จังหวัดชุมพร
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
- ดูความหมายอื่นของ ชุมพร ได้ที่ ชุมพร (แก้ความกำกวม)
|
ชุมพร มีชื่อปรากฏมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 1098 โดยมีฐานะเป็นเมืองสิบสองนักษัตรของ นครศรีธรรมราช ใช้รูป แพะ เป็นตราเมือง และเป็นเมืองหน้าด่านฝ่ายเหนือ เพราะอยู่ตอนบนของภาคใต้ ใน พุทธศักราช 1997 รัชสมัยแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ปรากฏใน กฎหมายตราสามดวง ว่า เมืองชุมพร เป็นเมืองตรี อาณาจักรฝ่ายใต้ของกรุงศรีอยุธยา
ในสมัย รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งเป็น มณฑลชุมพร ต่อมามีการยุบการปกครองระบอบมณฑลเป็นจังหวัด ชุมพร จึงมีฐานะเป็นจังหวัด
คำว่า ชุมพร มีผู้สันนิษฐานว่าน่าจะมาจากคำว่า “ชุมนุมพล” เนื่องจากเป็น เมืองหน้าด่าน การเดินทัพไม่ว่าจะมาจากฝ่ายเหนือหรือว่าฝ่ายใต้ ล้วนเข้ามา ตั้งค่าย ชุมนุมพล กันที่นี่ จึงเรียกจุดนี้ว่า “ชุมนุมพล” ต่อมาเพี้ยนเป็น ชุมพร อีกประการหนึ่งในการเดินทางไปทำศึกสงครามของแม่ทัพนายกอง ตั้งแต่สมัยโบราณมา เมื่อจะเคลื่อนพลจะต้องทำพิธีส่งทัพโดยการบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ขอให้ได้รับชัยชนะในการสู้รบ เป็นการบำรุงขวัญทหารในสถานที่ชุมนุม เพื่อรับพรเช่นนี้ ตรงกับความหมาย ชุมนุมพร หรือ ประชุมพร ซึ่งทั้งสองคำนี้อาจเป็นต้นเหตุของคำว่า “ชุมนุมพร” เช่นเดียวกัน
แต่อีกทางหนึ่งสันนิษฐานว่า น่าจะได้มาจากชื่อพันธุ์ไม้ธรรมชาติในท้องถิ่น ได้แก่ ต้นมะเดื่อชุมพร เพราะที่ตั้งของเมืองชุมพรนั้นอยู่บนฝั่ง แม่น้ำท่าตะเภา มีต้นมะเดื่อชุมพรขึ้นอยู่มากมาย ต้นมะเดื่อชุมพรจึงเป็นสัญลักษณ์ส่วนหนึ่งของตราประจำจังหวัดชุมพร
สารบัญ |
[แก้] ภูมิประเทศ
จังหวัดชุมพรนับเป็นประตูสู่ภาคใต้ (เมื่อลงจากภาคกลาง) มีพื้นที่ทางเหนือติดต่อกับอำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ทางตะวันออกติดชายฝั่งอ่าวไทย ด้านใต้ติดกับอำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี และทางตะวันตก ติดกับจังหวัดระนอง และส่วนหนึ่งติดกับประเทศสหภาพพม่า
สภาพพื้นที่ทั่วไปไม่มีภูเขาสูง เป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำสำคัญหลายสาย เช่น แม่น้ำท่าตะเภา ในอำเภอเมือง มีความยาว 33 กิโลเมตร แม่น้ำสวี ในอำเภอสวี มีความยาว 50 กิโลเมตร และแม่น้ำหลังสวน ในอำเภอหลังสวน มีความยาว 100 กิโลเมตร แม่น้ำทุกสายไหลลงสู่อ่าวไทย ในทะเลนอกฝั่งของจังหวัดชุมพร มีเกาะน้อยใหญ่เกือบ 50 เกาะ
[แก้] ภูมิอากาศ
สภาพภูมิอากาศของจังหวัดชุมพรคล้ายกับจังหวัดอื่นๆ ในภาคใต้ กล่าวคือ มีฤดูฝนมากกว่าฤดูอื่น นั่นคือ ระหว่างเดือนมิถุนายน ถึงเดือนมกราคม ส่วนฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนพฤษภาคม โดยมีลมมรสุมพัดผ่าน
[แก้] หน่วยการปกครอง
การปกครองแบ่งออกเป็น 8 อำเภอ 70 ตำบล 674 หมู่บ้าน
|
[แก้] อุทยาน
- อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะชุมพร
[แก้] สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
- ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกพุทธรักษา (Canna indica)
- ต้นไม้ประจำจังหวัด: มะเดื่ออุทุมพร (Ficus racemosa)
- คำขวัญประจำจังหวัด: ประตูภาคใต้ ไหว้เสด็จในกรม ชมสวนกาแฟ แลหาดทรายรี ดีกล้วยเล็บมือ ขึ้นชื่อรังนก
- อักษรย่อ: ชพ
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
- เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของจังหวัด
- เว็บไซต์ข้อมูลการท่องเที่ยวในจังหวัดชุมพร
- แนะนำข้อมูลท่องเที่ยวจังหวัดชุมพร
- แนะนำข้อมูลท่องเที่ยว ปากน้ำหลังสวน.. ชุมพร
- แผนที่ จาก มัลติแมป โกลบอลไกด์ หรือ กูเกิลแมปส์
- ภาพถ่ายทางอากาศ จาก เทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
- ภาพถ่ายดาวเทียม จาก วิกิแมเปีย