เภสัชกร
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เภสัชกร (อังกฤษ: Pharmacists) คือผู้ที่มีวิชาชีพทางด้านสาธารณสุข (health profession) มีหน้าที่จ่ายยา ให้ผู้ป่วยตามใบสั่งยาจากแพทย์ (medical prescription) และเป็นผู้ผลิตยา เภสัชกรจะต้องเป็นผู้มีความรู้ความสามารถหลายสาขาโดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านการแพทย์ไม่ว่าจะเป็นทางด้านคลินิก โรงพยาบาล และเภสัชชุมชนซึ่งจะต้องเป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก ทางเลือกหนึ่งของวิชาชีพเภสัชกรคือการปฏิบัติงานในร้านขายยาซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเจ้าของร้านเอง (small business) ในงานด้านนี้เภสัชกรนอกจากจะมีความชำนาญในธุรกิจร้านค้าแล้วยังมีความรู้และข้อมูลการใช้ยาทั้งประสิทธิภาพและผลข้างเคียงของยา ตลอดจนการให้ข้อมูลความรู้ให้คำปรึกษาการใช้ยาแก่ชุมชนด้วย เภสัชกรบางครั้งเรียกว่านักเคมี เพราะในอดีตมีการให้ผู้สำเร็จการศึกษาในวิชาเคมีสาขาเภสัชกรรม (Pharmaceutical Chemistry (PhC)) มาเป็นเภสัชกรซึ่งเรียกกันว่านักเคมีเภสัชกรรม ("Pharmaceutical Chemists") โดยเฉพาะในประเทศอังกฤษ เช่น เครือข่ายร้านขายยาของบู๊ตส์เรียกเภสัชกรของบู๊ตส์ว่า "นักเคมีบูตส์" ('Boots The Chemist')
สารบัญ |
[แก้] คุณสมบัติของเภสัชกร
ความต้องการขั้นพื้นฐานสำหรับการจดทะเบียน (registration) เป็นเภสัชกรรับอนุญาตจะต้องเป็น ผู้ที่เรียนจบจากคณะเภสัชศาสตร์ในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ซึ่งจะได้รับปริญญาดังนี้
- เภสัชศาสตรบัณฑิต(ภบ) (Bachelor of Pharmacy (BPharm))
- เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต(ภม) (Master of Pharmacy (MPharm))
- เภสัชบริบาลศาสตรบัณฑิต (ภบ.บ.) หรือ เภสัชศาสตรบัณฑิต(ภบ) (บริบาลเภสัชกรรม) (Doctor of Pharmacy (PharmD))
ระยะเวลาที่ใช้ในการสำเร็จการศึกษาจแตกต่างในแต่ละประเทศดังนี้
- ประเทศไทยใช้เวลา 5 ปี ได้ ภบ (BPharm) หรือเรียน 6 ปีี ได้ ภบบ (PharmD)
- สหภาพยุโรป (European Union) รวมถึงสหราชอาณาจักร เดิมเรียน 4 ปีได้ ภบ (BPharm) ปัจจุบันถูกแทนที่ด้วยเรียน 4 ปี ได้ ภม (MPharm) เลย
- ประเทศออสเตรเลียใช้เวลา 4 ปี ได้ ภบ (BPharm) ต่ออีก 2 ปีได้ ภม (MPharm)
- สหรัฐอเมริกาใช้เวลา 4 ปี ได้ ภบ (BPharm) ต่ออีก 2 ปีได้ ภบบ (PharmD) มีฐานะเทียบเท่า พบ (medical doctor (MD))
[แก้] หลักสูตรการเรียนเภสัชศาสตร์
หลักสูตรมาตรฐานที่ใช้เรียนในคณะเภสัชศาสตร์ของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ มีดังนี้
- เภสัชภัณฑ์ (Pharmaceutics)
- เคมีเภสัชภัณฑ์ (Pharmaceutical chemistry) หรือเคมีเวชภัณฑ์ (Medicinal chemistry)
- เภสัชวิทยา (Pharmacology)
- จุลชีววิทยา (Microbiology)
- เคมี (chemistry)
- ชีวเคมี (Biochemistry)
- เภสัชพฤกษศาสตร์ (Pharmaceutical Botany)
- เภสัชวินิจฉัย (Pharmacognosy)
- เภสัชอุตสาหกรรม (Industrial Pharmacy)
- สรีรวิทยา (Physiology)
- กายวิภาคศาสตร์ (anatomy)
- อาหารเคมี (Foods Science)
- เภสัชกรรม (Pharmacy)
- กฎหมายยา (pharmacy law)
- เภสัชจลนศาสตร์ (Pharmacokinetics)
- ไตวิทยา (nephrology)
- ตับวิทยา (hepatology)
- ปฏิบัติการเภสัชกรรม (Pharmacy practice) ประกอบด้วย ปฏิกิริยาระหว่างยา, การติดตามผลการใช้ยา (medicine monitoring) การบริหารการใช้ยา (medication management)
[แก้] การจดทะเบียนเป็นเภสัชกร
เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการใช้ยาแก่ประชาชนทั่วไป ประเทศต่าง ๆ จึงได้กำหนดบุคคลที่จะมาเป็นเภสัชกรจะต้องถูกฝึกอบรมมาอย่างถูกต้องและพอเพียงโดยการจดทะเบียน ซึ่งผู้ที่ได้รับการจดทะเบียนจะต้องมีคุณสมบัติและผ่านการสอบ ดังนี้
- ประเทศไทย ผู้ที่ผ่านการศึกษาเภสัชศาสตร์ และต้องการจะได้รับการจดทะเบียนเป็นเภสัชกร ต้องผ่านการสอบรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม จากสภาเภสัชกรรม ก่อน
- ประเทศอังกฤษ ผู้ที่ผ่านการศึกษาเภสัชศาสตร์และต้องการจะได้รับการจดทะเบียนเป็นเภสัชกร จะต้องฝึกงานทางด้านเภสัชกรรมอย่างน้อย 1 ปี ก่อนสอบรับใบอนุญาตจากสมาคมเภสัชกรรมอังกฤษ (Royal Pharmaceutical Society of Great Britain)
- สหรัฐอเมริกา ผู้ที่ผ่านการศึกษาเภสัชศาสตร์และต้องการจะได้รับการจดทะเบียนเป็นเภสัชกร จะต้องการสอบ 2 ด่าน ดังนี้
- การสอบแนปเพลกซ์ (North American Pharmacist Licensure Examination-NAPLEX)
- การสอบแนบพ์ (National Association of Boards of Pharmacy-NABP)
[แก้] หน้าที่ของเภสัชกร
ส่วนมากเภสัชกรจะพบกับผู้ป่วยในจุดแรกด้วยการสอบถามปัญหาเกี่ยวกับสาธารณะสุขพื้นฐานโดยเฉพาะเกี่ยวกับยา การใช้ยา ผลข้างเคียงของยา ฯลฯ ดังนั้นหน้าที่ของเภสัชกรจึงคอนข้างกว้างซึ่งพอสรุปได้ดังนี้
- บริหารงานเกี่ยวกับการใช้ยาในทางคลินิก (clinical medication management)
- การเฝ้าติดตามสถานการณ์ของโรคเฉพาะ (specialized monitoring) ที่เกี่ยวกับยาและผลของยาทั้งโรคธรรมดาและซับซ้อน
- ทบทวนการใช้ยาอย่างละเอียดถี่ถ้วน (reviewing medication regimens)
- ติดตามการรักษาโรคอย่างต่อเนื่อง (monitoring of treatment regimens)
- ติดตามดูแลสุขภาพอนามัยทั่วไปของผู้ป่วย (general health monitoring)
- ปรุงยา (compounding medicines)
- ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับสุขภาพอนามัยทั่วไป (general health advice)
- ให้การศึกษาแก่ผู้ป่วยเป็นการเฉพาะ (specific education) เกี่ยวกับสถานการณ์ของโรคและการรักษาด้วยยา
- ตรวจสอบเพื่อป้องกันความผิดพลาดในการจ่ายยา (dispensing medicines) ตามใบสั่งแพทย์
- ดูแลจัดเตรียม(provision)ยาที่ไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์(non-prescription medicines)
- ให้คำปรึกษาและแนะนำผู้ป่วยถึงการใช้ยาให้มีประสิทธิภาพสูงสุด(optimal use of medicines)
- แนะนำและรักษาโรคพื้นๆทั่วไป(common ailments)
- ส่งต่อผู้ป่วยไปยังวิชาชีพสาธารณะสุขอื่นที่ตรงกับโรคของผู้ป่วยมากกว่าถ้าจำเป็น
- จัดเตรียมปริมาณยา (dosing drugs) ในผู้ป่วยตับและไตล้มเหลว
- ประเมินผลการเคลื่อนไหวของยาในผู้ป่วย (pharmacokinetic evaluation)
- ให้การศึกษาแก่แพทย์ (education of physicians) เกี่ยวกับการใช้ยาอย่างถูกต้อง
- ร่วมกับวิชาชีพทางด้ายสาธารณะสุขอื่นในการสั่งยา (prescribing medications) ให้คนไข้ในบางกรณี
- ดูแล จัดเตรียม จัดหา และรักษาเภสัชภัณฑ์ให้อยู่สภาพพร้อมใช้งาน (pharmaceutical care)
[แก้] สาขาวิชาชีพเภสัชกรรม
สาขาวิชาชีพเภสัชกรรมพอจำแนกได้ดังนี้:
- เภสัชกรคลินิก Clinical pharmacist
- เภสัชกรชุมชน Community pharmacist
- เภสัชกรโรงพยาบาล Hospital pharmacist
- เภสัชกรที่ปรึกษาการใช้ยา Consultant pharmacist
- เภสัชกรสุขภาพอนามัยทางบ้าน Home Health pharmacist
- เภสัชกรบริหารข้อมูลยา Drug information pharmacist
- เภสัชกรสารวัตรยา Regulatory-affairs pharmacist
- เภสัชกรอุตสาหกรรม Industrial pharmacist
- อาจารย์เภสัชกร Academic pharmacist
[แก้] ดูเพิ่ม
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
- Tennessee College of Pharmacy
- Drake University College of Pharmacy
- Useful site for practicing pharmacists and students
- Detailed explanation of the Naplex Available on Pharmacist.com
- Prenaplex
|
คณะเภสัชศาสตร์ในประเทศไทย แก้ | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
|