พระธรรมอพยพ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ส่วนหนึ่งของ ประวัติคริสต์ศาสนา |
|
ศาสดา | |
พระเยซู | |
ความเชื่อและการปฏิบัติ | |
เทวดาตามคติความเชื่อ | |
บุคคลสำคัญ | |
รอเพิ่มเติม | |
คัมภีร์และหนังสือ | |
ไบเบิล พันธสัญญาเดิม · พันธสัญญาใหม่ |
|
นิกาย | |
โรมันคาทอลิก · ออโธดอกซ์ โปรเตสแทนต์ |
|
สังคมคริสต์ศาสนา | |
เมือง · คริสตกาล · คริสต์ศักราช สถาปัตยกรรม · ศิลปะ · บุคคล |
|
ดูเพิ่มเติม | |
ศัพท์เกี่ยวกับคริสต์ศาสนา หมวดหมู่คริสต์ศาสนา |
พระธรรมอพยพ เป็นพระคัมภีร์เล่มที่สองของพระคริสตธรรมคัมภีร์ ภาคพันธสัญญาเดิม และเป็นเล่มที่สองในหมวดพระธรรมเบญจบรรณ ซึ่งเชื่อกันว่า โมเสส เป็นผู้เขียนขึ้น คำว่า "อพยพ" แปลมาภาษาอังกฤษว่า "Exodus" และภาษากรีกว่า Ἔξοδος ซึ่งหมายถึงการแยกออกจากกัน แต่ในภาษาฮีบรูเรียกชือพระธรรมนี้ว่า Ve-eleh shemot (Hebrew: ואלה שמות) ซึ่งหมายถึงคำแรกที่เขียนไว้ในพระธรรมเล่มนี้ ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยได้ว่า "ต่อไปนี้เป็นชื่อของ..."
พระธรรมอพยพ สามารถแบ่งออกได้เป็น 6 ส่วน ดังนี้
- การทรงเรียกโมเสส และการปลดแอกชาวอิสราเอลจากความเป็นทาส (บทที่ 1-12)
- การเดินทางออกจากอียิปต์ ไปยังภูเขาซีนาย (บทที่ 13-18)
- พระบัญญัติที่พระเจ้าทรงบัญชาต่ออิสราเอล (บทที่ 19-24)[1]
- การกำหนดแบบสำหรับสร้างพลับพลา แท่นบูชา เครื่องและอุปกรณ์พลับพลา (บทที่ 25-31)
- เหตุการณ์สร้างวัวทองคำ (บทที่ 31-34)
- การสร้างพลับพลา แท่นบูชา เครื่องและอุปกรณ์พลับพลา (บทที่ 35-40)
สารบัญ |
[แก้] การปลดแอกอิสราเอล
ภายหลังการเสียชีวิตของโยเซฟก็สิ้นสุดความรุ่งเรืองของอิสราเอลในอียิปต์ แรกเริ่มยาโคบและบรรดาลูกหลานนั้นเดินทางเข้ามาในอียิปต์เพียง 70 คน แต่ต่อมาได้ขยายพงศ์พันธุ์เป็นจำนวนมาก เมื่อองค์ฟาโรห์องค์ใหม่ ขึ้นครองราชย์ และมิได้รู้จักโยเซฟ เห็นว่าชาวอิสราเอลในแผ่นดินอียิปต์นั้นมีเป็นจำนวนมากเกินไป จึงตั้งนายงานและเกณฑ์ให้คนอิสราเอลทำงานสร้างเมืองเก็บราชสมบัติให้แก่ฟาโรห์ ณ เมืองปิธม และเมืองราอัมเสส แต่ถึงแม้ทำงานหนักเท่าใด ชาวอิสราเอลก็ยังคงเพิ่มทวียิ่งขึ้น องค์ฟาโรห์จึงสั่งให้ฆ่าเด็กผู้ชายชาวอิสราเอลที่เกิดใหม่ทุกคน โดยให้นำไปทิ้งในแม่น้ำไนล์ มีเพียงเด็กผู้หญิงเท่านั้นจึงมีชีวิตรอดได้[2]
[แก้] กำเนิดโมเสส
แม้องค์ฟาโรห์จะมีคำสั่งให้ฆ่าเด็กชายเกิดใหม่ของอิสราเอลทุกคน แต่มีครอบครัวเผ่าเลวีครอบครัวหนึ่ง ได้คลอดลูกชาย และซ่อนบุตรชายนั้นไว้จนกระทั่งโตขึ้นถึงวัยที่ไม่สามารถซ่อนต่อไปได้อีก จึงนำเด็กนั้นลงในตะกร้าสานชันยาอย่างดี ไปวางไว้ในกอปรือริมแม่น้ำ เด็กนั้นจึงได้ธิดาฟาโรห์ ซึ่งพบขณะลงมาสรงน้ำ เก็บไปเลี้ยงไว้ และประทานชื่อว่า โมเสส แม้โมเสสจะถูกเลี้ยงดูโดยธิดาฟาโรห์ ก็ยังมีใจผูกพันกับชาวอิสราเอล
[แก้] พระเจ้าทรงเรียกโมเสส
ครั้งหนึ่งโมเสสพลั้งมือฆ่าชาวอียิปต์ที่ข่มเหงชายชาวอิสราเอล โมเสสจึงหนีความผิดไปอยู่เมืองมีเดียน และที่เมืองมีเดียนนี่เอง โมเสส ก็ได้รับการทรงเรียกจากพระเจ้า ให้เป็นผู้นำชาวอิสราเอลออกจากแผ่นดินอียิปต์ [3]
โมเสสพยายามหลบเลี่ยงการทรงเรียกของพระเจ้าด้วยเหตุผลนานาประการ จนกระทั่งจำยอมด้วยฤทธิ์เดชพระเจ้า จึงได้เข้าไปอียิปต์ตามพระประสงค์ของพระเจ้า โดยพระเจ้าทรงให้อาโรน และมีเรียน พี่ชาย และพี่สาวของโมเสสเป็นผู้คอยช่วยเหลือกิจการต่าง ๆ ของโมเสสท่ามกลางชาวอิสราเอล โมเสสจึงเข้าไปทูลขอให้ฟาโรห์ปล่อยอิสราเอลเป็นอิสระถึง 10 ครั้ง และทุกครั้งองค์ฟาโรห์ก็ปฏิเสธทุกครั้ง แต่ละครั้งที่ฟาโรห์ปฏิเสธคำขอของโมเสส พระเจ้าก็ทรงมอบภัยพิบัติแก่อียิปต์ทั้ง 10 ครั้ง จนกระทั่งภัยพิบัติครั้งสุดท้าย องค์ฟาโรห์จึงยอมปล่อยให้อิสราเอลออกจากแผ่นดินอียิปต์ได้ [4]
[แก้] อพยพ
เมื่อออกเดินทางออกจากอียิปต์นั้น นับเฉพาะผู้ชายได้ทั้งสิ้นประมาณ หกแสนคน ไม่รวมผู้หญิง เด็ก และคนต่างชาติที่ขอติดตามไปด้วย รวมเวลาที่อิสราเอลอาศัยในแผ่นดินอียิปต์ เป็นเวลา 430 ปี ทั้งนี้เป็นไปตามคำพยากรณ์ที่พระเจ้าประทานให้แก่อับราฮัม เมื่อออกจากอียิปต์ พระเจ้าทรงให้ผู้ชายทุกคนที่ยังมิได้เข้าสุหนัต ให้ถือพิธีเข้าสุหนัต เพื่อแสดงตนว่าได้เข้าเป็นชนชาติอิสราเอลด้วยแล้ว จึงถือปฏิบัติตั้งแต่นั้นมา และเฉพาะผู้ที่ได้เข้าสุหนัตแล้วเท่านั้น ที่จะเข้าร่วมพิธีปัสกาได้
นอกจากนี้ ยังมีกำหนดการถวายสัตว์หัวปี เพื่อเป็นเครื่องถวายบูชา เพื่อระลึกถึงเหตุการณ์ภัยพิบัติในอียิปต์ที่พระเจ้าทรงนำบุตรหัวปีของอียิปต์ไป จนเป็นเหตุให้อิสราเอลได้เป็นไทอีกด้วย
ในการอพยพของอิสราเอล ข้ามทะเลทรายครั้งนี้ กินเวลากว่า 40 ปี มีเหตุการณ์ต่าง ๆเกิดขึ้นมากมาย และเป็นที่มาของพระคริสต์ธรรมคัมภีร์ในหมวดพระธรรมเบญจบรรณถึง 4 เล่มด้วยกัน
[แก้] เสาเมฆ และเสาเพลิง
เมื่ออิสราเอลออกเดินทางจากอียิปต์นั้น ต้องผ่านเส้นทางที่เป็นทะเลทรายอันร้อนระอุ ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงการเดินผ่านเมืองที่มีผู้คนอาศัย (ในสมัยก่อนการยกพลผ่านเมืองอาจก่อให้เกิดสงครามได้) เมื่อออกเดินทางนั้นพระเจ้าเสด็จนำทางพวกเขาในเวลากลางวันด้วยเสาเมฆ และตอนกลางคืนด้วยเสาเพลิง ให้เขามีแสงสว่างเพื่อจะได้เดินทางได้ทั้งกลางวันและกลางคืน เสาเมฆในเวลากลางวัน และเสาเพลิงในเวลากลางคืน มิได้คลาดจากเบื้องหน้าประชากรเลย[5]
[แก้] ข้ามทะเลแดง
เมื่ออิสราเอลออกเดินทางจากอียิปต์ไปแล้วนั้น ฟาโรห์ และเหล่าขุนนางก็เปลียนความคิด ต้องการให้คนอิสราเอลกลับมาเป็นทาสดังเดิม จึงได้จัดทัพออกติดตามอิสราเอล ในพระคัมภีร์บันทึกไว้ว่า ฟาโรห์ ทรงจัดเตรียมรถรบอย่างดี 600 คัน กับรถรถทั้งหมดในอียิปต์ ติดตามอิสราเอลไป
เมื่อกองทัพอียิปต์ติดตามมาจวนจะถึงแล้วนั้น ฝ่ายอิสราเอล กำลังตั้งค่ายอยู่ริมทะเลแดง โมเสสได้กล่าวกับชนชาติอิสราเอลว่า "อย่ากลัวเลย มั่นคงไว้ คอยดูความรอดที่จะมาจากพระเจ้า...ซึ่งท่านทั้งหลายเห็นวันนี้ แต่นี้ไปจะไม่ได้เห็นอีกเลย พระเจ้าจะทรงรบแทนท่านทั้งหลาย..." แล้วพระเจ้าทรงสั่งให้โมเสสยกไม้เท้าขึ้นเหนือทะเล ทำให้ทะเลนั้นแหวกออก น้ำนั้นก็ตั้งเป็นเหมือนกำแพงสำหรับอิสราเอลทั้งซ้ายและขวา และคนอิสราเอลนั้นเดินข้ามทะเลไปได้ และเสาเมฆซึ่งอยู่ข้างหน้า ก็กลับมาอยู่ข้างหลังเขา คือมาอยู่ระหว่างพลโยธาอียิปต์ และพลโยธาอิสราเอล เมื่ออิสราเอลข้ามผ่านทะเลแดงไปแล้ว พระเจ้าทรงบัญชาให้โมเสสยื่นมือออกไปเหนือทะเล น้ำทะเลไหลกลับคืนมาท่วมคนอียิปต์[6]
[แก้] มานา
เมื่ออิสราเอลรอดพ้นจากอียิปต์ได้ ต้องเดินทางท่ามกลางทะเลทราย ซึ่งแห้งแล้ง และกันดารอาหาร พระเจ้าจึงทรงประทานอาหารตกลงมาจากท้องฟ้า และทรงอนุญาตให้อิสราเอลเก็บกินได้พอกินเฉพาะวันหนึ่ง ๆ เท่านั้น หากเก็บไว้เกินกว่าวันหนึ่ง อาหารนั้นจะเน่าเป็นหนอน และบูดเหม็น แต่ในวันที่หก จะอนุญาตให้เก็บเป็นสองเท่า เพราะในวันสะบาโตนั้น พระเจ้าจะไม่ทรงอนุญาตให้กระทำกิจการใด ๆ
อาหารที่พระเจ้าประทานมานั้น อิสราเอล เรียกว่า "มานา" เป็นเม็ดขาวเหมือนเมล็ดผักชี มีรสเหมือนขนมแผ่นผสมน้ำผึ้ง พระเจ้าจะทรงประทานมานาในเวลาเช้า มานาจะปรากฏขึ้นหลังจากน้ำค้างระเหย แต่พอแดดร้อนจัดมานาก็จะละลายไป
พระเจ้าทรงประทานมานา ให้แก่ อิสราเอล ตลอดระยะเวลา 40 ปี ที่เดินทางอยู่ในทะเลทราย จนกระทั่งออกเดินทางถึงยังชายแดนแคว้นคานาอัน[7]
[แก้] โมเสสพบพระเจ้า
ภายหลังจากอิสราเอลเดินทางออกจากอียิปต์ได้ 3 เดือน ก็มาถึงภูเขาซีนาย พระเจ้าทรงให้โมเสสนำความไปแจ้งแก่อิสราเอลว่า "...ถ้าเจ้าฟังเสียงเรา และรักษาพันธสัญญาของเราไว้ เจ้าจะเป็นกรรมสิทธิ์ของเราที่เราเลือกสรร..." และอิสราเอลก็ทูลตอบว่า "สิ่งทั้งปวงที่พระเจ้าตรัสนั้น ข้าพเจ้าทั้งหลายจะกระทำตาม" ดังนั้น พระเจ้าจึงทรงเรียกโมเสสให้ขึ้นไปเฝ้าพระเจ้าบนภูเขาซีนายเพื่อรับธรรมบัญญัติจากพระเจ้า
[แก้] แต่งตั้งอาโรนเป็นปุโรหิต
พระเจ้าทรงให้โมเสสแต่งตั้ง อาโรน และบุตรของอาโรน เป็นปุโรหิต ทำหน้าที่ถวายเครื่องเผาบูชาแด่พระเจ้า ซึ่งประกอบด้วยแท่นเผาบูชา และแท่นเครื่องหอม สิ่งของที่ถวายบูชาพระจำวันได้แก่
- ลูกแกะอายุหนึ่งขวบ จำนวนสองตัว สำหรับตอนเช้าหนึ่งตัว และสำหรับตอนเย็นหนึ่งตัว
- ยอดแป้ง เคล้าน้ำม้นมะกอก
- เหล้าองุ่น
[แก้] วัวทองคำ
โมเสสขึ้นไปเฝ้าพระเจ้าบนภูเขาซีนาย เป็นเวลา 40 วัน 40 คืน มิได้ลงมาจากภูเขาเลย และทรงประทานแผ่นพระโอวาทสองแผ่นเป็นแผ่นศิลาจารึกด้วยนิ้วพระหัตถ์ของพระเจ้า[8]
ฝ่ายประชาชน เห็นโมเสสไม่ลงมาจากภูเขา จึงพากันไปหาอาโรนให้อาโรนสร้างพระใหม่ให้พวกเขา เพราะเห็นว่าโมเสสนั้นหายไปนานแล้ว อาโรนจึงให้ชาวอิสราเอลนำทองคำมารวมกัน และหล่อเป็นรูปโคหนุ่ม และนับถือโคหนุ่มนั้นเป็นพระเจ้า และจัดงานเลี้ยงฉลองกัน
ฝ่ายพระเจ้าทรงตรัสสั่งโมเสสว่า "เจ้าจงลงไปเถิด ด้วยว่าชนชาติของเจ้า...ได้ทำความเสื่อมเสียมากแล้ว..." โมเสสจึงลงมาจากภูเขาพร้อมด้วยศิลาทั้งสองแผ่น และเมื่อลงมาถึงที่ค่ายพัก โมเสสพบกับงานเฉลิมฉลอง และการบูชาโคหนุ่ม จึงโกรธ ท่านโยนแผ่นศิลาทิ้งตกแตกเสียที่เชิงภูเขานั่นเอง แล้วท่านเอารูปโคหนุ่มที่ประชาชนทำไว้นั้นเผาเสีย และบดเป็นผงโรยลงในน้ำ และบังคับให้ชนชาติอิสราเอลดื่ม[9]
[แก้] แผ่นศิลชุดที่สอง
เสร็จจากการสะสางเรื่องโคหนุ่มแล้ว โมเสสจึงขึ้นไปเข้าเฝ้าพระเจ้าอีกครั้ง และครั้งนี้เอง ที่พระเจ้าทรงประกาศพระนามของพระองค์ว่า "เยโฮวาห์" และทรงให้โมเสสสกัดแผ่นศิลาชุดที่สองขึ้น[10]
เมื่อโมเสสได้ลงจากภูเขา และถือแผ่นพระโอวาทลงมาด้วย เมื่อลงมานั้น โมเสสไม่ทราบว่าผิวหน้าของตนทอแสงเนื่องด้วยพระเจ้าทรงสนทนากับท่าน เมื่ออาโรนและอิสราเอลมองดู ก็เห็นว่าหน้าขอท่านทอแสง เขาก็กลัวไม่กล้าเข้ามาใกล้ ท่านจึงเรียกเขามาและให้บัญญัติแก่อิสราเอลตามที่พระเจ้าตรัสแก่ท่านทุกข้อบนภูเขาซีนาย[11]
[แก้] การสร้างพลับพลา
ในครั้งนั้น พระเจ้าทรงบัญชาให้สร้างสถานนม้สการพระองค์ ซึ่งประกอบด้วย พลับพลา หีบพระโอวาท โต๊ะ คันประทีป แท่นบูชาทองสัมฤทธิ์ แท่นเผาเครื่องหอม แท่นเผาเครื่องเผาบูชา ขัน ลานพลับพลา ชุดปุโรหิต น้ำม้นหอม และเครื่องโลหะสำหรับใช้ในสถานนมัสการ พระเจ้าทรงบัญชาโมเสสอย่างไร ท่านก็กระทำสิ่งนั้นทุกประการ
เมื่อสามารถสร้างสถานนมัสการเสร็จสิ้น ก็ถวายเครื่องเผาบูชา และเครื่องธัญบูชา แล้วจึงออกเดินทางต่อไป ตลอดการเดินทางนั้นมีเมฆปกคลุมอยู่ หากเมฆนั้นถูกยกขึ้นเมื่อใด ชนชาติอิสราเอลก็ยกเดินต่อไป แต่หากว่าเมฆนั้นมิได้ถูกยกขึ้นไป เขาก็ไม่ออกเดินทางเลย[12]
[แก้] เทียบช่วงเวลา
ในพระธรรมอพยพได้กล่าวถึงช่วงเวลาตั้งแต่เมื่อโยเซฟเสียชีวิต ไปจนถึงการสร้างพลับพลา ที่นมัสการพระเจ้า ซึ่งนับรวมระยะเวลาได้ประมาณ 145 ปี โดยยึดจากคำพยากรณ์ที่พระเจ้าทรงตรัสแก่อับราฮัมว่า อิสราเอลจะไปอยู่ในแผ่นดินอียิปต์ 430 ปี[13]
นอกจากนี้ ยังมีบุคคลหลายฝ่ายได้พยายามปรับปรุงข้อมูลของเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่บันทึกไว้ในพระธรรมอพยพนี้ โดยมุ่งเน้นที่จะหาคำตอบสำหรับ
- พระนามของฟาโรห์ที่พระคัมภีร์กล่าวถึง
- วันที่อิสราเอลอพยพออกจากอียิปต์ และ
- วันที่กำแพงเมืองเยรีโคถล่ม(ในพระธรรมโยชูวา)
ในเรื่องราวเหล่านี้ ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ และไม่มีบทสรุปที่แน่นอน ทั้งนี้ ข้อถกเถียงโดยมาก มุ่งเน้นถึงประเด็นพระนามของฟาโรห์เป็นสำคัญ [14]
[แก้] ดูเพิ่ม
บุตรของยาโคบ ตามชื่อภรรยา (ญ = บุตรสาว) (ตัวเลขในวงเล็บคือลำดับของการเกิด) |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เลอาห์ | รูเบน (Reuben) (1) | สิเมโอน (Simeon) (2) | เลวี (Levi) (3) | ดีนาห์ (Dinah) (ญ) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ยูดาห์ (Judah) (4) | อิสสาคาร์ (Issachar) (9) | เศบูลุน (Zebulun) (10) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ราเชล | โยเซฟ (Joseph) (11) | เบนยามิน (Benjamin) (12) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เอฟราอิม บุตรโยเซฟ (11.1) | มนัสเสห์ บุตรโยเซฟ (11.2) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
บิลลาห์ (สาวใช้นางราเชล |
ดาน (Dan) (5) | นัฟทาลี (Naphtali) (6) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ศิลปาห์ (สาวใช้นางเลอาห์) |
กาด (Gad) (7) | อาเชอร์ (Asher) (8) |
เบญจบรรณ | ปฐมกาล · อพยพ · เลวีนิติ · กันดารวิถี · เฉลยพระธรรมบัญญัติ |
พงศาวดาร | โยชูวา · ผู้วินิจฉัย · นางรูธ · 1ซามูเอล · 2ซามูเอล · 1พงศ์กษัตริย์ · 2พงศ์กษัตริย์ · 1พงศาวดาร · 2พงศาวดาร · เอสรา · เนหะมีย์ · (สารบบที่2)โทบิต · (สารบบที่2)ยูดิธ · เอสเธอร์ · (สารบบที่2)1 มัคคาบี · (สารบบที่2)2 มัคคาบี |
เพลง | โยบ · เพลงสดุดี · สุภาษิต · ปัญญาจารย์ · เพลงซาโลมอน · (สารบบที่2)ปรีชาญาณ · (สารบบที่2)บุตรสิรา |
ประกาศกใหญ่ | อิสยาห์ · เยเรมีย์ · เพลงคร่ำครวญ · (สารบบที่2)บารุค · เอเสเคียล · ดาเนียล |
ประกาศกน้อย | โฮเชยา · โยเอล · อาโมส · โอบาดีย์ · โยนาห์ · มีคาห์ · นาฮูม · ฮาบากุก · เศฟันยาห์ · ฮักกัย(ฮักโก) · เศคาริยาห์ · มาลาคี |
พระวรสาร | มัทธิว · มาระโก · ลูกา · ยอห์น |
ประวัติศาสตร์ | กิจการ |
จดหมายฝาก อาจารย์เปาโล | โรม · 1 โครินทร์ · 2 โครินทร์ · กาลาเทีย · เอเฟซัส · ฟิลิปปี · โคโลสี · 1 เธสะโลนิกา · 2 เธสะโลนิกา · 1 ทิโมธี · 2 ทิโมธี · ทิตัส · ฟีเลโมน · ฮีบรู |
จดหมายฝากอื่น ๆ | ยากอบ · 1 เปโตร · 2 เปโตร · 1 ยอหน์ · 2 ยอหน์ · 3 ยอหน์ · ยูดา |
คำพยากรณ์ | วิวรณ์ |
[แก้] อ้างอิง
- ↑ ดูเพิ่มเติมในพระธรรมเฉลยธรรมบัญญัติ
- ↑ พระธรรมอพยพ บทที่ 1
- ↑ พระธรรอพยพ บทที่ 2-3
- ↑ พระธรรมอพยพ บทที่ 4-12
- ↑ พระธรรมอพยพ บทที่ 13 ข้อที่ 17-22
- ↑ พระธรรมอพยพ บทที่ 14
- ↑ พระธรรมอพยพ บทที่ 16
- ↑ พระธรรมอพยพบทที่ 31
- ↑ พระธรรมอพยพ บทที่ 32
- ↑ พระธรรมอพยพ บทที่ 33-34
- ↑ พระธรรมอพยพ บทที่ 33 ข้อที่ 29-35
- ↑ พระธรรมอพยพ บทที่ 20 - บทที่ 40
- ↑ พระธรรมปฐมกาล บทที่ 3 ข้อที่ 17
- ↑ แปลจากบางส่วนในบทความจาก http://en.wikipedia.org/wiki/Exodus
![]() |
พระธรรมอพยพ เป็นบทความเกี่ยวกับ ศาสนา ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับ พระธรรมอพยพ ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ |