ประเทศมัลดีฟส์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
|
|||||
คำขวัญ: | |||||
เพลงชาติ: Gavmii mi ekuverikan matii tibegen kuriime salaam (ในความเป็นเอกภาพของชาติ เราสรรเสริญชาติของเรา) |
|||||
เมืองหลวง | มาเล |
||||
เมืองใหญ่สุด | มาเล | ||||
ภาษาราชการ | ภาษาดิเวฮิ | ||||
รัฐบาล | สาธารณรัฐ | ||||
ประธานาธิบดี | เมามูน อับดุล กายูม | ||||
ประกาศอิสรภาพ จาก สหราชอาณาจักร |
26 กรกฎาคม พ.ศ. 2508 | ||||
เนื้อที่ - ทั้งหมด - พื้นน้ำ (%) |
300 กม.² (อันดับที่ 185) 116 ไมล์² - |
||||
ประชากร - กรกฎาคม 2548 ประมาณ - ความหนาแน่น |
349,106 (อันดับที่ 166) 1,171/กม² (อันดับที่ 5) 3,010/ไมล์² |
||||
GDP (PPP) - รวม - ต่อประชากร |
2545 ค่าประมาณ $1.25 พันล้าน (อันดับที่ 183) $3,900 (ปี 2545) (อันดับที่ 148) |
||||
HDI (2546) | 0.745 (อันดับที่ 96) – ปานกลาง | ||||
สกุลเงิน | รูฟียาห์ (MVR ) |
||||
เขตเวลา | (UTC+5) | ||||
รหัสอินเทอร์เน็ต | .mv | ||||
รหัสโทรศัพท์ | +960 |
สาธารณรัฐมัลดีฟส์ (Republic of Maldives) เป็นประเทศที่มีพื้นที่ประกอบด้วยหมู่เกาะปะการังจำนวนมาก ในมหาสมุทรอินเดีย และตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ของ ประเทศอินเดียและศรีลังกา (ใช้เวลาเดินทางประมาณ 40 นาที จากกรุงโคลัมโบโดยเครื่องบิน)
สารบัญ |
[แก้] ประวัติศาสตร์
ชนพื้นเมืองพวกแรกที่อาศัยอยู่ในมัลดีฟส์ตั้งแต่ก่อนคริสตกาล คือ พวกดราวิเดียนและสิงหล ซึ่งนับถือศาสนาพุทธ ชาวมัลดีฟส์โบราณจึงนับถือศาสนาพุทธเป็นศาสนาหลัก ต่อมา ในคริสต์ศวรรษที่ 12 ชาวมัลดีฟส์ได้เปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลาม และมีสุลต่านราชวงศ์ต่าง ๆ เป็นผู้ปกครองประเทศในยุคแรก ได้แก่
- ราชวงศ์โสมวันสา (Somavansa) หรือ Malei มีสุลต่าน 16 พระองค์ ปกครองเป็นเวลา 169 ปี
- ราชวงศ์วีรุ อุมรุ (Veeru Umaru) มีสุลต่าน 5 พระองค์ ปกครองเป็นเวลา 75 ปี
- ราชวงศ์หิลาลิ (Hilali) มีสุลต่าน 24 พระองค์ ปกครองเป็นเวลา 170 ปี
ชาวโปรตุเกสได้พยายามเข้ายึดครองมัลดีฟส์ตั้งแต่คริสตวรรษที่ 13 และ ประสบความสำเร็จในปี ค.ศ. 1558 (พ.ศ. 2101) และได้ปกครองมัลดีฟส์อยู่เป็นเวลา 15 ปี ต่อมาในปี ค.ศ. 1573 (พ.ศ. 2116) มีการสถาปนาการปกครองระบบสุลต่านขึ้นอีกครั้งหนึ่ง โดยมีการตั้งราชวงศ์อุทีมุ (Utheemu) ซึ่งมีสุลต่านในราชวงศ์ 5 พระองค์ ปกครองเป็นเวลา 121 ปี ในสมัยราชวงศ์นี้ มีการพัฒนาระบบการปกครอง การทหารและการเงินให้ดีขึ้น ต่อมามีราชวงศ์ปกครองอีก 3 ราชวงศ์ ได้แก่ ราชวงศ์อิสดู (Isdhoo), ดิยมิกิลิ (Dhiyamigili) และ หุราเก (Huraage)
ในปี ค.ศ. 1887 (พ.ศ. 2430) อังกฤษได้แผ่อิทธิพลในแถบมหาสมุทรอินเดีย สุลต่านมูฮัมหมัด มูอีนุดดีนที่ 2 (Muhammad Mueenudhdheen II) จึงได้ทำความตกลง The Agreement on December 16th , 1887 กับอังกฤษ ซึ่งส่งผลให้มัลดีฟส์อยู่ภายใต้การอารักขาของอังกฤษ (protection period)
ในปี ค.ศ. 1948 (พ.ศ. 2491) อังกฤษให้เอกราชแก่ศรีลังกา มัลดีฟส์จึงแยกตัวออกจาก ศรีลังกา โดยยังคงสถานะเป็นรัฐในอารักขาของอังกฤษ ต่อมาในปี ค.ศ. 1954 (พ.ศ. 2497) ได้มีการสถาปนาระบบสุลต่านขึ้นอีกครั้ง โดยมีการปกครองโดยรัฐสภา มีสภาสูงซึ่งประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 80 คน และสภาล่างอีก 46 คน ซึ่งมาจากการเลือกตั้งของประชาชน
เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม ค.ศ. 1965 (พ.ศ. 2508) อังกฤษได้มอบเอกราชให้แก่ มัลดีฟส์ หลังจากเป็นดินแดนในอารักขาของอังกฤษเป็นเวลา 79 ปี แต่อังกฤษยังคงเช่าเกาะกาน (Gan Island) ทางตอนใต้สุดของประเทศไว้เป็นฐานทัพถึงปี ค.ศ. 1986 (พ.ศ. 2529)
เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1968 (พ.ศ. 2511) มัลดีฟส์ยกเลิกระบบสุลต่านและได้เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ โดยมีนาย Amir Ibrahim Nasir เข้าดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนแรกของมัลดีฟส์และบริหารประเทศจนถึงปี ค.ศ. 1978 (พ.ศ. 2521) ต่อมา นาย Maumoon Abdul Gayoom ได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสืบแทนจนกระทั่งปัจจุบัน โดยได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีติดต่อกับถึง 5 สมัย (สมัยละ 5 ปี) นับเป็นประมุขฝ่ายบริหารที่บริหารประเทศนานที่สุดในภูมิภาคเอเชียใต้
[แก้] การเมือง
ระบบการปกครอง ระบอบการปกครอง ระบอบประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ ประธานาธิบดีเป็นประมุขรัฐและหัวหน้ารัฐบาล ระบบการปกครอง ระบบกฎหมายใช้กฎหมายอิสลามเป็นพื้นฐานผสมกับระบบCommon Law ของอังกฤษ
ฝ่ายนิติบัญญัติ มี 1 สภา เรียกว่า สภาประชาชน (Citizen Council) หรือมัจลิส (Majlis) สมาชิกมาจากการเลือกตั้ง 40 คน และประธานาธิบดีแต่งตั้งอีก 8 คน ไม่มีพรรคการเมือง ฝ่ายบริหาร ประธานาธิบดีมาจากการเลือกตั้งโดยตรง อยู่ในตำแหน่งคราวละ 5 ปี เป็นประมุขรัฐและหัวหน้ารัฐบาลมีอำนาจสั่งการและแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี หัวหน้าคณะผู้พิพากษาตลอดจนบัญชาการกองกำลังรักษาความมั่นคงแห่งชาติ (National Security Service) ฝ่ายตุลาการ ระบบศาลสูง (High Court) ประมุขของรัฐและประมุขของรัฐบาล
- ประธานาธิบดี นาย มอมูน อัลดุล กายูม (Mr. Maumoon Abdul Gayoom)
- รัฐมนตรีต่างประเทศ นาย ฟาธุลลา จามีล (Mr. Fathulla Jameel)
- คาติป เป็นผู้ปกครองระดับเกาะ
[แก้] การแบ่งเขตการปกครอง
แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 19 เขต (atoll) และ 1 เขตบริหารพิเศษ ดังนี้ (เรียงจากเหนือสุดถึงใต้สุด) ชื่อหมู่เกาะ (ชื่อในการปกครอง)
|
|
[แก้] ภูมิศาสตร์
ภูมิประเทศ พื้นที่ความยาวจากเหนือจรดใต้ 820 กิโลเมตร จากตะวันออกจรดตะวันตก 120 กิโลเมตร แต่เป็นพื้นที่ดินรวมเพียง 300 ตารางกิโลเมตรประกอบด้วยหมู่เกาะปะการัง 26 กลุ่ม (atoll) รวม 1,190 เกาะ มีประชากรอาศัยอยู่เพียงประมาณ 200 เกาะ และได้รับการพัฒนาเป็นโรงแรมสำหรับนักท่องเที่ยว 74 เกาะ ภูมิอากาศเป็นแบบเขตร้อนชื้น อุณหภูมิเฉลี่ย 27 – 30 C (18-90 F) ตลอดทั้งบีช่วงที่ปราศจากมรสุม ได้แก่ ช่วงเดือนธันวาคม – มีนาคม
[แก้] ประชากร
- เชื้อชาติ
- ชนพื้นเมืองที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานในประเทศมัลดีฟส์ คือกลุ่มผู้ใช้ตระกูลภาษาอินโด-อารยัน ซึ่งอพยพมาจากศรีลังกา เมื่อหลายศตวรรษแล้ว และเป็นบรรพบุรุษของชาวมัลดีฟส์ในปัจจุบันพยพเข้ามา
ต่อมาในศตวรรษที่ 12 ก็มีชาวแอฟริกัน และชาวอาหรับ อพยพมาอยู่อาศัยกัน
- ศาสนา
- กลุ่มชนกลุ่มแรกของมัลดีฟส์ ชั่งแรกนั้น จะนับถือพระพุทธศาสนา นิกายเถรวาท (ดูเพิ่มเติมได้ที่พุทธศาสนาในประเทศมัลดีฟส์) แต่ต่อมามีการเข้ารีตนับถือศาสนาอิสลามนิกายสุหนี่จำนวนมาก
[แก้] เศรษฐกิจ
ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ สิงคโปร์ อินเดีย ศรีลังกา สหรัฐฯ ญี่ปุ่น แคนาดา เยอรมัน อังกฤษ
[แก้] ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐมัลดีฟส์
[แก้] ความสัมพันธ์ทางการทูต
ไทยกับมัลดีฟส์สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตในระดับเอกอัครราชทูต เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2522 และมีความสัมพันธ์อันดีระหว่างกันมาโดยตลอด ทั้งในระดับรัฐบาลและประชาชน ปัจจุบันเอกอัครราชทูต ณ กรุงโคลัมโบ ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำ มัลดีฟส์ และข้าหลวงใหญ่มัลดีฟส์ประจำศรีลังกา ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตมัลดีฟส์ประจำประเทศไทย
[แก้] การแลกเปลี่ยนการเยือน
ฝ่ายไทย
- 21 – 23 พ.ย. 2528 ร.ต. ประพาส ลิมปะพันธ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศเยือนมัลดีฟส์อย่างเป็นทางการ
- 21 – 24 มี.ค. 2531 นายเทอดพงษ์ ไชยนันท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเยือนมัลดีฟส์ เพื่อร่วมการประชุมเจรจาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางความร่วมมือทางวิชาการและงานพัฒนาด้านสาธารณสุข
- 6 – 8 เม.ย. 2543 นายปองพล อดิเรกสาร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เยือนมัลดีฟส์อย่างเป็นทางการ
ฝ่ายมัลดีฟส์
- 5 – 6 และ ประธานาธิบดีกายูมแวะเยือนไทยตามคำเชิญฝ่ายไทย
- 9 – 10 ธ.ค. 2528
- 5 – 9 มี.ค. 2533 ประธานาธิบดีกายูมเยือนไทยเพื่อร่วมการประชุมระดับโลกเรื่องการศึกษาเพื่อปวงชน (World Council on Education for All)
[แก้] ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจไทย – มัลดีฟส์
การค้า การค้าระหว่างไทยกับมัลดีฟส์มีไม่มากนัก โดยไทยเป็นฝ่ายเสียเปรียบดุลการค้าเป็นส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตาม สินค้าจากประเทศไทยเข้าสู่มัลดีฟส์มีปริมาณมากกว่าที่ปรากฏตามสถิติ เนื่องจากสินค้าไทยผ่านการ re-export ทางสิงคโปร์เป็นจำนวนมาก
สินค้าส่งออกที่สำคัญของไทย 5 อันดับแรก ได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป รองเท้าและชิ้นส่วน ผลิตภัณฑ์พลาสติก ข้าว และผลิตภัณฑ์เซรามิก สินค้านำเข้าที่สำคัญจากมัลดีฟส์มีเพียงสิ่งเดียว ได้แก่ ปลาทูน่าสด แช่แข็งและแช่เย็น
การประมง ประเทศมัลดีฟส์เป็นแหล่งปลาทูน่าที่สำคัญในมหาสมุทรอินเดีย ประเทศไทยยังไม่มีการติดต่อเพื่อทำประมงร่วมกับมัลดีฟส์ ทั้งระหว่างภาครัฐบาลและเอกชน ฝ่ายไทยเคยส่งเรือวิจัยประมงของกรมประมงเดินทางไปทำการศึกษาและวิจัยด้านปลาทูน่าในมัลดีฟส์ในบางโอกาส นอกจากนี้ รัฐบาลมัลดีสฟ์ได้กำหนดเงื่อนไขที่จะเข้าไปจับปลาในเขตเศรษฐกิจจำเพาะของมัลดีฟส์ เช่น ต้องเสียค่าใบอนุญาต (license fee) ต้องจับปลาห่างฝั่งอย่างน้อย 75 ไมล์ และให้ผู้ได้รับอนุญาตจับปลาได้ไม่เกินปีละ 1.5 หมื่นตัน รวมทั้งทางการมัลดีฟส์ยังกำหนดให้ใช้วิธีการจับปลาแบบดั้งเดิมอีกด้วย
ความตกลงทวิภาคีไทย – มัลดีฟส์ ความตกลงว่าด้วยบริการเดินอากาศไทย – มัลดีฟส์ ลงนามเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม2532 ที่กรุงเทพฯ กำหนดให้สายการบินของแต่ละฝ่ายดำเนินบริการเดินอากาศในแต่ละทิศทางได้สัปดาห์ละ 3 เที่ยว โดยไม่จำกัดแบบของอากาศยาน ปัจจุบันสายการบินของทั้งสองประเทศยังไม่ได้เปิดบริการเดินอากาศระหว่างกัน แต่ได้มีความพยายามหาลู่ทางที่จะทำการเชื่อมเส้นทางการบินระหว่างกัน
ความร่วมมือทางวิชาการ ในการประชุมความร่วมมือทางวิชาการไทย – มัลดีฟส์ (Thai – Maldives Joint Commission on Economic and Technical Cooperation) ณ กรุงมาลี เมื่อปี 2535 และ 2536 รัฐบาลไทย (โดยกรมวิเทศสหการ) เริ่มให้ความช่วยเหลือแก่มัลดีฟส์อย่างจริงจัง ทั้งทางด้านสาธารณสุข ประมง เกษตร การท่องเที่ยว การบิน การให้ทุนศึกษาในระดับอุดมศึกษาในประเทศไทยแก่นักเรียน/นักศึกษามัลดีฟส์ รวมทั้งจัดส่งผู้เชี่ยวชาญทางด้านจิตเวชและการแพทย์ไปฝึกอบรมเจ้าหน้าที่มัลดีฟส์ตามโครงการ Thai Aid Programme โครงการ Third Country Training Programme และข้อตกลงในกรอบของความร่วมมือทางวิชาการ ฝ่ายไทย โดยกรมวิเทศสหการได้ให้ความช่วยเหลือ/ความร่วมมือทางวิชาการอย่างเป็นระบบมากขึ้น โดยจัดทำกรอบของแผนการให้ความช่วยเหลือ/ร่วมมือทางวิชาการ 3 ปี ระหว่างปี 2539-2541 และได้ขยายแผนดังกล่าวออกไปอีก 3 ปี ระหว่างปี 2542-2544
สินค้าที่ส่งออก ปลา เนื้อมะพร้าวแห้ง ปลาทูน่าสด แช่เย็นและแช่แข็ง
[แก้] สถานทูต
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโคลัมโบ (Royal Thai Embassy) Eastmate Building, 5F, No - 324, Galle Road, Colombo หมายเลขโทรศัพท์ : (941) 370037-40 โทรสาร : (941) 370041-42
กัมพูชา · กาตาร์ · เกาหลีใต้ · เกาหลีเหนือ · คาซัคสถาน1 · คีร์กีซสถาน · คูเวต · จอร์เจีย1 · จอร์แดน · จีน · ญี่ปุ่น · ซาอุดีอาระเบีย · ซีเรีย · ไซปรัส2 · ติมอร์ตะวันออก3 · ตุรกี1 · เติร์กเมนิสถาน · ทาจิกิสถาน · ไทย · เนปาล · บรูไน · บังกลาเทศ · บาห์เรน · ปากีสถาน · พม่า · ฟิลิปปินส์ · ภูฏาน · มองโกเลีย · มัลดีฟส์ · มาเลเซีย · เยเมน · รัสเซีย1 · ลาว · เลบานอน · เวียดนาม · ศรีลังกา · สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ · สิงคโปร์ · อัฟกานิสถาน · อาเซอร์ไบจาน1 · อาร์เมเนีย2 · อินเดีย · อินโดนีเซีย3 · อิรัก · อิสราเอล · อิหร่าน · อียิปต์4 · อุซเบกิสถาน · โอมาน
ดินแดนพิเศษ: ฮ่องกง (จีน) · ชัมมูและแคชเมียร์ (อินเดีย/ปากีสถาน/จีน) · เคอร์ดิสถาน (อิรัก) · มาเก๊า (จีน) · นากอร์โน-คาราบัค1 (อาเซอร์ไบจาน) · ปาเลสไตน์: ฉนวนกาซา · เวสต์แบงก์ (อิสราเอล/รัฐบาลปาเลสไตน์) ·ไต้หวัน (จีน/รัฐบาลไต้หวัน) · สาธารณรัฐตุรกีแห่งไซปรัสเหนือ1 (ไซปรัส)
(1) อาจจัดให้อยู่ในทวีปยุโรป; (2) อยู่ในทวีปเอเชีย แต่มีความสัมพันธ์ทางการเมืองสังคมกับทวีปยุโรป;
(3) อาจจัดพื้นที่บางส่วน/ทั้งหมดให้อยู่ในเขตโอเชียเนีย; (4) พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในทวีปแอฟริกา
กานา · กายอานา · เกรเนดา · แกมเบีย · คิริบาส · เคนยา · แคเมอรูน · แคนาดา · จาเมกา · ซามัว · เซเชลส์ · เซนต์คิตส์และเนวิส · เซนต์ลูเซีย · เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์ · เซียร์ราลีโอน · แซมเบีย · โดมินิกา · ตรินิแดดและโตเบโก · ตองกา · ตูวาลู · แทนซาเนีย · โมซัมบิก · ไซปรัส · ไนจีเรีย · นามิเบีย · นาอูรู · นิวซีแลนด์ · บรูไน · บอตสวานา · บังกลาเทศ · บาร์เบโดส · บาฮามาส · เบลีซ · ปากีสถาน · ปาปัวนิวกินี · ฟิจิ · มอริเชียส · มอลตา · มัลดีฟส์ · มาเลเซีย · มาลาวี · ยูกันดา · เลโซโท · วานูอาตู · ศรีลังกา · สวาซิแลนด์ · สหราชอาณาจักร · สิงคโปร์ · หมู่เกาะโซโลมอน · ออสเตรเลีย · อินเดีย · แอนติกาและบาร์บูดา · แอฟริกาใต้
ประเทศมัลดีฟส์ เป็นบทความเกี่ยวกับ ประเทศ เมือง หรือเขตการปกครองต่าง ๆ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับ ประเทศมัลดีฟส์ ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ |