ประเทศมองโกเลีย
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
|
|||||
คำขวัญ: Даяр Монгол (Dayar Mongol) | |||||
เพลงชาติ: Bügd Nairamdakh Mongol | |||||
เมืองหลวง | อูลานบาตอร์ |
||||
เมืองใหญ่สุด | อูลานบาตอร์ | ||||
ภาษาราชการ | ภาษามองโกเลีย | ||||
รัฐบาล | ประชาธิปไตยระบบรัฐสภา | ||||
- ประธานาธิบดี | นัมบารุน เองค์บายาร์ | ||||
- นายกรัฐมนตรี | มีเยกอมโบ เองค์บอลด์ | ||||
เอกราช ประกาศ |
จาก จีน 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2464 |
||||
เนื้อที่ - ทั้งหมด - พื้นน้ำ (%) |
1,564,116 กม.² (อันดับที่ 19) 603,909 ไมล์² 0.6 |
||||
ประชากร - ก.ค. 2549 ประมาณ - 2543 - ความหนาแน่น |
2,832,224 (อันดับที่ 139) 2,650,952 1.8/กม² (อันดับที่ 227) 4.7/ไมล์² |
||||
GDP (PPP) - รวม - ต่อประชากร |
2005 ค่าประมาณ 6.01 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 153) 2,175 ดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 137) |
||||
HDI (2546) | 0.679 (อันดับที่ 114) – กลาง | ||||
สกุลเงิน | ทูกรุก (MNT ) |
||||
เขตเวลา - ฤดูร้อน (DST) |
(UTC+7) (UTC+8) |
||||
รหัสอินเทอร์เน็ต | .mn | ||||
รหัสโทรศัพท์ | +976 |
มองโกเลีย (Mongolia) หรือชื่อทางการ สาธารณรัฐมองโกเลีย (Republic of Mongolia) (ภาษามองโกเลีย: Монгол Улс) เป็นประเทศในทวีปเอเชีย ที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล มีพรมแดนทางเหนือติดกับประเทศรัสเซีย และทางใต้ติดกับประเทศจีน มีพื้นที่ที่สามารถใช้สำหรับการเกษตรได้น้อยกว่า 1%
[แก้] ประวัติศาสตร์
[แก้] ต้นกำเนิดชนเผ่ามองโกลและการรวบรวมชนเผ่าต่างๆเข้าด้วยกันของเตมูยิน(เจงกิสข่าน)
เผ่ามองโกลในยุคศตวรรษที่ 11ยังเป็นเพียงเผ่าเล็กๆมีประชากรไม่กี่หมื่น(ไม่มีเมืองใหญ่หรือเมืองเล็ก)ที่อยู่อาศัยคือสภาพทะเลทรายโกบี ในบริเวณทะเลทรายโกบีนี้มีชนเผ่าอื่นอีกนอกจากชนเผ่ามองโกลซึ่งมีชนเผ่าอาศัยอยู่นับร้อยเผ่าต่างภาษาต่างศาสนา วิธีการอยู่อาศัยของพวกเขาคือเลี้ยงสัตว์เพื่อใช้เป็นอาหารหรือไม่ก็ล่าสัตว์เป็นอาหาร มีกระโจมเป็นที่พัก (เยิรต์)
[แก้] วิถีชีวิตของชนเผ่าต่างๆ
ชีวิตในทะเลทรายโกบีไม่มีความสำคัญเท่าใดนัก สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปมีที่ราบสูงตระหง่านหลายแห่งพายุพัดจัด ทางด้านเสบียงอาหารในช่วงฤดูใบไม้ผลิพวกม้าและวัวตัวเมียเริ่มผลิตปริมาณน้ำนมได้มาก พลอยทำให้คนและแกะอ้วนท้วนสมบูรณ์ขึ้นผุ้คนสนุกสนานร่าเริงมีการละเล่นมากมาย ส่วนนักล่าสัตว์ของเผาก็จะนำกวางและหมีที่ล่าได้มายังเผ่าของตน แทนการล่าสัตว์จำพวกขนยาว เช่นสุนัขจิ้งจอก พังพอน เซเบิล ซึ่งมีลักษณะคล้ายแมวใช้หนังทำเป็นเครื่องนุ่งห่ม สัตว์ที่ล่าได้มาก็จะนำมาปรุงเป็นอาหารในหม้อใหญ่ แจกจ่ายกันบริโภคอย่างอิ่มหนำสำราญผู้ที่ได้รับแจกอาหารเป็นอันดับแรกก็คือคนหนุ่มวัยฉกรรจ์ซึ่งเป็นนักรบของเผ่า ถัดมาก็คนชราและสตรี ส่วนเด็กเล็กต้องคอยแย่งอาหารส่วนที่เหลือซึ่งมีแต่เอ็นกับพังผืดซึ่งแทบไม่มีอาหารเหลือไว้สำหรับสุนัข
ในช่วงฤดูหนาว ม้าและวัวตัวเมียผอมให้ปริมาณน้ำนมน้อย ในขณะเดียวกันเด็กก็มีสุขภาพไม่ดีนัก นมที่เหลืออยู่ซึ่งเก็บไว้ในรูปคูมิสส์หรือนมเปรี้ยวซึ่งบรรจุไว้ในถุงหนังรสชาติคล้ายส่าเหล้าทำให้มึนเมาบ้างเล็กน้อย แต่ช่วยเสริมกำลังได้ดีเหมาะกับเด็กในวัย3-4ขวบ โดยเฉพาะเด็กชายเพื่อทดแทนการขาดแคลนเนื้อ
ในช่วงปลายฤดูหนาว นับว่าเป็นช่วงที่เลวร้ายที่สุดสำหรับเด็กและคนหนุ่มสาว เพราะไม่สามารถหาเนื้อสัตว์มาเลี้ยงอย่างเพียงพอ บรรดานักรบของเผ่าจึงมักออกไปปล้นมาจากเผ่าอื่น เด็กต้องเรียนรู้วิธีล่าสัตว์ด้วยตนเอง เช่น ล่าสุนัขและกระต่ายด้วยกระบอง หรือลูกศรทื่อไม่คมเพื่อมิให้สัตว์ตายทันทีทันใด พวกเขาต้องเรียนรู้วิธีขี่ม้า ขี่แกะ ด้วยการใช้มือดึงขนสัตว์ไว้ เผ่ามองโกล
ชาวมองโกลเป็นนักขี่ม้าที่ชำนาญ ศาสนาที่นับถือตอนนั้นคือท้องฟ้าที่ให้แสงสว่างแม่น้ำที่ไว้เลี้ยงสัตว์ภูเขาที่ให้ที่หลบภัยเมื่อมีเหตุไม่ดีก็จะอ้างถึงท้องฟ้าทำการบูชาท้องฟ้า ชาวมองโกลเป็นชนเผ่าแปลกหน้าร่อนเร่พเนจรใช้ชีวิตส่วนใหญ่บนหลังอานม้า ตระเวนหาทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ในดินแดนต่างๆทำให้กระทบกระทั่งบาดหมางกับชนเผ่าอื่นจนกระทั่งต้องรบกัน ด้วยเหตุนี้สงครามจึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตชาวมองโกลตลอดมา
ในยุคสมัยของกาบุลข่าน ปู่ผู้ยิ่งใหญ่ เผ่ามองโกลได้รับความร่มเย็นเป็นสุขในฐานะชาติผู้นำในเขตทะเลทรายโกบีทางเหนือ ต่อมากาบุลข่านได้เดินทางไปขอบุตรสาวที่เผ่าทะทาเอยเพื่อเจริญสัมพันธไมตรีแต่ปรากฏว่าหัวหน่าเผ่าทะทาเอยไม่เพียงไม่ให้แล้วยังนำตัวกาบุลข่านส่งไปให้เมืองกิมหรืออาณาจักรจินประหารตั้งแต่นั้นมาเผ่าทะทาเอยจึงไม่ถูกกับเผ่ามองโกลและเริ่มทำสงครามกัน
ต่อมาเยซูไกก็ได้เป็นหัวหน้าเผ่า(แต่ยังไม่ได้ขึ้นเป็นข่านผู้นำสูงสุดมีอำนาจตัดสินเด็ดขาด)เยซูไกได้รวบรวมคนที่ไร้เผ่าต่างๆเข้าด้วยกันทำให้เผ่ามองโกลมีจำนวนประชากรหลายหมื่นคนและได้เป็นเผ่าที่ใหญ่เผ่าหนึ่ง ต่อมาเยซูไกได้ทำการออกล่าหาเมียตามประเพณีมองโกลซึ่งได้แย่งเมียของหัวหน้าเผ่าเบี้ยฉีระหว่างทางก่อนที่จะไปถึงเผ่าเบี้ยฉี เมียที่แย่งมาชื่อฮูหลั่นและด้วยเหตุนี้เมื่อเผ่าทะทาเอยทราบข่าวจึงร่วมทัพกับเผ่าเบี้ยฉีโจมตีเผ่ามองโกลจนได้รับความเสียหายอย่างหนัก
ในฤดูร้อน ปี 1162หัวหน้าเยซูไกได้นำทัพไปปราบเผาทะทาเอยจนจับหัวหน้าเผ่าทะทาเอยที่ชื่อเตมูยินได้ และประหารเตมูยินหัวหน้าเผ่าทะทาเอยแล้วนำชื่อมาตั้งให้กับเตมูยิน(เจงกิสข่าน)ซึ่งได้เกิดมาในช่วงสงครามทั้งนี้ ก็คือปี 1162 เช่นเดียวกัน
ต่อมาปี 1171 เตมูยินต้องเดินทางไปยังเผาหนจิลาเพื่อมั่นกับสาวของเผ่าหนจิลาที่ชื่อว่า บูร์ไต โดยบิดาเยซูไกนำทางไปและส่งตัวให้กับเผ่าหนจิลาเพื่อผูกมิตรไมตรี ตามประเพณีของชนเผ่าเตมูยินจะต้องอยู่ที่เผ่าหนจิลาถึง2ปี แล้วหลังจากนั้นจึงกลับไปที่เผ่ามองโกลพร้อมกับคู่มั่น แต่ระหว่างทางกลับของหัวหน้าเยซูไกได้ถูกลอบสังหารเชื่อว่าเป็นฝีมือของเผ่าทะทาเอยที่มาแก้แค้น ลูกน้องในเผ่ามองโกลจึงต้องรีบนำตัวเตมูยินกลับไปโดยไม่ได้บอกเรื่องของเยซูไกที่ถูกสังหารให้เผ่าหนจิลาทราบ เมื่อเตมูยินมาถึงปรากฏว่าเขาโดนแย่งอำนาจไปหมดแล้ว ตระกูลไฮซูอู้ยึดอำนาจของเผ่ามองโกลทั้งหมดและสั่งเคลื่อนย้ายถิ่นฐานโดยอ้างว่าเยซูไกได้ไปแย่งหญิงที่เป็นกาลากิณีทำให้เผ่ามองโกลมีศัตรูมากขึ้น และไม่ให้เตมูยินกับครอบครัวร่วมเดินทางไปกับเผ่าด้วยจึงทำให้พี่น้องเผ่ามองโกลบ้างส่วนไม่พอใจและแยกทางกับตละกูลไฮซูอู้บ้างก็ไปอยู่กับเผ่าอื่นบ้างก็แยกไปตั้งเผ่าใหม่ และในตอนนั้นก็ไม่มีใครคิดที่จะอยู่กับเตมูยินแม้แต่พี่น้องแท้ๆของเยซูไกเพราะเตมูยินตอนนั้นไม่มีอะไรเลยไม่สามารถคุ้มครองพวกเขาได้และด้วยเหตุนี้จึงทำให้เผ่ามองโกลสลายตัวไป พวกสัตว์เลี้ยงก็ถูกพวกตระกูลไฮซูอู้เอาไปหมด ทำให้เตมูยินมีแค่มารดากับน้องๆและต้องอยู่อย่างแล้งแค้นแสงสาหัสอดมือกินมือต้องหาอาหารกินเองเช่น จับปลา ล่าสัตว์ หลายปีต่อมาพวกตระกูลไฮซูอู้ทราบข่าวว่าเตมูยินยังไม่ตายจึงเริ่มออกตามล่าและตอนนี้ตระกูลไฮซูอู้มีอำนาจสูงสุดไม่มีใครกล้าขัดขว้างการตามล่าเตมูยินอีกแล้ว ช่วงนั้นได้มีข่าวว่าเตมูยินถูกตระกูลไฮซูอู้จับได้และก็หนีมาได้ การหนีรอดมาได้ของเตมูยินยังไม่มีใครสรุปได้ว่าเพราะอะไร ซึ่งอาจมีเหตุผลหลายประการดังนี้ 1.เตมูยินสาเหตุที่รอดมาได้เพราะมีคนช่วยเอาไว้ 2.เตมูยินรอดมาได้ด้วยตนเอง ซึ่ง 2 ข้อนี้ยังเป็นที่สรุปไม่ได้เพราะประวัติศาสตร์ยังไม่ชัดเจนในที่นี้ มีแต่การบอกเล่าต่อๆมาแค่นั้น และเมื่อเตมูยินเติบโตเป็นเป็นผู้ใหญ่ขึ้นเตมูยินได้สร้างเผ่ามองโกลขึ้นมาใหม่ การที่เขาได้สร้างเผ่ามองโกลขึ้นมาใหม่ได้นั้นก็ยังไม่มีคนสรุปแน่ชัดได้เช่นกัน มีการบอกต่อๆกันมาหลายรูปแบบมีดังนี้ 1 การที่เตมูยินสร้างเผ่ามาใหม่ได้นั้นคือการสร้างวีรกรรมของเตมูยินกับน้องๆบุกเข้าไปช่วยเหลือคนที่ถูกพวกทหารกิมจับ(ตอนช่วงนั้นทหารกิมออกตามล่าผู้หญิงหรือคนที่แข็งแรงนำกลับไปเมืองกิม) 2 คือเตมูยินเข้าไปที่ๆเขาเริ่มมีการรวมตัวหรือร่วมกันสร้างเผ่าใหม่ขึ้น(เนื่องจากถ้าใครอยู่แบบตัวคนเดียวไม่มีเผ่าก็อาจมีภัยได้ทุกเมื่อ) 3 เนื่องจากเผ่ามองโกลที่แยกทางไปเห็นเตมูยินเติบใหญ่ขึ้นจึงเริ่มกลับมาอยู่ ไม่ว่าเหตุผลไหนก็ตามแต่ที่แน่ๆเตมูยินได้เลือกให้เป็นหัวหน้าเผ่า และตั้งเป็นเผ่ามองโกลเผ่าใหม่ขึ้นประชากรเผ่ามองโกลที่ตั้งนี้เริ่มจากหลายๆสิบจนขยายเป็นหลายๆร้อย
ต่อมาเตมูยินได้ไปขอคู่มั่นที่เคยมั่นไว้ที่เผ่าหนจิลา และนำกลับมายังเผ่ามองโกล ต่อมาเตมูยินได้นำสิ่งของมีค่าไปให้โตกรุลข่านเป็นข่านของเผ่าเคอเรอิตผู้ยิ่งใหญ่ เป็นเผ่าที่นับถือศาสนาคริสต์และเคยร่วมสาบานกับเยซูไกบิดาของเตมูยิน เพื่อแสดงมิตรไมตรีต่อระหว่างกันสองเผ่า และในขณะเดียวกันเผ่าเบี้ยฉีรู้ที่ตั้งของเผ่ามองโกลที่สร้างใหม่ก็ได้นำทัพโจมตีเผ่ามองโกลขณะที่เตมูยินอยู่ที่เผ่าเคอเรอิต ประชากรส่วนใหญ่ของเผ่ามองโกลหนีทัน แต่ว่าบูร์ไตภรรยาของเตมูยินกลับหนีไม่รอดถูกเผ่าเบี้ยฉีจับได้และถูกจับเป็นเมียของเผ่าเบี้ยฉี เมื่อเตมูยินทราบข่าวก็ได้นำทัพบุกไปเผ่าเบี้ยฉีทันทีซึ่งคนของเตมูยินที่บุกเผ่าเบี้ยฉีมีไม่ถึงพันนาย แต่นักรบเผ่าเบี้ยฉีมีมากกว่า 20,000นาย ผลปรากฏว่าเตมูยินต้องหนีฝ่าวงล้อมของเผ่าเบี้ยฉีออกมา นักรบเผ่ามองโกลตายไปกว่าครึ่ง หลังจากสงครามทั้งแรกทำให้เตมูยินได้เรียนรู้สิ่งต่างๆมากขึ้น ต่อมาเตมูยินได้ไปขอความช่วยเหลือที่เผ่าเคอเรอิต และเผ่าจาลา(หัวหน้าเผ่าคือจาบูฮาเคยร่วมสาบานร่วมเป็นร่วมตายกับเตมูยินในวัยเด็กในช่วงที่เตมูยินอยู่อย่างแล้งแค้นแสงสาหัส)ทั้งสองเผ่าตกลงยอมร่วมมือกับเตมูยินเพื่อโจมตีเผ่าเบี้ยฉี
สงครามทั้งใหญ่กำลังจะเริ่มขึ้น ในปี 1182 กองทัพเผ่าเคอเรอิต กองทัพเผ่ามองโกลและกองทัพเผ่าจาลาได้มารวมตัวกันที่ตั้งของเผาจาลา และได้โจมตีเผ่าเบี้ยฉีจนเผ่าเบี้ยฉีแตกย่อยยับและหนีไปทางตะวันออกของทะเลทรายโกบี เตมูยินได้ช่วยภารยาไว้ได้พร้อมกับได้ลูกซึ่งอยู่ในท้องและเมื่อคลอดออกมาก็ตั้งซื่อว่าโจชิ(หรือซูซือ)ซึ่งมาจนถึงตอนนี้ก็ยังไม่มีใครทราบว่าโจชิเป็นลูกของเตมูยินหรือลูกของเผ่าเบี้ยฉี
หลังจากสงครามทั้งนี้แล้วเผ่าต่างๆก็กลับที่ตั้งของตนผลจากชัยชนะเผ่ามองโกลได้ขยายใหญ่ขึ้นแต่ก่อนมีไม่ถึงพันแต่ตอนนี้ประชากรของเขามีหลายพันคนแล้วเนื่องจากชื่อเสียงของ3เผ่ากระจายออกไปทำให้เผ่าเล็กๆต่างเข้ามาอยู่ด้วยเพื่อปลอดภัยจากสงครามต่างๆ เมื่อประชากรของเตมูยินมีมากขึ้นเตมูยินได้เรียกร่วมและปรึกษากับทุกคนในเผ่ามองโกลเพื่อที่จะทำการคัดเลือกข่าน(ผู้มีอำนาจสูงสุดสามารถออกคำสั่งหรือตัดสินได้ตามชอบแต่เพียงผู้เดียว)และเตมูยินก็ได้เป็นข่านคนแรกของเผ่ามองโกลที่สร้างใหม่นี้ ต่อมาได้เกิดเหตุการณ์คือชนเผ่าของเตมูยินข่านส่วนหนึ่งได้ไปสังหารน้องชายของจาบูฮาเข้าโดยคาดไม่ถึงเนื่องจากมีปัญหาแย่งฝูงม้ากัน และเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดสงครามมิตรไมตรีในอดีตสินสุดลง
ฤดูใบไม้ผลิ ปี 1191 จาบูฮาได้แบ่งกำลังเป็น 13 ทัพโอบล้อมเผ่ามองโกล และนี่คือสงคราม 13 ทัพ เผ่ามองโกลตีฝ่าวงล้อมได้เพราะได้ยากมิตรของเผ่ามองโกลในอดีตที่ไปอยู่ที่เผ่าจาลาเปิดทางให้กองทัพมองโกลหนีจากนั้นก็ไปอยู่กับเตมูยินข่าน เผ่าจาลาจับทหารมองโกลได้บ้างส่วนและจับคนพวกนั้นโยงลงหม้อใหญ่ที่กำลังน้ำเดือดที่ไว้ใช้ต้มแกะทั้งตัวแต่นี้คือการต้มคนเป็นๆลงในหม้อใหญ่ถึงประมาณ 70 คนและแจดจ่ายให้ทหารกินกันอย่างป่าเถือน
เตมูยินข่านได้ย้ายเผ่ามองโกลไปตั้งถิ่งฐานที่ไกลจากเผ่าจาลา ต่อมาในปี 1196 เตมูยินอายุ 34 ปี เมืองกิมส่งทูตมายังเผ่ามองโกล และให้เตมูยินข่านปราบเผ่าทะทาเอยเนื่องจากเผ่าทะทาเอยก่อเหตุปลดชินประสู่สัตว์อยู่เสมอ และเนื่องจากแม่ทัพอาณาจักรกิมไม่คุ้นเคยสภาพอากาศทะเลทรายโกบี ฮ้องเต้เมืองกิมจึงสั่งให้เตมูยินข่าน(เนื่องจากมีชื่อเสียงเมื่อทั้งที่ปราบเผ่าเบี้ยฉี)เป็นแม่ทัพเมืองกิมและนำทหารไปปราบเผ่าทะทาเอย เตมูยินข่านก็ตกลงและส่งทูตไปเผ่าเคอเรอิตเพื่อให้ร่วมทำสงครามนี้ด้วย
ฤดูร้อน ปี 1196 กองทัพเตมูยินข่านกับกองทัพโตกรุลข่านนำทัพไปปราบเผ่าทะทาเอย แต่คนในเผ่าทะทาเอยส่วนหนึ่งหนีรอดหลังจากนั้นเมืองกิมได้ส่งทูตมาให้ตำแหน่งเตมูยินข่านให้เป็นผู้ปกครองทุกเผ่า ส่วนโตกรุลข่านให้เป็นอ๋องข่าน เตมูยินข่านไม่สนใจกับอำนาจที่เมืองกิมให้และเขาต้องระวังอยู่ตลอดเวลาเพราะเมืองกิมอาจส่งสายลับมาดูความเคลื่อนไหวของเผ่าเขา เตมูยินข่านจึงย้ายเผ่ามองโกลให้ไกลออกไปจากอาณาจักรกิม แต่การย้ายนี้ทำให้เผ่าจาลารู้ที่ตั้งของเผ่ามองโกล จาบูฮาจึงได้รวบรวมศัตรูของเตมูยินทั้งหมดซึ่งรวมกันถึง 12 เผ่า เช่น เผ่าเบี้ยฉี เผ่าทะทาเอย เผ่าหนจิลา(เผ่าพารายาของเตมูยิน) เผ่าจาลา เผ่าไนแมนส์(เผ่าใหญ่ทางตะวันตกของทะเลทรายโกบีนับถือศาสนาคริสต์)และพวกเผ่าเล็กๆอื่นๆ รวมทัพโจมตีเผ่ามองโกลในปี 1201 ก็คือสงคราม 12 เผ่า ส่วนเผ่ามองโกลก็มีทหารเพียงพอที่จะรับมือ(การที่ชนะเผ่าทะทาเอยทำให้เผ่าเล็กๆหลายเผ่ามารวมกับเผ่ามองโกล)และขอกำลังช่วยเหลือจากเผ่าเคอเรอิตอีกแรง จน 12 เผ่าพ่ายแพ้และแยกกันหนีจากการตามล่าของเผ่ามองโกลและเผ่าเคอเรอิต เตมูยินข่านนำทัพไปปราบเผ่าของตระกูลไฮซูอู้เป็นเผ่าแรกต่อมาเผ่าหนจิลาก็ได้ยอมจำนนต่อเผ่ามองโกลหลังจากนั่นก็ปราบเผ่าที่เหลือ ส่วนเผ่าจาลาโดนเผ่าเคอเรอิตโจมตีจนพ่ายแพ้และจับตัวจาบูฮาได้แล้วส่งให้เตมูยินข่านตัดสิน แล้วเตมูยินข่านก็ได้ตัดสินให้เผ่าเคอเรอิตนำตัวจาบูฮาไปเลี้ยงดู ในปี 1202 เตมูยินข่านยกทัพไปปราบเผ่าทะทาเอยได้ชัยชนะเด็ดขาดจนเผ่าทะทาเอยยอมแพ้ และได้ยกเลิกกฏที่บรรพบุรุษ(เยซูไกบิดา)ตั้งไว้คือเมื่อใดที่ชนะเผ่าทะทาเอยแล้วให้ประหารคนในเผ่าทะทาเอยทั้งหมด แต่เตมูยินข่านไม่ประหารและถือว่าคนในเผ่าทะทาเอยคือราษฏรของเขา ด้วยเหตุนี้เผ่าที่เป็นศัตรูของมองโกลก็ได้เริ่มมายอมจำนนและร่วมเผ่ากับเผ่ามองโกล ต่อมาในฤดูใบไม้ร่วง ปี 1202 เผ่ามองโกลได้ร่วมกับเผ่าเคอเรอิตโจมตีเผ่าไนแมนส์ ซึ่งเผ่ามองโกลนำกำลัง 20,000 นายและเผ่าเคอเรอิตนำกำลัง 20,000 นายโจมตี ส่วนเผ่าไนแมนส์นำกำลัง 30,000 นายมาตั้งรับ ผลการรบตอนแรกเป็นเพียงดูเชิงของแต่ละฝ่าย ต่อมาเผ่าเคอเรอิตก็ยกทัพกลับเงียบๆโดยไม่ส่งคนมาบอกเตมูยินข่าน (เป็นการยุแย่ของจาบูฮา) เผ่ามองโกลจึงต้องนำทัพกลับ เมื่อเผ่าไนแมนส์ทราบข่าวจึงได้นำทัพตามตีเผ่าเคอเรอิตจนเผ่าเคอเรอิตได้ส่งคนมาขอความช่วยเหลือจากเผ่ามองโกล เตมูยินข่านได้นำทัพเข้าช่วยจึงทำให้เผ่าเคอเรอิตลอดพ้นจากการไล่โจมตีของเผ่าไนแมนส์ ต่อมาเผ่าเคอเรอิตถูกจาบูฮายุแย่อีกให้โจมตีเผ่ามองโกล จนในปี 1203 เผ่าเคอเรอิตเคลื่อนพลโจมตีเผ่ามองโกล ผลจากการสู้รบต่างก็ได้รับความเสียหายทั้งคู่ เผ่ามองโกลต้องหนีไปทางทุ่งหญ้าตะวันออกของทะเลทรายโกบี ความเสียหายของสงครามทั้งนี้จากทหารมองโกลกว่า 20,000 นาบบัดนี้เหลือแค่ 4,000 นาย และน้องสาวเตมูลุนของเตมูยินข่านก็ได้เสียชีวิตระหว่างการสู้รบครั้งนี้ เตมูยินข่านได้รวบรวมคนในท้องพื้นที่นี้จนกำลังเข้มแข็งเหมือนเดิม ต่อมาฤดูใบไม้ร่วง ปี 1203 เผ่ามองโกลโจมตีเผ่าเคอเรอิตจนเผ่าเคอเรอิตพ่ายแพ้บ้างส่วนหนีไปอยู่ที่เผ่าไนแมนส์
ต่อมาปี 1204 เตมูยินข่านอายุ 42 ปี ได้ทำศึกกับเผ่าไนแมนส์(เป็นครั้งที่2)จนเผ่าไนแมนส์พ่ายแพ้หลังจากนั้นเผ่ามองโกลก็ได้โจมตีเผ่าต่างๆที่อยู่ในบริเวณนี้จนไม่มีเผ่าอื่นใดอีกนอกจากเผ่ามองโกล ส่วนดินแดนที่อยู่รอบมองโกลก็เป็นอาณาจักรใหญ่ที่มีที่ตั้งถิ่งฐาน พวกเผ่าต่างๆหรือเผ่าเร่ร่อนก็หมดยุค
ในปี 1206 เตมูยินข่านได้รับชื่อใหม่คือเจงกิสข่าน และได้เปลี่ยนจากเผ่ามองโกลเร่ร่อนมาเป็นอาณาจักรมองโกล และกำหนดกฎหมายขึ้นแล้วยังได้คิดอักษรภาษามองโกลขึ้นเป็นของตนเอง ความเป็นมาของกฎหมายสูงสุด
เนื่องจากชนเผ่าเลี้ยงสัตว์ต่างๆซึ่งแตกต่างกันทั้งขนบธรรมเนียมประเพณี ความเชื่อ การนับถือทางศาสนาและอุดมการณ์ ได้มาร่วมเป็นพันธมิตรอาสัยอยู่กับชนเผ่ามองโกลของเตมูยินข่านมากขึ้น หลังจากที่ประชุมสภาคูรัลไตได้ลงมติให้เขาเป็นประมุขสูงสุดในนามใหม่ว่า เจงกิสข่าน แล้ว ปัญหาสำคัญก็คือทำอย่างไรถึงจะปกครองชนเหล่านี้ให้อยู่ในระเบียบวินัยอันดีได้ เพราะเดิมชนเผ่าต่างๆ ส่วนใหญ่ต่างมีอิสระปฏิบัติ ตามกฏของเผ่าตนเอง
ด้วยเหตุดังกล่าว เจนกิสข่านจึงได้ตรากฎหมายขึ้นและประกาศใช้เป็นกฎหมายปกครองอาณาจักรมองโกล เรียกว่า กฎหมายแม่บทยัสซาเจงกิสคานิ กฎหมายหลักนี้เขาได้ตราขึ้นโดยผสมผสานกับกฏเกณฑ์ของแต่ละเผ่าที่เคยบัญญัติไว้
จุดมุ่งหมายสำคัญก็คือ ให้คนส่วนใหญ่ดำรงซีวิตอยู่รวมกันอย่างสงบสุข และมีสันติภาพอย่างแท้จริง กฎหมายดังกล่าวนอกจากมีผลเกี่ยวกับการปกครองด้านการทหารแล้วยังมีผลทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ตั้งแต่พื้นฐานทั่วไปของชนเผ่าตั้งแต่ระดับล่างขึ้นไปเช่น
- ผู้มีความผิดขโมยและการคบชู้มีโทษถึงประหารชีวิต
[แก้] ศึกการสู้รบระหว่างมองโกลกับอียิปต์
ฮูลากู ปกครองอาณาจักรมองโกลอิลข่านตอนช่วงนี้อยู่ระหว่างสมัยของมังกุข่าน นอกจากนั้นแล้วเขายังเป็นคนที่คุ้มดีคุ้มร้ายด้วย โดกุซ คอดูน ภรรยาของเขาซึ่งเป็นคริสเตียนในเผ่าเคเรสต์จึงเป็นอีกผู้หนึ่งที่มีอิทธิพลในราชสำนัก ในปี ค.ศ. 1258 ฮูลากูได้ยกทัพมาทำลายนครบัฆดาดจนราพณาสูร และประชาชนชาวบัฆดาดทุกคนยกเว้นคริสเตียนถูกฆ่าตายหมด หลังจากนั้น ฮูลากูก็ถอนทัพกลับไปยังเมืองหลวงใกล้ทะเลสาบอูรมีอะฮฺในทางตะวันตกเฉียงเหนือของอิรอน โดยมอบความไว้วางใจในการปฏิบัตการทางทหารในขั้นต่อไปให้กับขุนทัพเจนศึกของเขาชื่อ คิตบูกา เป็นผู้รับผิดชอบ หลังจากนั้นดินแดนและเมืองต่างๆของมุสลิมถูกพวกมองโกลตีรุกครั้งแล้วครั้งเล่าและสถานการณ์ของประเทศมุสลิมในเอเชียตะวันตกก็มีทีท่าว่าจะเลวร้ายยิ่งขึ้น เพราะปรากฏว่าพวกมองโกลและพวกคริสเตียนได้รวมกำลังกันเข้ารุมตีมุสลิม ดังจะเห็นได้จากเมื่อตอนที่พวกมองโกลยกทัพมาทำลายเมืองบัฆดาดนั้น กษัตริย์คริสเตียนแห่งจอร์เจีย และอาร์เมเนียก็มีส่วนร่วมด้วย และในตอนที่กองทัพของพวกเหล่านี้ยกเข้ามาในซีเรียนั้น พวกมองโกลก็ได้เสนอให้พวกครูเสดเป็นพันธมิตรกับตยในการต่อสู้กับมุสลิม
อาศัยความยิ่งใหญ่เกรียงไกรของตนเอง พวกมองโกลมีปรัชญาการเมืองอย่างง่ายๆว่า เพื่อนของตนจะต้องเป็นบริวารของตน และคนที่ไม่ยอมเป็นบริวารนั้นคือศัตรู( ูคล้ายๆอเมริกาแฮะ) กษัตริย์แห่งจีออร์เจียและอาร์มีเนียได้ยอมรับอธิปไตยของพวกมองโกล แต่พวกขุนนางคริสเตียนไม่ยอมรับสภาพเช่นนั้นด้วย พวกขุนนางเหล่านี้ได้สังเกตว่าพวกมองโกลนั้นคิดแต่จะพิชิตซึ่งท่าเดียว และพวกนี้ก็เคยทำทารุณกับคนคริสเตียนในทางยุโรปตะวันออกเหมือนกับที่เคยทำกับคนมุสลิมมาแล้ว นอกจากนั้น พวกขุนนางคริสเตียนยังได้สังเกตเห็นว่า พวกเจ้าชายและเจ้าหญิงมองโกลซึ่งเป็นคริสเตียนนั้นเป็นพวกนิกายเนสโทเรียนและมีทีท่าว่าจะสนับสนุนพวกกรีกออร์โธดอกซ์ในการต่อต้านพวกโรมันคาทอลิก เมื่อรู้ดังนี้ พวกครูเสดจึงถอนตัวออกจากความเป็ฯพันธมิตรกับพวกมองโกล กองทหารของคิตบูกาและกองทหารคริสเตียนแห่งจอร์เจีย อาร์เมเนีย และอันติออค ได้รุกเข้าไปในซีเรียและฟิลิสตีน(ปาเลสไตน์) โดยมีพวกคริสเตียนในท้องถิ่นให้กานสนับสนุน นี่เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ศตวรรษที่ 7 ที่มุสลิมในอาณาเขตนี้พบว่าตัวเองกลายเป็นคนกลุ่มน้อยที่กำลังถูกกดขี่ปราบปราม ดังนั้น พวกนี้จึงคิดที่จะต่อต้านแก้แค้นพวกมองโกลขึ้นมาบ้าง
ถึงแม้ความหวังจะน้อยก็ตาม แต่พวกมุสลิมเองก็ยังมีความคิดที่จะต่อต้านมองโกลอยู่ ในทางตะวันตกขณะนั้น ปรากฏว่าอียิปต์ซึ่งมีสภาพคล้ายกับรัฐทหารภายใต้การนำของ ซัยฟุคดีน กุตูซ ได้กลายเป็นแหล่งลี้ภัยของพวกมุสลิมที่หลบลี้หนีภัยมาจากที่ต่างๆ ทั้งนี้รวมทั้งบรรดาหัวหน้าเผ่าต่างๆ และบรรดาทหารทั้งหลายด้วย
อัยบัค ซึ่งเป็นพวกมัมลู้กและเป็นผู้ก่อตั้งราชวงศ์มัมลู้ก (หรือราชวงศ์ทาส) แห่งอียิปต์ขึ้น ได้ปกครองอียิปต์ตั้งแต่ ค.ศ. 1250-1257 หลังจากที่เกิดสภาวะว่างผู้นำอยู่ระยะหนึ่ง ในปี ค.ศ. 1259 กุตูซ ซึ่งเป็นมัมลู้กอีกคนหนึ่งก็ก้าวขึ้นมามีอำนาจ กุตูซเป็นคนที่กล้าหาญและเฉลียวฉลาด และได้รับการฝึกการอบรมมาจากโรงเรียนทหารของ อัสซอลิฮฺ อัยยูบ ในสามเหลี่ยมลุ่มแม่นํ้าไนล์ นอกจากตัวเขาแล้ว หัวหน้าที่ปรึกษาของเขาคือ บัยบัรฺ อัล-บันดุคดารี ซวึ่งเป็นพวกมัมลู้กอีกคนหนึ่งยิ่งมีความกล้าหาญและเหี้ยมเกรียมยิ่งกว่าเขาเสียอีก ทั้ง 2 คนได้รับบรรดาพวกที่หนีภัยมาไว้ทั้งหมด เพราะพวกเขากำลังต้องการกำลังทหาร จริงอยู่ ถึงแม้นักรบมัมลู้กจะเป็นนักรบที่มรประสิทธิภาพก็ตามแต่ก็มีจำนวนน้อย แต่ทหารที่หนีมาจากซีเรียและแม้แต่ที่หนีมาจากอาณาจักรควาริซมีก็ยอมอยู่ใต้ผู้นำมัมลู้ก ดังนั้น กุตูซจึงมีกำลังรบพร้อมที่จะรับมือกับพวกมองโกลถ้าหากว่าพวกนั้นยกมา พวกมองโกลเข้ามาเร็วเกินกว่าที่กุตูซคาดไว้ ขณะที่ทหารจากเมืองต่างๆกำลังทยอยเข้ามาหลบภัยในอียิปต์นั้น พวกมองโกลได้ส่งทูตของตนเข้ามายื่นคำขาดให้ผู้ปกครองอียิปต์ยอมจำนนต่อพวกตน กุตูซ จึงได้เรียกประชุมสภาขุนศึกทันที นะซีรุดดีน คอยมารี ซึ่งเป็นทหารชาวซีเรียคนหนึ่งและรู้จักพวกมองโกลเป็นอย่างดีได้เสอให้รบกับพวกมองโกล เพราะเขารู้ดีว่าพวกมองโกลนั้นจะทำสัญญาก็เพื่อให้ข้าศึกตายใจเท่านั้น บัยบัรฺก็เห็นด้วยกับความคิดนี้อย่างเต็มที่ หลังจากที่ตกลงกันแล้ว กุตูซก็ได้รับมอบอำนาจเต็มในการที่จะจัดการกับพวกมองโกล หลังจากการประชุม กุตูซและบัยบัรฺได้ปรึกษาหารือเป็นการส่วนตัวตามลำพังเพียง 2 คน เพราะเขายังสงสัยว่าพวกซีเรียจะยืนอยู่ได้นานขนาดไหนเมื่อต้องประจัญหน้ากับพวกมองโกล และจะทำอย่างไรในอันที่จะป้องกันมิให้พวกทหารซีเรียหนีศึก บัยบัรฺจึงเสนอความคิดหนึ่งขึ้นมา และกุตูซก็ยอมรับ
วันรุ่งขึ้น ชาวเมืองไคโรก็ได้เห็นศพคนนำสารของพวกมองโกลถูกแขวนอยู่ 4 มุมเมือง เมื่อพวกซีเรียเห็นก็รู้ทันทีว่าขณะนี้กุตูซได้ท้าทายพวกมองโกลโดยเอาชีวิตเป็นเดิมพันแล้ว และพวกซีเรียก็รู้ดีว่าพวกตนจะต้องรบกับพวกมองโกลอย่างไม่มีทางเลี่ยงแน่ เพราะถึงจะหนีไปไกลถึงฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก พวกมองโกลก็จะต้องตามไปฆ่าพวกตนเป็นการแก้แค้นแน่นอน ดังนั้พวกซีเรียจึงตัดสินใจที่จะเผชิญหน้ากับพวกมองโกลอย่างเต็มที่ แต่ก็ีมีพวกหัวหน้าบางคนเท่านั้นที่ไม่กล้าเผชิญหน้ากับพวกมองโกล และกุตูซก็ยอมให้พวกขี้ขลาดเหล่านี้หนีไปทางตะวันตกหรือทางใต้ ขณะที่ยังมีเวลา แต่ก็มีเงื่อนไขว่าจะต้องทิ้งทหารของตนไว้ที่อียิปต์ กุตูซจัดการเตียมทัพอย่างรวดเร็ว โดยให้บัยบัรฺคุมกองทัพส่วนหนึ่งพร้อมกับทหารม้ามัมลู้กเป็นกองระวังหน้า ส่วนกุตูซคุมกองกำลังทหารมัมลู้กส่วนที่เหลือพร้อมกับทหารอื่นๆ ที่หนีมาหลบภัยในอียิปต์มุ่งหน้าจากโอซุสสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เมื่อเขามาถึงพรมแดนอียิปต์พวกทหารและผู้คนที่หนีมาก็ปฏิเสธที่จะเดินหน้าต่อไป เพราะพวกนี้ต้องการที่จะให้ต่อสู้กับพวกมองโกลในอียิปต์ กุตูซรู้สึกโกรธมาก แม้เขาจะทั้งขู่ทั้งปลอบอย่างไรก็ตามก็ไม่บังเกิดผล ดังนั้น เขาจึงประกาศว่า เขาจะต่อสู้กับพวกศัตรูนอกศาสนาด้วยกองกำลังของเขาเอง และถ้าหากใครผู้ใดต้องการที่จะหนีไปไหนก็มีสิทธิที่จะมำได้ หลังจากนั้นเขาก็พาทหารมัมลู้กเดินทัพมุ่งหน้าออกไปทันที พวกซีเรียและพวกอื่นๆส่วนหนึ่งที่เกิดความรู้สึกละอายใจ และส่วนหนึ่งเกิดความรู้สึกที่ประททับใจในความเป็นผู้นำของกุตูซจึงได้ตามเขาไป ในไม่ช้ากองทัพของกุตูซก็มาถึงหน้ากาซา โดยปกติแล้วพวกมองโกลนั้นจะเคลื่อนที่เร็วกว่าศัตรูของตนเสมอแต่ตอนนี้ กุตูซได้พิสูจน์ให้เห็นว่าเขาเร็วกว่า ดังนั้น กองทัพย่อยของพวกมองโกลจึงได้ถอนตัวออกจากกาซาเพื่อถอยไปรวมพลกับกองทัพหลัก เนื่องจากพวกคริสเตียนอนุญาตให้เดินทัพผ่านเขตแดนของตนได้ ดังนั้นกุตูซจึงได้เดินทัพเลียบไปตามชายฝั่งขึ้นไปยังซีซาเรีย (Caesarea) แล้วเลี้ยวมาทางตะวันออกผ่านหุบเขาแห่งแม่นํ้า "ไคซอน" ข้ามทุ่งราบเมกิดโดและเข้าไปยังแม่นํ้าญาลูต กองทหารม้าเคลื่อนที่เร็วของบัยบัรฺได้เข้าโจมตีค่ายของพวกมองโกลและสามารถยังความเสียหายให้แก่พวกมองโกลได้ส่วนหนึ่ง หลังจากนั้นจึงได้ถอนตัวกลับมายังกองทัพของตนซึ่งตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกของอัยน์ ญาลูต (ตานํ้าญาลูต) ซึ่งเป็นต้นนํ้าของแม่นํ้าญาลูต ส่วนคิตบูกา ซึ่งอยู่ที่บาลาบัคในซีเรียได้เคลื่อนทัพลงมาตามถนนระหว่างภูเขาเลบานอนและแอนตี้เลบานอน ผ่านเมืองซาเฟตและเรื่อยลงมาตามหุบเขาจอร์แดน เมื่อมาถึงแม่นํ้าบัยซาน เขาได้เลี้ยวมาทางตะวันตกและมุ่งตรงไปยังหุบเขาญาลูตเพื่อไปเผชิญกับพวกอียิปต์โดยมรแม่นํ้าบัยซานอยู่ทางด้านหลัง ในบริเวณหุบเขาแคบๆซึ่งมีภูเขากิลบัวปิดล้อมอยู่ทางด้านใต้และแม่นํ้าญาลูตอยู่ทางด้านเหนือนี้แหละที่กองทัพของทั้ง 2 ฝ่ายได้มาเผชิญหน้ากัน ฝ่ายหนึ่งคือพวกมองโกลซึ่งพิชิตอาณาจักรต่างๆมาแล้วเป็นจำนวนมากมาย และอีกฝ่ายหนึ่งคือพวกมัมลู้ก ทายาทที่สืบทอดจิตใจการต่อสู้ของอัส-ซอลิฮฺ อัยยูบ และเป็นกองทัพที่มีประสิทธิภาพที่สุดของอิสลามซึ่งไม่เคยหวั่นกลัวต่อสิ่งใดๆ(เว้นแต่อัลลอฮฺ) ในครั้งนั้นพวกมัมลู้กซึ่งเป็นแกนนำของกองทัพอียิปต์มีกำลังคนเพียง 12,000 คนเท่านั้น เมื่อเปรียบเทียบกับกองกำลังอันมากมายมหาศาลของพวกมองโกลแล้ว กองทัพของอียิปต์ก็ยังเหมือนกับลูกแกะที่อยู่กลางฝูงหมาป่านั่นเอง
ระบบทหารของพวกมองโกลนั้นเป็นระบบง่ายๆ ซึ่งคล้ายๆกับสภาพการดำรงชีวิตในท้องทุ่งของพวกตนนั่นเอง ตั้งแต่ไหนแตาไรมาพวกมองโกลเป็นพวกที่เร่ร่อนทำมาหาดินอยู่ตามทุ่งหญ้าอันกว้างใหญ่ไพศาลในเอเชียกลาง กินไขมันและนมม้าเป็นอาหารประจำ ร่งกายจึงกํายำลํ่าสัน ดังนั้น พวกนี้จึงไม่รู้จักกับคำว่าสิ่งกีดขวาง พวกมองโกลรู้จักการข้ามแม่นํ้าด้วยการใช้ถุงหนังที่พองลมเป็นเครื่องพยุงตัวมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว และด้วยเหตุที่มีชีวิตความเป็นอยู่ง่ายๆ ดังนั้นพวกมองโกลจึงไม่มีความจำเป็นใดๆที่จะต้องมีการจัดระเบียบสังคม เจงกิสข่านเองก็ใช้ยุทธศาสตร์ลักษณะประจำชาติง่ายๆ นี้ในการทำศึก กล่าวคือ เมื่อเกิดศึกสงครามขึ้นมา พวกมองโกลก็จะกลายสภาพมาเป็นทหารภายใต้บังคับบัญชาของเขาทุกคน พวกมองโกลขี่มาเก่งมาตั้งแต่เด็ก ดังนั้นจึงมีความสามารถในการเคลื่อนที่ได้อย่างรวดเร็วและมักจะเข้าโจมตีข้าศึกโดยวิธีการบีบทางด้านข้างแล้วก็ปลีกตัวออก อาวุธที่พวกมองโกลใช้คือธนูซึ่งยาวกว่าปกติและสามารถยิงได้ระยะไกล พวกมองโกลจึงใช้ธนูให้เป็นประโยชน์โดยจะยิงข้าศึกจากระยะไกลจนข้าศึกแตกระสํ่าระสายเสียก่อนแล้วจึงเข้าตี นอกจากนั้นแล้ว พวกทหารม้าขมังธนูมองโกลยังมีม้าสำรองที่บรรทุกอาวุธยุทโธปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการทำสงครามติดตาทเป็น "คลังแสงเคลื่อนที่" ด้วย ถ้าหรม้าตัวหนึ่งตัวใดถูกฆ่าหรือได้รับบาดเจ็บหรือเหนื่อยพวกมองโกลก็จะใช้ม้าสำรองแทน และขณะเดียวกันม้าสำรองเหล่านี้ก็จะกลายเป็น "เสบียงที่มีชีวิต" ของพวกมองโกลไปในตัวด้วหากต้องอยู่ในสภาพฉุกเฉิน หากจะกล่าวโดยสรุปแล้ว องค์ประกอบในความเป็นทหารของพวกมองโกลก็คือ ความสามารถขี่ม้าได้อย่างคล่องแคล่ว และยิงธนูได้อย่างแม่นยำในเวลาเดียวกัน ดังนั้น ผู้ที่จะสามารถต่อกรกับพวกมองโกลได้ก็ต้องมีคุณสมบัติดังกล่าวทัดเทียมกับพวกมองโกลและระหว่างทะเลญี่ปุ่นไปจนถึงพรมแดนออสเตรียก็ยังหาคนที่มีคุณสมบัติเช่นนั้นไม่พบเสียด้วยนอกจากกุตูซ และพวกมัมลู้ก
พวกมัมลู้กแห่งอาณาจักรอัยยูบนั้นมีเชื้อสายเติร์ก และเป็นพวกที่เร่ร่อนอยู่ในทุ่งหญ้าเอเชียกลาง ทุกคนขี่ม้าเก่งและรู้จักการใช้ธนูมาตั้งแต่ยังเด็ก นอกจากนั้นแล้วยังได้รับการฝึกอบรมมาให้มีระเบียบวินัยเคร่งครัด แต่เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว พวกมองโกลยังมีความได้เปรียบทางด้านอาวุธอยู่ เพราะธนูของพวกมองโกลมีขนาดยาวกว่าและสามรถยิงได้ไกลกว่าธนูของพวกมัมลู้ก กุตูซรู้ถึงความเสียเปรียบนี้เป็นอย่างดี และเขาก็ไม่บ้าบิ่นหรือมุทะลุอย่างที่คิตบูกาคิดไว้ ดังนั้น ในในหุบเขาญะลูตแคบๆ นี้เองชนสองเผ่าที่มาจากทุ่งหญ้าในเอเชียกลางได้มาเผชิญซึ่งกันและกัน (ที่จริงในเนื้อหามันมีแผนที่, ลักษณะกองทัพ, การจัดทัพอยู่ด้วย)
ทางตอนใต้ของหุบเขาญาลูตซึ่งอยู่ตรงกลางระหว่างธารนํ้าและภูเขากิลบัวนั้นมีความกว้าง 2 ไมล์ หุบเขานี้จะยาวไปทางตะวันออกเฉียงใต้จนกระทั่งไปรวมกับหุบเขาจอร์แดนซึ่งอยู่ไกลออกไป 35 ไมล์ ดังนั้นพวกมองโกลจึงเผชิญหน้าพวกอียิปต์ในช่องเขาซึ่งกว้างพอที่พวกมัมลู้กจะตรึงกำลังไว้ได้ขณะเดียวกัน พวกมองโกลซึ่งมีกำลังมากกว่าต้องออกไปแออัดกันและไม่มีที่พอที่จะเคลื่อนไหวได้สะดวกความเฉลียวฉลาดในการเลือสมรภูมิของกุตูซนั้นทำให้ปีกทั้งสองของกองทัพของเขาปลอดภัยจากการถูกโจมตีโดยทหารม้าของพวกมองโกล และคิตบูกาเองก็มีความเชื่อมั่นเสียเหลือเกินว่า เขาคงจะบดขยี้มุสลิมได้โดยง่ายจนไม่จำเป็นที่จะต้องโอบปีกตี หรือใช้ทหารม้าหน่วยย่อยเข้าตีลวงตามตำรับของพวกมองโกล แต่ก็จะไปประมาณคิตบูกาทั้งหมดไม่ได้ ทั้งนี้เพราะการที่พวกมัมลู้กได้เลือกชัยภูมิก่อนนั้นเป็นการปิดโอกาสมิให้พวมองดกลสามารถเข้าตีทางด้านปีกตามความถนัดได้
กุตุซได้ให้ทหารม้าของเขาจัดแนวรบขึ้น โดยให้แนวรบด้านหน้าประกอบด้วย หน่วยทหารซีเรียและทหารควาริซมี โดยมีหน่วยทหารราบมัมลู้กคุ้มกันเป็นหน่วยๆอีกชั้นหนึ่ง ส่วนแนวที่สองประกอบด้วยทหารราบมัมลู้กแปรขบวนเป็นแถวหน้ากระดานอยู่ระหว่างหน่วยทหารมัมลู้กและทหารซีเรีย ส่วนแนวรบด้านหลังสุดเป็นทหารม้าภายใต้การบังคับบัญชาของบัยบัรฺ กุตูซเป็นผู้บังคับบัญชากองทหารมุสลิมทั้งหมดเหมือนกับที่คิตบูกาควบคุมพวกมองโกล พวกผู้นำซีเรียมีความเหก็นว่าเป็นเรื่องไม่ถูกที่เอากองทหารที่มิใช่อียิปต์ซึ่งอ่อนแอไปวางไว้ข้างหน้าเพื่อต้านการบุกของพวกมองโกล แต่เรื่องนี้ กุตูซและบัยบัรฺได้ปรึกษาหารือกันและวางแผนไว้อย่างรอบคอบแล้ว พวกมองโกลเป็นผู้เปิดฉากรบก่อนตามแบบฉบับ โดยใช้ทหารม้าขมังธนูควบม้าเข้ามายิงะนูใส่กองทหารมุสลิมระลอกแล้วระลอกเล่าแล้วก็ถอยกลับไปก่อนที่จะเข้ามาถึงระยะรัศมีธนูของทหารฝ่ายมุสลิม ด้วยความที่กลัวพวกมองโกลมาก่อน ประกอบกับไม่สามารถตีโต้และได้รับความเสียหายจากธนูของฝ่ายตรงข้ามทำให้ทหารแนวหน้าของมุสลิมเริ่มปั่นป่วน นายทหารที่ทำหน้าที่บังคับบัญชาอยู่ได้พยายามที่จะคุมกำลังไว้ แต่ก็ไม่สามารถทำได้ เพราะทหารแตกกระจายและบางคนเริ่มวิ่งหนีออกจากสนามรบ
อย่างไรก็ตาม พวกทหารที่มิใช่ชาวอียิปต์ก็มิได้ทำให้ทหารราบมัมลู้กที่อยู่ทางด้านหลังต้องประสบความยุ่งยาก เพราะระหว่างแนวหน้ากับแนวที่สองนั้นยังมีช่องว่างพอที่จะให้ทหารในแนวหน้าหนีวิถีลูกธนูของพวกมองโกลได้ เมื่อเห็นทหารศัตรูแตกทัพและวิ่งหนี คิตบูกา ก็สั่งให้ทหารของตนตามตีทันที การโจมตีของพวกมองโกลเป็นไปอย่างหนักหน่วงและสามารถส้างความเสียหายให้แก่ทหารซีเรียอย่างหนัก คิตบูกาจึงคิว่าเขาชนะศึกแล้ว แต่เมื่อเขานำทัพตามติดเข้ามาเขาก็พบว่าตัวเองได้หลงเข้ามาติดกับเสียแล้ว
เมื่อพวกทหารซีเรียซึ่งเป็นแนวหน้าเกิดความปั่นป่วนและถอยหนีนั้น ปีกทั้งสองข้างของกองทหารมัมลู้กซึ่งมีภูเขากิลบัวและแม่นํ้าญาลูตเป็นแนวป้องกันอยู่ยังคงตั้งมั่นอย่างไม่หวั่นไหว และแนวที่สองของอียิปต์ซึ่งประกอบด้วยพวกมัมลู้กภายใต้การบังคับบัญชาของ กุตูซก็สามารถยันการรุกของพวกมองโกลไว้ได้ ดังนั้นการรุกหน้าของพวกมองโกลจึงช้าลงขณะเดียวกันก็เริ่มตกอยู่ในวงล้อมของพวกซีเรียที่กำลังล่าถอยด้วย (อลหม่านน่าดู) หลังจากนั้นพวกมัมลู้กก็เริ่มจัดขบวนปิดล้อมทหารพวกมองโกลอีกชั้นหนึ่ง เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ทำให้เนื้อที่การสู้รบของพวกมองโกลแคบลงจนเคลื่อนไหวไม่สะดวกและัไม่สามารถใช้อาวุธของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่เนื่องจากพวกมองโกลถือว่าพวกตนมีกำลังมากกว่าพวกมองโกลจึงไม่ยอมถอย พวกอียิปต์จึงสาดฝนธนูเข้าใส่พวกมองโกลอย่างไม่ยั้งมือ ด้วยกลยุทธ์นี้ กุตูซไม่เพียงแต่จะทำให้พวกมองโกลตกเข้ามาอยู่ในรัศมีการสังหารด้วยลูกธนูของพวกอียิปต์เท่านั้น แต่ยังสามารถทำให้กองทหารม้าเคลื่อนที่เร็วที่สุดในสมัยกลางต้องมีสภาพเหมือนกับคนที่กำลังจะเป็นอัมพาตไป หลังจากนั้นสถานการณ์ก็เริ่มเปลี่ยนแปลง กล่าวคือ เมื่อพวกมุสลิมซีเรียเห็นว่าพวกตนกำลังหลุดรอดปลอดภัยจากการถูกตามสังหารแล้ว พวกนี้ก็เริ่มรวมพลกันอีกครั้งหนึ่งแล้วกลับเข้าสู่สมรภูมิช่วยหนุนพวกมัมลู้กเข้าตีฝ่ายมองโกลจนล่าถอยไป อย่างไรก็ ตามนี่ยังไม่ใช่การสิ้นสุดศึก ตลอดการสงครามอันตึงเครียด บัยบัรฺกับกองทหารม้ามัมลู้กของเขาต่างจดๆจ้องๆด้วยความกระวนกระวาย เมื่อศึกบยกแรกสิ้นสุดลง บัยบัรและทหารของเขาจึงได้คลายความกระวนกระวายลง บัยบัรฺนั้นเป็นคนที่ดุดันเหี้ยมเกรียมตลอดชีวิตของเขานั้น เขามิเคยขอหรือให้ความกรุณากับใคร เขาต้อนพวกมองโกลให้ถอยร่นไปยังหนองบึงบัยซาน หลังจากนั้นก็สั่งให้ทหารตารมเด็ดชีวิตศัตรูให้มากที่สุด พวกมองโกลที่หนีภัยไปหลบอยู่ในพงอ้อถูกเผาตายนับเป็นพันๆคน อีกส่วนหนึ่งที่หนีไปก็ถูกไล่ต้อนไปจนมุมที่แม่นํ้าจอร์แดน และถูกฆ่าตายไปจำนวนมาก แต่ บัยบัรฺจะมิได้เป็นบัยบัรฺถ้าหากว่าเขาหยุดอยู่แค่นั้น จากแม่ฯํ้สจอร์แดนเขาได้พากองทหารของเขาออกติดตามรบรันพันตูกับข้าศึกอย่างดุเดือด ตลอกระยะทาง 300 ไมล์ที่เขาติดตามศึกนั้น เขาตามเข่นฆ่าพวกมองโกลทุกคนที่เขาพบเห็นอย่างไม่ปราณี มีแต่พวกที่ลอยข้ามแม่นํ้ายูเฟรตีสไปได้เท่านั้นที่หลุดรอดจากการเอาชีวิตของเขา หลังจากนั้นไม่นาน บัยบัรฺ อัล-บันดุคดารี ก็ได้กลายเป็นสุลฏอนมัมลู้กที่มีชื่อเสียงที่สุดของอียิปต์ คิตบูกาถูกจับได้ในสนามรบ ก่อนที่เขาจะถูกสังหาร เขาได้กล่าวทายล่วงหน้าเอาไว้ว่า ทันทีที่ Hulaku รู้ข่าวเรื่องศึกที่อัยน์ ญาลูต นี้เข้าแผ่นดินมุสลิมระหว่างแม่ฯํ้ายูเฟรติสและแม่นํ้าไนล์จะต้องสั่นสะเทือนไปด้วยการเดินทัพอันมหึมาของ Hulaku และในกระเป๋าอานม้าของพวกมองโกลนั้นจะเต็มไปด้วยทรายจากแผ่นดินอียิปต์ แต่อย่างไรก็ตาม นายของคิตบูกาก็ไม่มีโอกาสได้มุ่งหน้ามาทางตะวันตก เพราะมองคา ข่าน ผู้ยิ่งใหญ่ได้เสียชีวิตลงและกุบไลข่าน น้องชายของ Hulaku กับอาริคโบกาได้ต่อสู้แก่งแย่งกันเพื่อที่จะก้าวขึ้นมาเป็นข่านผู้นำ Hulaku ต้องการที่จะอยู่ใกล้ๆคาราโครัม เผื่อที่จะกระโดดเข้าไปเล่นเกมส์ชิงความเป็นผู้นำกับเขาด้วยถ้าหากโอกาสเอื้ออำนวย นอกากนั้นแล้ว พวกหัวหน้าเผ่ามองดกลในทรานสโอเซียนาก็ได้กลายมาเป็นมุสลิมขณะที่พวกมองดกลที่เข้าไปตียุโรปในทางตอนใต้ของรัสเซียได้เกิดความเห็นใจมุสลิมและเริ่มรุกเข้าไปในเขตแดนของ Hulaku ดังนั้น Hulaku จึงไม่อยู่ในฐานะที่จะยกทัพมาตีข้าศึกของเขาในอียิปต์ เพราะต้องคอยป้องกันพรมแดนทางด้านเหนืออยู่ อาณาจักรของ Hulaku คือ "อาณาจักรอิลข่าน"
สงครามอัยน์ ญาลูต เป็นสงครามที่สำคัญครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ ชัยชนะของพวกมัมลู้กได้ช่วยปกป้องคุ้มครองอิสลามให้รอดพ้นจากการข่มขู่คุกคามที่อันตรายที่สุดที่มุสลิมเคยพบมาถ้าหากว่าพวกเขามองโกลสามารถตีอียิปต์ได้ ทางด้านตะวันออกของโมร็อกโคก็จะไม่มีรัฐมุสลิมหลงเหลืออีกเลยถ้าหากพวกมองโกลสามารถครอบครองฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางด้านตะวันออกและด้านใต้ได้ พวกทมองโกลก็อาจจะตกอยู่ใต้อิทธิพลคริสเตียน แล้วถ้าหากพวกมองโกลดำเนินรอยตามเจ้าชายคริสเตียนอย่างวเช่นคิตบูกา ศาสนาคริสต์ก็อาจจะมารุ่งโรจน์อยู่ตรงใจกลางของแผ่นดินอิสลามได้ ดังนั้น การสงครามที่อัยน์ ญาลูต จึงหมายถึงการเปลี่ยนแปลงทางเดินของกระแสประวัติศาสตร์อิสลามทั้งในแง่ของศาสนาและในแง่ของการทหารด้วย หลังจากนั้นพวกมัมลู้กได้เข้ายึดครองฟิลิสตีน(ปาเลสไตน์) ซีเรีย อิร็อก(อิรัก)ตะวันตก และอนาโตเลียทางตอนใต้ไว้ และพวกมองโกลหลังจากที่ได้นั่งอยู่บนรั้วตรงกลางระหว่างอิสลามกับคริสเตียนอยู่เป็นเวลานานแล้ว ก็ได้มาเข้าฝ่ายมุสลิมอยู่ที่นั่นในที่สุด
[แก้] สงครามต้าหลี่
ในเดือนกรกฎาคม ปี 1252 เจ้าชายคูบิไลได้รับพระราชโองการของมังกุข่านให้เคลื่อนทัพโจมตี[อาณาจักรต้าหลี่] แต่เจ้าชายคูบิไลก็มิได้เคลื่อนทัพทันทีจนกระทั่งถึงเดือนกันยายน ปี 1253 ทรงใช้เวลาเตรียมทัพอย่างเต็มที่ พระองค์ทรงเชื่อว่ากองทัพของพระองค์ต้องพร้อมที่จะเผชิญกับอุปสรรคต่างๆทั้งอาวุธยุทโธปกรณ์และเสบียง
การทำสงครามกับอาณาจักรต้าหลี่ ในช่วงปลายฤดูร้อน ปี 1253 เจ้าชายคูบิไลเริ่มกรีธาทัพจากเมืองหลิน-เตา ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของฆฌฑลเชนสีมุ่งตรงไปยังทางทิศใต้ถึงที่ราบยูนนาน พระองค์และกองทัพต้องประสบความลำบากในการเคลื่อนทัพ และต้องผ่านมณฑลเสฉวนตรงไปยังหุบเขาลัดเข้าสู่อาณาจักรต้าหลี่ดินแดนที่แหล่งต้นน้ำแยงชีขณะประทับอยู่ที่เมืองหลินเตา เจ้าชายคูบิไลได้ส่งคณะทูตไปยื่นข้อเสนอแก่กษัตริย์อาณาจักรต้าหลี่ ทรงพระนามว่าพระเจ้าทวน สิง จี ซึ่งได้กลายเป็นหุ่นเชิดของขุนนางชื่อเก๋าไตเชียงผู้กุมอำนาจสูงสุดอยู่เบื้องหลัง เก๋าไตเชียงได้บังอาจท้าทายอำนาจกองทัพเจ้าชายคูบิไลโดยสั่งให้ประหารชีวิตทูตของเจ้าชายคูบิไลทุกคน
ด้วยเหตุนี้เจ้าชายคูบิไลจึงไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากต้องทรงปฏิบัติการลงโทษศัตรูเพียงสถานเดียว การโจมตีแบบสายฟ้าแลบพร้อมกันทั้งสามด้านนี้เริ่มต้นในปลายเดือนตุลาคม ปี 1253 ซึ่งเจ้าชายคูบิไลทรงคาดว่าคงเป็นสงครามนองเลือดครั้งใหญ่ที่จะบดขยี้อาณาจักรต้าหลี่ จนกว่าผู้นำและกองทัพของอาณาจักรต้าหลี่จะยอมแพ้
กองทัพของเจ้าชายคูบิไลได้เคลื่อนไปถึงริมฝั่งแม่น้ำแยงซีตรงข้ามฝั่งที่ตั้งค่ายพักของกองทัพตาหลี่ในเดือนพฤศจิกายน เจ้าชายคูบิไลได้รับสั่งให้ทหารสร้างแพที่ทำด้วยถุงนอนหนังแกะ เพื่อลำเลียงทหารเสบียงและอาวุธเบาข้ามน้ำไปภายใต้การควบคุมของขุนพลบายัน ขุนพลบายันได้นำกองทหารหน่วยกล้าตายลุยข้ามน้ำในเวลากลางคืน เมื่อรวมกำลังพลแล้วจึงรีบโจมตีทหารกองทัพของขุนนางเก๋าไตเซียงอย่างรวดเร็ว ฝ่ายทหารกองทัพขุนนางเก๋าไตเซียงต่างตกใจและคาดไม่ถึงว่าจะถูกโจมตียามดึกจึงวิ่งหนีแตกพ่ายกระเจิดกระเจิงไม่เป็นขบวน ต่อมาเจ้าชายคูบิไลได้ยึดเมืองหลวงของอาณาจักรต้าหลี่โดยปราศจากการต่อต้าน ตกดึกของคืนวันหนึ่งเก๋าไตเซียงขุนนางผู้กุมอำนาจสูงสุดของอาณาจักรต้าหลี่ได้หนีออกไปจากวังพร้อมทหารคู่ใจแต่ไปไม่ได้ไกลนักถูกทหารของเจ้าชายคูบิไลตามจับได้และประหารชีวิตด้วยการตัดหัวหน้าบริเวณหอคอยทางประตูด้านทิศใต้ของเมือง นอกจากนั้นเจ้าชายคูบิไลยังได้รับสั่งให้ประหารชีวิตทหารทุกคนที่เกี่ยวข้องกับการสังหารคณะทูตของพระองค์ และให้ฝังศพคณะทูตอย่างสมเกียรติโดยมีป้ายหินเขียนคำสรรเสริญยกย่องเกียรติคุณไว้ และสั่งให้ขุนนางมองโกลระดับสูงร่วมกับราชวงศ์ตวนปกครองอาณาจักรต้าหลี่ต่อไป
ส่วนจอมทัพอูริยังกาได โอรสองค์โตของอดีตจอมทัพข่านสุโบไตยังคงทำสงครามขยายดินแดนทางดินแดนทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ จนกระทั่งยึดดินแดนทั้งหมดเข้ามารวมอยู่ภายใต้อาณาจักรมองโกล ดินแดนดังกล่าวประกอบด้วยชนชาติต่างๆมากมายรวมทั้งทิเบตด้วย
[แก้] พิชิตเกาหลี
บรรพบุรุษของกุบไลข่านเคยผิดหวังที่จะพิชิตเกาหลีมาก่อนในช่วงปี 1218 สมัยจอมทัพเจงกิลข่าน และในช่วงระหว่างปี 1231 ถึง 1233 เคยส่งทหารไปพิชิตดินแดนตะวันออกไกล แม้ว่าจะประสบความสำเร็จมีอำนาจเหนือดินแดนส่วนใหญ่ของเกาหลี แต่ก็ไม่อาจควบคุมได้เบ็ดเสร็จ ในปี 1233 กษัตริย์เกาหลีได้เสร็จหนีกองทัพมองโกลไปยังเกาะคังวา ใกล้ฝั่งตะวันออกของแผ่นดินเกาหลี
ในปี 1253 แม่ทัพมังกุข่านได้รับสั่งให้แม่ทัพชา-ลา-เออร์-ไต นำกองทัพไปโจมตีเกาหลี และอีกครั้นหนึ่งในปี 1258
ต่อมามกุฎราชกุมารชอนจากเกาหลีเสด็จไปเยือนมองโกลเพื่อแสดงถึงการยอมแพ้ของชาวเกาหลี และเสนอให้พระองค์เองเป็นตัวประกัน เมื่อกุบไลข่านเห็นถึงความจงรักภักดีพระองค์จึงให้มกุฎราชกุมารปกครองแคว้นเกาหลีต่ามเช่นเดิม และให้ส่งเครื่องราชบรรณาการเพื่อแสดงความจงรักภักดีต่ออาณาจักรมองโกลมาทุกปี
ในปี 1269 กุบไลข่านทรงทราบข่าวว่ามีการกบฏต่อต้านมกุฎราชกุมาร พระองค์ทรงรีบส่งทหารไปช่วยเหลือสามารถล้อมจับหัวหน้ากบฏคืออิม ยอน อดีตผู้บัญชาการกองทัพ จึงทำให้แคว้นเกาหลีธิดาซึ่งมีพระนามว่า ฮู ตู ลู ชี หลี่ มี ชี ให้กับมกุฎราชกุมารเพื่ออภิเษกสมรส ต่อมาปลอดภัยจากสงครามครั้งนี้ หลังจากนั้นกุบไลข่านทรงยกพระดินแดนในเกาหลีจึงมีความสงบไม่มีการเกิดกบฏขึ้นอีก
[แก้] รุกรานญี่ปุ่น
ในช่วงฤดูใบไม้ร่วงปี 1266 กุบไลข่านได้ส่งคณะทูตไปเข้าเฝ้าโชกุนญี่ปุ่นแห่งราชวงศ์ใหม่ที่เสด็จมาเยือนมองโกล และได้กราบทูลเชิญให้ส่งเครื่องราชบรรณาการแก่ราชสำนักจักรพรรดิเพื่อแสดงความจงรักภักดีต่ออาณาจักรมองโกล ในปี 1268 พระองค์ทรงส่งคณะทูตอีกชุดหนึ่งไปยังญี่ปุ่น แต่ญี่ปุ่นในช่วงนั้นเพิ่งผ่านเหตุการณ์เปลี่ยนถ่ายอำนาจ ทางราชสำนักญี่ปุ่นในเมืองเกียวโตไร้อำนาจ อำนาจที่แท้จริงตกอยู่ในมือของบาคูฟู หรือรัฐบาลทหารซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองกามากูระ องค์กรบาคูฟูมีผู้สำเร็จราชการของโชกุนชื่อโฮโจ โตคิมูเนะ เป็นผู้มีอำนาจตัดสินใจสูงสุดซึ่งเขายังไม่ยอมรับอำนาจมองโกล เนื่องจากเขาเชื้อมั่นในความแข็งแกร่งของนักรบซามูไรของเขามากกว่า ทั้งเขาและอดีตผู้สำเร็จราชการขององค์กรบาคูฟู คือโฮโจ มาซามูระ ต่างปฏิเสธข้อเสนอของคณะทูตมองโกล
ต่อมากุบไลข่านได้ส่งคณะทูตไปยังญี่ปุ่นอีก โดยหัวหน้าคือเจ้าเหลียงพีซึ่งทรงเลือกด้วยพระองค์เอง คณะทูตได้เดินทางไปในช่วงฤดูใบไม้ผลิปี 1272 ได้ขึ้นฝั่งที่เมืองท่าอิมาสุ ทางฝั่งตะวันออกของเกาะกิวชิวในเดือนตุลาคม เมื่อได้แจ้งความประสงค์ที่จะเข้าเฝ้าโชกุนญี่ปุ่นกลับถูกปฏิเสธด้วยถ้อยคำในเชิงดูหมิ่น ต่อจากนั้นบรรดานักรบในเมืองกามากูระได้วางอำนาจและขับไล่คณะทูตออกไป
เจ้าเหลียงพีได้เดินทางกลับไปมองโกลในเดือนที่หก ปี 1273 เขาได้เข้าเฝ้าและกราบบังคมทูลรายงานกุบไลข่าน ซึ่งก่อนช่วง 2-3 เดือนที่เจ้าเหลียงพีจะเดินทางกลับมายังมองโกล ตอนนั้นกองทัพมองโกลประสบความสำเร็จเข้ายึดเมืองเซียงหยางของราชวงศ์ซ่งใต้ได้สำเร็จ บัดนี้กุบไลข่านทรงจัดกองทัพเล็กส่วนหนึ่งไปปราบปรามญี่ปุ่นได้ในเวลาเดียวกัน การทำสงครามของพระองค์กับญี่ปุ่นสามารถอ้างได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งในการปราบปรามซ่งใต้ได้ เพราะญี่ปุ่นเคยมีความสำพันธ์ทางการค้ากับทางซ่งใต้การปราบปรามญี่ปุ่นเท่ากับตัดขาดความสัมพันธ์ระหว่างข้าศึกทั้งสองฝ่าย ทำให้อาณาเขตซ่งใต้อ่อนแอ่ลง
ในเดือนพฤศจิกายน ปี 1274 กองทัพมองโกลกว่า 15000 นาย เดินทางออกจากเมืองท่าฮัปโป(ใกล้เมืองปูซานปัจจุบัน) เพื่อข้ามไปยังญี่ปุ่น ใช้เรือขนาดใหญ่300ลำและเรือเล็ก500ลำ ลำเลียงทหารไป กองทัพมองโกลยกขึ้นฝั่งญี่ปุ่นบนเกาะซูชิมา และเกาะอิกิ และได้เปิดฉากรบกับกองกำลังทหารญี่ปุ่นปรากฏว่ากองทัพมองโกลประสบชัยชนะทุกแห่งที่เคลื่อนที่กำลังไปเกาะหรือเมืองต่างๆ กองทัพมองโกลบุกขึ้นฝั่งตะวันออกที่เมืองท่าฮากาตะบนเกาะกิวชิวในวันที่ 19 พฤศจิกายน 1274 กองทัพญี่ปุ่นซึ่งเป็นกองทัพใหญ่ตั้งรับอยู่ที่นั่นกลับเสียเปรียบ เนื่องจากไม่คุ้นเคยกับยุทธศาสตร์และยุทธวิธีในการรบกับกองทัพมองโกล กองทัพญี่ปุ่นถูกสังหารล้มตายและบาดเจ็บสาหัสจำนวนมหาศาล ช่วงนี้พายุไต้ฝุ่นขึ้นอย่างรุนแรงมากจนบรรดากะลาสีต่างแจ้งให้บรรดาแม่ทัพมองโกลว่า พวกเขาต้องรีบกลับไปยังเรือและนำออกไปสู่ทะเลเปิดจนกว่าพายุยุติแล้วจึงนำกลับมา มิฉะนั้นเรือที่จอดอยู่ใกล้ฝั่งจะถูกลมพัดชนหินตามชายฝั่งพังพินาศหมด
บรรดาแม่ทัพมองโกลก็ยอมตกลงทั้งๆที่ไม่เต็มใจ จากนั้นก็ถอนทัพออกจากเมืองท่าฮากาตะทันที ในช่วงนี้กองกำลังญี่ปุ่นได้โอกาศจึงรีบโจมตีอย่างหนักและได้สังหารทหารมองโกลที่กำลังล่าถอยได้ไม่น้อยทีเดียว เมื่อมาถึงจึงรู้ว่าคิดผิดนอกจากต้องถอนทัพที่กำลังมีชัยแล้วยังต้องสูญเสียทหารเนื่องจากถูกสังหารจำนวนมากถึง 13000 นายและทั้งลมพายุ คลื่นทะเลยักษ์ และแนวโขดหินตามชายฝั่งที่เป็นแนวยาวยังทำให้เรือจำนวนหลายร้อยลำพังพินาศ ส่วนทหารที่เหลืออยู่สามารถแล่นเรือกลับได้อย่างปลอดภัย ในปี 1275 กุบไลข่านได้ส่งคณะทูตนำโดยชี่จุงและโฮเวิ่นจูไปยังญี่ปุ่นอีกเพื่อให้ยอมจำนน แต่โชกุนผู้นำญี่ปุ่นกลับฮึกเหิมหนักด้วยการประหารชีวิตคณะทูตมองโกลทั้งหมด ในปี 1280 กุบไลข่านพร้อมเตรียมทัพไปโจมตีญี่ปุ่นอีกทั้งและรวบรวมเสบียงอย่างมหาศาลในปี 1279 ต่อมาปี 1280 แผนการจัดทัพโจมตีญี่ปุ่นจึงเกิดขึ้นจำนวนทหารที่นำไปรบครั้งนี้มีมากกว่า 100,000 นาย ปี 1281 จากนั้นภายในสองสัปดาห์กำลังพลมุ่งตรงไปเกาะกิวชิวที่ต้องโจมตีเป็นลำดับแรก
พวกเขาได้ขึ้นฝั่งใกล้เมืองมูนากาตะ ทางเหนือของกำแพงหินที่ญี่ปุ่นสร้างเป็นแนวยาวด้วยความลำบากนานหลายปี กองทัพมองโกลเชื่อมั่นประสิทธิภาพของปืนใหญ่ที่ทรงอานุภาพ กับแรงหนุนกองทัพที่แข็งแรงจึงคาดว่าน่าจะประสบความสำเร็จได้ไม่ยาก แต่ตลอดเดือนสิงหาคมกองทัพญี่ปุ่นสามารถต่อต้านกองทัพมองโกลทั้งจากทางภาคใต้และภาคเหนือโดยอาศัยกำแพงหินเป็นแนวกั้น ต่อมาในวันที่ 15และ16 สิงหาคม ได้เกิดวาตภัยครั้งใหญ่จากพายุไต้ฝุ่นได้หมุนเคลื่อนเป็นรัศมีกว้างไกลหลายกิโลเมตรอย่างรุนแรงและรวดเร็ว หอบเอาคลื่นทะเลสูงปานภูผาโหมกระหน่ำเข้าโจมตีชายฝั่งเกาะกิวชิวอย่างหนัก คลื่นดังกล่าวชาวญี่ปุ่นเรียกว่า คลื่นซึนามิ เป็นคลื่นที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็ว 500 ไมล์ต่อชั่วโมง ช่วงที่พายุไต้ฝุ่นเริ่มขึ้นบรรดาทหารเรือเป็นจำนวนมากคิดว่ามันคงเกิดอยู่ในระยะไกล จึงพยายามลงเรือเพื่อมุ่งหน้าสู่ทะเลเปิดอีกด้านหนึ่งเพื่อหนีมหันตภัยให้ได้ แต่นับว่าไร้ผลมันเกิดขึ้นเร็วมากผลปรากฏว่าทหารจำนวนหนึ่งในสาม จากจำนวน 40000 นายทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะกิวชิวล้มตายระเนระนาด และจำนวนทหารกว่าครึ่งหนึ่งของมองโกลทางภาคใต้ของเกาะกิวชิวจำนวน 100,000 นายเสียชีวิตขณะที่แตกตื่นหนีจนสุดขีด ส่วนทหารที่อยู่บนชายหาดและริมฝั่งใกล้แนวรบถูกสังหารถูกจับเป็นเชลย รวมทั้งจมน้ำตาย ขณะวิ่งหนีไปขึ้นเรือเล็กจำนวนหนึ่งที่จอดอยู่ใกล้ฝั่ง
พายุทั้งนี้ชาวญี่ปุ่นให้ชื่อว่าพายุกามิกาเซและนี่คือที่มาของพายุนี้พายุที่ช่วยให้ญี่ปุ่นปลอดภัยต่อสงครามของมองโกล
ผลจากสงครามครั้งนี้ทำให้กุบไลข่านต้องหยุดตรงนี้ไว้ก่อนและทำการขยายอำนาจลงสู้เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้เสร็จสิ้นก่อน
[แก้] การขยายดินแดนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของมองโกล
กุบไลข่านใช้วิธีการขยายดินแดนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เริ่มจากการส่งทูตไปให้ยอมจำนนและยอมรับอำนาจกองทัพมองโกล หากไม่ยอมจำนนจะใช้สงครามเป็นทางเลือกสุดท้าย
[แก้] อาณาจักรพุกาม (พม่า)
ในปี 1273 กุบไลข่านทรงส่งคณะทูตสามชุดไปยังอาณาจักรพุกาม (พม่า) เพื่อให้ยอมจำนนต่ออาณาจักรมองโกล แต่กษัตริย์พม่าในขณะนั้นทรงถือว่าพระองค์มีอำนาจยิ่งใหญ่ นอกจากนั้นพระองค์ยังทรงโจมตีรัฐควนไกทางภาคเหนือของอาณาจักรพุกาม ทำให้ชาวมองโกลโกรธแค้น ต่อมากุบไลข่านจึงสั่งให้แม่ทัพนาเซอร์ อัลดินบุตรชายของขุนนางไซยิด อาจัลล์ ขุนนางมุสลิมซึ่งเป็นที่วางพระทัยของกุบไลข่านคนหนึ่ง นำทัพโจมตีอาณาจักรพุกาม ขณะเดียวกันพระเจ้านรธิหบดีของพม่า พระองค์ทรงวางกำลังช้างศึก 2000 เชือก นำหน้ากระบวนทัพ และวางกำลังกองทหารม้าไว้สองด้าน ตามด้วยกองกำลังทหารราบ ผลจากสงครามครั้งนี้กองทัพพม่าปราชัยอย่างย่อยยับ มองโกลได้ยึดเมืองที่มีประชากรกว่า 110200 ครอบครัว ตามชายแดนพม่า ต่อมาในปี 1287 กุบไลข่านได้ส่งกองทัพเพื่อพิชิตอาณาจักรพุกาม ภายใต้การบังคับบัญชาโดยแม่ทัพอีเซน เตมู่ร์ พระราชนัดดาของพระองค์ แม่ทัพอีเซนได้นำทัพบุกไปถึงเมืองหลวงของอาณาจักรพุกาม และยึดเมืองหลวงอาณาจักรพุกามไว้ได้ พระเจ้านรธิหบดีของพม่าจึงยอมจำนนต่อมองโกลและส่งเครื่องราชบรรณาการเพื่อแสดงความจงรักภักดีต่อมองโกลทุกปี มีข่าวว่ากษัตริย์พม่าได้ปลงพระชนม์พระองค์เองด้วยการเสวยยาพิษเพราะด้วยความเสียพระทัยอย่างใหญ่หลวง
[แก้] อาณาจักรอันนัมและอาณาจักรจามปา (เวียดนาม)
กุบไลข่านได้ส่งทูตเชิญพระเจ้าตรัน ถั่น ทอน กษัตริย์อาณาจักรอันนัม และพระเจ้าชัยอินทรวรมันที่6 แห่งอาณาจักรจามปา เสร็จไปเยือนราชสำนักของพระองค์ที่เมืองต้าตูอาณาจักรมองโกล แต่ปรากฏว่าไม่มีกษัตริย์พระองค์ใดเสร็จไป เมื่อไม่ได้รับการตอบสนอง ในปี 1281 กุบไลข่านจึงตัดสินพระทัยที่จะปฏิบัติการโต้ตอบอย่างรุนแรง โดยให้แม่ทัพโซดูพร้อมด้วยทหาร5000นายเรือ100ลำได้เดินทางถึงอาณาจักรจัมปา และยึดเมืองหลวงอย่างรวดเร็ว และพบว่าพระเจ้าชัยอินทรวรมันที่6ได้นำทัพล่าถอยไปซ่อนอยู่ตามภูเขาภายในเขตตะวันตก ต่อมากุบไลข่านส่งกำลังเสริมไปช่วยแม่ทัพโซดูอีก 15000นาย แต่ปรากฏว่าต้องประสบปัญหายุ่งยากหลายประการ เนื่องจากไม่คุ้นเคยกับภูมิประเทศ ต้องเผชิญกับอากาศที่ร้อนชื้นและโรคภัยต่างๆ ทำให้การทำสงครามดำเนินไปได้น้อยมาก กุบไลข่านจึงส่งกองทัพที่แข็งแกร่งนำโดยเจ้าชายโตกอนเพื่อไปเสริมกับกองทัพของแม่ทัพโซดูโดยใช้เส้นทางของอาณาจักรอันนัมเป็นทางผ่านแต่พระเจ้าตรัน ถั่น ทอนทรงปฏิเสธไม่ยอมให้ใช้ดินแดนของอาณาจักรอันนัมเป็นทางผ่านไปบุกรุกอาณาจักรจัมปา ดังนั้นเจ้าชายโตกอนจึงต้องรวมทัพใหญ่ทำสงครามกับอาณาจักรอันนัม การทำสงครามกับอาณาจักรอันนัมในช่วงแรก กองทัพมองโกลต้องพบกับอุปสรรคหลายอย่างเช่นอากาศร้อนชื้น ต่อมาในปี1287พวกเขาได้รวมกันเข้าเป็นกองทัพใหญ่ นำโดยเจ้าชายโตกอน และมุ่งตรงไปเมืองฮานอย และพบว่ากษัตริย์แห่งอาณาจักรอันนัมและพระโอรสได้เสร็จหนีไปแล้ว ต่อมากษัตริย์แห่งอาณาจักรอันนัมก็ได้ตัดสินใจยอมจำนนโดยส่งทูตนำเครื่องราชบรรณาการไปถวาย และปฏิญาณว่าจะจงรักภักดีต่อราชสำนักกุบไลข่านต่อไป ด้วยเหตุผลคล้ายกันทางพระเจ้าชัยอินทรวรมันที่6แห่งอาณาจักรจามปาก็ได้ยอมจำนนและส่งเครื่องราชบรรณาการไปสวามิภักดิ์ราชสำนักกุบไลข่านเช่นเดียวกัน
[แก้] อาณาจักรสุโขทัย (ไทย)
กุบไลข่านทรงส่งกองทัพแผ่อำนาจลงทางใต้เพื่อล้มล้างราชวงศ์ซ่งหรือซ้องทางจีนตอนใต้ ซึ่งผลจากการยกทัพตามไล่ล่าพวกราชวงศ์ซ่งดังกล่าว เป็นสาเหตุสำคัญอีกประการหนึ่งที่ทำให้กองทัพมองโกลรุกรานลงมายังเขตมณฑลยูนนานในปี 1253 (1796)
หลังจากเคลื่อนกองทัพเข้ายึดมณฑลยูนนานและโจมตีอาณาจักรน่านเจ้าในยูนนานแตกด้วย ตามข้อสันนิษฐานทางประวัติศาสตร์ถือว่าอาณาจักรน่านเจ้าเป็นอาณาจักรของไทย ที่ถูกกองทัพมองโกลโจมตีจึงได้อพยพลงมาทางใต้มาอยู่ในเขตแหลมทอง และได้ตั้งอาณาจักรสุโขทัยขึ้นแต่ข้อมูลดังกล่าวนี้ยังเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันว่า อาณาจักรน่านเจ้าเป็นของไทยจริงหรือไม่
สรุปได้ว่าช่วงที่กองทัพมองโกลแผ่แสนยานุภาพโดดเด่นที่สุดเป็นช่วงเดียวกับการตั้งกรุงสุโขทัย ในปี พ.ศ. 1800 (1257) ซึ่งเป็นอาณาจักรของตนอย่างแท้จริงเป็นครั้งแรก
หลักฐานสำคัญในพงศาวดารหงวนฉบับเก่า เล่มที่2 แปลเรื่องราวการติดต่อระหว่างอาณาจักรสุโขทัยกับราชวงศ์มองโกลได้สรุปไว้ว่ากุบไลข่านทรงปรึกษาขุนนางข้าราชการระดับสูงเกี่ยวกับการเตรียมทัพไปปราบปรามแคว้นต่างๆทางใต้ มีสุโขทัย ละโว้ สุมาตรา และอื่นๆเป็นเมื่องขึ้น ปรากฏว่าขุนนางชื่อ เจี่ย หลู่ น่าต๋าไม่เห็นด้วยและได้กราบบังคมทูลเสนอแนะให้ทรงชักชวนให้ผู้นำดินแดนต่างๆอ่อนน้อมยอมสนับสนุนก่อน หากไม่ยอมจึงยกกองทัพไปโจมตี นี่คือเหตุผลประการหนึ่งที่กุบไลข่านทรงส่งคณะทูตไปเจริญสัมพันธไมตรี และขอให้ส่งเครื่องราชบรรณาการไปยังราชสำนักมองโกล เพื่อแสดงความจงรักภักดีต่ออาณาจักรมองโกล ปราฏว่ามีอาณาจักรในดินแดนต่างๆกว่า20อาณาจักรยอมรับข้อเสนอ รวมทั้งอาณาจักรสุโขทัยด้วย (ช่วงระหว่างประมาณ พ.ศ. 1822-1825)
พงศาวดารหงวนฉบับเก่า เล่มที่12
เป็นหลักฐานสำคัญที่กล่าวถึงคณะทูตชุดแรกจากอาณาจักรมองโกลในสมัยกุบไลข่าน เดินทางมายังอาณาจักรสุโขทัยในเดือนพฤศจิกายน ปี พ.ศ1825 (1282) ทูตคณะนี้นำโดยเหอจี จี่ นายทหารระดับสูงเป็นหัวหน้าคณะ แต่ขณะนังเรือแล่นผ่านฝั่งทะเลอาณาจักรจามปา ได้ถูกจับกุมและถูกประหารชีวิต ผลจากคณะทูตนี้ถูกประหารชีวิตก่อนจะเดินทางไปยังอาณาจักรสุโขทัยทำให้อาณาจักรสุโขทัยไม่ทราบว่ามองโกลพยายามส่งทูตมาติดต่อ
พงศาวดารหงวนฉบับเก่า เล่มที่17
กล่าวถึงคณะทูตมองโกลชุดที่สองเดินทางมายังอาณาจักรสุโขทัยในปี พ.ศ. 1835 (1292) ภายหลังจากข้าหลวงใหญ่ฝ่ายรักษาความสงบเรียบร้อยของมณฑลกวางตุ้ง ได้ส่งคนอัญเชิญพระราชสาส์นอักษรทองคำของกษัตริย์แห่งอาณาจักรสุโขทัยไปยังนครหลวงข่านมาลิก(ต้าตู หรือปักกิ่งปัจจุบัน) คณะทูตมองโกลชุดที่สองได้อัญเชิญพระบรมราชโองการของกุบไลข่านให้พ่อขุนรามคำแหงเสร็จไปเฝ้า พระบรมราชโองการนี้แสดงให้เห็นนโยบายของอาณาจักรมองโกลเรียกร้องให้ผู้นำของอาณาจักรต่างๆไปเฝ้ากุบไลข่าน แต่มิได้บังคับให้เป็นไปตามนี้ ซึ่งจะเห็นได้ว่าพ่อขุนรามคำแหงก็มิได้ปฏิบัติตามแต่ประการใด พงศาวดารหงวนฉบับเก่า เล่นที่18
กุบไลข่านได้ส่งคณะทูตชุดที่สามมาสุโขทัย โดยได้อัญเชิญพระบรมราชโองการให้พ่อขุนรามคำแหงเสด็จไปเฝ้า หากมีเหตุขัดข้องให้ส่งโอรสหรือพระอนุชาและอำมาตย์ผู้ใหญ่เป็นตัวประกัน ซึ่งปรากฏว่าพ่อขุนรามคำแหงก็มิได้ปฏิบัติตาม แต่ส่งคณะทูตนำเครื่องราชบรรณาการไปแทน
[แก้] อาณาจักรสิงหะส่าหรี (อินโดนีเซีย)
พระเจ้าเกียรตินครแห่งชวาทรงแข็งข้อต่อต้านมหาอำนาจของกุบไลข่าน เนื่องมาจากพระองค์ทรงประสบความสำเร็จในการรวมดินแดนเข้าด้วยกันเป็นอาณาจักรใหญ่ จนทำให้พระองค์ทรงเปลี่ยนแปลงศาสนาไปเป็นศาสนาพุทธแบบตันตระ และได้สถาปนาสัมพันธไมตรีด้วยการอภิเษกกับเจ้าหญิงแห่งราชวงศ์อาณาจักรจัมปา พระองค์ทรงแสวงหาทางควบคุมการค้าขายเครื่องเทศที่มีกำไรงาม ซึ่งมีฐานอยู่ในเขตหมู่เกาะโมลุคกะ และต้องอนุรักษ์ให้ชาวชวาเป็นกลางเกี่ยวกับการค้าขายโดยเฉพาะ พระองค์ทรงเกรงว่ากุบไลข่านทรงตั้งพระทัยที่จะกำจัดการควบคุมการค้านี้
พระองค์ทรงมีพฤติกรรมต่อต้านขุนนางเม่ง จี หนึ่งในคณะทูตของกุบไลข่านที่เดินทางไปถึงชวาในปี 1289 และได้กราบทูลให้พระองค์ทรงยอมจำนนแก่อาณาจักรมองโกล การตอบสนองของพระองค์อย่างหยิ่งยโสคือทรงใช้เหล็กประทับตราที่เผาไฟร้อนจัดประทับลงใบหน้าของทูตผู้โชคร้ายคนนี้อย่างโหดเหี้ยม เหตุร้ายแรงดังกล่าวนี้ได้กลายเป็นข้ออ้างของกุบไลข่าน ทรงเริ่มส่งกองทัพไปปราบปรามกษัตริย์ชวาทันที โดยให้แม่ทัพชี่ปี และแม่ทัพอิโก มู ซุ รวบรวมกำลังพลและเสบียงจากมณฑลฟูเกี้ยน เกียงสี และหูกวาง เป็นทัพใหญ่ไปโจมตีชวา
แม่ทัพชี่ปีได้รับมอบหมายให้บังคับบัญชาทหารภาคพื้นดิน ส่วนแม่ทัพอิโก มู ซู ชาวอิกเกอร์ สายเลือกมองโกล ได้รับมอบหมายให้เตรียมเรือ และรวบรวมทหารเรือที่เชี่ยวชาญด้านยุทธนาวี ปลายปี 1292 กองทัพใหญ่ได้เคลื่อนพลออกจากมณฑลจวนโจว พร้อมด้วยกำลังทหารจำนวน 20000 นาย เรือลำเลียงพล 1000 ลำเสบียงกรังสำหรับใช้ทั้งปี และแท่งเงินบริสุทธิ์น้ำหนักรวม 40000 ออนซ์สำหรับใช้ซื้อหาสิ่งของเพิ่มเติม ในช่วงต้นปี 1293 กองกำลังทหารราบของแม่ทัพชี่ปีได้ยกทัพขึ้นฝั่งส่วนแม่ทัพอิโก มู ซุ คุมกองเรือใกล้ชายฝั่ง พระเจ้าเกียรตินครแห่งชวาทรงทราบข่าวการโจมตีของกองทัพมองโกลใกล้จะเกิดขึ้น ดังนั้นพระองค์จึงรีบส่งกองทัพขนาดใหญ่ไปยังอาณาจักรจามปา และบางส่วนในคาบสมุทรมาเลย์ ซึ่งพระองค์ทรงคาดว่าเป็นจุดที่กองทัพข้าศึกจะยกพลขึ้นฝั่งก่อนที่จะเคลื่อนพลมุ่งหน้าไปชวา แต่การส่งกองทัพใหญ่ไปอยู่ห่างไกล กลายเป็นจุดอ่อนของพระเจ้าเกียรตินคร สำหรับผู้นำอีกหลายฝ่ายที่ต่อต้านพระองค์ หนึ่งในกลุ่มผู้นำที่เป็นปรปักษ์พระองค์ก็คือ พระเจ้าชัยขัตติยวงศ์ผู้นำรัฐเคดิรี(ดาหา) ได้ก่อการกบฏต่อต้านพระองค์โดยโจมตีกองทัพรักษาพระองค์จนแตกพ่าย และได้ปลงพระชนม์พระเจ้าเกียรตินครด้วยพระองค์เอง ในที่สุดอำนาจของพระเจ้าเกียรตินครก็ตกไปอยู่ในพระหัตถ์ของเจ้าชายวิชัยพระชามาดา (ราชบุตรเขย) ผู้ทรยศของพระองค์ ต่อมาพระองค์ทรงคิดหาทางแก้แค้นให้กับความพ่ายแพ้ของพระสัสสุระ (พ่อตา หมายถึง พระเจ้าเกียรตินคร) โดยพระองค์ได้ทรงเสนอยอมจำนนแก่กองทัพมองโกล ในทางกลับกันเพื่อให้ช่วยปราบปรามผู้ก่อการกบฏอีกทอดหนึ่ง นายทหารคนสนิทของพระองค์เป็นคนนำความลับไปแจ้งแก่กองทัพมองโกลเกี่ยวกับการเข้าเมือง ท่าเรือ แม่น้ำ และแผนที่รัฐเคดิรี ทางกองทัพมองโกลตกลงร่วมปฏิบัติการโดยได้นำกองเรือแล่นตรงไปยังเมืองท่ารัฐเคดิรี ส่วนแม่ทัพชี่ปีนำกองทหารราบบุกขึ้นฝั่งแล้วเตรียมทัพโจมตี ภายในสัปดาห์เดียว กองทัพของเขาก็ได้เข้าปะทะกับกองทัพรัฐเคดิรี ผลการสู้รบกันอย่างหนักทำให้สังหารทหารรัฐเคดิรี ผลการสู้รบกันอย่างหนักทำให้สังหารทหารรัฐเคดิรี 5000 นายในที่สุดพระเจ้าชัยขัตติยวงศ์ทรงยอมแพ้และถูกตัดสินให้ปลงพระชนม์ทันที
แม้ว่ากองทัพมองโกลจะประสบความสำเร็จดังกล่าว แต่ผู้นำทั้งสองถูกหลอกโดยไม่มีใครคาดคิด เมื่อเจ้าชายวิชัยได้ตรัสขอให้จัดกำลังทหารมองโกลไม่ต้องติดอาวุธจำนวน 200นาย คอยอารักขาตามเสร็จพระองค์ไปยังเมืองมัชปาหิต ซึ่งทรงอ้างว่าที่เมืองนั้นพระองค์ทรงเตรียมพิธียื่นข้อเสนอยอมจำนนผู้แทนกุบไลข่านอย่างเป็นทางการ ปรากฏว่าผู้นำทั้งสองของกองทัพมองโกลได้กราบทูลตกลงและเห็นด้วย โดยมิได้สงสัยพฤติกรรมการหลอกลวงของเจ้าชายวิชัยเลยแม้แต่น้อย
เหตุการณ์ร้ายได้เกิดขึ้น ระหว่างทางมุ่งหน้าไปยังเมืองมัชปาหิตกองกำลังทหารของเจ้าชายวิชัยได้ลอบซุ่มโจมตีทหารมองโกลที่ตามเสด็จไป ส่วนกองทัพมองโกลภายใต้การบังคับบัญชาของแม่ทัพชี่ปีและแม่ทัพอิโก มู ซุ ซึ่งรออยู่ที่เมืองเคดิรี ถูกกองทัพใหญ่ของเจ้าชายวิชัยโอบล้อมโจมตีโดยที่ไม่มีใครคาดคิด แม่ทัพมองโกลทั้งสองได้นำกองกำลังตีฝ่าวงล้อมเพื่อมุ่งหน้าไปยังกองเรือที่จอดอยู่ท่าเรือ ในที่สุดแม่ทัพชี่ปีถึงกับต้องล่าถอย และตัดสินใจวิ่งหนีไปยังเรือที่จอดอยู่ที่ท่าเรือ แต่ปรากฏว่าเขาต้องสูญเสียชีวิตของทหารราบไปกว่าสามพันคน เมื่อกลับไปถึงมองโกล กุบไลข่านก็ได้สวรรคตในปี 1294 และก็ไม่มีผู้นำคนใดที่จะนำกองทัพไปปราบปรามอาณาจักรสิงหะส่าหรี (อินโดนีเซีย)อีกเลย
[แก้] การแบ่งเขตการปกครอง
มองโกเลียแบ่งเขตออกเป็น 21 จังหวัด ซึ่งชาวมองโกลเรียกว่า aymag: ไอมัก (ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า prefecture) แต่เดิม มองโกเลียเป็นมณฑลของจีน จึงมีการแบ่งมองโกเลียเป็นเขตย่อยลงไปอีก แล้วยังคงเป็นเช่นนี้หลังจากที่มองโกเลียเป็นเอกราช
- โกวิซึมเบอร์ (Govĭsümber)
- โกวิ-อัลไต (Govĭ-Altay)
- ซาฟฮัน (Zavhan)
- ซือบาตาร์ (Sühbaatar)
- เซเลงเก (Selenge)
- ดอร์นอด (Dornod)
- ดอร์โนโกวิ (Dornogovĭ)
- ดาร์ฮาน-อูล (Darhan-Uul)
- ดุนด์โกวิ (Dundgovĭ)
- เติฟ (Töv)
- บายัน-เอิลกี (Bayan-Ölgiy)
- บายันฮองกอร์ (Bayanhongor)
- บุลกัน (Bulgan)
- ออร์ฮอน (Orhon)
- อาร์ฮังไก (Arhangay)
- อุฟส์ (Uvs)
- เทศบาลนครอูลานบาตอร์
(Ulaanbaatar municipality) - เออเวอร์ฮังไก (Övörhangay)
- เอิมเนอโกวิ (Ömnögovĭ)
- ฮอฟด์ (Hovd)
- เฮ็นตี (Hentiy)
- เฮิฟสเกิล (Hövsgöl)
[แก้] ภูมิศาสตร์
- พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นี่ราบทะเลทราย ในฤดูร้อนอากาศไม่ร้อนมาก ในฤดูหนาวอากาศหนาวมากและมีหิมะตก
[แก้] เศรษฐกิจ
- เนื่องจากมองโกเลียอยู่ภายใต้อิทธิพลของสหภาพโซเวียตมาตั้งแต่ปี 2467 และมีการค้ากับสหภาพโซเวียตประมาณร้อยละ 85 ของมูลค่าการค้าทั้งหมด ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในสหภาพโซเวียต ส่งผลให้ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศลดลงตั้งแต่ปี 2534 มีผลกระทบทำให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจขึ้นในมองโกเลีย วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจดังกล่าว เกิดขึ้นในช่วงที่มองโกเลียกำลังเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบบสังคมนิยมมาสู่ระบบตลาดเสรี ทำให้มองโกเลียเร่งเปิดประตูสู่นานาชาติมากขึ้นภายใต้ระบบตลาดเสรีในปัจจุบัน มองโกเลียได้ดำเนินนโยบายเปิดกว้างเพื่อให้เกิดการค้า การลงทุน และการจ้างงานมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้ภาวะเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงไปมาก ดังปรากฏสถิติ ดังนี้
2535 2537 2540 2543 2544 2545 2546 2547 อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ - 9.5 2.3 3.3 3.5 1.5 3.0 5.3 เงินเฟ้อ 321.0% 66.3% 58.2% 4.4% 11.2% 6.0% 4.7% 6.2% นำเข้า (ล้านดอลลาร์สหรัฐ) 418.0 362.7 443.4 345.0 554.8 659.0 826.9 ส่งออก (ล้านตอลลาร์สหรัฐ) 388.4 360.5 418.0 500.0 385.2 500.9 627.3
[แก้] ประชากร
- เป็นชาวมองโกล 90% ชาวคาซัค 4% ชาวรัสเซีย 2% ชาวจีน 2% อื่นๆ 2%
[แก้] วัฒนธรรม
- ชาวมองโกลจะอาศัยอยู่สิ่งที่เรียกว่า "เยิร์ต" ที่สามารถรื้อถอนได้ง่าย และชาวมองโกลส่วนใหญ่เป็นพวกเร่ร่อน ในปีหนึ่งชาวมองโกลจะย้ายที่อยู่ไปเรื่อยๆถึง 20 ครั้ง
[แก้] ศาสนา
ส่วนใหญ่ชาวมองโกลปัจจุบันนับถือศาสนาพุทธแบบคล้ายๆทิเบตมีลามะเป็นผู้นำทางศาสนา จำนวนผู้นับถือศาสนาพุทธ 93% และชาวมุสลิม(ส่วนใหญ่เป็นชาวคาซัค)4%และชาวคริสต์(ส่วนใหญ่เป็นชาวรัสเซีย)0.3%
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
กัมพูชา · กาตาร์ · เกาหลีใต้ · เกาหลีเหนือ · คาซัคสถาน1 · คีร์กีซสถาน · คูเวต · จอร์เจีย1 · จอร์แดน · จีน · ญี่ปุ่น · ซาอุดีอาระเบีย · ซีเรีย · ไซปรัส2 · ติมอร์ตะวันออก3 · ตุรกี1 · เติร์กเมนิสถาน · ทาจิกิสถาน · ไทย · เนปาล · บรูไน · บังกลาเทศ · บาห์เรน · ปากีสถาน · พม่า · ฟิลิปปินส์ · ภูฏาน · มองโกเลีย · มัลดีฟส์ · มาเลเซีย · เยเมน · รัสเซีย1 · ลาว · เลบานอน · เวียดนาม · ศรีลังกา · สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ · สิงคโปร์ · อัฟกานิสถาน · อาเซอร์ไบจาน1 · อาร์เมเนีย2 · อินเดีย · อินโดนีเซีย3 · อิรัก · อิสราเอล · อิหร่าน · อียิปต์4 · อุซเบกิสถาน · โอมาน
ดินแดนพิเศษ: ฮ่องกง (จีน) · ชัมมูและแคชเมียร์ (อินเดีย/ปากีสถาน/จีน) · เคอร์ดิสถาน (อิรัก) · มาเก๊า (จีน) · นากอร์โน-คาราบัค1 (อาเซอร์ไบจาน) · ปาเลสไตน์: ฉนวนกาซา · เวสต์แบงก์ (อิสราเอล/รัฐบาลปาเลสไตน์) ·ไต้หวัน (จีน/รัฐบาลไต้หวัน) · สาธารณรัฐตุรกีแห่งไซปรัสเหนือ1 (ไซปรัส)
(1) อาจจัดให้อยู่ในทวีปยุโรป; (2) อยู่ในทวีปเอเชีย แต่มีความสัมพันธ์ทางการเมืองสังคมกับทวีปยุโรป;
(3) อาจจัดพื้นที่บางส่วน/ทั้งหมดให้อยู่ในเขตโอเชียเนีย; (4) พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในทวีปแอฟริกา
ประเทศมองโกเลีย เป็นบทความเกี่ยวกับ ประเทศ เมือง หรือเขตการปกครองต่าง ๆ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับ ประเทศมองโกเลีย ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ |