อินทรีย์เคมี
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อินทรีย์เคมีเป็นสาขาหนึ่งของวิชาเคมีว่าด้วยการศึกษาโครงสร้าง คุณสมบัติ องค์ประกอบ ปฏิกิริยาเคมีและการสังเคราะห์สารประกอบเคมีนั้นๆ โดยสารประกอบเหล่านี้จะต้องมีธาตุคาร์บอนอยู่ด้วย โดยทั่วไปนอกจากคาร์บอนแล้วสารประกอบอินทรีย์เคมีจะมีธาตุสำคัญๆ ดังนี้
สารบัญ |
[แก้] ประวัติ
อินทรีย์เคมีเป็นวิทยาศาสตร์สาขาหนึ่งของวิชาเคมีที่เริ่มต้นเมื่อเฟรดริช วูห์เลอร์(Friedrich Woehler)สามารถสังเคราะห์สารประกอบยูเรียได้เป็นผลสำเร็จโดยบังเอิญจากการระเหยสารละลายแอมโมเนียมไซยาเนต(ammonium cyanate) NH4OCN อินทรีย์เคมีเข้าใจกันว่าเป็นสารเคมีที่ประกอบด้วยสายโซ่ของธาตุคาร์บอนและเกิดจากสิ่งมีชีวิตเท่านั้น แต่เมื่อเราสามารถสังเคราะห์สารประกอบประเภทนี้ได้ มันจึงเป็นจุดเริ่มต้นของการสังเคราะห์ประกอบประเภทเดียวกันนี้อีกมากมาย
[แก้] คุณสมบัติของสารอินทรีย์
สารประกอบอินทรีย์เคมีเป็นสารประกอบที่มีโมเลกุลเกิดจากการดึงดูดกันระหว่างอะตอมของธาตุต่างๆ ด้วย โควาเลนต์บอนด์(covalent bond) เนื่องจากธาตุคาร์บอนมีอะตอมที่เชื่อมต่อกันเองและธาตุอื่นๆ ด้วย โควาเลนต์บอนด์แล้วมีความเสถียรสูงมากซึ่งจะเห็นได้การต่อกันเองของธาตุคาร์บอนเป็นโซ่ยาวๆ หรือต่อกันเป็นวงกลมก็ได้ ทำให้สารประกอบอินทรีย์เคมีมีความแตกต่างจากสารประกอบอนินทรีย์เคมีดังนี้
- สารประกอบอินทรีย์เคมีจะหลอมเหลวหรือสะลายตัวที่อุณหภูมิต่ำกว่า 300°C
- สารประกอบอินทรีย์เคมีที่เป็นกลางจะละลายในน้ำได้น้อยกว่าสารประกอบอนินทรีย์เคมีประเภทเกลือยกเว้นสารประกอบอินทรีย์เคมีประเภทไอออนิกและประเภทน้ำหนักโมเลกุลต่ำๆอย่างแอลกอฮอล์และกรดคาร์โบซิลิก(carboxylic acids)
- สารประกอบอินทรีย์เคมีละลายได้ดีในตัวทำละลายที่เป็นสารอินทรีย์เช่นอีเทอร์(ether)หรือแอลกอฮอลแต่การละลายมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับฟังชั่นแนลกรุ๊ป(functional groups) และโครงสร้างทั่วไปของสารด้วย
[แก้] การตั้งชื่อและการการจัดหมวดหมู่
สารประกอบอินทรีย์เคมี(organic compound) สามารถตั้งชื่อจัดหมวดหมู่ได้ดังนี้
[แก้] สารประกอบประเภท อะลิฟาติก (Aliphatic compounds)
เป็นสารประกอบที่มีอะตอมของคาร์บอนต่อกันเป็นโซ่ยาว(hydrocarbon chains) และไม่มีอะตอมของคาร์บอนต่อกันเป็นวงแหวน(aromatic systems)เลย ซึ่งได้แก่
- ไฮโดรคาร์บอน(Hydrocarbon)
- แอลเคน(Alkane)
- แอลคีน(Alkene)
- ไดเอ็น หรือ อแลคาไดเอ็น(Dienes or Alkadienes)
- แอลไคน์(Alkyne)
- แฮโลแอลเคน(Haloalkane)
[แก้] สารประกอบประเภท อะโรมาติก(Aromatic compounds)
เป็นสารประกอบที่มีส่วนหนึ่งส่วนใดของโมเลกุลเป็นวงแหวน(aromatic systems) ซึ่งได้แก่
- เบนซีน (Benzene)
- โทลูอีน (Toluene)
- สะไตรีน (Styrene)
- ไซลีน (Xylene)
- อะนิลีน (Aniline)
- ฟีนอล (Phenol)
- อะเซโตฟีโนน (Acetophenone)
- เบนโซไนไตรล์ (Benzonitrile)
- แฮโลอะรีน (Haloarene)
- แนฟทาลีน (Naphthalene)
- แอนทราซีน (Anthracene)
- ฟีแนนทรีน (Phenanthrene)
- เบนโซไพรีน (Benzopyrene)
- โคโรนีน (Coronene)
- อะซูลีน (Azulene)
- ไบฟีนิล (Biphenyl)
[แก้] สารประกอบประเภท เฮเทอโรไซคลิก (Heterocyclic compounds)
เป็นสารประกอบที่มีวงแหวนที่ประกอบด้วยอะตอมต่างชนิด(heteroatom)กัน ซึ่งอะตอมเหล่านี้อาจเป็น ออกซิเจนไนโตรเจน ฟอสฟอรัส หรือกำมะถัน สารประกอบประเภทนี้ได้แก่
- อิมิดาโซล (Imidazole)
- อินโดล (Indole)
- ไพริดีน (Pyridine)
- ไพร์โรล (Pyrrole)
- ไทโอฟีน (Thiophene)
- ฟูแรน (Furan)
- พูรีน (Purine)
[แก้] ฟังก์ชันนัลกรุป(Functional groups)
- แอลกอฮอล์ (Alcohol)
- แอลดีไฮด์ (Aldehyde)
- สารประกอบอะลิไซคลิก (Alicyclic compound)
- อะไมด์ (Amide)
- อะมีน (Amine)
- คาร์โบไฮเดรต (Carbohydrate)
- กรดคาร์บอกซิลิก (Carboxylic acid)
- เอสเตอร์ (Ester)
- อีเทอร์ (Ether)
- คีโตน (Ketone)
- ไลปิด (Lipid)
- เมอร์แคปแทน (Mercaptan)
- ไนไตรล์ (Nitrile)
[แก้] พอลิเมอร์(Polymers)
พอลิเมอร์เป็นโมเลกุลชนิดพิเศษมีขนาดใหญ่ประกอบด้วยโมเลกุลย่อยๆต่อเรียงกัน ถ้าโมเลกุลย่อยเป็นชนิดเดียวกันจะเรียกพอลิเมอร์นี้ว่า"โฮโมพอลิเมอร์" (homopolymer) และถ้าโมเลกุลย่อยเป็นต่างชนิดกันจะเรียกพอลิเมอร์นี้ว่า"เฮตเทอโรพอลิเมอร์" (heteropolymer) พอลิเมอร์จำแนกได้ดังนี้
- พอลิเมอร์ประเภทสารอินทรีย์ได้แก่
- พอลิเอทไทลีน (polyethylene)
- พอลิโพรไพลีน (polypropylene)
- เฟลกซิกลาซส์ (Plexiglass), ฯลฯ
- พอลิเมอร์ประเภทสารอนินทรีย์ได้แก่
- ซิลิโคน (silicone)
- พอลิเมอร์ชีวภาพไบโอพอลิเมอร์ (biopolymers)
- โปรตีน (proteins)
- นิวคลิอิกแอซิก (nucleic acids)
- พอลิแซกชาไรด์ (polysaccharides)
[แก้] การหาโครงสร้างโมเลกุลของสารประกอบอินทรีย์
ปัจจุบันมีด้วยกันหลายวิธี ดังนี้:
- ผลึกศาสตร์ (Crystallography): วิธีนี้เป็นวิธีที่ละเอียดแม่นยำที่สุด แต่มันก็มีความยากมากที่จะเลี้ยงผลึกให้มีขนาดใหญ่และมีคุณภาพดีเพื่อที่จะได้รูปที่ชัดเจนเพื่อการวิเคราะห์
- การวิเคราะห์ธาตุเคมี (Elemental Analysis): เป็นวิธีการแยกสะลายโมเลกุลเพื่อให้ได้ธาตุเคมีสำหรับการวิเคราะห์
- อินฟราเรด สเปกโทรสโกปี (Infrared spectroscopy): เป็นวิธีที่ใช้วิเคราะห์ว่ามีหรือไม่มี ฟังก์ชันนัลกรุป
- แมส สเปกโทรเมทรี (Mass spectrometry): เป็นวิธีที่ใช้หา น้ำหนักโมเลกุล (molecular weight) ของสารประกอบอินทรีย์และโครงสร้างทางเคมีของสารดังกล่าว
- นิวเคลียร์ แมกเนติก เรโซแนน สเปกโทรสโกปี (Nuclear magnetic resonance (NMR) spectroscopy)
- ยูวีขวิสซิเบิล สเปกโทรสโกปี (UV/VIS spectroscopy): เป็นวิธีที่ใช้หาระดับขั้นของการเชื่อมต่อกันในระบบ
[แก้] ดูเพิ่ม
สาขาวิชาเคมี แก้ |
---|
เคมีวิเคราะห์ | อินทรีย์เคมี | อนินทรีย์เคมี | เคมีฟิสิกส์ | เคมีพอลิเมอร์ | ชีวเคมี | วัสดุศาสตร์ | เคมีสิ่งแวดล้อม | เคมีเวชภัณฑ์ | เภสัชกรรม | เคมีความร้อน | เคมีไฟฟ้า | เคมีนิวเคลียร์ | เคมีการคำนวณ | เคมีแสง | เภสัชวิทยา |
อินทรีย์เคมี เป็นบทความเกี่ยวกับ ชีวเคมี อินทรีย์เคมีและชีวโมเลกุล ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับ อินทรีย์เคมี ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ |