ประเทศซาอุดีอาระเบีย
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
|
|||||
คำขวัญประจำชาติ: ไม่มี | |||||
ภาษาราชการ | ภาษาอาหรับ | ||||
เมืองหลวง | ริยาด | ||||
พระมหากษัตริย์ | สมเด็จพระราชาธิบดี สุลต่าน ฮัจญี อับดุลลอห์ บินอับดิลอะซีซ อัซซาอุด | ||||
พื้นที่ | อันดับที่ 14 | ||||
- ทั้งหมด | 2,218,000 กม.² | ||||
- % พื้นน้ำ | ไม่มี | ||||
ประชากร | อันดับที่ 45 | ||||
- ทั้งหมด (พ.ศ. 2546) | 24,293,844 | ||||
- ความหนาแน่น | 12 คน/กม.² | ||||
การรวมชาติ | 23 กันยายน พ.ศ. 2475 | ||||
หน่วยเงิน | ริยัล | ||||
เขตเวลา | UTC +3 | ||||
เพลงชาติ | Aash Al Maleek | ||||
TLD สำหรับอินเทอร์เน็ต | .sa | ||||
รหัสโทรศัพท์ | 966 |
ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียเป็นประเทศบนคาบสมุทรอาหรับ มีพรมแดนติดกับประเทศอิรัก จอร์แดน คูเวต โอมาน กาตาร์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และเยเมน ติดอ่าวเปอร์เซียทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และทะเลแดงทางทิศตะวันตก
สารบัญ |
[แก้] ประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์ประเทศซาอุดีอาระเบียเริ่มขึ้นประมาณปี 1850 ในใจกลางคาบสมุทรอาระเบีย เมื่อ มุฮัมมัด บินสะอูด ผู้นำท้องถิ่นได้ร่วมมือกันกับ มุฮัมมัด บินอับดุลวะฮาบ ผู้นำลัทธิวะฮาบีย์ ก่อตั้งอาณาจักรใหม่ขึ้นมา เรียกว่า ราชอาณาจักรซาอุดีแรก โดยแยกออกจากอาณาจักรออตโตมัน แต่ประเทศที่เป็นซาอุดีอาระเบียในปัจจุบันนั้นสถาปนาขึ้นเป็นครั้งที่สองโดยกษัตริย์อับดุลอะซีซ อาลสะอูด (หรือเป็นที่รู้จักกันดีในนามของ อิบนุสะอูด) ในปี 1902 อิบนุสะอูด ได้ยึดริยาดซึ่งเป็นเมืองหลวงเก่าแก่ของราชวงศ์สะอูด คืนมาจากตระกูลอัลรอชีด ซึ่งเป็นศัตรูคู่แข่งของราชวงศ์สะอูด ต่อจากนั้น ก็ได้กรีฑาทัพเข้ายึดแคว้นต่าง ๆ มาได้ ได้แก่ อัลฮะสาอ์, นะญัด และ ฮิญาซ อันเป็นที่ตั้งของนครมักกะหฺ และ นครมะดีนะหฺ ในปี 1932 อิบนุสะอูด ได้ทำการรวมประเทศขึ้นเป็นราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย
การเจรจาทำสนธิสัญญาแบ่งเส้นเขตแดนระหว่างซาอุดีอาระเบียกับจอร์แดน อิรัก และคูเวต มีขึ้นช่วงทศวรรษ 1920 และได้มีการจัดตั้ง "neutral zones" ขึ้นด้วยกัน 2 เขตคือระหว่างซาอุดีอาระเบีย กับอิรัก และซาอุดีอาระเบีย กับคูเวต ในปี 1971 ได้มีการแบ่งเขตเป็นกลางระหว่างซาอุดีอาระเบีย และคูเวต โดยให้แต่ละฝ่ายแบ่งทรัพยากรน้ำมันกันอย่างเท่าเทียมกัน ส่วนการแบ่งขตเป็นกลางระหว่างซาอุดีอาระเบีย กับอิรักได้เสร็จสิ้นลงในปี 1983 ทางด้านเขตแดนตอนใต้ที่ติดกับเยเมนนั้น มีการเจรจาแบ่งเขตแดนโดยสนธิสัญญาฏออิฟ ในปี 1934 แต่ก็สิ้นสุดลงด้วยการสู้รบระหว่างสองประเทศ จนกระทั่งปัจจุบันนี้ เขตแดนระหว่างซาอุดีอาระเบีย และเยเมนในบางพื้นที่ก็ยังมิได้แบ่งลงไปอย่างแน่ชัด ส่วนเขตแดนที่ติดกับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์นั้นสามารถตกลงกันได้ในปี 1974 สำหรับเขตแดนกับกาตาร์นั้นยังเป็นปัญหาอยู่
อิบนุสะอูด สิ้นพระชนม์ในปี 1953 และพระราชโอรสองค์โตคือเจ้าชายสะอูด ได้ขึ้นครองราชย์ต่อมาอีก 11 ปี ในปี 1964 กษัตริย์สะอูด ได้สละราชสมบัติให้กับเจ้าชายฟัยศอล ซึ่งเป็นน้องชายต่างมารดาและดำรงตำแหน่ง รมว.กต.อยู่ด้วย กษัตริย์ฟัยศอล เป็นบุคคลสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจของซาอุดีอาระเบียพัฒนาไปสู่ระบบที่ทันสมัย
ซาอุดีอาระเบีย มิได้ส่งกำลังทหารเข้าร่วมรบในสงครามหกวันระหว่างอาหรับและอิสราเอล แต่ได้ให้เงินช่วยเหลือรายปีแก่อียิปต์ จอร์แดน และซีเรียเพื่อช่วยเหลือเศรษฐกิจของประเทศเหล่านี้ ในช่วงสงครามอาหรับ-อิสราเอล ปี 1973 ซาอุดีอาระเบีย ได้เข้าร่วมการคว่ำบาตรทางน้ำมันต่อสหรัฐฯ และเนเธอร์แลนด์ ในฐานะสมาชิกของ OPEC ซาอุดีอาระเบีย ได้ร่วมกับประเทศสมาชิกอื่นๆ ขึ้นราคาน้ำมันในปี 1971 ภายหลังสงครามปี 1973 ราคาน้ำมันได้พุ่งสูงขึ้นอย่างมากนำความมั่งคั่งและอิทธิพลทางการเมืองมาสู่ซาอุดีอาระเบีย
ในปี 1975 กษัตริย์ฟัยศอล ถูกลอบสังหารโดยหลานชายของพระองค์เอง เจ้าชายคอลิด พระอนุชาต่างมารดาได้ขึ้นเป็นกษัตริย์องค์ต่อมาและยังดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกตำแหน่งหนึ่งด้วย กษัตริย์คอลิด ได้แต่งตั้งเจ้าชายฟะหัด น้องชายต่างมารดาของพระองค์เป็นมกุฎราชกุมาร และมอบหมายให้มีอำนาจให้ดูแลกิจการภายในประเทศและต่างประเทศ ในรัชสมัยของ กษัตริย์คอลิด เศรษฐกิจของซาอุดีอาระเบีย ได้มีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็วและซาอุดีอาระเบีย ได้มีบทบาทสำคัญมากขึ้นในเวทีการเมืองในภูมิภาคและในเวทีเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ในปี 1982 กษัติรย์ฟะหัด ได้ขึ้นครองราชย์และดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแทน กษัตริย์คอลิด ซึ่งสิ้นพระชนม์ลง กษัติรย์ฟะหัด ได้แต่งตั้งเจ้าชายอับดุลลอหฺ น้องชายต่างมารดาซึ่งดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการ Saudi National Guard ขึ้นเป็นมกุฎราชกุมาร ส่วนเจ้าชาย Sultan รัฐมนตรีกลาโหมซึ่งเป็นน้องชายแท้ๆ ของ King Fahad ได้รับแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรีคนที่สอง
ภายใต้รัชสมัยของพระราชาธิบดีฟาฮัดเศรษฐกิจของซาอุดีอาระเบีย ได้ปรับสภาพให้เข้ากับรายได้จากน้ำมันซึ่งมีราคาตกต่ำลงอย่างมากอันสืบเนื่องมาจากราคาน้ำมันในตลาดโลกซึ่งตกต่ำลงในช่วงสงครามอิรัก-อิหร่าน ซาอุดีอาระเบีย เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการให้มีการหยุดยิงระหว่างอิรัก-อิหร่านในปี 1988 และในการก่อตั้งคณะมนตรีความร่วมมือรัฐอ่าวอาหรับ (GCC) ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการเมืองระหว่างประเทศรัฐริมอ่าว 6 ประเทศ
ในระหว่างปี 1990-1991 พระราชาธิบดีฯ มีบทบาทสำคัญทั้งก่อนหน้าและระหว่างสงครามอ่าว (Gulf War) โดยพระองค์ได้ช่วยเป็นจุดศูนย์กลางในการระดมความสนับสนุนความช่วยเหลือ และได้ใช้อิทธิพลของพระองค์ในฐานะผู้พิทักษ์มัสญิดต้องห้ามอันศักดิ์สิทธิ์ทั้งสอง ชักชวนให้ประเทศอาหรับและอิสลามเข้าร่วมในกองกำลังผสม
[แก้] การเมือง
ก่อนหน้าปี 2534 ซาอุดีอาระเบีย ใช้กฎหมายอิสลามเป็นหลักในการปรกครองประเทศโดยพระราชาธิบดีฯ มีอำนาจเด็ดขาดและสูงสุดในการบริหารประเทศ ต่อมาหลังจากวิกฤตการณ์อิรัก-คูเวต ได้มีความเคลื่อนไหวจากประชาชนบางส่วนให้มีการพัฒนารูปแบบการปกครองให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมด้วย พระราชาธิบดีฯ จึงได้วางรูปแบบการปกครองอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นครั้งแรก โดยประกาศใช้พระราชกฤษฎีกา 3 ฉบับ เมื่อเดือนมีนาคม 2534 กฎหมายดังกล่าวระบุว่า การปกครองเป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช พระราชาธิบดีฯ มีอำนาจสูงสุด เป็นผู้แต่งตั้งและเพิกถอนครม. และสภาที่ปรึกษา (Shura) สภาที่ปรึกษานี้ถือเป็นพัฒนาการใหม่ของซาอุดีอาระเบีย ทีเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปเข้ามามีส่วนร่วมในการปกครองประเทศ แต่ก็เป็นเพียงในฐานะที่ปรึกษาเท่านั้น มิใช่สภานิติบัญญัติเช่นประเทศอื่นๆ แม้ว่าในทางกฎหมายพระราชาธิบดีฯ มีอำนาจสิทธิขาดในปกครองประเทศ แต่ในทางปฎิบัติ พระราชาธิบดีฯ จะใช้วิธีดำเนินนโยบายที่ได้รับความเห็นชอบร่วมกัน (consensus) จากกลุ่มต่างๆ ในประเทศ อาทิ ประชาชน ฝ่ายศาสนา ทหาร ราชวงศ์ และนักธุรกิจ
[แก้] การแบ่งเขตการปกครอง
- (รอเพิ่มเติมเนื้อหา)
ซาอุดีอาระเบียแบ่งการปกครองเป็น 13 เขตการปกครอง (mintaqah [มินฏอเกาะห์] (เอกพจน์), mintaqat [มินฏอกอต] (พหูพจน์))
- อัล บาฮะหฺ (Al Bahah)
- อัล ฮุดูด อัช ชะมาลิยะหฺ (Al Hudud ash Shamaliyah)
- อัล เญาฟุ (Al Jawf)
- อัล มะดีนะหฺ (Al Madinah)
- อัล กอซิม (Al Qasim)
- อัร ริยาด (Ar Riyad)
- อัช ชัรกิยะหฺ (Ash Sharqiyah, Eastern Province)
- อะซีร์ ('Asir)
- ฮาอิล (Ha'il)
- จิซาน (Jizan)
- มักกะหฺ (Makkah)
- นัจรอน (Najran)
- ตาบูค (Tabuk)
[แก้] ภูมิศาสตร์
- ประเทศซาอุดีอาระเบียตั้งอยู่ในภูมิภาคตะวันออกกลาง
ทิศเหนือติดอิรักและจอร์แดน ทิศตะวันออกติด คูเวต กาตาร์ บาห์เรน ทิศตะวันตก อียิปต์ ทิศใต้ติดเยเมน ติดอ่าวอาหรับ (อ่าวเปอร์เซีย
[แก้] เศรษฐกิจ
ซาอุดีอาระเบีย มีปริมาณน้ำมันสำรองมากที่สุดในโลก คิดเป็นประมาณ 260 พันล้านบาร์เรลหรือประมาณเศษหนึ่งส่วนสี่ของปริมาณน้ำมันสำรองของโลก โดยที่รายรับของประเทศประมาณ 2 ใน 3 มาจากการส่งออกน้ำมัน เศรษฐกิจของซาอุดีอาระเบีย จึงขึ้นอยู่กับราคาน้ำมันโลกค่อนข้างมาก ในช่วงหลังสงครามอิรัก-คูเวต ภาระค่าใช้จ่ายในระหว่างวิกฤตการณ์อ่าวเปอร์เซียประกอบกับรายได้ที่ลดลงจากการตกต่ำของราคาน้ำมัน และรายจ่ายภาครัฐบาลซึ่งส่วนใหญ่เป็นการซื้ออาวุธ ทำให้ซาอุดีอาระเบีย เผชิญปัญหาขาดดุลงบประมาณติดต่อกัน อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจโดยรวมของซาอุดีอาระเบีย ยังอยู่ในสภาพที่มั่นคง การลงทุนภาคเอกชนมีมากขึ้น ความพยายามในการกระจายรายรับโดยการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ไม่ใช่น้ำมันเริ่มประสบผลสำเร็จ -- ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในต่อหัว (Per Capita Gross Domestic Product GDP Per Capita) ของซาอุดีอาระเบีย มีแนวโน้มลดลงตั้งแต่ทศวรรษที่ 1980 เป็นต้นมาเนื่องจากอัตราเพิ่มของประชากรมีมากกว่าอัตราความเจริญทางเศรษฐกิจ
[แก้] ประชากร
ประเทศซาอุดิฯนั้นมีประชากรประมาณ 27ล้านคน
[แก้] วัฒนธรรม
- (รอเพิ่มเติมเนื้อหา)
[แก้] บทความที่เกี่ยวข้อง
กัมพูชา · กาตาร์ · เกาหลีใต้ · เกาหลีเหนือ · คาซัคสถาน1 · คีร์กีซสถาน · คูเวต · จอร์เจีย1 · จอร์แดน · จีน · ญี่ปุ่น · ซาอุดีอาระเบีย · ซีเรีย · ไซปรัส2 · ติมอร์ตะวันออก3 · ตุรกี1 · เติร์กเมนิสถาน · ทาจิกิสถาน · ไทย · เนปาล · บรูไน · บังกลาเทศ · บาห์เรน · ปากีสถาน · พม่า · ฟิลิปปินส์ · ภูฏาน · มองโกเลีย · มัลดีฟส์ · มาเลเซีย · เยเมน · รัสเซีย1 · ลาว · เลบานอน · เวียดนาม · ศรีลังกา · สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ · สิงคโปร์ · อัฟกานิสถาน · อาเซอร์ไบจาน1 · อาร์เมเนีย2 · อินเดีย · อินโดนีเซีย3 · อิรัก · อิสราเอล · อิหร่าน · อียิปต์4 · อุซเบกิสถาน · โอมาน
ดินแดนพิเศษ: ฮ่องกง (จีน) · ชัมมูและแคชเมียร์ (อินเดีย/ปากีสถาน/จีน) · เคอร์ดิสถาน (อิรัก) · มาเก๊า (จีน) · นากอร์โน-คาราบัค1 (อาเซอร์ไบจาน) · ปาเลสไตน์: ฉนวนกาซา · เวสต์แบงก์ (อิสราเอล/รัฐบาลปาเลสไตน์) ·ไต้หวัน (จีน/รัฐบาลไต้หวัน) · สาธารณรัฐตุรกีแห่งไซปรัสเหนือ1 (ไซปรัส)
(1) อาจจัดให้อยู่ในทวีปยุโรป; (2) อยู่ในทวีปเอเชีย แต่มีความสัมพันธ์ทางการเมืองสังคมกับทวีปยุโรป;
(3) อาจจัดพื้นที่บางส่วน/ทั้งหมดให้อยู่ในเขตโอเชียเนีย; (4) พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในทวีปแอฟริกา
เอเชีย | กัมพูชา (!) - กาตาร์ (*) - คูเวต (⁂) - จอร์แดน (⁂) - ซาอุดีอาระเบีย (*) - ญี่ปุ่น - ภูฏาน (*) - เนปาล - บรูไน(*) - บาห์เรน (⁂) - ไทย - มาเลเซีย(!) - สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์! โอมาน (*) |
แอฟริกา | เลโซโท - โมร็อกโก (⁂) - สวาซิแลนด์ (*) |
ยุโรป | อันดอร์รา(!) - เบลเยียม - เดนมาร์ก - ลิกเตนสไตน์ (⁂) - ลักเซมเบิร์ก - โมนาโก (⁂) - เนเธอร์แลนด์ - นอร์เวย์ - สเปน - สวีเดน - นครรัฐวาติกัน (*!) |
โอเชียเนีย | ตองกา - ซามัว |
เครือจักรภพ | แอนติกาและบาร์บูดา - ออสเตรเลีย - บาฮามาส - บาร์เบโดส - เบลีซ - แคนาดา - เกรเนดา - จาเมกา - นิวซีแลนด์ - ปาปัวนิวกินี - เซนต์คิตส์และเนวิส - เซนต์ลูเซีย - เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์ - หมู่เกาะโซโลมอน - ตูวาลู - สหราชอาณาจักร |
* สมบูรณาญาสิทธิราชย์, ⁂ ราชาธิปไตยกึ่งภายใต้รัฐธรรมนูญ, ! ราชาธิปไตยที่มีจากการเลือกตั้ง |
ประเทศซาอุดีอาระเบีย เป็นบทความเกี่ยวกับ ประเทศ เมือง หรือเขตการปกครองต่าง ๆ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับ ประเทศซาอุดีอาระเบีย ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ |