท ในบันไดเสียง gis, D, C, h (1836/8)
- 34 วาลซ์ สามบท ในบันไดเสียง As, a, F (1831/8)
- 35 โซนาต้าสำหรับเปียโน หมายเลข 2 ในบันไดเสียง b-moll (1839)
- 36 อิมพร็อมตู หมายเลข 2 ในบันไดเสียง Fis (1839)
- 37 น็อคเทิร์น สองบท ในบันไดเสียง g, G (1837/9)
- 38 บัลลาด หมายเลข 2 ในบันไดเสียง F (1839)
- 39 แชโซหมายเลข 3 ในบันไดเสียง cis (1839)
- 40 โปโลเนส สองบท ในบันไดเสียง A (เรียกอีกชื่อว่า„Militaire“)และบันไดเสียง c (1838/9)
- 41 มาซูร์ก้าสี่บท ในบันไดเสียง cis, e, H, As (1838/9)
- 42 กร็องด์ วาลซ์ ในบันไดเสียง As (1839/40)
- 43 ทาแรนเทลลาในบันไดเสียง as (1841)
- 44 โปโลเนส ในบันไดเสียง fis (1841)
- 45 พรีลูด (1838/39)
- 46 อัลเลโกร ของคอนแชร์โต้ (1832/41)
- 47 บัลลาด หมายเลข 3 ในบันไดเสียง As (1841)
- 48 น็อคเทิร์น สองบท ในบันไดเสียง c, fis (1841)
- 49 ฟ็องเตซีในบันไดเสียง f (1841)
- 50 มาซูร์ก้าสามบท ในบันไดเสียง G, As, cis (1841/2)
- 51 อิมพร็อมตู หมายเลข 3 ในบันไดเสียง Ges (1842)
- 52 บัลลาด หมายเลข 4 ในบันไดเสียง f (1842)
- 53 โปโลเนส ในบันไดเสียง As เรียกอีกชื่อว่า(„Héroïque“) (1842)
- 54 แชโซหมายเลข 4 ในบันไดเสียง E (1842)
- 55 น็อคเทิร์น สองบท ในบันไดเสียง f, Es (1843)
- 56 มาซูร์ก้าสามบท ในบันไดเสียง H, C, c (1843)
- 57 แบร์เซิร์ส (เพลงกล่อมเด็ก) ในบันไดเสียง Des (1844)
- 58 โซนาต้าสำหรับเปียโน หมายเลข 3 ในบันไดเสียง h (1844)
- 59 มาซูร็ก้าสามบท ในบันไดเสียง a, As, fis (1845)
- 60 บาคาโรเล่ ในบันไดเสียง fis (1846)
- 61 โปโลเนส ฟ็องเตซี ในบันไดเสียง As (1846)
- 62 น็อคเทิร์น สองบท ในบันไดเสียง H, E (1845/6)
- 63 มาซูร็ก้าสามบท ในบันไดเสียง H, f, cis (1846)
- 64 วาลซ์ สามบท ในบันไดเสียง Des เรียกอีกชื่อว่า(„Valse minute“), cis, As (1840/7)
- 65 โซนาต้า สำหรับ เชลโล่ และเปียโนในบันไดเสียง g (1846/7)
บทประพันธ์ที่ได้รับการเผยแพร่หลังจากการเสียชีวิต:
- 66 ฟ็องเตซี อิมพร็อมตู หมายเลข 4, cis (vers 1843)
- 67 มาซูร็ก้าสี่บท ในบันไดเสียง G, g, C, a (1830/49)
- 68 มาซูร็ก้าสี่บท ในบันไดเสียง C, a, F, f (1830/49)
- 69 วาลซ์ สองบท ในบันไดเสียง As, h (1829/35)
- 70 วาลซ์ สามบท ในบันไดเสียง Ges, As, Des (1829/41)
- 71 โปโลเนส สามบท ในบันไดเสียง d, B, f (1824/28)
- 72.1 น็อคเทิร์น ในบันไดเสียง e
- 72.2 บทเพลงไม่ทราบชื่อ
- 72.3 เอกอร์เซส สามบท ในบันไดเสียง D, G, Des (vers 1829)
- 73 รอนโด้ สำหรับเปียใน ในบันไดเสียง C (1828)
- 74 บทเพลง ที่ใช้ทำนองของโปแลนด์ (1829/47)
บทเพลงที่ปราศจากหมายเลขโอปุส:
- โปโลเนส ในบันไดเสียง B (1817)
- โปโลเนส ในบันไดเสียง g (1817)
- โปโลเนส ในบันไดเสียง As (1821)
- อังโทรดุกซิยงและวาริอาซิยง สำหรับบทเพลงของเยอรมัน ในบันไดเสียง E (1824)
- โปโลเนส ในบันไดเสียง gis (1824)
- มาซูร์ก้า ในบันไดเสียง B (1825/26)
- มาซูร์ก้า ในบันไดเสียง G (1825/26)
- วาริอาซิยง สำหรับเปียโนสี่มือ ในบันไดเสียง D (1825/26)
- เพลงมาร์ชงานศพ ในบันไดเสียง c (1837)
- โปโลเนส ในบันไดเสียง b (1826)
- น็อคเทิร์น ในบันไดเสียง e (1828/30)
- ซูเวอร์นีร์ เดอ ปากานีนี ในบันไดเสียง A (1829)
- มาซูร์ก้า ในบันไดเสียง G (1829)
- วาลซ์ ในบันไดเสียง E (1829)
- วาลซ์ ในบันไดเสียง Es (1829)
- มาซูร์ก้าพร้อมบทร้องบางส่วน ในบันไดเสียง G (1829)
- วาลซ์ ในบันไดเสียง As (1829)
- วาลซ์ ในบันไดเสียง e (1830)
- ซารี่พร้อมบทร้องบางส่วน (1830)
- โปโลเนส ในบันไดเสียง Ges (1830)
- เลนโต้ ก็อน กราน เอสเปรสซิออน (Lento con gran espressione) ในบันไดเสียง cis (1830)
- มาซูร์ก้า ในบันไดเสียง B (1832)
- มาซูร์ก้า ในบันไดเสียง D (1832)
- คอนแชร์โต้ กร็องด์ ดูโอ สำหรับบทละครเรื่อง "Robert le Diable" ของ เมอแยร์แบร์ (Meyerbeer) สำหรับเชลโล่ และเปียโน ในบันไดเสียง E (1832/33)
- มาซูร์ก้า ในบันไดเสียง C (1833)
- คานตาบิลเล ในบันไดเสียง B (1834)
- มาซูร์ก้า ในบันไดเสียง As (1834)
[แก้] มีเดีย
- Nocturne Op 15 No 2 (file info) — เปิดฟัง
- In F sharp major, performed by Paul Cantrell
- Fantaisie-Impromptu in C-sharp minor Op. 66 (file info) - (ต้นฉบับจาก en:วิกิพีเดีย) — เปิดฟัง
- Most of this piano solo features 4:3 en:polyrhythm
- "Zyczenie" ("The Maiden's Wish") Op. 74, No. 1 from Polish Songs (file info) — เปิดฟัง
- Chopin originally wrote this piece for piano and voice, arranged for solo piano by Franz Liszt
- Waltz Op 69 No 1 "L'Adieu" (file info) — เปิดฟัง
- Posthumous
- Berceuse (file info) — เปิดฟัง
- Opus 57, Performed by Veronica van der Knaap
- หากไม่ได้ยินเสียง โปรดดูเพิ่มที่ media help.