สฤษดิ์ ธนะรัชต์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ | |
นายกรัฐมนตรี คนที่ 11
|
|
ดำรงตำแหน่ง 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 – 8 ธันวาคม พ.ศ. 2506 (ถึงแก่อสัญกรรม) |
|
สมัยก่อนหน้า | จอมพล ถนอม กิตติขจร |
---|---|
สมัยถัดไป | จอมพล ถนอม กิตติขจร |
|
|
เกิด | 16 มิถุนายน พ.ศ. 2451 บ้านท่าโรงยา ตลาดพาหุรัด กรุงเทพฯ ประเทศไทย |
ถึงแก่อสัญกรรม | 8 ธันวาคม พ.ศ. 2506 โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า กรุงเทพฯ ประเทศไทย |
จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ (16 มิถุนายน พ.ศ. 2451 - 8 ธันวาคม พ.ศ. 2506) ผู้บัญชาการทหารบก หัวหน้าคณะปฏิวัติ นายกรัฐมนตรีคนที่ 11 ของประเทศไทย ผู้ริเริ่มแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และผู้ก่อตั้งสำนักงบประมาณ เกิดที่บ้านท่าโรงยา ตลาดพาหุรัด กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรของพันตรี หลวงเรืองเดชอนันต์ (ทองดี ธนะรัชต์) กับนางจันทิพย์ ธนะรัชต์ สมรสครั้งสุดท้ายกับท่านผู้หญิงวิจิตรา ธนรัตน์
สารบัญ |
[แก้] การศึกษา
จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เริ่มการศึกษาชั้นต้นที่จังหวัดมุกดาหาร จากนั้น เข้ารับการศึกษาต่อที่โรงเรียน วัดมหรรณพาราม และโรงเรียนนายร้อยทหารบก จนสำเร็จการศึกษาเมื่อปี พ.ศ. 2472 ได้รับยศร้อยตรีประจำการที่กองพันที่ 1 กรมทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์
[แก้] การรับราชการทหาร
ในปี พ.ศ. 2484 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เข้าร่วมรบในสงครามมหาเอเชียบูรพาในขณะที่ดำรงตำแหน่งผู้บังคับ กองทัพทหารราบที่ 33 ได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความกล้าหาญ วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2488 จึงได้เลื่อนยศเป็นพันเอก ตำแหน่งผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 13 และผู้บังคับการจังหวัดทหารบกลำปาง จนกระทั่งสงครามยุติลง ปี พ.ศ. 2495 ได้เลื่อนยศเป็นพลเอก และในวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2497 ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการทหารบก และต่อมาได้รับพระราชทานยศเป็นจอมพล ทหารบก ทหารอากาศ และทหารเรือ
[แก้] การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 หลังจากการทำรัฐประหารรัฐบาลของจอมพลถนอม กิตติขจร
ก่อนหน้านั้น เนื่องจากสถานการณ์ทางการเมืองภายในประเทศไม่เรียบร้อยจากการทุจริตการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อ พ.ศ. 2500 พรรคเสรีมนังคศิลาของจอมพล ป. พิบูลสงครามได้เสียงข้างมากและถูกกล่าวหาว่าโกงการเลือกตั้ง โดยเฉพาะการใช้อันธพาลที่เรียกโดยสุภาพในขณะนั้นว่า "ผู้กว้างขวาง" ได้เกิดการเดินขบวนคัดค้านขนาดใหญ่ไปตามถนนราชดำเนิน มีการลดธงครึ่งเสาที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จอมพลสฤษดิ์ได้พยายามไกล่เกลี่ยและในที่สุดได้ทำรัฐประหารล้มรัฐบาลเมื่อเดือนกันยายน 2500 ขับไล่พลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์และ จอมพล ป. พิบูลสงครามซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีออกนอกประเทศ แล้วตั้งนายพจน์ สารสินและพลโทถนอม กิตติขจรเป็นนายกรัฐมนตรี ก่อนทำรัฐประหารอีกครั้งหนึ่งดังกล่าว
ในช่วงที่บริหารประเทศ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้สร้างผลงานทั้งทางด้านการปรับปรุงการบริหารและการพัฒนาประเทศไว้มากมาย ผลงานที่สำคัญ ๆ ได้แก่ การออกกฎหมายเลิกการเสพและจำหน่ายฝิ่นโดยเด็ดขาด กฎหมายปราบปรามพวกนักเลง อันธพาล กฎหมายปรามการค้าประเวณี และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ โดยได้รับการสนับสนุนจากต่างประเทศ ทำการศึกษา ค้นคว้า วิจัย จนกระทั่งได้จัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศฉบับที่ 1 (ปี พ.ศ. 2504 - พ.ศ. 2509) ซึ่งแผนดังกล่าวเป็นแม่แบบของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับต่อ ๆ มาจนถึงปัจจุบัน จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจนถึงแก่อสัญกรรมที่ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า รวมอายุได้ 55 ปี และเป็นนายกรัฐมนตรีคนเดียวที่เสียชีวิตลงในขณะที่ดำรงตำแหน่ง
หลังการอสัญญกรรมได้ไม่นาน ได้มีการขุดคุ้ยเรื่องการคอร์รัปชั่นและถูกยึดทรัพย์จากแรงกดดันทางการเมือง รวมทั้งการเิปิดเผยถึงสุภาพสตรีซึ่งมีฐานะเป็นอนุภรรยาจำนวนมากมายหลายท่าน
[แก้] อ้างอิง
- สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี คณะที่ 29 : 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 - 8 ธันวาคม พ.ศ. 2506 [1]
[แก้] ดูเพิ่ม
สมัยก่อนหน้า: จอมพล ถนอม กิตติขจร |
นายกรัฐมนตรีไทย พ.ศ. 2502 - พ.ศ. 2506 |
สมัยถัดไป: จอมพล ถนอม กิตติขจร |
สมัยก่อนหน้า: จอมพลผิน ชุณหะวัณ |
ผู้บัญชาการทหารบก 23 มิถุนายน พ.ศ. 2497 - 8 ธันวาคม พ.ศ. 2506 |
สมัยถัดไป: จอมพล ถนอม กิตติขจร |
สมุหพระกลาโหม | เจ้าพระยามหาเสนา (ปลี) · เจ้าพระยามหาเสนา (บุนนาค) · เจ้าพระยามหาเสนา (ปิ่น) · เจ้าพระยามหาเสนา (บุญมา) · เจ้าพระยาวรวงศาสุรศักดิ์ (แสง วงศาโรจน์) · เจ้าพระยามหาเสนา (สังข์) · เจ้าพระยามหาเสนา (น้อย) · สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) · สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) · เจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) · เจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ (พุ่ม ศรีไชยันต์) |
เสนาบดีกระทรวง | สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ · พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม · สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช · พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช · เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต (หม่อมราชวงศ์อรุณ ฉัตรกุล) · เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต (แย้ม ณ นคร) · สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต · พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช · พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร · พระยาราชวังสัน (ศรี กมลนาวิน) · พระยาประเสริฐสงคราม |
รัฐมนตรีว่าการ | พระยาราชวังสัน (ศรี กมลนาวิน) · พระยาประเสริฐสงคราม · แปลก พิบูลสงคราม · มังกร พรหมโยธี · หลวงเกรียงศักดิ์พิชิต (พิชิต เกรียงศักดิ์พิชิต) · สินธุ์ กมลนาวิน · ชิต มั่นศิลป สินาดโยธารักษ์ · จิร วิชิตสงคราม · หลวงชาตินักรบ (ศุข ชาตินักรบ) · สฤษดิ์ ธนะรัชต์ · ถนอม กิตติขจร · ทวี จุลละทรัพย์ · ครวญ สุทธานินทร์ · ทวิช เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา · ประมาณ อดิเรกสาร · กฤษณ์ สีวะรา · เสนีย์ ปราโมช · สงัด ชลออยู่ · เล็ก แนวมาลี · เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ · เปรม ติณสูลานนท์ · พะเนียง กานตรัตน์ · ชาติชาย ชุณหะวัณ · ชวลิต ยงใจยุทธ · ประพัฒน์ กฤษณะจันทร์ · สุจินดา คราประยูร · บรรจบ บุนนาค · วิจิตร สุขมาก · ชวน หลีกภัย · ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา · เชษฐา ฐานะจาโร · สัมพันธ์ บุญญานันทน์ · บุญรอด สมทัศน์ |
เจ้ากรมทหารบก | สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ · เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต) |
เจ้ากรมยุทธนาธิการ | สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช · สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ · พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช · เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต (หม่อมราชวงศ์ อรุณ ฉัตรกุล) |
เสนาบดี กระทรวงกลาโหม | เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต (แย้ม ณ นคร) · สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต · พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช · พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร |
ผู้บัญชาการทหารบก | พระยาพหลพลพยุหเสนา · แปลก พิบูลสงคราม · พิชิต เกรียงศักดิ์พิชิต · อดุล อดุลเดชจรัส · ผิน ชุณหะวัณ · สฤษดิ์ ธนะรัชต์ · ถนอม กิตติขจร · ประภาส จารุเสถียร · กฤษณ์ สีวะรา · บุญชัย บำรุงพงศ์ · เสริม ณ นคร · เปรม ติณสูลานนท์ · ประยุทธ จารุมณี · อาทิตย์ กำลังเอก · ชวลิต ยงใจยุทธ · สุจินดา คราประยูร · อิสระพงศ์ หนุนภักดี · วิมล วงศ์วานิช · ประมณฑ์ ผลาสินธุ์ · เชษฐา ฐานะจาโร · สุรยุทธ์ จุลานนท์ · สมทัต อัตตะนันทน์ · ชัยสิทธิ์ ชินวัตร · ประวิตร วงษ์สุวรรณ · สนธิ บุญยรัตกลิน |
กองโปลิศ/กรมกองตระเวน | เอส.เย.เอมส์ · พระยาอรรคราชวราทร (ภัสดา บุรณศิริ) · เอ.เย.ยาดิน · อีริกเซ็นต์ เย ลอสัน · พระยาวาสุเทพ |
กรมตำรวจ | พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคำรบ · พระยาอธิกรณ์ประกาศ (หลุย จาติกวณิช) · พระยาบุเรศผดุงกิจ (รวย พรหโมบล) · พระยาอนุสรณ์ธุระการ (จ่าง วัจนะพุกกะ) · อดุล อดุลเดชจรัส · พระรามอินทรา (ดวง จุลัยยานนท์) · พระพิจารณ์พลกิจ (ยู่เซ็ก ดุละลัมภะ) · หลวงชาติตระการโกศล (เจียม ลิมปิชาติ) · เผ่า ศรียานนท์ · ไสว ไสวแสนยากร · สฤษดิ์ ธนะรัชต์ · ประเสริฐ รุจิรวงศ์ · ประภาส จารุเสถียร · ประจวบ สุนทรางกูร · พจน์ เภกะนันทน์ · ศรีสุข มหินทรเทพ · มนต์ชัย พันธุ์คงชื่น · สุรพล จุลละพราหมณ์ · ณรงค์ มหานนท์ · เภา สารสิน · แสวง ธีระสวัสดิ์ · สวัสดิ์ อมรวิวัฒน์ · ประทิน สันติประภพ · พจน์ บุณยะจินดา · ประชา พรหมนอก |
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ | ประชา พรหมนอก · พรศักดิ์ ดุรงควิบูลย์ · สันต์ ศรุตานนท์ · โกวิท วัฒนะ · เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส (รักษาการ) |