มอร์ฟีน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชื่อ IUPAC 7,8-didehydro-4,5-epoxy- 17-methylmorphinan-3,6-diol |
|
เลขทะเบียน CAS 57-27-2 |
รหัส ATC |
PubChem 5980 |
DrugBank APRD00215 |
สูตรเคมี | C17H19NO3 |
น้ำหนักโมเลกุล | 285.4 ก/โมล |
ชีวปริมาณออกฤทธิ์ (Bioavailability) | ~30%? |
กระบวนการสร้างและสลาย (Metabolism) | ไต 90%, ระบบน้ำดี 10% |
ครึ่งชีวิตของการกำจัด | 2-3 ชั่วโมง |
การขับถ่าย | ไต |
ลำดับขั้นของยาต่อการตั้งครรภ์ | Category C (ออสเตรเลีย) |
สถานะตามกฎหมาย | Schedule 8 (ออสเตรเลีย), Class A (UK), DEA C-II (USA), Schedule I (แคนาดา) |
ช่องทางการรับยา | ปาก, ฉีดเข้าผิวหนัง, ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ, ฉีดเข้าเส้น |
การละลายในน้ำ | 149 mg/L (60 mg/mL สำหรับเกลือซัลเฟต) |
ความหนาแน่น | ? |
จุดหลอมเหลว | 255°C (เกลือซัลเฟต) |
จุดเดือด | ? |
มอร์ฟีน (อังกฤษ: Morphine จากภาษากรีก Morpheus หมายถึงเทพเจ้าแห่งการนอนหลับ) เป็นตัวยาสำคัญในฝิ่น เป็นยาบรรเทาในกลุ่ม โอปิออยด์ ที่ทรงพลังมาก เหมือนกับโอปิแอตตัวอื่น ๆ มอร์ฟีนจะออกฤทธ์ตรงต่อระบบประสาทส่วนกลาง (central nervous system-CNS) และมีผลที่ซินแนพซ์ (synapse) ใน อาร์คูเอต นิวเคลียส (arcuate nucleus) เป็นผลให้บรรเทาความเจ็บปวดได้เป็นอย่างดี
สารบัญ |
[แก้] ผลข้างเคียง
- ทำให้สภาพจิตใจอ่อนแอ
- รู้สึกเคลิบเคลิ้มเป็นสุข (euphoria)
- เซื่องซึม (drowsiness)
- เฉื่อยชา (lethargy)
- สายตาพร่ามัว (blurred vision)
- ทำให้ท้องผูก (constipation)
- เบื่ออาหาร (decreases hunger)
- ยับยั้งอาการไอ (inhibits the cough reflex)
[แก้] ใช้ทางการแพทย์
[แก้] การรับยา
- ยาฉีด (Parenteral)
- ยาฉีด เข้าผิวหนัง (subcutaneous)
- ยาฉีด เข้าเส้น (intravenous)
- แผ่นติดผิวหนัง (slow-release transdermal patch)
- ทางปาก (Orally)
- ยาน้ำ (elixir หรือ solution)
- ยาเม็ด
- ยาเม็ดตอก (tablet form)
- ยาแคปซูล ( capsule )ในกรณีที่เป็นยารูปแบบที่ออกฤทธิ์ต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานาน อาจใช้การบรรจุ pellet ขนาดเล็กภายในแคปซูล ซึ่งในกรณีนี้อัตราการปลดปล่อยยาจะขึ้นอยู่กับความหนาของฟิมล์ที่เคลือบเพลเลทไว้
- ยาเหน็บ (suppository form)
[แก้] ข้อบ่งใช้
ตามกฎหมายอนุญาตให้มอร์ฟีนได้ดังนี้;
- บรรเทาอาการปวดที่รุนแรงและเฉียบพลัน
- ปวดหลังผ่าตัด
- ปวดจากบาดแผล
- อาการปวดเรื้อรังขนาดกลางและรุนแรง
- อาการปวดจากมะเร็ง
- ปวดจากถอนฟัน
- ใช้ร่วมกับยาชาทั่วไป
- ใช้เป็นยาแก้ไอ (antitussive) ในกรณีไออย่างรุนแรง
- แก้ท้องร่วงเรื้อรัง
[แก้] ข้อห้ามใช้
- ตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน (Acute pancreatitis)
- ไตวาย (Renal failure)
[แก้] ประวัติ
- ค.ศ. 1803 เฟรดริค เซอร์เทอร์เนอร์ (Friedrich Serturner) เภสัชกรชาวเยอรมัน สามารถแยกมอร์ฟีนจากฝิ่นได้ โดยตั้งชื่อตามชื่อเทพเจ้าแห่งการนอนหลับของกรีก มอร์ฟีอัส (Morpheus) ว่า 'มอร์เฟียม' (morphium)
- ค.ศ. 1874 สังเคราะห์เฮโรอีน (Heroin) จากมอร์ฟีนได้
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
- Morphine Apparently in Your Head - นิตยสาร Wired article about endogenous production of morphine
- Morphine, Molecule of the Month.
ยาบรรเทาปวด แก้ | |||
---|---|---|---|
พาราเซตามอล (อะเซตามิโนเฟน) · เอ็นเซด · โอปิแอต · เตตร้าไฮโดรแคนนาบินอล · คีตามีน |
|||
|
|||
|
มอร์ฟีน เป็นบทความเกี่ยวกับ เภสัชกรรมและยา ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับ มอร์ฟีน ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ |