กรดฟอร์มิก
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กรดฟอร์มิก | |
---|---|
สมบัติทั่วไป | |
ชื่อตามระบบ | กรดเมทาโนอิก |
ชื่ออื่น | กรดมด กรดไฮโดรเจนคาร์บอกซิลิก กรดเอไมนิก |
สูตรโครงสร้าง | H-COOH |
มวลโมเลกุล | 46.03 g/mol |
ลักษณะภายนอก | ของเหลวไม่มีสี ระเหยง่าย |
เลขทะเบียน CAS | [64-18-6] |
สมบัติ | |
ความหนาแน่นและสถานะ | 1.22 g/cm3, ของเหลว |
การละลายในน้ำ | ละลายได้ดี |
จุดหลอมเหลว | 8.4 °C (281.5 K) |
จุดเดือด | 100.8 °C (373.9 K) |
ความหนืด | 1.57 cP ที่ 26 °C |
พิษภัย | |
พิษภัยหลัก | กัดกร่อน |
NFPA 704 | |
จุดวาบไฟ | 69 °C |
สารประกอบที่เกี่ยวข้อง | |
กรดคาร์บอกซิลิกที่เกี่ยวข้อง | กรดแอซิติก กรดโพรพิโอนิก |
สารประกอบที่เกี่ยวข้อง | ฟอร์มาลดีไฮด์ เมทานอล |
หากมิได้ระบุเป็นอย่างอื่น ข้อมูลที่ให้ไว้นี้คือข้อมูลสาร ณ ภาวะมาตรฐาน ที่ 25°C, 100 kPa |
กรดฟอร์มิก (Formic acid) เรียกตามระบบว่า กรดเมทาโนอิก (Methanoic acid) เป็นกรดคาร์บอกซิลิกที่มีโครงสร้างไม่ซับซ้อนนัก มีสูตรโมเลกุล CH2O2 ในธรรมชาติพบในพวกมดและผึ้ง เพื่อใช้สำหรับป้องกันตัวจากศัตรู โดยที่คำว่า "formic" ได้มาจากคำในภาษาละตินว่า formica ซึ่งแปลว่ามดนั่นเอง
[แก้] ประวัติการค้นพบ
เมื่อปี พ.ศ. 2214 จอห์น เรย์ นักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษ เป็นบุคคลแรกที่ทราบถึงการสกัดกรดฟอร์มิก โดยการกลั่นมดจำนวนมาก ต่อมา โชเซฟ หลุยส์ เก-ลูซัก นักเคมีชาวฝรั่งเศส ได้ค้นพบวิธีการสังเคราะห์กรดฟอร์มิกจากกรดไซยานิก และต่อมา Marcellin Berthelot นักเคมีชาวฝรั่งเศสได้ค้นพบวิธีสังเคราะห์จากคาร์บอนมอนอกไซด์ และใช้วิธีนี้มาจนปัจจุบัน
กรดฟอร์มิก เป็นบทความเกี่ยวกับ เคมี ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับ กรดฟอร์มิก ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ |