ภาษาอูรดู
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษาอูรดู (اردو) | ||
---|---|---|
พูดใน: | ประเทศอินเดีย ประเทศปากีสถาน และประชากรอย่างน้อย 1% ของประเทศบาห์เรน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ประเทศโอมาน ประเทศกาตาร์ ประเทศซาอุดิอาระเบีย | |
จำนวนคนพูดทั้งหมด: | 61 ล้านคน (ภาษาแม่) 104 ล้านคน (ทั้งหมด) |
|
อันดับ: | 19-21 (ภาษาแม่) ใกล้เคียงกับภาษาอิตาลีแลภาษาตุรกี | |
ตระกูลของภาษา: | อินโด-ยูโรเปียน อินโด-ยูโรเปียน อินโด-อารยัน ภาษาอูรดู |
|
ระบบการเขียน: | อักษรเปอร์เซีย | |
สถานะทางการ | ||
ภาษาราชการของ: | ประเทศปากีสถาน; จัมมูและแคชเมียร์ อุตตระประเทศ เดลฮี (ประเทศอินเดีย). |
|
องค์กรควบคุม: | ไม่มี | |
รหัสภาษา | ||
ISO 639-1: | ur | |
ISO 639-2: | urd | |
ISO/DIS 639-3: | urd | |
หมายเหตุ: หน้านี้อาจจะมีตัวอักษรหรือสัญลักษณ์ IPA ในลักษณะยูนิโคด |
ภาษาอูรดู (اردو) เป็นภาษาหนึ่งในภาษากลุ่มอินโด-อารยัน ซึ่งพัฒนามาจากหลายภาษารวมกันคือ ภาษาเปอร์เซีย ตุรกี อาหรับ ฮินดี และ สันสกฤต นิยมใช้กันมากในช่วงสมัยรัฐสุลต่านเดลฮี และจักรวรรดิโมกุล (ค.ศ.๑๒๐๐ - ๑๘๐๐)
ภาษาอูรดู อยู่ในอันดับที่ ๒๐ ของภาษาที่มีคนใช้เป็นภาษาแม่ และเป็นภาษาราชการของประเทศปากีสถาน นอกจากนี้ยังเป็นภาษาหนึ่งในภาษาราชการ ๒๓ ภาษา ของประเทศอินเดีย
สารบัญ |
[แก้] ไวยากรณ์
ไวยากรณ์ของภาษาอูรดูใกล้เคียงกับภาษาฮินดีมาก คำนามแบ่งเป็นปุลลึงค์ (ชาย) และสตรีลึงค์ (หญิง) มีการกำหนดเพศให้กับคำนามที่เป็นคำยืมจากภาษาอื่นเช่นภาษาอังกฤษด้วย คำนามแบ่งเป็นนามเอกพจน์และพหูพจน์
[แก้] ระดับความสุภาพ
ภาษาอูรดูมีการแบ่งระดับความสุภาพ คำหลายคำมีความหมายเหมือนกัน แต่ใช้ในสถานการณ์ที่ต่างกัน คำที่มาจากภาษาเปอร์เซียและภาษาอาหรับมักได้รับการยอมรับว่าเป็นทางการ ตัวอย่างเช่นคำว่า "คุณ" ในภาษาอูรดูมี 3 คำ คือ "ตู" (ไม่เป็นทางการมาก) "ตุม" (ไม่เป็นทางการ) และ "อาป" (แสดงการยกย่อง) คำว่า "มา" มี 3 คำเช่นเดียวกันคือ "ไอเย" หรือ "อาเอ็น" (ทางการ แสดงความยกย่อง) "เอา" (ไม่เป็นทางการ) และ "อา" (ไม่เป็นทางการอย่างมาก)
[แก้] คำศัพท์
ส่วนใหญ่มีที่มาจากอินเดียและตะวันออกกลาง ทั้งที่ยืมมาจากภาษาเปอร์เซีย ภาษาอาหรับ ภาษาสันสกฤต ภาษาตุรกี ภาษาโปรตุเกส และภาษาอังกฤษ คำที่มาจากภาษาอาหรับจะมีความหมายต่างไปจากเดิมบ้างเล็กน้อยและการใช้ต่างจากในภาษาเดิม
[แก้] ระบบการเขียน
ภาษาอูรดูเขียนด้วยอักษรอาหรับ-เปอร์เซีย เขียนจากขวาไปซ้าย การเขียนต่างจากภาษาอาหรับที่ว่า ภาษาอูรดูเขียนแบบ Nasta'liq ซึ่งจัดตัวพิมพ์ยาก ส่วนภาษาอาหรับเขียนแบบ Naskh หนังสือพิมพ์ภาษาอูรดูจึงพิมพ์จากแท่นพิมพ์ที่ทำมาจากลายมือเขียน จนถึงราว พ.ศ. 2523 หนังสือพิมพ์ เดลลี่ จัง จึงเป็นหนังสือพิมพ์ภาษาอูรดูฉบับแรกที่พิมพ์ในแบบ Nasta'liq ด้วยคอมพิวเตอร์ หนังสือที่เขียนด้วยภาษาอูรดูในปัจจุบัน ใช้คอมพิวเตอร์ที่มีโปรแกรมภาษาอูรดูต่างๆกันไป
ต่อไปนี้เป็นตารางแสดงอักษรสำหรับภาษาอูรดู
อักษร | ชื่ออักษร | การออกเสียงแสดงด้วยสัทอักษร |
---|---|---|
ا | alif | [ə, ɑ] หลังพยัญชนะ; ไม่ออกเสียงเมื่อเป็นตัวแรก |
ب | be | [b] English b. |
پ | pe | [p] English p. |
ت | te | เสียงจากฟัน [t̪] ใกล้กับเสียง t ในภาษาฝรั่งเศสใน trois. |
ٹ | ṭe | retroflex consonant [ʈ] ใกล้กับ T ในภาษาอังกฤษ |
ث | se | [s] ใกล้กับ English s |
ج | jīm | [dʒ] Same as English j |
چ | cīm/ce | [tʃ] เหมือนกับ ch ในภาษาอังกฤษแต่ต่างจาก ch ในภาษาสก๊อตต์ |
ح | baṛī he | [h] voicleless h, partially an Alveolar consonant |
خ | khe | [x] Slightly rolled version of Scottish "ch" as in loch |
د | dāl | dental [d̪] |
ڈ | ḍāl | retroflex [ɖ] |
ذ | zāl | [z] |
ر | re | dental [r] |
ڑ | ṛe | retroflex [ɽ] |
ز | ze | [z] |
ژ | zhe | [ʒ] |
س | sīn | [s] |
ش | shīn | [ʃ] |
ص | su'ād | [s] |
ض | zu'ād | [z] |
ط | to'e | [t] |
ظ | zo'e | [z] |
ع | ‘ain | [ɑ] หลังพยัญชนะ; ที่อื่นเป็น [ʔ], [ə], หรือไม่ออกเสียง |
غ | ghain | [ɣ] เสียงโฆษะของ [x] |
ف | fe | [f] |
ق | qāf | [q] |
ک | kāf | [k] |
گ | gāf | [g] |
ل | lām | [l] |
م | mīm | [m] |
ن | nūn | [n] หรือ สระนาสิก |
و | vā'o | [v, u, ʊ, o, ow] |
ہ, ﮩ, ﮨ | choṭī he | [ɑ] ที่ท้ายคำ, ที่อื่นเป็น [h] หรือไม่ออกเสียง |
ھ | do cashmī he | ชี้บ่งว่าพยัญชนะตัวหน้าเป็นเสียงไม่มีลม ไม่ก้อง (p, t, c, k) หรือเสียงก้อง (b, d, j, g) |
ی | choṭī ye | [j, i, e, ɛ] |
ے | baṛī ye | [eː] |
ء | hamzah | [ʔ] หรือไม่ออกเสียง |
ในปัจจุบันมีการเขียนภาษาอูรดูด้วยอักษรโรมัน และเป็นที่นิยมในหมู่เยาวชนโดยเฉพาะอินเตอร์เน็ต มีเวบไซต์ที่เป็นภาษาอูรดูเขียนด้วยอักษรโรมัน คนรุ่นใหม่จำนวนหนึ่งที่พูดภาษาอูรดู แต่อ่านภาษาอูรดูที่เขียนด้วยอักษรอาหรับไม่ได้
[แก้] ตัวอย่าง
ภาษาไทย | ภาษาอูรดู | คำอ่าน | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
สวัสดี | السلام علیکم | assalāmu ‘alaikum | ตรงตัว "สันติภาพมาถึงคุณ" اداب [aˈdaːb] ใช้ทั่วไป ใช้เพื่อแสดงความนับถือ و علیکم السلام [ˈwaɭikum ˈaʔsaɭam] เป็นการตอบรับที่ถูกต้อง. |
สวัสดี | آداب عرض ہے | ādāb arz hai | "ด้วยความนับถือ" (ตรงตัว แสดงความนับถือ), เป็นการทักทายที่เป็นทางการมากสำหรับคนทั่วไป |
ลาก่อน | خدا حافظ | khudā hāfiz | คุดา เป็น ภาษาเปอร์เซีย หมายถึงพระเจ้า, และ hāfiz มาจากภาษาอาหรับhifz "การป้องกัน". ดังนั้น ตรงตัว "พระเจ้าคุ้มครองคุณ" ใช้เป็นมาตรฐานทั่วไป ทั้งผู้เป็นและไม่เป็นมุสลิมหรือ al vida คำพูดที่เป็นทางการโดยทั่วไป |
ใช่ | ہاں | hān | ไม่เป็นทางการ |
ใช่ | جی | jī | เป็นทางการ |
ใช่ | جی ہاں | jī hān | เป็นทางการมาก |
ไม่ | نا | nā | ไม่เป็นทางการ |
ไม่ | نہیں، جی نہیں | nahīn, jī nahīn | เป็นทางการ;jī nahīn เป็นทางการมากกว่า |
ได้โปรด | مہربانی | meharbānī | |
ขอบคุณ | شکریہ | shukrīā | |
เข้ามาข้างในเถอะ | تشریف لائیے | tashrīf laīe | ตรงตัว นำความซื่อสัตย์ของคุณเข้ามา |
นั่งลงเถอะ | تشریف رکھیئے | tashrīf rakhīe | ตรงตัว วางความซื่อสัตย์ของคุณลง |
ฉันดีใจที่ได้พบคุณ | اپ سے مل کر خوشی ہوئی | āp se mil kar khvushī (khushī) hūye | ตรงตัว การพบคุณทำให้ฉันมีความสุข |
คุณพูดภาษาอังกฤษได้ไหม | کیا اپ انگریزی بولتے ہیں؟ | kya āp angrezī bolte hain? | |
ฉันพูดภาษาอูรดูไม่ได้ | میں اردو نہیں بولتا/بولتی | main urdū nahīn boltā/boltī | boltā เป็นปุลลึงค์, boltī เป็นสตรีลึงค์ |
ฉันชื่อ... | میرا نام ۔۔۔ ہے | merā nām .... hai | |
ทางไหนไปลาฮอร์ | لاھور کس طرف ہے؟ | lāhaur kis taraf hai? | |
มุมไบอยู่ที่ไหน? | لکھنئو کہاں ہے؟ | lakhnau kahān hai | |
ภาษาอูรดูเป็นภาษาที่ดี | اردو اچھی زبان ہے | urdū acchī zabān hai |