New Immissions/Updates:
boundless - educate - edutalab - empatico - es-ebooks - es16 - fr16 - fsfiles - hesperian - solidaria - wikipediaforschools
- wikipediaforschoolses - wikipediaforschoolsfr - wikipediaforschoolspt - worldmap -

See also: Liber Liber - Libro Parlato - Liber Musica  - Manuzio -  Liber Liber ISO Files - Alphabetical Order - Multivolume ZIP Complete Archive - PDF Files - OGG Music Files -

PROJECT GUTENBERG HTML: Volume I - Volume II - Volume III - Volume IV - Volume V - Volume VI - Volume VII - Volume VIII - Volume IX

Ascolta ""Volevo solo fare un audiolibro"" su Spreaker.
CLASSICISTRANIERI HOME PAGE - YOUTUBE CHANNEL
Privacy Policy Cookie Policy Terms and Conditions
โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม - วิกิพีเดีย

โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สถานีย่อย:ประเทศไทย
บทความสารานุกรมเรื่อง โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม ในหน้านี้ต้องการเก็บกวาด ตรวจสอบ และแก้ไขเพิ่มเติม
ถ้าคุณเป็นผู้เขียนเรื่องนี้หรือต้องการร่วมแก้ไข สามารถทำได้โดยกดที่ปุ่ม แก้ไข ด้านบน
ดูรายละเอียดและวิธีการเขียนได้ที่ โครงการวิกิโรงเรียน โดยเมื่อแก้ไขแล้วให้นำป้ายนี้ออกได้

โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม

ตราประจำโรงเรียนสามัคคีวิทยาคม

ชื่อ โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม
ชื่อ (อังกฤษ) Samakkhi Witthayakhom School
ก่อตั้ง พ.ศ. 2451
ประเภทโรงเรียน รัฐบาล สังกัด สพฐ. l โรงเรียนประจำจังหวัด l โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ l โรงเรียนสหศึกษา l โรงเรียนที่จัดการศึกษารูปแบบพิเศษ
ผู้อำนวยการสถานศึกษา นายปรีชา พัวนุกุลนนท์
คำขวัญ พลํ สงฺฆฺสส สามคฺคี (สามัคคีคือพลัง)
เพลงประจำสถาบัน เพลงมารช์ประจำโรงเรียนสามัคคีวิทยาคม
สีประจำสถาบัน สีขาว-สีน้ำเงิน
ที่อยู่ 159 ถนนบรรพปราการ ตำบลเวียง อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย 57000 โทร. 0 5371 1018 โทรสาร 0 5371 3003 ไปรษณีอิเล็กทรอนิกส์ samakkhi@hotmail.com
เว็บไซต์ Samakkhi.ac.th


โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม (อังกฤษ: Samakkhi Witthayakhom School) (อักษรย่อ: ส.ว.ค., S.W.K.) เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษารูปแบบสหศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ก่อตั้งโดย พระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร (แต่ครั้งดำรงตำแหน่ง พระภักดีณรงค์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย) ใน พ.ศ. 2451 ตรงกับปีที่ 41 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เดิมเรียก "โรงเรียนประจำจังหวัดเชียงรายสามัคคีวิทยาคม" มีเนื้อที่ 80 ไร่ 3 งาน 168 ตารางวา ประกอบด้วยอาคารเรียน 9 หลัง มีจำนวนห้องเรียนทั้งหมด 88 ห้อง แผนการจัดชั้นเรียน มีดังนี้ 12-12-12-15-15-15 ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 159 ถนนบรรพปราการ อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย

สารบัญ

[แก้] สัญลักษณ์


  • คติพจน์ พลํ สงฺฆสฺส สามคฺคี (สามัคคีคือพลัง)
  • ปรัชญา เรียนเยี่ยม เปี่ยมคุณธรรม นำพัฒนา
  • ภาษิต ตัวอย่างที่ดีมีค่ากว่าคำสอน
  • ตรา อักษรย่อของสถานศึกษาประดิษฐ์ด้วยเกลียวเชือกอันคล้องกันโดยมั่นคงเสมือนความสามัคคี ลอยอยู่กลางหมู่เมฆเป็นการเชิดชูไว้ในที่สูง ประดิษฐานอยู่ใต้อุณาโลมเปล่งรัศมีเสมือนความรุ่งโรจน์ของสถานศึกษา ใต้อักษรมีปี พ.ศ. ที่สถาปนาสถานศึกษาและมีแถบคติพจน์ของสถานศึกษา
  • พระพุทธรูป พระพุทธมณีไมตรีรัตนะ, โดยสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ได้ประทานนามพระพุทธรูปเนื่องในโอกาสเฉลิมศตวรรษของสถานศึกษา
  • สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ศาลเจ้าพ่อสันป่าแดง

[แก้] ประวัติ

ย้อนหลังไปประมาณกว่าศตวรรษก่อนนั้น พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชวินิจฉัยและพระบรมราโชบายในอันที่จะพัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าทัดเทียมนานาอารยประเทศ ทั้งเพื่อเป็นการป้องปัดภัยจากการล่าอาณานิคม จึงทรงพระราชดำริว่ากุลบุตรและกุลสตรีทั้งหลายสมควรได้รับการศึกษาโดยทั่วถึงกันโดยไม่แบ่งเหล่ากำเนิด เพศ ศาสนา และภูมิลำเนา

[แก้] ยุค 1 สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์

อาคาร 1 ในบรรยากาศการเข้าแถวเคารพธงชาติ (2550.02.14)
อาคาร 1 ในบรรยากาศการเข้าแถวเคารพธงชาติ (2550.02.14)
เบื้องหลังคือหอประชุม ถัดมาคือโรงพลศึกษา ในบรรยากาศการเข้าแถวเคารพธงชาติ (2550.02.14)
เบื้องหลังคือหอประชุม ถัดมาคือโรงพลศึกษา ในบรรยากาศการเข้าแถวเคารพธงชาติ (2550.02.14)
บริเวณประตู 1 (2548.11.23)
บริเวณประตู 1 (2548.11.23)
ท้องสนามโรงเรียนสามัคคีวิทยาคม (2549.11.23)
ท้องสนามโรงเรียนสามัคคีวิทยาคม (2549.11.23)
โรงเรียนดำรงราษฎร์สงเคราะห์ หรือในอดีตคือโรงเรียนบำรุงกุมารี (2548.12.05)
โรงเรียนดำรงราษฎร์สงเคราะห์ หรือในอดีตคือโรงเรียนบำรุงกุมารี (2548.12.05)

พ.ศ. 2453 พระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร (ศุข ดิษยบุตร) แต่ครั้งดำรงตำแหน่งเป็นพระภักดีณรงค์ ข้าหลวงจังหวัดเชียงราย ได้รับพระบรมราโชบายดังกล่าวมาพิจารณาร่วมกับหัวหน้าส่วนราชการจังหวัดเห็นชอบร่วมกันในอันที่จะจัดตั้งสถานศึกษาของรัฐประจำจังหวัดเชียงรายให้เป็นสัดส่วนนอกเหนือจากโรงเรียนประชาบาลในครั้งนั้น โดยได้กำหนดสถานที่บริเวณเชิงดอยวัดงำเมือง เนื้อที่ประมาณหนึ่งไร่ สถาปนาสถานศึกษาประจำจังหวัด ให้ชื่อว่า "โรงเรียนประจำจำหวัดเชียงรายสามัคคีวิทยาคม" จัดการสอนระดับประถมศึกษาสายสามัญ รับทั้งนักเรียนชายและหญิงตลอดทั้งพระภิกษุและสามเณรโดยทั่วกัน มีอาคารเรียนเป็นเรือนไม้ไต้ถุนสูงประกอบด้วยห้องเรียน 6 ห้อง ทั้งนี้ โดยแยกหญิงออกจากชาย ซึ่งฝ่ายหญิงนั้นเรียก "โรงเรียนบำรุงกุมารี" (ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียนประจำจำหวัดเชียงรายสามัคคีวิทยาคม) และตำแหน่งหัวหน้าสถานศึกษาในครั้งนั้นเรียก "ครูใหญ่"

พ.ศ. 2460 ครั้นต่อมา พระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร (ศุข ดิษยบุตร) ได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดอื่น พระราชโยธา (เจิม ปันยารชุน) ได้เข้ารับตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงรายแทน มีขุนพิเศษวรวุฒิเป็นศึกษาธิการจังหวัดเชียงราย และเรืออากาศตรี ปุย ยูววรรณ เป็นครูใหญ่โรงเรียนประจำจังหวัดเชียงรายสามัคคีวิทยาคม ในระหว่างนี้ สถานศึกษาได้ขยายการให้การศึกษาขึ้นจนถึงระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4

พ.ศ. 2465 ระยะนี้ ขุนพิเศษวรวุฒิ ศึกษาธิการจังหวัดเชียงราย ย้ายไปดำรงตำแหน่งยังจังหวัดอื่น ขุนสิทธิวรเวทย์ได้ย้ายเข้ามาแทน ประกอบกับเรืออากาศตรี ปุย ยูววรรณ ครูใหญ่ของสถานศึกษาก็ได้ไปพร้อมกัน และเรืออากาศตรี เชื้อ กุศลวงศ์ ได้เข้ารับตำแหน่งครูใหญ่แทน

พ.ศ. 2467 เมื่อพระราชโยธา(เจิม ปันยารชุน) ย้ายไปเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง อำมาตย์เอก พระยาราชเดชดำรง (ผล ศรุตานนท์) แต่ครั้งที่ยังดำรงตำแหน่งพระสระบุรีนันทยนิยม ได้เข้ารับตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงรายแทน และได้พิจารณาเห็นว่า สถานที่ตั้งสถานศึกษามีความคับแคบ ไม่อาจขยายต่อไปได้อีก ซึ่งไม่สนองความต้องการและความจำเป็นทางการศึกษา จึงมีดำริหาทุนเพื่อการดังกล่าวโดยการเรี่ยไร

จากนั้นได้ย้ายสถานที่เรียกจากเชิงดอยวัดงำเมืองมาเป็นสถานที่ชั่วคราว ดังต่อไปนี้ เพื่อรอการสร้างสถานที่ถาวร

1. ระดับประถมศึกษาทั้งชายและหญิง ไปเรียนยังศาลาวัดมิ่งเมือง ถนนบรรพปราการ อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย

2. ระดับมัธยมศึกษาทั้งชายและหญิง ไปเรียนยังวัดเจ็ดยอด ถนนพหลโยธิน อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย

พ.ศ. 2468 ปลายปี มีการยุบเลิกจังหวัดทหารบกเชียงรายไปตั้งยังจังหวัดทหารบกลำปาง ทางราชการทหารบกจึงได้มอบอาคารที่ทำการทั้งหมดให้แก่จังหวัดเชียงรายเป็นผู้รักษา จังหวัดเชียงรายจึงได้พิจารณาให้ย้ายการจัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษาทั้งชายและหญิงของสถานศึกษา จากวัดเจ็ดยอดมายังสโมสรทหารบก เชิงพระธาตุดอยทอง ส่วนระดับประถมศึกษาทั้งชายและหญิงมีคำสั่งให้แยกไปตั้งเป็น "โรงเรียนสตรีประจำจังหวัดเชียงรายดำรงราษฎร์สงเคราะห์" (โรงเรียนประจำจังหวัดสามัคคีวิทยาคมจึงมีแต่ระดับมัธยมศึกษา)

ในปีนี้ สถานศึกษาได้จัดตั้งกองลูกเสือขึ้น ชื่อ "กองลูกเสือมณฑลพายัพที่ 4" พร้อมกับกองอนุกาชาด ได้ตัวแทนกองลูกเสือ 1 หมู่ได้เข้ารับพระราชทานธงลูกเสือจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเสด็จประพาสมณฑลพายัพ ทั้งนี้ ณ จังหวัดเชียงใหม่

พ.ศ. 2470 หลวงกิตติวาท ศึกษาธิการจังหวัดเชียงราย ได้อนุมัติงบประมาณบำรุงการศึกษาของจังหวัดให้แก่ เรืออากาศตรี ขุน มีนะนันทน์ ครูใหญ่ของสถานศึกษา ไปปรับปรุงอาคารกองร้อยทหารบอกดอยจำปีจำปา (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งศาลากลางจังหวัดเชียงราย)และให้สถานศึกษาย้ายไปจัดการเรียนการสอน ณ ที่ดังกล่าว ในเวลานี้ได้ขยายชั้นเรียนขึ้นถึงระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6

[แก้] ยุค 2 การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475

นายบุญสิงห์ บุญค้ำ อดีตศึกษาธิการจังหวัดเชียงราย และเป็นนักเขียนชื่อดัง ผลงาน อาทิ เที่ยวเมืองเชียงตุงและแคว้นสาละวิน
นายบุญสิงห์ บุญค้ำ อดีตศึกษาธิการจังหวัดเชียงราย และเป็นนักเขียนชื่อดัง ผลงาน อาทิ เที่ยวเมืองเชียงตุงและแคว้นสาละวิน
นายเสม พริ้งพวงแก้ว อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขผู้มีคุณูปการแก่สถานศึกษา
นายเสม พริ้งพวงแก้ว อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขผู้มีคุณูปการแก่สถานศึกษา
ทีมฟุตบอลโรงเรียน พ.ศ. 2504 ซึ่งมีพลตำรวจตรี ยงยุทธ ฮงประยูร อดีตผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดเลย เป็นสมาชิก
ทีมฟุตบอลโรงเรียน พ.ศ. 2504 ซึ่งมีพลตำรวจตรี ยงยุทธ ฮงประยูร อดีตผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดเลย เป็นสมาชิก
ทีมฟุตบอลโรงเรียน พ.ศ. 2504 ซึ่งมีพลตำรวจตรี ยงยุทธ ฮงประยูร อดีตผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดเลย เป็นสมาชิก
ทีมฟุตบอลโรงเรียน พ.ศ. 2504 ซึ่งมีพลตำรวจตรี ยงยุทธ ฮงประยูร อดีตผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดเลย เป็นสมาชิก
หัวหน้าส่วนราชการในจังหวัดเชียงรายร่วมถ่ายภาพ ณ หน้าอาคาร 1 ในโอกาสงานนิทรรศการแสดงผลงานทางวิชาการและการแข่งขันทักษะความสามารถประจำปี(2547.09.01)
หัวหน้าส่วนราชการในจังหวัดเชียงรายร่วมถ่ายภาพ ณ หน้าอาคาร 1 ในโอกาสงานนิทรรศการแสดงผลงานทางวิชาการและการแข่งขันทักษะความสามารถประจำปี(2547.09.01)
ข้าราชการครูร่วมกันถ่ายภาพหน้าอาคาร 1 ภายหลังการทำบุญตักบาตรประจำเดือน(2547.06.01)
ข้าราชการครูร่วมกันถ่ายภาพหน้าอาคาร 1 ภายหลังการทำบุญตักบาตรประจำเดือน(2547.06.01)
บริเวณคูน้ำหน้าสถานศึกษา (2547.07.01)
บริเวณคูน้ำหน้าสถานศึกษา (2547.07.01)
ห้องโสตทัศนศึกษา(2547.07.07)
ห้องโสตทัศนศึกษา(2547.07.07)

ก่อนการสถาปนาอาคารถาวร

พ.ศ. 2478 บรรดาผู้ปกครองได้ร้องขอต่อทางราชการให้จัดตั้งสถานที่เรียนใหม่ ด้วยสถานที่ที่ใช้จัดการศึกษาอยู่ใยขณะนั้นมีความลำบาก การขึ้นลงในฤดูฝนอาจเกิดอันตรายได้ นายข่วง สุคนธสรรค์ รักษาการครูใหญ่ของสถานศึกษา จึงดำเนินการพิจารณาประสานกับนายบุญสิงห์ บุญค้ำ ศึกษาธิการจังหวัดเชียงราย (พ.ศ. 2471-2478)ซึ่งครั้งนี้ได้ติดต่อซื้อที่ดินจาก นายเรย์ ดับเบิลยู. แบตแทลล์ (Rey W. Battelle) หัวหน้าคณะมิชชันนารีชาวอเมริกา ณ บริเวณวัดป่าแดง ถนนบรรพปราการ อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย ประมาณห้าไร่เศษ ราคาสามร้อยห้าสิบบาท และที่ดินข้างเคียงอีก 1 แปลง ราคาหนึ่งร้อยห้าสิบบาท รวมทั้งที่ดินซึ่งผู้จิตศรัทธาบริจาคให้อีก 3 ราย ดังนี้

1. นายคำปัน ปิ่นแก้ว ยกที่ดินตอนหน้าด้านตะวันตกให้ห้าไร่เศษ

2. นายฝุ่น อุดมทรัพย์ ยกที่ดินทางด้านตะวันออกให้หนึ่งไร่

3. ร้อยโท เคลื่อน รักษ์คมนา ยกที่ดินอันติดต่อกับด้านตะวันตกให้หนึ่งไร่

นอกจากนี้ยังได้บริเวณป่าหลังวัดสันป่าแดงมาสมทบเข้าอีก รวมทั้งสิ้นประมาณห้าสิบไร่ ที่ห้าสิบไร่ดังกล่าวนี้ไม่มีหลักฐานการจับจองและได้มาแต่อย่างใด ทั้งนี้ โดยการสนับสนุนของพระพนมนครานุรักษ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงรายและหัวหน้าส่วนราชการทั้งปวงในสมัยนั้น รวมทั้งนายเสม พริ้งพวงแก้วอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

เมื่อได้ที่ดินมาแล้ว จึงดำเนินการเรี่ยไรเงินจากประชาชนประกอบกับงบประมาณของจังหวัดเข้าปรับปรุงพื้นที่ด้วยการก่นถางล้างหญ้าและถมที่ให้เป็นสนาม โดยเรือนจำจังหวัดเชียงรายมีคำสั่งให้นักโทษเข้าทำงานดังกล่าวและปลูกสร้างอาคารเรียนชั่วคราวขึ้นสองหลัง จากนั้นได้ย้ายที่เรียกจากสโมสรทหารบกบนดอยจำปีจำปามายังอาคารชั่วคราว

พ.ศ. 2479 จัดสร้างหอสมุดประจำสถานศึกษา โดยใช้เป็นหอสมุดประจำจังหวัดด้วย ในการนี้จึงได้หอสมุดเป็นห้องเรียนชั่วคราวแห่งใหม่ด้วย

การสถาปนาอาคารถาวร

พ.ศ. 2480 กระทรวงศึกษาธิการอนุมัติงบประมาณการก่อสร้างจำนวนหกร้อยบาทบาท ฝ่ายคณะกรรมการดำเนินการก่อสร้าง มีนายบุญสิงห์ บุญค้ำ ศึกษาธิการจังหวัดเชียงราย เป็นประธานกรรมการ พิจารณาเห็นเป็นการจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องก่อสร้างอาคารเรียนเป็นตึกถาวร (มิใช่ผ่อนผันเป็นการชั่วคราวอย่างที่แล้วมา) จึงรับบริจาคทรัพย์สินของประชาชน ตกยอดทั้งสิ้นสองหมื่นเก้าร้อยแปดสิบบาท และดำเนินการประกวดราคารับเหมาก่อสร้าง ปรากฏว่า นายฮุยหย่วน ฮังตระกูล เป็นผู้ให้ราคาต่ำสุดเพียงหนึ่งหมื่นหกพันห้าร้อยบาท จึงได้เป็นผู้ก่อสร้าง การวางรากฐานอาคารหลักมีขึ้นวันที่ 2 มีนาคม 2480

พ.ศ. 2481 พระพนมนครานุรักษ์ ผู้ว่าราชการจังหวัด ได้ประกอบพิธีเปิดอาหารหลักเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2481 สถาปนาโรงเรียนสามัคคีวิทยาคม (ได้ชื่อใหม่) ขึ้นเป็นการถาวร โดยอาคารหลักดังกล่าวนี้ ปัจจุบันคืออาคาร 1 ส่วนหอสมุดประจำสถานศึกษานั้นได้ถูกรื้อเพื่อนำวัสดุไปสร้างบ้านพักครู (ได้ 3 หลัง) ในโอกาสนี้จึงได้ใช้เงินที่เหลือสร้างอาคารประกอบอีก 2 หลัง ตกเป็นเงินสามพันแปดร้อยเจ็ดสิบบาท ดังนี้

1. โรงพลศึกษา ลักษณะเป็นอาคารไม้ชั้นเดียว พื้นติดดิน ล้อมรอบด้วยซี่กรงเหล็ก (ปัจจุบันได้ปรับปรุงเป็นยิมเนเซียมแล้ว)

2. โรงอาหาร ตั้งอยู่หลังอาคาร 1 เป็นโรงเรือนขนาดใหญ่ (พ.ศ. 2522 ได้รื้อและสร้างอาคาร 5 ขึ้นแทนที่)

พ.ศ. 2482 ในระหว่างนี้ การจัดการศึกษาได้เปลี่ยนเป็นระดับมัธยมศึกษาตอนต้นเรียนหลักสูตรสายสามัญ ตอนปลายจึงเรียนสายพาณิชยการ แต่ต่อมาให้ยกเลิกไปโดยให้เรียนสายสามัญต่อเนื่องกันไปทั้ง 6 ชั้นปี นอกจากนี้สถานศึกษาได้จัดการเรียนวิชาพิเศษอันป็นนโยบายของทางจังหวัดเพื่อผลิตบุคคลเป็นครูประชาบาล คือเมื่อเรียนแผนกฝึกหัดครูมาแต่มัธยมศึกษาปีที่ 1-4 จะได้รับประกาศนียบัตรและไปเป็นครูประชาบาลตามอำเภอต่าง ๆ ได้ ซึ่งนายอุทิศ ปัจฉิมาภิรมย์ ครูใหญ่ของสถานศึกษาในครั้งนั้นได้ดำเนินการ หลายปีต่อมาจึงยกเลิกไปเสีย คงมีแต่สายสามัญสืบมา

พ.ศ. 2483 คณะครูของสถานศึกษาพิจารณาเห็นเป็นเอกฉันท์ให้ร่วมกันจัดทำธงประจำสถานศึกษา และแต่งเพลงมาร์ชประจำโรงเรียนสามัคคีวิทยาคม และเพลงประจำธงเพื่อใช้ประกอบการเชียร์กีฬา เริ่มใช้อักษรย่อว่า "ส.ว.ค." และตั้งคติพจน์ "พลํ สงฺฆสฺส สามคฺคี"

ต่อมาได้มีการจัดตั้งสมาคมนักเรียนเก่าเป็นครั้งแรก โดยจดทะเบียนต่อกรมตำรวจ มีนายบุญโรจน์ อินทรลาวัลย์ เป็นนายกสมาคม

พ.ศ. 2498 ในสมัยที่นายประสิทธิ์ ธนะปัญโญ ดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ของสถานศึกษา (ตำแหน่งเปลี่ยนจากครูใหญ่เป็นอาจารย์ใหญ่) และนายวิสิษฐ์ เรืองอำพร เป็นศึกษาธิการจังหวัดเชียงราย ได้จัดสร้างหอประชุมโรงเรียนสามัคคีวิทยาคม ขนาด 20x45 เมตร ราคาก่อสร้างไม่ปรากฏหลักฐาน ทราบจากคำบอกเล่ากันมาว่าใช้เงิน ก.ศ.ส. และคณะศิษย์เก่าจัดหา (ต่อมาใช้เป็นโรงอาหาร และใน พ.ศ. 2549 มีคำสั่งจากนายกิตติโชต ห้อยยี่ภู่ ผู้อำนวยการสถานศึกษา โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม ให้รื้อทำลายเพื่อจัดสร้างอาคารเรียนเนื่องในงานฉลอง "ร้อยใจ ร้อยไมตรี ร้อยปีสามัคคีวิทยาคม")

พ.ศ. 2505 จัดสร้างห้องสมุดขึ้นหนึ่งหลัง ขนาด 8x16 เมตร ราคาก่อสร้างไม่ปรากฏหลักฐาน (ปัจจุบันเป็นห้องฝ่ายนโยบายและแผนงาน)

พ.ศ. 2506 จัดสร้างโรงฝึกงานขึ้นหนึ่งหลัง ขนาด 10x16 เมตร (พ.ศ. 2513 มีคำสั่งจากนายบรรจง พงศ์ศาสตร์ ผู้อำนวยการโรงเรียนสามัคคีวิทยาคม ให้รื้อทำลายเพื่อจัดสร้างสนามบาสเกตบอลขึ้นแทนที่)

พ.ศ. 2507 จัดสร้างห้องวิทยาศาสตร์ขึ้นหนึ่งหลัง ขนาด 10x16 เมตร ราคารก่อสร้างไม่ปรากฏหลักฐาน (ปัจจุบันคืออาคารคหกรรม)

ทั้งนี้ยังได้จัดสร้างโรงเก็บจักรยาน ขนาด 10x12 เมตร เป็นอาคารชั่วคราว หลังคาสังกะสีไม่มีผนัง (ต่อมาใน พ.ศ. 2518 มีคำสั่งจากนายบรรจง พงศ์ศาสตร์ ผู้อำนวยการโรงเรียนสามัคคีวิทยาคม ให้รื้อทำลายเพื่อจัดสร้างเป็นอาคารเรียนชั่วคราวตามแบบของกรมสามัญ เป็นอาคารชั้นเดียว พื้นคอนกรีตวางบนดินตามเดิม หลังคามุงกระเบื้องลอนคู่ จัดเป็นห้องเรียนได้ 3 ห้อง การจัดสร้างใช้เงินค่าภาคปฏิบัติและเงินที่สมาคมนักเรียนเก่าและสมาคมผู้ปกครอง-ครูร่วมกันบริจาค ประกอบเงินที่สถานศึกษาได้รับจากการจัดงานเนื่องในวันขึ้นปีใหม่ 2518 โดยใช้แรงงานนักเรียนกลุ่มที่เลือกเรียนวิชาก่อสร้าง ครูและภารโรงกำกับดูแลการตกแต่ง ผนังอาคารดังกล่าวนี้เป็นแบบก่ออิฐครึ่งแผ่น สูงได้ระดับหน้าต่าง มีประตูหน้าต่างและกั้นห้องเรียบร้อย สูญค่าก่อสร้างประมาณสี่หมื่นแปดพันแปดร้อยยี่สิบบาท สันนิษฐานว่าปัจจุบันคืออาคาร 8)

นอกจากนี้ยังได้จัดสร้างโรงเก็บจักรยานขึ้นอีก 1 โรง ตั้งอยู่ระหว่างบ้านพักครูและอาคารพลศึกษาโดยใช้วัสดุเหลือใช้ของโรงเรียน มีภารโรงเป็นแรงงานก่อสร้าง

อนึ่งมีการสร้างบ้านพักครูขึ้น 3 หลัง โดยไม่ปรากฏปีที่สร้าง เป็นบ้านไม้หลังคามุงกระเบื้องเกล็ดสี่เหลี่ยม ปัจจุบันยังใช้เป็นบ้านพักครูอยู่

[แก้] ยุค 3 การพัฒนาและการก้าวสู่ปัจจุบัน

อาคารทางซ้ายคือโรงคหกรรม ทางขวาคืออาคาร 8 (อาคารโครงการหลักสูตรพิเศษภาคภาษาอังกฤษ)(2550.02.14)
อาคารทางซ้ายคือโรงคหกรรม ทางขวาคืออาคาร 8 (อาคารโครงการหลักสูตรพิเศษภาคภาษาอังกฤษ)(2550.02.14)
บริเวณถนนบรรพปราการ หน้าสถานศึกษา เบื้องหลังทางฝั่งตรงข้ามคือวัดมิ่งเมือง (2547.12.09)
บริเวณถนนบรรพปราการ หน้าสถานศึกษา เบื้องหลังทางฝั่งตรงข้ามคือวัดมิ่งเมือง (2547.12.09)
ท้องสนามโรงเรียนสามัคคีวิทยาคม ตรงหน้าคืออาคาร 3 (งานแนะแนว และกลุ่มสาระการเรียนรู้-การงานอาชีพและเทคโนโลยี) ถัดไปคืออาคาร 4 (กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย)(2549.11.23)
ท้องสนามโรงเรียนสามัคคีวิทยาคม ตรงหน้าคืออาคาร 3 (งานแนะแนว และกลุ่มสาระการเรียนรู้-การงานอาชีพและเทคโนโลยี) ถัดไปคืออาคาร 4 (กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย)(2549.11.23)
หอประชุม(2547.12.02)
หอประชุม(2547.12.02)
บรรยากาศและสภาพภายในหอประชุม(2550.02.14)
บรรยากาศและสภาพภายในหอประชุม(2550.02.14)
บรรยากาศและสภาพภายในหอประชุม(2550.02.14)
บรรยากาศและสภาพภายในหอประชุม(2550.02.14)
เวทีชั่วคราวหน้าห้องโสตทัศนศึกษา(2550.02.09)
เวทีชั่วคราวหน้าห้องโสตทัศนศึกษา(2550.02.09)
โรงจอดรถยนตร์และอาคาร 8 (โครงการหลักสูตรพิเศษภาคภาษาอังกฤษ)(2548.02.12)
โรงจอดรถยนตร์และอาคาร 8 (โครงการหลักสูตรพิเศษภาคภาษาอังกฤษ)(2548.02.12)
เบื้องหลังคืออาคาร 1 (2547.07.28)
เบื้องหลังคืออาคาร 1 (2547.07.28)

พ.ศ. 2512 สถานศึกษาได้เข้าร่วมโครงการโรงเรียนมัยมแบบประสม (ค.ม.ส.) ด้วยการสนับสนุนของอาจารย์ ดอกเตอร์ เรือง เจริญชัย ศิษย์เก่าและครูเก่าของสถานศึกษา กรมสามัญศึกษาจึงอนุมัติเงินค่าก่อสร้างอาคารเรียน โรงฝึกงาน และบ้านพักครูเพิ่มเป็นจำนวนสี่ล้านสี่แสนแปดหมื่นสามพันหกร้อยบาท การก่อสร้าง ดังนี้

1. อาคารเรียนและห้องสมุด เป็นอาคารรูปตัวยู ลักษณะเป็นตึกสองชั้น ราคาก่อสร้างตกทั้งสิ้นสองล้านสามแสนบาท (ต่อมาใน พ.ศ. 2514 มีคำสั่งจากนายบรรจง พงศ์ศาสตร์ ผู้อำนวยการโรงเรียนสามัคคีวิทยาคม ให้แต่งเติมชั้นล่างเป็นห้องพักครู ค่าก่อสร้างตกทั้งสิ้นสี่พันบาท ปัจจุบันคืออาคาร 2)

2. โรงคหกรรมและอุตสาหกรรมจำนวนสามหลัง ค่าก่อสร้างตกทั้งสิ้นหนึ่งล้านห้าแสนบาท โรงทางใต้ใช้ฝึกสถาปัตยกรรมและมัณฑนศิลป์ โรงกลางใช้ฝึกงานทั่วไปและไฟฟ้า โรงทางเหนือใช้ฝึกยนตรกรรมและโลหกรรม

3. อาคารเกษตกรรมหนึ่งหลัง เป็นห้องเรียนภาคทฤษฎีหนึ่งห้อง และห้องปฏิบัติการหนึ่งห้อง ค่าก่อสร้างตกทั้งสิ้นหนึ่งแสนแปดหมื่นบาท

4. บ้านพักครูเก้าหลัง (สิบหน่วย) และบ้านพักผู้อำนวยการสถานศึกษาหนึ่งหลัง (สองหน่วย) ค่าก่อสร้างตกทั้งสิ้นห้าแสนบาท เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2511 โดยบริษัท แม่ออน จำกัด จังหวัดเชียงใหม่ เป็นผู้รับดำเนินการ แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2512

พ.ศ. 2514 เนื่องจากสภาพการจัดผังสถานศึกษาไม่เหมาะสมต่อการวางตัวของอาคารเรียนที่จะปลูกขึ้นอีกเป็นการเพิ่มเติม จึงมีการปรับปรุงบริเวณโดยสร้างสนามกีฬาประจำสถานศึกษาขึ้นใหม่ ได้รับความร่วมมือจากสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท จังหวัดเชียงราย จัดรถมาช่วยปรับพื้นที่สนามฟุตบอลกลางและลู่วิ่งขนาดมาตรฐาน (400 เมตร)

พ.ศ. 2515 สถานศึกษาได้รับงบประมาณการก่อสร้างอาคารเรียนและอาคารประกอบเพิ่มเติมอีกเป็นรุ่นที่ 2 การก่อสร้าง ดังนี้

1. อาคารเรียนแบบ 312 จำนวนหนึ่งหลัง ใช้เป็นห้องเรียนแปดห้อง ห้องธุรกิจสองห้อง ห้องศิลป์หนึ่งห้อง และห้องแนะแนวหนึ่งห้อง

2. อาคารพลศึกษาหนึ่งหลัง

3. บ้านพักครูแปดหลัง

4.บ้านพักภารโรงสามหลัง

5. ส้วมนักเรียนขนาด 14 คูหาหนึ่งหลัง (ได้รับการปรับปรุงใหม่ใน พ.ศ. 2548)

6. ซ่อมแซมอาคาร 1 โดยเปลี่ยนจากระบบการปูกระเบื้องแบบเก่าเป็นแบบลอนคู่ เปลี่ยนเพดาน เดินสายไฟใหม่ จัดสร้างห้องน้ำภายในอาคาร ณ ใต้บันใดจำนวนสองห้อง และทาสีใหม่ทั้งหลัง

การดำเนินการทั้ง 6 รายการนี้ตกยอดใช้งบประมาณทั้งสิ้นสองล้านหกแสนสามหมื่นห้าพันบาท บริษัทที่ประมูลรับเหมาก่อสร้างได้คือ บริษัทจัดมิตรพัฒนา กรุงเทพมหานคร เริ่มดำเนินการในเดือนมีนาคม 2515 แล้วสิ้นเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2515

ปลายปีเดียวกันนี้ สถานศึกษาได้ร่วมกับสมาคมนักเรียนเก่าและสมาคมผู้ปกครอง-ครู จัดงานเนื่องในวันขึ้นปีใหม่และฉลองอาคารเรียน ได้รับเงินสุทธิห้าหมื่นสามพันบาท นำมาจัดสร้างรั้วหน้าสถานศึกษาเป็นรังเหล็กก่อศิลาแรง และลาดยางถนนในสถานศึกษาซึ่งยาวประมาณ 430 เมตร เฉพาะรั้วด้านหน้าอีกฟากหนึ่งสร้างขึ้นด้วยเงินจากการจัดงานลอยกระทง โดยแบ่งกำไรร้อยละ 30 จากนายทรงธรรม ปัญาดี ผู้เช่าจัด เป็นเงินสามหมื่นหกพันบาท

พ.ศ. 2516 สถานศึกษาได้ร่วมกับสมาคมนักเรียนเก่าและสมาคมผู้ปกครอง-ครู จัดงานเนื่องในวันขึ้นปีใหม่อีกครั้ง ได้รับเงินสุทธิหนึ่งหมื่นสามพันบาท นำมาจัดสร้างรั้วด้านหลัง ด้านตะวันออก และด้านตะวันตก โดยก่ออิฐสูง 0.50 เมตร เสาปูน ล้อมด้วยสังกะสี ในการนี้ได้รับเงินบริจาคสมทบจากนายอรุณ ไพสุวรรณจำนวนห้าพันบาท

อนึ่งในปีดังกล่าวนี้ นายทรงธรรม ปัญญาดียังได้เข้าติดต่อขอจัดงานลอยกระทงอีก และแบ่งกำไรให้แก่สถานศึกษาร้อยละ 25 ซึ่งสถานศึกษาก็ได้นำเข้าสมทบทุนการสร้างรั้วและอาคารชั่วคราว 2518 อาคารนี้เริ่มสร้างใน พ.ศ. 2517 แล้วสิ้นเมื่อ พ.ศ. 2518 มี 3 ห้องเรียน

พ.ศ. 2517 สถานศึกษาร่วมกับเหล่ากาชาดจังหวัดเชียงราย สมาคมนักเรียนเก่า และสมาคมผู้ปกครอง-ครู จัดงานปีใหม่ครั้งที่ 3 โดยได้รับส่วนแบ่งร้อยละ 30 จึงนำมาสมทบทุนสร้าง "อาคาร 2518" จนเสร็จบริบูรณ์

พ.ศ. 2518 สถานศึกษาได้รับงบประมาณประจำปีงบประมาณ 2518 ในการสร้างบ้านพักครูเพิ่มเติมอีกสองหลัง หลังแรกตกห้าหมื่นบาท หลังที่สองตกแปดหมื่นบาท การสร้างส้วมนักเรียนสองหลัง (ชายและหญิงเพศละหลัง) ตกหลังละสี่หมื่นบาท

ปลายปีเดียวกันนี้ จังหวัดเชียงรายร่วมกับสถานศึกษา สมาคมนักเรียนเก่า และสมาคมผู้ปกครอง-ครู จัดงานปีใหม่อีกครั้ง ได้รับส่วนแบ่งเป็นเงินหนึ่งหมื่นหนึ่งพันบาท มีผู้บริจาคอีกสี่หมื่นบาท จึงจัดซื้อที่ดินเพื่อใช้ในการฝึกเกษตรกรรมยี่สิบห้าไร่ อยู่ห่างจากสถานศึกษาห้ากิโลเมตร

พ.ศ. 2519 สถานศึกษาได้รับงบประมาณประจำปีงบประมาณ 2519 ในการสร้างบ้านพักครูเพิ่มเติมอีกสามหลัง กับส้วมนักเรียนอีกหนึ่งหลัง บ้านพักครูตกหลังละแปดหมื่นบาท ส้วมนักเรียนตกสี่หมื่นบาท

ปีดังกล่าวนี้ สถานศึกษาประสบปัญหาห้องเรียนไม่พอเพียง ไม่อาจรองรับความต้องการอันมากหลายของประชาชนได้ จึงจัดสร้างอาคารเรียนชั่วคราวตามแบบของกรมสามัญศึกษา เป็นอาคารสองห้องเรียน เรียก "อาคาร 2519"

พ.ศ. 2520 สถานศึกษาได้รับงบประมาณประจำปีงบประมาณ 2520 จำนวนสามล้านสองแสนแปดหมื่นบาท สำหรับจัดสร้างอาคารเรียนถาวรตามแบบ 318 ค. หนึ่งหลัง และบ้านพักครูสี่หลัง เปิดประมูลเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2520 บริษัทพัฒนานุภาพก่อสร้าง จังหวัดเชียงราย บ้านพักครูนั้นจัดสร้างขึ้น ณ ที่ดินที่ได้จัดหาไว้ใหม่ ติดถนนไปทางตำบลแม่ยาว (ค่าจัดซื้อสามหมื่นบาท)

พ.ศ. 2521 สถานศึกษาได้รับงบประมาณประจำปีงบประมาณ 2521 จำนวนหนึ่งแสนแปดหมื่นบาท สำหรับจัดสร้างอาคารเรียนชั่วคราวแบบหกห้องเรียน ห้างหุ้นส่วนจำกัดเชียงรายเป็นผู้ประมูลได้ตามวงเงินงบประมาณ

ปลายปีเดียวกันนี้ จังหวัดเชียงรายร่วมกับสถานศึกษา สมาคมนักเรียนเก่า และสมาคมผู้ปกครอง-ครู จัดงานปีใหม่อีกครั้ง ได้กำไรสุทธิหนึ่งแสนสองหมื่นเจ็ดพันสี่ร้อยสามสิบห้าบาท จึงจัดสร้างรั้วด้านตะวันตกและด้านใต้ให้เสร็จบริบูรณ์ สูญค่าก่อสร้างห้าหมื่นห้าร้อยห้าสิบสามบาท

พ.ศ. 2522 สถานศึกษาได้รับงบประมาณประจำปีงบประมาณ 2522 จำนวนสี่หมื่นห้าพันบาท ในการจัดสร้างห้องน้ำนักเรียนหญิงจำนวนหนึ่งหลัง นายไพบูลย์ ลิ้มบุญทรง เป็นผู้ประมูลได้ (ปัจจุบันคือห้องน้ำหลังตึก 100 ปี)

พ.ศ. 2523 สถานศึกษาได้รับงบประมาณประจำปีงบประมาณ 2523 จำนวนสามล้านแปดแสนบาทในการจัดสร้างอาคารเรียนแบบ 318 ค. จำนวน 1 หลัง บริษัทเชียงรายซีเมนต์บล็อกเป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง โดยวิธีพิเศษและขอตัดรายการครุภัณฑ์ออกทั้งหมด เริ่มดำเนินการเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2523 แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2524 สิริเวลา 300 วัน (ปัจจุบันคืออาคาร 5)

พ.ศ. 2527 สถานศึกษาได้รับเงินบริจาคจากศิษย์เก่าโรงเรียนสามัคคีวิทยาคม รุ่น 2514 ผู้ปกครอง นักเรียน และงบประมาณจากสำนักเร่งรัดพัฒนาชนบท จำนวนเก้าหมื่นบาท จึงจัดสร้างอาคารพยาบาล

พ.ศ. 2528 สถานศึกษาได้รับงบประมาณจากสำนักเร่งรัดพัฒนาชนบท โดยมีนายสมศาสตร์ รัตนสัค ศิษย์เก่า และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้เสนอ จำนวนหนึ่งแสนบาท จึงจัดสร้างอาคารเรียนชั่วคราว (ปัจจุบันเป็นที่ทำการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงราย เขต 1)

พ.ศ. 2530 สถานศึกษาได้รับงบประมาณประจำปีงบประมาณ 2521 จำนวนหนึ่งแสนแปดหมื่นบาท สำหรับจัดสร้างอาคารเรียนชั่วคราวแบบหกห้องเรียน ห้างหุ้นส่วนจำกัดเชียงรายเป็นผู้ประมูลได้ตามวงเงินงบประมาณ

พ.ศ. 2534 กรมสามัญศึกษาอนุมัติงบประมาณสองแสนแปดหมื่นบาทในการปรับปรุงพื้นที่สนามกลางและลู่วิ่งให้เป็นมาตรฐาน และเพื่อจัดตั้งเป็นศูนย์กีฬา

ปีเดียวกันนี้ เหตุที่สถานศึกษาได้ผลิตนักเรียนที่มีคุณภาพไปสู่สังคมและประสบความสำเร็จในชีวิตเป็นอันมาก ทั้งชื่อเสียงเกียรติคุณก็เป็นที่ยอมรับไปในประเทศและสากลประเทศ กรมสามัญศึกษาจึงคัดเลือกสถานศึกษาเข้ารับรางวัลพระราชทานโรงเรียนมัธยมศึกษาดีเด่น ประจำปีการศึกษา 2533 จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี นายบุญส่ง ไชยลาม ผู้อำนวยการ เข้ารับพระราชทานรางวัล ณ ศาลาดุสิดาลัย พระราชวังสวนจิตรลดา เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2534

พ.ศ. 2535 กรมสามัญศึกษาอนุมัติงบประมาณสองแสนแปดหมื่นบาทในการปรับปรุงพื้นที่สนามกลางและลู่วิ่งให้เป็นมาตรฐาน และเพื่อจัดตั้งเป็นศูนย์กีฬาประจำจังหวัด

ปีเดียวกันนี้ สถานศึกษาจัดงานฉลองรางวัลพระราชทานในระหว่างวันที่ 14-15 กุมภาพันธ์ 2535

พ.ศ. 2536 สถานศึกษาประกาศรับสมัครนักเรียนหญิงระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 เป็นครั้งแรก สิริยอดได้หนึ่งร้อยเจ็ดสิบคน สถานศึกษาจึงแปรสภาพเป็นโรงเรียนที่จัดการศึกษาแบบสหศึกษาทั้งระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายตั้งแต่นั้น และยังได้รับคัดเลือกเป็นศูนย์พัฒนาการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโย (สสวท.) ประจำเขตการศึกษา 8

พ.ศ. 2537 กรมสามัญศึกษาอนุมัติงบประมาณประจำปี 2537 ในการสร้างอาคารเอนกประสงค์หนึ่งหลังเป็นเงินสิบห้าล้านหกแสนสองหมื่นบาท สัญญาการก่อสร้างทำขึ้น ณ วันที่ 30 กันยายน 2536 โดยผูกพันถึงงบประมาณประจำปี 2538

ในปีเดียวกันนี้ เพื่อเป็นการขยายโอกาสทางการศึกษา และเพื่อสนองความต้องการของประชาชนในการเข้ารับการศึกษาในสถานศึกษาอันเพิ่มมากขึ้นทุกขณะ กรมสามัญศึกษาจึงประกาศจัดตั้ง "โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม 2" ณ ที่ดินแปลงที่สองของสถานศึกษา โดยให้ฝากเรียนที่สถานศึกษาไปพลางก่อน

พ.ศ. 2539 สถานศึกษาได้รับเกียรติบัตรจากหน่วยศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 9 ในด้านการพัฒนาห้องเรียนดีเด่น

พ.ศ. 2542 นายธารา จาตุประยูร ผู้อำนวยการโรงเรียนสามัคคีวิทยาคม ได้ริเริ่มดำเนินโครงการหลักสูตรพิเศษภาคภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โดยได้รับอนุญาตจากกระทรวงศึกษาธิการเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2542 ซึ่งโครงการดังกล่าวนี้ได้จัดการศึกษาแก่นักเรียนอยู่ตราบจนปัจจุบัน

พ.ศ. 2544 สถานศึกษาได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณให้เป็นโรงเรียนแกนนำด้านการใช้หลักสูตรดีเด่น และได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณให้เป็นโรงเรียนแกนนำด้านการปฏิรูปการศึกษาดีเด่นประจำจังหวัดเชียงราย

พ.ศ. 2545 สถานศึกษาได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณให้เป็นสถานศึกษาดีเด่นด้านการประกันคุณภาพการสึกษา และได้รับคัดเลือกให้เป็นศูนย์ศิลปะ ข.

พ.ศ. 2546 สถานศึกษาได้รับคัดเลือกจากให้เข้าร่วมโครงการธนาคารโลก โดยการจัดตั้งศูนย์พัฒนาการเรียนรู้ภาษาอังกฤษด้วยตนเอง (Self English Access Room; SEAR) และปรับรูปแบบสถานศึกษาใหม่ คือ การเป็นโรงเรียนวิถีพุทธและโรงเรียนส่งเสริมการสื่อสารและเทคโนลยีสารสนเทศ

พ.ศ. 2547 สถานศึกษาได้รับคัดเลือกจากสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติให้เป็นโรงเรียนวิถีพุทธดีเด่น ประจำปีการศึกษา 2547

พ.ศ. 2548 สถานศึกษาได้รับคัดเลือกจากสำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี ให้เป็นโรงเรียนประชาธิปไตยตัวอย่าง ประจำปีการศึกษา 2548 โดยนายกิตติโชต ห้อยยี่ภู่ ผู้อำนวยการสถานศึกษาได้เข้ารับโล่ประกาศเกียรติคุณจากศาสตราจารย์ เกษม วัฒนชัย องคมนตรี ในวันที่ 29 มีนาคม 2548

พ.ศ. 2549 เริ่มรื้อทำลายโรงอาหารและก่อสร้างอาคารหนึ่งร้อยปี

ในปีการศึกษา 2549 สถานศึกษาได้เปิดหลักสูตรโครงการส่งเสริมความสามารถด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสต์ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

พ.ศ. 2551 วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2551 สถานศึกษามีอายุครบ 100 ปี ในโอกาสนี้ได้จัดงาน "ร้อยใจ ร้อยไมตรี ร้อยปีสามัคคีวิทยาคม 2551"


[แก้] ทำเนียบผู้บริหารสถานศึกษา

นายปรีชา พัวนุกุลนนท์ ผู้อำนวยการสถานศึกษาคนปัจจุบัน และเป็นสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ (2550.02.14)
นายปรีชา พัวนุกุลนนท์ ผู้อำนวยการสถานศึกษาคนปัจจุบัน และเป็นสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ (2550.02.14)
นายกิตติโชต ห้อยยี่ภู่ ผู้อำนวยการสถานศึกษาคนที่ 19 (พ.ศ. 2543-2550) (2548.05.25)
นายกิตติโชต ห้อยยี่ภู่ ผู้อำนวยการสถานศึกษาคนที่ 19 (พ.ศ. 2543-2550) (2548.05.25)
ที่ ชื่อ ตำแหน่ง ปีที่ดำรงตำแหน่ง
1 เรืออากาศตรี จิตร ครูใหญ่ 2457-2459
2 เรืออากาศตรี ปุย ยูววรรณ ครูใหญ่ 2459-2465
3 เรืออากาศตรี เชื้อ กุศลวงศ์ ครูใหญ่ 2465-2468
4 เรืออากาศตรี อำนวย มฆัษเฐียร ครูใหญ่ 2458-2470
5 เรืออากาศตรี ขุน มีนะนันท์ ครูใหญ่ 2470-2472
6 เรืออากาศตรี ด้าย บูรณะกร ครูใหญ่ 2472-2473
7 เรืออากาศตรี ขุน มีนะนันท์ ครูใหญ่ 2473-2475
8 เรืออากาศตรี อินทรทัต สิโรรส ครูใหญ่ 2475-2478
9 นายข่วง สุคนธสรรค์ อาจารย์ใหญ่ 2478-2481
10 นายอุทิศ ปัจฉิมาภิรมย์ อาจารย์ใหญ่ 2481-2484
11 นายโสภิต สุขเกษม อาจารย์ใหญ่ 2484-2496
12 นายประสิทธิ์ ธนะปัญโญ อาจารย์ใหญ่ 2496-2505
13 นายม้วน ธนะชัยขันธ์ อาจารย์ใหญ่ 2505-2512
14 นายบรรจง พงศ์ศาสตร์ อาจารย์ใหญ่ 2512-2520
15 นายสมศักดิ์ ศรีสุวรรณ ผู้อำนวยการ 2520-2527
16 นายประสิทธิ์ แสนไชย ผู้อำนวยการ 2527-2530
17 นายอรุณ อาษา ผู้อำนวยการ 2530-2532
18 นายบุญส่ง ไชยลาม ผู้อำนวยการ 2532-2537
19 นายธารา จาตุประยูร ผู้อำนวยการ 2537-2543
20 นายกิตติโชต ห้อยยี่ภู่ ผู้อำนวยการสถานศึกษา 2543-2550
21 นายปรีชา พัวนุกุลนนท์ ผู้อำนวยการสถานศึกษา 2550-ปัจจุบัน

[แก้] การแบ่งส่วนราชการ

นายณรงค์ คูร์พิพัฒน์ อดีตรองผู้อำนวยการสถานศึกษา พร้อมด้วยคณะกรรมการประชาสัมพันธ์ ซึ่งมีนางนงนุช ไตรแสง (ครูชำนาญการพิเศษ) เป็นประธานกรรมการ ออกอำนวยพรปีใหม่แก่สื่อมวลชน (2548.01.18)
นายณรงค์ คูร์พิพัฒน์ อดีตรองผู้อำนวยการสถานศึกษา พร้อมด้วยคณะกรรมการประชาสัมพันธ์ ซึ่งมีนางนงนุช ไตรแสง (ครูชำนาญการพิเศษ) เป็นประธานกรรมการ ออกอำนวยพรปีใหม่แก่สื่อมวลชน (2548.01.18)
  • สำนักผู้อำนวยการสถานศึกษา (ผู้อำนวยการสถานศึกษาฯ)

ควบคุมกลุ่มดังต่อไปนี้

  • กลุ่มอำนวยการ (รองผู้อำนวยการสถานศึกษาฯ ฝ่ายอำนวยการ)
    • งานสารบรรณ (หัวหน้างาน)
    • งานการเงิน (หัวหน้างาน)
    • งานพัสดุ (หัวหน้างาน)
    • งานผลิตเอกสาร (หัวหน้างาน)
    • ฝ่ายบุคคล (หัวหน้าฝ่าย)
  • กลุ่มบริหารวิชาการ (รองผู้อำนวยการสถานศึกษาฯ ฝ่ายบริหารวิชาการ)
    • สำนักงานวิชาการ (ผู้อำนวยการสำนัก)
      • งานทะเบียน (หัวหน้างาน)
      • งานวัดผลประเมินผล (หัวหน้างาน)
      • กลุ่มสาระการเรียนรู้ (หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้)
        • กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
          • งานห้องสมุด (หัวหน้างาน)
        • กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
        • กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
        • กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
        • กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
        • กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
        • กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
        • กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (เกษตรกรรม)
        • กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (คหกรรม)
        • กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (คอมพิวเตอร์)
      • งานแนะแนว (หัวหน้างาน)
      • งานโสตทัศนศึกษา (หัวหน้างาน)
      • งานกิจกรรม (หัวหน้างาน)
      • งานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (หัวหน้างาน)
  • กลุ่มบริหารกิจการนักเรียน (รองผู้อำนวยการสถานศึกษาฯ ฝ่ายบริหารกิจการนักเรียน)
    • สำนักงานบริหารกิจการนักเรียน (ผู้อำนวยการสำนัก)
      • คณะกรรมการนักเรียน (ประธานกรรมการ)
      • งานรักษาความปลอดภัยและเวรยาม (หัวหน้ายาม)
      • งานคณะปกครอง (หัวหน้าคณะปกครอง)
      • งานระดับชั้น (หัวหน้าระดับ)
        • คณะกรรมการนักเรียนในแต่ละระดับ (ประธานกรรมการ)
      • งานวินัยและความประพฤติ (หัวหน้างาน)
      • งานพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรม (หัวหน้างาน)
      • งานสาธารณูปโภค (หัวหน้างาน)
  • กลุ่มบริหารทั่วไป (รองผู้อำนวยการสถานศึกษาฯ ฝ่ายบริหารทั่วไป)
    • สำนักงานบริหารทั่วไป (ผู้อำนวยการสำนัก)
      • งานประชาสัมพันธ์ (ประธานคณะกรรมการ)
      • งานปฏิคม (หัวหน้างาน)
      • งานชุมชน (หัวหน้างาน)
      • งานอนามัย (หัวหน้างาน)
      • งานโภชนาการ (หัวหน้างาน)
      • งานอาคารสถานที่ (หัวหน้างาน)
      • งานดนตรีและดุริยางค์ (หัวหน้างาน)
  • กลุ่มนโยบายและแผนงาน (หัวหน้ากลุ่ม)
    • งานแผนงาน (หัวหน้างาน)
    • งานสารสนเทศ (หัวหน้างาน)
    • งานวิจัยและพัฒนา (หัวหน้างาน)
    • งานสหวิทยาเขต (หัวหน้างาน)
    • งานพัฒนาบุคลากร (หัวหน้างาน)
    • งานประกันคุณภาพการศึกษา (หัวหน้างาน)
    • งานติดตามและประเมินผล (หัวหน้างาน)
    • งานประมวลผลและสถิติ (หัวหน้างาน)


[แก้] โครงการสำคัญ

บทความนี้มีลักษณะการเขียนเหมือนการโฆษณาหรือเจตนาโปรโมตเนื้อหา โดยผู้เริ่มเขียนอาจจะมีผลประโยชน์ทับซ้อน
ซึ่งไม่สอดคล้องกับนโยบายวิกิพีเดีย ในมุมมองที่เป็นกลาง

กรุณาศึกษาวิธีเขียนอย่างไรให้เป็นกลาง และคุณสามารถช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้โดยการกดปุ่ม แก้ไข
กรุณาอภิปรายประเด็นนี้ในหน้าพูดคุย หากทั้งบทความมีลักษณะโฆษณาอย่างชัดเจน ให้แจ้งลบทันที


[แก้] โครงการโรงเรียนในกำกับของรัฐ

หลักการเหตุผล สนองนโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มุ่งหวังให้สถานศึกษามีอิสระและมีความคล่องตัว และมีอำนาจตัดสินใจในการบริหารจัดการ ตลอดทั้งมีความโปร่งใสในการตรวจสอบการใช้อำนาจ

วัตถุประสงค์ เพื่ออำนวยความสะดวกในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ลดภาระและงบประมาณของรัฐ และสร้างความอิสระและคล่องตัวในการบริหารจัดการ

เป้าหมาย ความเป็นอิสระและคล่องตัว ความโปร่งใสในการบริหารจัดการ คุณภาพการศึกษา ร้อยละ 90

ผู้รับผิดชอบ กลุ่มอำนวยการ

[แก้] โครงการโรงเรียนวิถีพุทธ

หลักการเหตุผล สนองหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544 ที่เน้นการจัดการเรียนการสอนตามสภาพจริง การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้ร่วมกัน จากการปฏิบัติจริงและบูรณาการ

วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และพฤติกรรมทางกาย สังคม จิตวิญญาณของนักเรียน

เป้าหมาย นักเรียนร้อยละ 80

ผู้รับผิดชอบ กลุ่มบริหารกิจการนักเรียน

[แก้] โครงการโรงเรียนต้นแบบการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทางการสื่อสาร

หลักการเหตุผล เห็นความสำคัญในการปฏิรูปการศึกษาและการพัฒนาบุคลากรให้เป็นผู้บริโภคที่ชาญฉลาด

วัตถุประสงค์ เพื่อนำเทคโนโลยีสารสนเทศทางการสื่อสารเข้าจัดการเรียนการสอน

เป้าหมาย นักเรียนร้อยละ 80 และบุคลากรอื่น ๆ ร้อยละ 80

ผู้รับผิดชอบ กลุ่มบริหารวิชาการ

[แก้] โครงการหลักสูตรพิเศษภาคภาษาอังกฤษ

หลักการเหตุผล เห็นความสำคัญในการเปิดโอกาสให้นักเรียนได้เลือกเรียนตามความถนัดและความสามารถเพื่อพัฒนาคุณภาพสู่ระดับสากล

วัตถุประสงค์ พัฒนานักเรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542

เป้าหมาย นักเรียนร้อยละ 80 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น และข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาร้อยละ 80 มีการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนและการปฏิบัติราชการ

ผู้รับผิดชอบ กลุ่มบริหารวิชาการ

[แก้] โครงการส่งเสริมการเรียนภาษาญี่ปุ่นและภาษาจีน

หลักการเหตุผล เห็นความสำคัญในการปฏิรูปการเรียนรู้ตามการสนับสนุนของรัฐบาลญี่ปุ่นและรัฐบาลจีน

วัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนที่สนใจและมีความถนัดทางภาษาได้เรียนรู้ภาษาที่ 3 และเพื่อส่งเสริม แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศ

เป้าหมาย นักเรียนร้อยละ 80 มีเจตคติที่ดีต่อภาษาและวัฒนธรรมญี่ปุ่นและจีน และสามารถนำมาปรับใช้ได้อย่างเหมาะสมต่อสภาพและสถานการณ์บ้านเมือง

ผู้รับผิดชอบ กลุ่มบริหารวิชาการ

[แก้] โครงการจัดการศึกษาสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษ

หลักการเหตุผล สนองมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 โดยคำนึงถึงความสามารถส่วนบุคคล ความเฉลียวฉลาด สติปัญญา และความสนใจของนักเรียนซึ่งจะเป็นผู้มีคุณค่าอย่างยิ่งยวดแก่ประเทศชาติในกาลข้างหน้า

วัตถุประสงค์ เพื่อจัดการเรียนการสอนอันเหมาะสมให้แก่นักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ 4 สาขาวิชา คือ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์

เป้าหมาย นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 ทุกปีการศึกษาไม่น้อยกว่า 30 คน

ผู้รับผิดชอบ กลุ่มบริหารวิชาการ

[แก้] โครงการส่งเสริมและพัฒนาศูนย์ส่งเสริมการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

หลักการเหตุผล สืบเนื่องจากการจัดตั้งสถานศึกษาเป็นศูนย๋ส่งเสริมการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตั้งแต่ พ.ศ. 2536

วัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ความรู้รักสามัคคี และความรู้รักและหวงแหนทรัพยากรของนักเรียน

เป้าหมาย นักเรียนร้อยละ 60

ผู้รับผิดชอบ กลุ่มบริหารวิชาการ

[แก้] บุคคลที่มีชื่อเสียง

  • ร้อยตรี ทัญพิสิษฐ์ ผ่องใส ผู้บังคับหมวด กองพันทหารช่างที่ 1 รักษาพระองค์
  • นางบุษรินทร์ วรพัฒนานันท์ อดีตสมาชิกวุฒิสภา
  • นายยงยุทธ ติยะไพรัช อดีตโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี อดีตเลขาธิการนายกรัฐมนตรี และ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สมัยรัฐบาลของพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร
  • พลตำรวจตรี ยงยุทธ ฮงประยูร อดีตผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดเลย
  • นางสาวเสาวลักษณ์ ด้วงทรง (รุ่นที่ 98/2549) นางแบบนิตยสาร

[แก้] อ้างอิง

  • โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม. (2549). คู่มือนักเรียน-ผู้ปกครอง โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม. ลำปาง: หจก. ลำปางบรรณกิจพรินติ้ง จำกัด.
  • โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม. (2547). โครงการสำคัญ ปีการศึกษา 2546. (อัดสำเนา).
  • โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม. (2535). หนังสือที่ระลึกงานฉลองรางวัลพระราชทานโรงเรียนดีเด่น ประจำปีการศึกษา 2533 วันที่ 14-15 กุมภาพันธ์ 2535. มปท.
  • วารสารเบิกฟ้าบรรดาเรา (ทุกฉบับ).


[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

ภาษาอื่น

Static Wikipedia (no images)

aa - ab - af - ak - als - am - an - ang - ar - arc - as - ast - av - ay - az - ba - bar - bat_smg - bcl - be - be_x_old - bg - bh - bi - bm - bn - bo - bpy - br - bs - bug - bxr - ca - cbk_zam - cdo - ce - ceb - ch - cho - chr - chy - co - cr - crh - cs - csb - cu - cv - cy - da - de - diq - dsb - dv - dz - ee - el - eml - en - eo - es - et - eu - ext - fa - ff - fi - fiu_vro - fj - fo - fr - frp - fur - fy - ga - gan - gd - gl - glk - gn - got - gu - gv - ha - hak - haw - he - hi - hif - ho - hr - hsb - ht - hu - hy - hz - ia - id - ie - ig - ii - ik - ilo - io - is - it - iu - ja - jbo - jv - ka - kaa - kab - kg - ki - kj - kk - kl - km - kn - ko - kr - ks - ksh - ku - kv - kw - ky - la - lad - lb - lbe - lg - li - lij - lmo - ln - lo - lt - lv - map_bms - mdf - mg - mh - mi - mk - ml - mn - mo - mr - mt - mus - my - myv - mzn - na - nah - nap - nds - nds_nl - ne - new - ng - nl - nn - no - nov - nrm - nv - ny - oc - om - or - os - pa - pag - pam - pap - pdc - pi - pih - pl - pms - ps - pt - qu - quality - rm - rmy - rn - ro - roa_rup - roa_tara - ru - rw - sa - sah - sc - scn - sco - sd - se - sg - sh - si - simple - sk - sl - sm - sn - so - sr - srn - ss - st - stq - su - sv - sw - szl - ta - te - tet - tg - th - ti - tk - tl - tlh - tn - to - tpi - tr - ts - tt - tum - tw - ty - udm - ug - uk - ur - uz - ve - vec - vi - vls - vo - wa - war - wo - wuu - xal - xh - yi - yo - za - zea - zh - zh_classical - zh_min_nan - zh_yue - zu -

Static Wikipedia 2007 (no images)

aa - ab - af - ak - als - am - an - ang - ar - arc - as - ast - av - ay - az - ba - bar - bat_smg - bcl - be - be_x_old - bg - bh - bi - bm - bn - bo - bpy - br - bs - bug - bxr - ca - cbk_zam - cdo - ce - ceb - ch - cho - chr - chy - co - cr - crh - cs - csb - cu - cv - cy - da - de - diq - dsb - dv - dz - ee - el - eml - en - eo - es - et - eu - ext - fa - ff - fi - fiu_vro - fj - fo - fr - frp - fur - fy - ga - gan - gd - gl - glk - gn - got - gu - gv - ha - hak - haw - he - hi - hif - ho - hr - hsb - ht - hu - hy - hz - ia - id - ie - ig - ii - ik - ilo - io - is - it - iu - ja - jbo - jv - ka - kaa - kab - kg - ki - kj - kk - kl - km - kn - ko - kr - ks - ksh - ku - kv - kw - ky - la - lad - lb - lbe - lg - li - lij - lmo - ln - lo - lt - lv - map_bms - mdf - mg - mh - mi - mk - ml - mn - mo - mr - mt - mus - my - myv - mzn - na - nah - nap - nds - nds_nl - ne - new - ng - nl - nn - no - nov - nrm - nv - ny - oc - om - or - os - pa - pag - pam - pap - pdc - pi - pih - pl - pms - ps - pt - qu - quality - rm - rmy - rn - ro - roa_rup - roa_tara - ru - rw - sa - sah - sc - scn - sco - sd - se - sg - sh - si - simple - sk - sl - sm - sn - so - sr - srn - ss - st - stq - su - sv - sw - szl - ta - te - tet - tg - th - ti - tk - tl - tlh - tn - to - tpi - tr - ts - tt - tum - tw - ty - udm - ug - uk - ur - uz - ve - vec - vi - vls - vo - wa - war - wo - wuu - xal - xh - yi - yo - za - zea - zh - zh_classical - zh_min_nan - zh_yue - zu -

Static Wikipedia 2006 (no images)

aa - ab - af - ak - als - am - an - ang - ar - arc - as - ast - av - ay - az - ba - bar - bat_smg - bcl - be - be_x_old - bg - bh - bi - bm - bn - bo - bpy - br - bs - bug - bxr - ca - cbk_zam - cdo - ce - ceb - ch - cho - chr - chy - co - cr - crh - cs - csb - cu - cv - cy - da - de - diq - dsb - dv - dz - ee - el - eml - eo - es - et - eu - ext - fa - ff - fi - fiu_vro - fj - fo - fr - frp - fur - fy - ga - gan - gd - gl - glk - gn - got - gu - gv - ha - hak - haw - he - hi - hif - ho - hr - hsb - ht - hu - hy - hz - ia - id - ie - ig - ii - ik - ilo - io - is - it - iu - ja - jbo - jv - ka - kaa - kab - kg - ki - kj - kk - kl - km - kn - ko - kr - ks - ksh - ku - kv - kw - ky - la - lad - lb - lbe - lg - li - lij - lmo - ln - lo - lt - lv - map_bms - mdf - mg - mh - mi - mk - ml - mn - mo - mr - mt - mus - my - myv - mzn - na - nah - nap - nds - nds_nl - ne - new - ng - nl - nn - no - nov - nrm - nv - ny - oc - om - or - os - pa - pag - pam - pap - pdc - pi - pih - pl - pms - ps - pt - qu - quality - rm - rmy - rn - ro - roa_rup - roa_tara - ru - rw - sa - sah - sc - scn - sco - sd - se - sg - sh - si - simple - sk - sl - sm - sn - so - sr - srn - ss - st - stq - su - sv - sw - szl - ta - te - tet - tg - th - ti - tk - tl - tlh - tn - to - tpi - tr - ts - tt - tum - tw - ty - udm - ug - uk - ur - uz - ve - vec - vi - vls - vo - wa - war - wo - wuu - xal - xh - yi - yo - za - zea - zh - zh_classical - zh_min_nan - zh_yue - zu

Static Wikipedia February 2008 (no images)

aa - ab - af - ak - als - am - an - ang - ar - arc - as - ast - av - ay - az - ba - bar - bat_smg - bcl - be - be_x_old - bg - bh - bi - bm - bn - bo - bpy - br - bs - bug - bxr - ca - cbk_zam - cdo - ce - ceb - ch - cho - chr - chy - co - cr - crh - cs - csb - cu - cv - cy - da - de - diq - dsb - dv - dz - ee - el - eml - en - eo - es - et - eu - ext - fa - ff - fi - fiu_vro - fj - fo - fr - frp - fur - fy - ga - gan - gd - gl - glk - gn - got - gu - gv - ha - hak - haw - he - hi - hif - ho - hr - hsb - ht - hu - hy - hz - ia - id - ie - ig - ii - ik - ilo - io - is - it - iu - ja - jbo - jv - ka - kaa - kab - kg - ki - kj - kk - kl - km - kn - ko - kr - ks - ksh - ku - kv - kw - ky - la - lad - lb - lbe - lg - li - lij - lmo - ln - lo - lt - lv - map_bms - mdf - mg - mh - mi - mk - ml - mn - mo - mr - mt - mus - my - myv - mzn - na - nah - nap - nds - nds_nl - ne - new - ng - nl - nn - no - nov - nrm - nv - ny - oc - om - or - os - pa - pag - pam - pap - pdc - pi - pih - pl - pms - ps - pt - qu - quality - rm - rmy - rn - ro - roa_rup - roa_tara - ru - rw - sa - sah - sc - scn - sco - sd - se - sg - sh - si - simple - sk - sl - sm - sn - so - sr - srn - ss - st - stq - su - sv - sw - szl - ta - te - tet - tg - th - ti - tk - tl - tlh - tn - to - tpi - tr - ts - tt - tum - tw - ty - udm - ug - uk - ur - uz - ve - vec - vi - vls - vo - wa - war - wo - wuu - xal - xh - yi - yo - za - zea - zh - zh_classical - zh_min_nan - zh_yue - zu