ถนอม กิตติขจร
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จอมพล ถนอม กิตติขจร | |
นายกรัฐมนตรี คนที่ 10
|
|
ดำรงตำแหน่ง 1 มกราคม พ.ศ. 2501 – 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 (ปฏิวัติ) 9 ธันวาคม พ.ศ. 2506 - 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 (ประชาชนปฏิวัติ) |
|
สมัยก่อนหน้า | พจน์ สารสิน (พ.ศ. 2501) จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ (พ.ศ. 2501) |
---|---|
สมัยถัดไป | จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ (พ.ศ. 2506) สัญญา ธรรมศักดิ์ (พ.ศ. 2516) |
|
|
เกิด | 11 สิงหาคม พ.ศ. 2454 บ้านหนองพลวง อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก |
ถึงแก่อสัญกรรม | 16 มีนาคม พ.ศ. 2547 |
สังกัดพรรค | พรรคสหประชาไทย (พ.ศ. 2511) |
สมรสกับ | ท่านผู้หญิงจงกล กิตติขจร |
จอมพล ถนอม กิตติขจร (11 สิงหาคม พ.ศ. 2454 - 16 มิถุนายน พ.ศ. 2547) นายกรัฐมนตรีและเผด็จการในประเทศไทย เกิด ณ บ้านหนองพลวง อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก เป็นบุตรของขุนโสภิตบรรณารักษ์ (อำพัน กิตติขจร) กับนางโสภิตบรรณารักษ์ (ลิ้นจี่) สมรสกับท่านผู้หญิงจงกล กิตติขจร (โรจนวิภาต)
[แก้] การศึกษา
จอมพล ถนอม กิตติขจร เริ่มการศึกษาชั้นต้นที่โรงเรียนประชาบาลวัดโคกพลู จังหวัดตาก หลังจากนั้นได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนนายร้อยทหารบก และในระหว่างรับราชการทหารได้ศึกษาต่อที่โรงเรียนแผน ที่ทหาร กองทัพบก โรงเรียนทหารราบ กองทัพบก และวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (รุ่นที่ 1) ตามลำดับ
[แก้] การรับราชการ
รับราชการครั้งแรกในตำแหน่งผู้บังคับหมวดกรมทหารราบที่ 8 กองพันที่ 1 จังหวัดเชียงใหม่ ต่อมาได้ร่วมก่อ รัฐประหารเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 ในขณะที่มียศเป็นพันโท ตำแหน่งผู้บังคับการกรมทหารบกที่ 11 ต่อมาได้เป็น รองผู้บัญชาการกองพลที่ 1 ผู้บัญชาการกองพลที่ 1 รองผู้บัญชาการภาคทหารบกที่ 1 และเป็นแม่ทัพภาคที่ 1 มาโดยลำดับ
จอมพล ถนอม กิตติขจร ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมในรัฐบาลของจอมพล แปลก พิบูลสงคราม และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในรัฐบาลของนายพจน์ สารสิน จอมพล ถนอม กิตติขจร ได้รับการซาวเสียงจากสภาผู้แทนราษฎรให้ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 10 ของประเทศไทยเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2501 บริหารประเทศไทย 9 เดือนเศษก็ลาออกจากตำแหน่ง เพื่อเปิดทางให้จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ขึ้นเป็นนายกรัฐมตรี เมื่อจอมพลสฤษดิ์ ถึงแก่อสัญกรรม จอมพล ถนอม กิตติขจร ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง ในช่วงระยะเวลาที่จอมพล ถนอม กิตติขจร บริหารประเทศได้สร้างทางหลวงสายต่าง ๆ ทั่วประเทศหลายสาย สร้างเขื่อน อาทิ เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนอุบลรัตน์ นอกจากนี้ท่านยังได้ทำการปรับปรุงกองทัพให้ทันสมัยทัดเทียมกับนานาประเทศ และในปี พ.ศ. 2508 ได้ส่งทหารไปร่วมรบในสงครามเวียดนามด้วย
ในปี พ.ศ. 2514 จอมพล ถนอม กิตติขจร ได้ทำรัฐประหารรัฐบาลของตนเอง และได้จัดตั้งสภาบริหารคณะปฏิวัติขึ้น จนกระทั่งมีการประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองแห่งราชอาณาจักร เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2515 และสภานิติบัญญัติแห่งชาติตามธรรรมนูญการปกครองดังกล่าวได้มีมติให้จอมพล ถนอม กิตติขจร เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อไป
จอมพล ถนอม กิตติขจร พ้นตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 รัฐบาลได้ใช้อาวุธสงครามเข้าปราบปรามนักศึกษาประชาชนที่ชุมนุมเรียกร้องรัฐธรรมนูญ จนทำให้มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก จากเหตุการณ์นี้ ทำให้พลังทางการเมืองหลายฝ่ายกดดันให้จอมพลถนอมลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รวมระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตโดยกายึดอำนาจและรัฐประหารทั้งสิ้น 10 ปี 6 เดือนเศษ
หลังจากนั้น ได้มีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินของจอมพลถนอม จนนำไปสู่การยึดทรัพย์สินที่ได้มาโดยไม่ถูกต้องเป็นจำนวนมาก
วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2519 ท่ามกลางกระแสการปฏิวัติรัฐประหารของฝ่ายทหารทวีความรุนแรงอย่างกว้างขวาง จอมพลถนอมในวัย 65 ปี ได้กลับประเทศไทยอีกครั้งโดยบวชเป็นสามเณร ทำให้นักศึกษาประชาชนได้ออกมาประท้วงขับไล่อดีตนายกรัฐมนตรีมือเปื้อนเลือดรายนี้ เป็นเหตุให้ทหารอีกฝ่ายฉวยโอกาสก่อรัฐประหารและทำการล้อมปราบนักศึกษาประชาชนในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ทำให้มีผู้บาดเจ็บ เสียชีวิต และสูญหายจำนวนมาก นำไปสู่การยกเลิกรัฐธรรมนูญ ยุติการปกครองแบบประชาธิปไตยรัฐสภา และทำให้ประเทศไทยอยู่ภายใต้เผด็จการทหารต่อมาเป็นเวลาปีเศษในสมัยของนายธานินทร์ กรัยวิเชียร
จอมพลถนอมเป็นที่รู้จักทั่วไปในฐานะ หนึ่งใน "สามทรราชย์" ซึ่งอีกสองคนคือจอมพลประภาส จารุเสถียร และพันโท ณรงค์ กิตติขจร
จอมพลถนอม กิตติขจร เคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีถึง 4 สมัย สมัยแรกเป็นนายกในระยะเวลาสั้นๆ หลังการรัฐประหารของจอมพลสฤษดิ์ พ.ศ. 2501 ซึ่งใช้จอมพลถนอมเป็นนายกขัดตาทัพ ก่อนที่สฤษดิ์ขึ้นดำรงตำแหน่งเองภายหลัง ส่วนถนอมเป็นนายกสมัยที่สองถึงสี่หลังจากสฤษดิื์์ตาย ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของเขาจึงเป็นสัญลักษณ์ของเผด็จการทหาร ถึงแม้เขา ได้รับพระราชทานปฐมจุลจอมเกล้า และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ อันมีศักดิ์รามาธิบดีชั้นที่ 1 เสนางคบดี ซึ่งเปรียบเสมือนสายสะพายแห่งความกล้าหาญ พร้อมกันนี้ยังได้เครื่องราชอิสริยาภรณ์อีกกว่า 30 รายการ ซึ่งถือว่าเป็นการจบชีวิตของนายทหารยศจอมพลคนสุดท้ายของกองทัพไทย
ตั้งแต่การเปลี่ยนการปกครอง พ.ศ. 2475 นายทหารคนธรรมดาสามัญที่ครองยศจอมพลมีด้วยกัน 7 ท่าน จอมพลถนอม กิตติขจร เป็นท่านที่ 6 จอมพลประภาส จารุเสถียร เป็นท่านที่ 7 แต่จอมพลถนอม กิตติขจร อายุยืนจึงกลายเป็นจอมพลสุดท้าย และจอมพลถนอม กิตติขจร ถึงแก่อสัญกรรมด้วยโรคเส้นเลือดในสมองแตกเมื่อกลางดึก เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2547 สิริอายุรวม 93 ปี
[แก้] อ้างอิง
- ประวัติจอมพลถนอม กิตติขจร สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
สมัยก่อนหน้า: พจน์ สารสิน |
นายกรัฐมนตรีไทย (สมัยที่ {{{สมัยที่}}}) พ.ศ. 2501 |
สมัยถัดไป: จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ |
สมัยก่อนหน้า: จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ |
นายกรัฐมนตรีไทย (สมัยที่ {{{สมัยที่}}}) พ.ศ. 2506 - พ.ศ. 2516 |
สมัยถัดไป: สัญญา ธรรมศักดิ์ |
สมุหพระกลาโหม | เจ้าพระยามหาเสนา (ปลี) · เจ้าพระยามหาเสนา (บุนนาค) · เจ้าพระยามหาเสนา (ปิ่น) · เจ้าพระยามหาเสนา (บุญมา) · เจ้าพระยาวรวงศาสุรศักดิ์ (แสง วงศาโรจน์) · เจ้าพระยามหาเสนา (สังข์) · เจ้าพระยามหาเสนา (น้อย) · สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) · สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) · เจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) · เจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ (พุ่ม ศรีไชยันต์) |
เสนาบดีกระทรวง | สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ · พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม · สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช · พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช · เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต (หม่อมราชวงศ์อรุณ ฉัตรกุล) · เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต (แย้ม ณ นคร) · สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต · พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช · พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร · พระยาราชวังสัน (ศรี กมลนาวิน) · พระยาประเสริฐสงคราม |
รัฐมนตรีว่าการ | พระยาราชวังสัน (ศรี กมลนาวิน) · พระยาประเสริฐสงคราม · แปลก พิบูลสงคราม · มังกร พรหมโยธี · หลวงเกรียงศักดิ์พิชิต (พิชิต เกรียงศักดิ์พิชิต) · สินธุ์ กมลนาวิน · ชิต มั่นศิลป สินาดโยธารักษ์ · จิร วิชิตสงคราม · หลวงชาตินักรบ (ศุข ชาตินักรบ) · สฤษดิ์ ธนะรัชต์ · ถนอม กิตติขจร · ทวี จุลละทรัพย์ · ครวญ สุทธานินทร์ · ทวิช เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา · ประมาณ อดิเรกสาร · กฤษณ์ สีวะรา · เสนีย์ ปราโมช · สงัด ชลออยู่ · เล็ก แนวมาลี · เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ · เปรม ติณสูลานนท์ · พะเนียง กานตรัตน์ · ชาติชาย ชุณหะวัณ · ชวลิต ยงใจยุทธ · ประพัฒน์ กฤษณะจันทร์ · สุจินดา คราประยูร · บรรจบ บุนนาค · วิจิตร สุขมาก · ชวน หลีกภัย · ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา · เชษฐา ฐานะจาโร · สัมพันธ์ บุญญานันทน์ · บุญรอด สมทัศน์ |
เจ้ากรมทหารบก | สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ · เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต) |
เจ้ากรมยุทธนาธิการ | สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช · สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ · พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช · เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต (หม่อมราชวงศ์ อรุณ ฉัตรกุล) |
เสนาบดี กระทรวงกลาโหม | เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต (แย้ม ณ นคร) · สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต · พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช · พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร |
ผู้บัญชาการทหารบก | พระยาพหลพลพยุหเสนา · แปลก พิบูลสงคราม · พิชิต เกรียงศักดิ์พิชิต · อดุล อดุลเดชจรัส · ผิน ชุณหะวัณ · สฤษดิ์ ธนะรัชต์ · ถนอม กิตติขจร · ประภาส จารุเสถียร · กฤษณ์ สีวะรา · บุญชัย บำรุงพงศ์ · เสริม ณ นคร · เปรม ติณสูลานนท์ · ประยุทธ จารุมณี · อาทิตย์ กำลังเอก · ชวลิต ยงใจยุทธ · สุจินดา คราประยูร · อิสระพงศ์ หนุนภักดี · วิมล วงศ์วานิช · ประมณฑ์ ผลาสินธุ์ · เชษฐา ฐานะจาโร · สุรยุทธ์ จุลานนท์ · สมทัต อัตตะนันทน์ · ชัยสิทธิ์ ชินวัตร · ประวิตร วงษ์สุวรรณ · สนธิ บุญยรัตกลิน |
เสนาบดีกระทรวง | เจ้าพระยาภาณุวงศ์ มหาโกษาธิบดี · สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ |
รัฐมนตรีว่าการ | พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นเทววงศ์วโรทัย · พระศรีวิสารวาจา (ศรีวิสาร ฮุนตระกูล) · พระยาอภิบาลราชไมตรี (ต่อม บุนนาค) · พระยาพหลพลพยุหเสนา · พระยาศรีเสนา (ศรีเสนา สมบัติศิริ) · ปรีดี พนมยงค์ · เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร์ ณ สงขลา) · แปลก พิบูลสงคราม · ดิเรก ชัยนาม · หลวงวิจิตรวาทการ · เสนีย์ ปราโมช · ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ · หลวงอรรถกิติกำจร (อรรถกิจ พนมยงค์) · ปรีดิเทพย์พงษ์ เทวกุล · พจน์ สารสิน · บุญเกิด สุตันตานนท์ · พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ · ถนัด คอมันตร์ · จรูญพันธุ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา · ถนอม กิตติขจร · ชาติชาย ชุณหะวัณ · พิชัย รัตตกุล · อุปดิศร์ ปาจรียางกูร · สิทธิ เศวตศิลา · สุบิน ปิ่นขยัน · อาทิตย์ อุไรรัตน์ · อาสา สารสิน · ปองพล อดิเรกสาร · ประสงค์ สุ่นศิริ · ทักษิณ ชินวัตร · กระแส ชนะวงศ์ · เกษมสโมสร เกษมศรี · อำนวย วีรวรรณ · ประจวบ ไชยสาส์น · สุรินทร์ พิศสุวรรณ · สุรเกียรติ์ เสถียรไทย · กันตธีร์ ศุภมงคล · นิตย์ พิบูลสงคราม |