สุจินดา คราประยูร
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พลเอกสุจินดา คราประยูร | |
นายกรัฐมนตรี คนที่ 19
|
|
ดำรงตำแหน่ง 7 เมษายน พ.ศ. 2535 – 9 มิถุนายน พ.ศ. 2535 (ลาออก) |
|
สมัยก่อนหน้า | อานันท์ ปันยารชุน |
---|---|
สมัยถัดไป | อานันท์ ปันยารชุน |
|
|
เกิด | 6 สิงหาคม พ.ศ. 2476 จังหวัดนครปฐม ประเทศไทย |
สมรสกับ | คุณหญิงวรรณี คราประยูร (หนุนภักดี) |
ศาสนา | พุทธ |
พลเอกสุจินดา คราประยูร เกิดเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2476 เวลาประมาณ 03.35 น. ที่ตำบลบ้านช่างหล่อ อำเภอบางกอกน้อย จังหวัดพระนคร เป็นบุตรของนายจวง กับนางสมพงษ์ คราประยูร สมรสกับคุณหญิงวรรณี คราประยูร (หนุนภักดี)
สารบัญ |
[แก้] การศึกษา
พลเอก สุจินดา จบการศึกษาชั้นมัธยมปีที่ 3 จาก โรงเรียนทวีธาภิเศก ได้ศึกษาต่อที่ โรงเรียนวัดราชบพิธจนจบมัธยมปีที่ 6 แล้วศึกษาต่อที่โรงเรียนอำนวยศิลป์จนจบมัธยมปีที่ 8 สอบเข้าเรียนเตรียมแพทย์ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรียนได้เพียงปีเดียวจึงไปสอบเข้าโรงเรียนเตรียมทหาร และเข้าเรียนต่อโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า หลักสูตรเวสท์ปอยต์รุ่นที่ 5 ตามลำดับ และได้จบหลักสูตรผู้บังคับกองพันทหารปืนใหญ่จากฟอร์ทซิลส์ รัฐโอคลาโฮมา สหรัฐอเมริกา สำเร็จหลักสูตรเสนาธิการทหารบกรุ่นที่ 44 เป็นอันดับที่ 1 สำเร็จการศึกษาหลักสูตรเสนาธิการทหารบกสหรัฐอเมริกาจากฟอร์ดลีเวนเวิร์ธ รัฐแคนซัส
[แก้] รับราชการทหาร
พลเอก สุจินดา เริ่มเข้ารับราชการทหารตั้งแต่ปี พ.ศ. 2496 ได้รับพระราชทานยศ ว่าที่ร้อยตรี เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2501 ดำรงตำแหน่งผู้บังคับกองร้อย กองพันทหาร ปืนใหญ่ที่ 21 และก้าวหน้าในหน้าที่ราชการในตำแหน่งอาจารย์โรงเรียนเสนาธิการทหารบก เจ้ากรมยุทธการทหารบก ผู้ช่วยเสนาธิการทหารบกฝ่ายยุทธการ รองเสนาธิการ ทหารบก ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก รองผู้บัญชาการทหารบก และวันที่ 29 เมษายน 2533 ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก จนเมื่อถึงวันที่ 1 ตุลาคม 2534 จึงได้ดำรงตำแหน่ง ผู้บัญชาการทหารสูงสุดอีกตำแหน่งหนึ่ง ต่อจากพลเอก สุนทร คงสมพงษ์ ที่เกษียณอายุพลเอก สุจินดา เป็นบุคคลสำคัญในคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ที่เข้ายึดอำนาจการปกครองจากพลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2534 จนกระทั่งหลังการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2535 พรรคการเมือง 5 พรรค คือ พรรคสามัคคีธรรม พรรคชาติไทย พรรคกิจสังคม พรรคประชากรไทย และพรรคราษฎร ร่วมกันจัดตั้งรัฐบาลและสนับสนุนให้พลเอก สุจินดา คราประยูร เป็นนายกรัฐมนตรี
[แก้] ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
พลเอก สุจินดา คราประยูร ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 19 ของประเทศไทย เมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2535 เมื่อเข้าดำรงตำแหน่ง พลเอก สุจินดา ได้ถูกคัดค้านจากกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองหลายกลุ่ม จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์ไม่สงบภายในประเทศ หรือ พฤษภาทมิฬ ขึ้นระหว่างวันที่ 17-20 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 พลเอก สุจินดา จึงลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2535 เพื่อให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นไปโดยอิสระและเพื่อแสดงความรับผิดชอบทางการเมือง
อย่างไรก็ตาม นายมีชัย ฤชุพันธุ์ รองนายกรัฐมนตรีได้ทำหน้าที่รักษาการนายกรัฐมนตรีไทยเป็นการชั่วคราว จนกระทั่งมีการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ในวันที่ 10 มิถุนายน 2535 คณะรัฐมนตรี คณะที่ 48 ของรัฐบาลพลเอก สุจินดา คราประยูร จึงพ้นจากตำแหน่งไปตามวาระ
[แก้] อ้างอิง
[แก้] ดูเพิ่ม
สมัยก่อนหน้า: อานันท์ ปันยารชุน |
นายกรัฐมนตรีไทย (สมัยที่ {{{สมัยที่}}}) พ.ศ. 2535 |
สมัยถัดไป: อานันท์ ปันยารชุน |
สมุหพระกลาโหม | เจ้าพระยามหาเสนา (ปลี) · เจ้าพระยามหาเสนา (บุนนาค) · เจ้าพระยามหาเสนา (ปิ่น) · เจ้าพระยามหาเสนา (บุญมา) · เจ้าพระยาวรวงศาสุรศักดิ์ (แสง วงศาโรจน์) · เจ้าพระยามหาเสนา (สังข์) · เจ้าพระยามหาเสนา (น้อย) · สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) · สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) · เจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) · เจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ (พุ่ม ศรีไชยันต์) |
เสนาบดีกระทรวง | สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ · พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม · สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช · พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช · เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต (หม่อมราชวงศ์อรุณ ฉัตรกุล) · เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต (แย้ม ณ นคร) · สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต · พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช · พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร · พระยาราชวังสัน (ศรี กมลนาวิน) · พระยาประเสริฐสงคราม |
รัฐมนตรีว่าการ | พระยาราชวังสัน (ศรี กมลนาวิน) · พระยาประเสริฐสงคราม · แปลก พิบูลสงคราม · มังกร พรหมโยธี · หลวงเกรียงศักดิ์พิชิต (พิชิต เกรียงศักดิ์พิชิต) · สินธุ์ กมลนาวิน · ชิต มั่นศิลป สินาดโยธารักษ์ · จิร วิชิตสงคราม · หลวงชาตินักรบ (ศุข ชาตินักรบ) · สฤษดิ์ ธนะรัชต์ · ถนอม กิตติขจร · ทวี จุลละทรัพย์ · ครวญ สุทธานินทร์ · ทวิช เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา · ประมาณ อดิเรกสาร · กฤษณ์ สีวะรา · เสนีย์ ปราโมช · สงัด ชลออยู่ · เล็ก แนวมาลี · เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ · เปรม ติณสูลานนท์ · พะเนียง กานตรัตน์ · ชาติชาย ชุณหะวัณ · ชวลิต ยงใจยุทธ · ประพัฒน์ กฤษณะจันทร์ · สุจินดา คราประยูร · บรรจบ บุนนาค · วิจิตร สุขมาก · ชวน หลีกภัย · ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา · เชษฐา ฐานะจาโร · สัมพันธ์ บุญญานันทน์ · บุญรอด สมทัศน์ |
ผู้บัญชาการทหารสูงสุด แห่ง กองทัพไทย |
---|
แปลก พิบูลสงคราม · สฤษดิ์ ธนะรัชต์ · ถนอม กิตติขจร · ทวี จุลละทรัพย์ · กฤษณ์ สีวะรา · สงัด ชลออยู่ · กมล เดชะตุงคะ · เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ · เสริม ณ นคร · สายหยุด เกิดผล · อาทิตย์ กำลังเอก · สุภา คชเสนี · ชวลิต ยงใจยุทธ · สุนทร คงสมพงษ์ · สุจินดา คราประยูร · เกษตร โรจนนิล · วรนาถ อภิจารี · วัฒนชัย วุฒิศิริ · วิโรจน์ แสงสนิท · มงคล อัมพรพิสิฏฐ์ · สำเภา ชูศรี · ณรงค์ ยุทธวงศ์ · สุรยุทธ์ จุลานนท์ · สมทัต อัตตะนันทน์ · ชัยสิทธิ์ ชินวัตร · เรืองโรจน์ มหาศรานนท์ · บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ |
เจ้ากรมทหารบก | สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ · เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต) |
เจ้ากรมยุทธนาธิการ | สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช · สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ · พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช · เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต (หม่อมราชวงศ์ อรุณ ฉัตรกุล) |
เสนาบดี กระทรวงกลาโหม | เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต (แย้ม ณ นคร) · สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต · พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช · พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร |
ผู้บัญชาการทหารบก | พระยาพหลพลพยุหเสนา · แปลก พิบูลสงคราม · พิชิต เกรียงศักดิ์พิชิต · อดุล อดุลเดชจรัส · ผิน ชุณหะวัณ · สฤษดิ์ ธนะรัชต์ · ถนอม กิตติขจร · ประภาส จารุเสถียร · กฤษณ์ สีวะรา · บุญชัย บำรุงพงศ์ · เสริม ณ นคร · เปรม ติณสูลานนท์ · ประยุทธ จารุมณี · อาทิตย์ กำลังเอก · ชวลิต ยงใจยุทธ · สุจินดา คราประยูร · อิสระพงศ์ หนุนภักดี · วิมล วงศ์วานิช · ประมณฑ์ ผลาสินธุ์ · เชษฐา ฐานะจาโร · สุรยุทธ์ จุลานนท์ · สมทัต อัตตะนันทน์ · ชัยสิทธิ์ ชินวัตร · ประวิตร วงษ์สุวรรณ · สนธิ บุญยรัตกลิน |