จังหวัดนครราชสีมา
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
- ความหมายอื่นของ นครราชสีมา ดูที่ นครราชสีมา (แก้ความกำกวม)
|
จังหวัดนครราชสีมา เป็นจังหวัดที่มีพื้นที่มากที่สุดในประเทศไทย และมีประชากรมากเป็นอันดับ 2 ของประเทศ อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อีกชื่อที่เป็นที่รู้กคือ โคราช มีอาณาเขตติดกับจังหวัดขอนแก่น จังหวัดชัยภูมิ, จังหวัดบุรีรัมย์, จังหวัดลพบุรี, จังหวัดสระบุรี, จังหวัดนครนายก, จังหวัดปราจีนบุรี และจังหวัดสระแก้ว
สารบัญ |
[แก้] ประวัติศาสตร์
นครราชสีมา เป็นเมืองโบราณในราชอาณาจักรไทยเมืองหนึ่ง เป็นเมืองใหญ่ สมัยก่อนมีฐานะเป็นเมืองเจ้าพระยามหานคร เทียบเท่า เมืองนครศรีธรรมราช ในภาคใต้
จากหลักฐานทางโบราณคดีพบว่ามีชุมชนโบราณซึ่งเป็นร่องรอยของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ตั้งแต่ยุคหินใหม่ ต่อเนื่องมาถึงยุคโลหะ กระจายอยู่ทั่วไปในจังหวัดนครราชสีมา ครั้นถึงสมัยประวัติศาสตร์ ก็มีความเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่สมัยทวารวดี ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่ เมืองเสมา ตั้งอยู่บริเวณอำเภอสูงเนินในปัจจุบัน เป็นเมืองใหญ่เชื่อกันว่าเป็นที่ตั้งของ รัฐศรีจนาศะ ต่อมามีการสร้างเมืองโคราฆปุระ อยู่ใกล้กัน และในสมัยขอมพระนคร มี เมืองพิมาย เป็นเมืองสำคัญในบริเวณนี้
ครั้นถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย สมเด็จพระนารายณ์มหาราช เห็นว่าเป็นหัวเมืองใหญ่และมีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ เนื่องจากเป็นเมืองหน้าด่านของอยุธยา ติดกับชายแดนลาว (ลาบูแบร์ ชาวฝรั่งเศษที่เข้ามาสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้เขียนรายงานว่า เมืองนครราชสีมา เป็นเมืองชายแดนของอยุธยา ติดพรมแดนลาว เข้าใจว่าเลยลำสะแทด (ลำน้ำสาขาของแม่น้ำมูล)เหนือเมืองพิมายเป็นเขตแดนลาว เพราะมีบันทึกไว้ในนิราศหนองคาย สอดคล้องกับวัฒนธรรมและภาษาที่เปลี่ยนไปด้วย)จึงโปรดให้ย้ายเมืองเสมา มาสร้างเมืองใหม่ ณ ที่ตั้งปัจจุบัน โดยมีนายช่างชาวฝรั่งเศษ เป็นคนออกแบบ ขนาดกว้าง 1,000 เมตร ความยาว 1,700 เมตร มีกำแพงเมืองขนาดใหญ่ มีป้อมค่ายหอรบ และพระราชทานนามว่า เมืองนครราชสีมา
อย่างไรก็ตามมีผู้เสนอว่า นครราชสีมา นั้นเป็นคำไทยเป็นคำใหม่ แยกเป็นคำได้คือ นคร+ราช+สีมา แปลได้ตรงตัวว่า เมืองใหญ่(นคร)อันเป็นขอบขัณฑสีมาของราชอาณาจักร(ราช+สีมา) ส่วนคำว่าโคราช (สำเนียงถิ่น: โค-หราด , ไทยกลาง: โค-ราด) นั้น น่าจะเพี้ยนมาจาก 'ครราช (อ่านตามสำเนียงว่า คอน-หราด ซึ่งเป็นคำเรียกนครราชสีมา แบบย่อๆของชาวบ้าน) มากกว่าที่จะเพี้ยนมาจาก โคราฆปุระ
ช่วงต้นสมัยรัตนโกสินทร์ มีบทบาทในการปราบกบฏเจ้าอนุวงศ์ และผู้นำในการช่วยเหลือคือ คุณหญิงโม ได้รับการแต่งตั้งเป็นท้าวสุรนารี
ดูเพิ่ม ประตูเมืองนครราชสีมา , ท้าวสุรนารี
[แก้] ประชากร
ปัจจุบันจังหวัดนครราชสีมา มีประชากรมากเป็นอันดับหนึ่งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และมากเป็นอันดับสองของประเทศรองจากกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วยประชากรกลุ่มใหญ่สองกลุ่มคือ ไทยโคราชและ ไทยอีสาน ชนกลุ่มน้อยได้แก่ มอญ กุย (ข่า หรือ ส่วย) ชาวบน จีน ไทยยวน ญวน และ แขก
ไทยโคราช: เป็นคนไทยแท้ทั้งเชื้อชาติ และภาษา แต่สำเนียงพูดแปร่งไปบ้าง เดิมถิ่นนี้ชาวพื้นเมืองเป็นละว้า ชาวไทยได้อพยพเข้ามาอยู่อาศัย สมัยกรุงศรีอยุธยา พระเจ้าอู่ทองให้ขุนหลวงพะงั่ว ยกกองทัพมารวบรวมดินแดนแถบนี้เข้ากับกรุงศรีอยุธยา พระเจ้าอู่ทอง โปรดฯ ให้กองทหารอยุธยาตั้งด่านอยู่ประจำ และส่งช่างชาวอยุธยามาก่อสร้างบ้านเรือน วัดวาอาราม เป็นอันมาก ชาวไทยอยุธยาได้อพยพเข้ามาอยู่อาศัยเพิ่มขึ้นเป็นอันมากในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ชาวอยุธยา ได้อพยพมาอยู่นครราชสีมาอีกระลอกหนึ่งคือ คราวเสียกรุงครั้งที่ 2 และมีชาวไทยชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกได้อพยพเข้ามาเพิ่มด้วย [[ชาวไทยกลุ่มนี้และชาวไทยพื้นเมืองเดิม(เข้าใจว่าเป็นชาวสยามลุ่มน้ำมูล(ไท-เสียม) อาจมี เขมร และ มอญ ปนอยู่ด้วย)สืบเชื้อสาย เป็นชาวไทยโคราช]] และรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีสืบทอดกันมา
กลุ่มไทยโคราชเป็นกลุ่มที่แสดงเอกลักษณ์ของเมืองนครราชสีมา เพราะสำเนียงแตกต่างจากลุ่มอื่น เป็นกลุ่มที่พูดภาษาไทยโคราชซึ่งคล้ายคลึงภาษาไทยกลางแต่สำเนียงเพี้ยน เหน่อ ห้วนสั่น เกิ่นเสียง มีคำไทยลาว(อีสาน)ปะปนบ้างเล็กน้อย ชาวไทยโคราชแต่งกายแบบไทยภาคกลาง รับประทานข้าวเจ้า อาหารทั่วไปคล้ายคลึงภาคกลาง และนิยมวัฒนธรรมแบบไทยภาคกลาง ปัจจุบัน กลุ่มไทยโคราชอาศัยอยู่ทุกอำเภอในจังหวัดนครราชสีมา ยกเว้น บางอำเภอที่มีชาวไทยลาว(อีสาน)มากกว่า เช่น บัวใหญ่ ปักธงชัย สูงเนิน เป็นต้น และยังพบชาวไทยโคราช ในบางส่วนของจังหวัดสระบุรี ลพบุรี ชัยภูมิ (อำเภอบำเหน็จณรงค์, จัตุรัส) บุรีรัมย์ (อำเภอเมือง,นางรอง , ละหานทราย, )
ลาวเวียง (เวียงจันทน์)หรือ ไทยอีสาน ลาวเวียง ไทยลาว หรือ ไทยอีสาน เป็นกลุ่มชนที่อพยพเข้ามาทีหลังมีจำนวนมากรองจากไทยโคราชอาศัยอยู่มากในบางอำเภอของจังหวัดนครราชสีมา เช่น อำเภอบัวใหญ่ ปักธงชัย สูงเนิน เป็นต้น ไทยอีสานพูดภาษาอีสาน ขนบธรรมเนียมประเพณีเหมือนชาวอิสานทั่วไป กลุ่มไทยอีสาน อพยพเข้ามาอยู่ในจังหวัดนครราชสีมา หลายรุ่น ส่วนใหญ่อพยพเข้ามาอยู่สมัยสงครามปราบปรามเมืองเวียงจันทร์ สมัยธนบุรี มีการกวาดต้อนครอบครัวลาวเข้ามาอยู่ในหัวเมืองชั้นใน และอพยพเข้ามาโดยสมัครใจเพิ่มขึ้นในระยะหลัง
[แก้] หน่วยการปกครอง
การปกครองแบ่งออกเป็น 26 อำเภอ 6 กิ่งอำเภอ 293 ตำบล 3423 หมู่บ้าน
|
|
[แก้] บุคคลที่มีชื่อเสียงจากนครราชสีมา
[แก้] บุคคลในประวัติศาสตร์
[แก้] นักกีฬา
- ไก่ชน ส.วรพิน
- นภา เกียรติวันชัย
- พงษ์ศักดิ์เล็ก ศิษย์คนองศักดิ์
- รัตนชัย ส.วรพิน
- สกัด พรทวี
- อุดมพร พลศักดิ์ - นักกีฬาหญิงคนแรกของประเทศไทย ที่ได้เหรียญทองโอลิมปิก
[แก้] นักวิชาการ
- ชัยคุปต์ - นักเขียน
- สิทธิชัย โภไคยอุดม - รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
[แก้] อื่นๆ
[แก้] ภูมิศาสตร์
ตั้งอยู่บนที่ราบสูงโคราช มีแม่น้ำสำคัญคือแม่น้ำมูล
ตัวเมืองประกอบด้วยประตูเมือง 4 ทิศ คือ ประตูชุมพล (ทิศตะวันตก), ประตูพลแสน (ทิศเหนือ - อีกชื่อคือประตูน้ำ), ประตูพลล้าน (ทิศตะวันออก) และประตูชัยณรงค์ (ทิศใต้-อีกชื่อคือประตูผี) ภายในตัวเมืองมีสระน้ำ 4 สระ คือ สระแก้ว, สระแมว, สระขวัญ และสระบัว
[แก้] สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
- ต้นไม้ประจำจังหวัด: สาธร (Millettia leucantha)
- คำขวัญประจำจังหวัด: เมืองหญิงกล้า ผ้าไหมดี หมี่โคราช ปราสาทหิน ดินด่านเกวียน
- อักษรย่อ: นม
[แก้] การศึกษา
จังหวัดนครราชสีมามีสถาบันการศึกษาชั้นสูงหลายแห่ง
ระดับอุดมศึกษา ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี วิทยาลัยนครราชสีมา
ระดับอาชีวศึกษา มีสถาบันการอาชีวศึกษา ที่เปิดสอนในระดับ ปวช. ปวส. และ ปทส. (เทียบเท่าปริญญาตรี) เป็นจำนวนมากได้แก่ วิทยาลัยสารพัดช่างนครราชสีมา วิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมา วิทยาลัยเกษตรกรรมและเทคโนโลยีนครราชสีมา วิทยาลัยเทคนิคสุรนารี วิทยาลัยอาชีวศึกษนครราชสีมา วิทยาลัยเทคนิคหลวงพ่อคูณ วิทยาลัยเทคนิคปักธงชัย วิทยาลัยการอาชีพปากช่อง วิทยาลัยการอาชีพบัวใหญ่ วิทยาลัยการอาชีพชุมพวง วิทยาลัยการอาชีพพิมาย และมีสถาบันการศึกษาชั้นสูงอื่นอีกได้แก่วิทยาลัยนาฏศิลปนครราชสีมา เป็นต้น
[แก้] สถานที่ท่องเที่ยว
[แก้] อุทยาน
[แก้] ห้างสรรพสินค้า
จังหวัดนครราชสีมามีห้างสรรพสินค้าหลายแห่ง เช่น เดอะมอลล์ เทสโก้ โลตัส บิ๊กซี แมคโคร คลังพลาซ่า(เก่า-ใหม่) ไอทีพลาซ่า
[แก้] ดูเพิ่ม
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
- แผนที่ จาก มัลติแมป โกลบอลไกด์ หรือ กูเกิลแมปส์
- ภาพถ่ายทางอากาศ จาก เทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
- ภาพถ่ายดาวเทียม จาก วิกิแมเปีย