แมลง
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แมลง (Insects) | ||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ผึ้ง (อันดับ Hymenoptera) |
||||||||
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | ||||||||
|
||||||||
ชั้นย่อย และ อันดับ | ||||||||
Subclass: Apterygota
Subclass: Pterygota
|
แมลง เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในคลาส Insecta เป็นกลุ่มที่ใหญ่ที่สุดและมีการแพร่กระจายกว้างขวางที่สุดในไฟลัม Arthropoda และเป็นกลุ่มที่มีความหลากหลายมากที่สุดในบรรดาสัตว์ทั้งหมด โดยมีมากกว่า 800,000 สปีชี่ส์ ซึ่งมากกว่าสัตว์ชนิดอื่นๆรวมกัน แมลงพบได้ในเกือบทุกสภาพแวดล้อมในโลก แม้แต่ในทะเลยังพบแมลงบางชนิดได้ ประมาณไว้ว่า มีแมลงปอ 5,000 ชนิด ตั๊กแตนตำข้าว 2,000 ชนิด ตั๊กแตน 20,000 ผีเสื้อ 170,000 ชนิด แมลงวัน 120,000 ชนิด มวน 8,200 ชนิด ด้วง 360,00 ชนิด ผึ้ง ต่อ แตน และมด 110,000 ชนิด ที่จำแนกชื่อแล้ว และเมื่อรวมกับชนิดที่ยังไม่ได้จำแนกชื่อประมาณว่าน่าจะมี 20 ล้าน ถึง 50 ล้านชนิด แมลงตัวเต็มวัยในปัจจุบันมีขนาดตั้งแต่ 0.139 มม. คือ เตียนเบียน Myrmarid ชนิด Dicopomorpha echmepterygisถึงขนาด 55.5 ซม. คือ ตั๊กแตนกิ่งไม้ ชนิด Phoboeticus serratipes ส่วนแมลงที่หนักที่สุดที่มีการตีพิมพ์ คือ จิ้งโกร่งถ้ำ (Giant Weta ; Order Orthoptera;Family Rhapidophoridae:Genus Deinacrida)หนัก 70 กรัม ส่วนแมลงที่หนักใกล้เคียงคือ ด้วงโกลิแอท (Goliathus goliatus,Goliathus regius) และ ด้วงหนวดยาวชนิด Titanus giganteusโดยยังไม่มีใครรู้แน่นอนว่าแมลง 3 ชนิดนี้ตัวใดหนักที่สุด การศึกษาเกี่ยวกับแมลงจัดอยู่ในสาขาวิชากีฏวิทยา บางทีเรียกเพี้ยนเป็นแมง
สารบัญ |
[แก้] ความสัมพันธ์กับสัตว์ขาปล้องชนิดอื่น
ส่วนนี้ของบทความยังไม่สมบูรณ์ คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มเติมเนื้อหาในส่วนนี้ |
[แก้] สัณฐานวิทยาและการเจริญเติบโต
- หนวด antenna
- ตาเดี่ยว ocelli ด้านล่าง(lower)
- ตาเดี่ยว ocelli ด้านบน(upper)
- ตารวม compound eye
- สมอง brain (cerebral ganglia)
- อกปล้องที่ 1prothorax
- dorsal artery
- tracheal tubes (trunk with spiracle)
- อกปล้องที่ 2mesothorax
- อกปล้องที่ 3metathorax
- ปีกคู่ที่ 1first wing
- ปีกคู่ที่ 2second wing
- กระเพาะอาหารส่วนกลาง mid-gut กระเพาะแท้(stomach)
- หัวใจ heart
- รังไข่ ovary
- กระเพาะอาหารส่วนท้าย hind-gut ลำไส้ (intestine, rectum & anus)
- รูขับถ่าย anus
- vagina
- ปมประสาท nerve chord (abdominal ganglia)
- ท่อขับถ่าย Malpighian tubes
- pillow
- เล็บ claws
- tarsus
- tibia
- femur
- trochanter
- กระเพาะอาหารส่วนหน้า fore-gut กระเพาะพัก กึ๊น(crop, gizzard)
- ปมประสาทที่อก thoracic ganglion
- coxa
- ต่อมนำลาย salivary gland
- ปมประสาทใต้สมอง subesophageal ganglion
- ส่วนปาก mouthparts
แมลงมีกระดูกภายนอก (ส่วนแข็งที่ปกคลุมตัวสร้างจากไคติน) เมื่อเติบโตสมบูรณ์เต็มที่ร่างกายแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือส่วนหัว ส่วนอก และส่วนท้อง ส่วนหัวเป็นที่ตั้งของ หนวด 1 คู่ ตารวม 1 คู่ และส่วนปาก ส่วนอก (3 ปล้อง) เป็นที่ตั้งของ มีขา 6 ขา (1 คู่ต่ออก 1 ปล้อง) ปีก 1 หรือ 2 คู่ หรืออาจไม่มีก็ได้ (ถ้ามีปีกจะอยู่ที่อกปล้องที่ 2 และ 3 อย่างละ1คู่) ส่วนท้อง (11 ปล้อง บางชนิดมี 6 -10 ปล้องเท่านั้น)เป็นที่ตั้งของรูหายใจ อวัยวะสืบพันธุ์ และขับถ่าย ระบบประสาท ระบบนี้ตั้งอยู่ที่ด้านท้องของแมลง (ventral) มีส่วนประกอบคือสมอง และปมประสาท ส่วนหัวมีปมประสาท 6 คู่ โดย 3 คู่รวมกันเป็นสมอง อีก 3 คู่รวมกันเป็นปมประสาทใต้สมอง (subesophagial ganglian) ส่วนอกมีปมประสาท 3 ปม (1 ปม ต่อ 1 ปล้องอก) ส่วนท้องมีปมประสาท 8 ปมเล็ก (1 ปม ต่อ 1 ปล้องท้องที่ 1-8)และปมใหญ่ 1 ปม (caudal ganglion) แมลงหลายชนิด มีการรวมตัว และลดรูปของปมประสาท เช่น แมลงสาบบางชนิด มีปมประสาทที่ท้องเพียง 6 ปมเล็ก กับ 1 ปล้องใหญ่ ต่อชนิด Vespa crabro มีปมประสาทที่อก 2 ปม ปมประสาทที่ท้อง 3 ปมเล็ก กับ 1 ปมใหญ่ และแมลงวันบ้าน (Musca domestica) ปมประสาทที่อก และปมประสาทเล็กที่ท้องรวมกันเป็น 1 ปม เท่านั้น เป็นต้น โครงสร้างแข็งภายนอก แมลงส่วนมากมีปีก 2 คู่ตั้งอยู่ที่อกล้องที่ 2 และ 3 อย่างละ 1 คู่ และเป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังชนิดเดียวที่ได้พัฒนาให้บินได้ จึงทำให้พวกมันอยู่รอดได้ดี กระบวนการบินของแมลงยังไม่แน่ชัด เชื่อว่าใช้ระบบการเคลื่อนที่ของอากาศ กลุ่มแมลงโบราณใช้กล้ามเนื้อบังคับโครงสร้างปีกโดยตรง ส่วนกลุ่มแมลงที่พัฒนาปีกจะพับได้ และใช้กล้ามเนื้อบังคับผนังส่วนอก บังคับโครงสร้างปีกทางอ้อม
[แก้] พฤติกรรม
แมลงหลายชนิดมีอวัยวะรับรู้สัมผัสที่ดีมาก บางครั้งอาจมีประสิทธิภาพมากกว่าประสาทสัมผัสของมนุษย์ ตัวอย่างเช่น ผึ้งสามารถเห็นแสงสีในสเปกตรัมของรังสีอุลตร้าไวโอเล็ต และผีเสื้อกลางคืนตัวผู้มีระบบประสาทรับกลิ่นที่สามารถรับกลิ่นของฟีโรโมนจากตัวเมียได้เป็นระยะทางหลายกิโลเมตร
แมลงสังคมอย่างมดและผึ้ง เป็นตัวอย่างที่พบเห็นได้ง่ายที่สุดของสัตว์สังคม พวกมันอาศัยอยู่ร่วมกันเป็นอาณาจักรขนาดใหญ่โดยแบ่งหน้าที่การงานกันอย่างเป็นระบบและเรียบร้อย บางครั้งอาณาจักรเช่นนี้อาจเรียกได้ว่าเป็น superorganism