พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม พระนามเดิม พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับเจ้าจอมมารดาสังวาลย์ ธิดานายศัลยวิชัย ( ทองคำ ณ ราชสีมา ) ทรงเป็นพระเจ้าลูกเธอองค์ที่ ๒๕ ในรัชกาลที่ ๔ ประสูติในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันเสาร์ เดือน ๕ ขึ้น ๑ ค่ำ ปีมะโรง จุลศักราช ๑๒๑๘ ตรงกับวันที่ ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๓๙๙ เมื่อสมโภชเดือนแล้ว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามว่า พระเจ้าลูกยาเธอพระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ เพราะในวันประสูติมีผู้นำทองคำก้อนใหญ่ ซึ่งขุดได้ที่ตำบลบางสะพานในเวลานั้นได้เข้ามาทูลเกล้าฯ ถวาย ทรงถือว่าเป็นศุภนิมิตมงคลสำหรับพระเจ้าลูกเธอพระองค์นี้
พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ ทรงมีพระอนุชา พระขนิษฐาในเจ้าจอมมารดาเดียวกันอีก ๓ พระองค์คือ
- พระองค์เจ้าชายทองแถมถวัลยวงศ์ (ภายหลังได้รับสถาปนาเป็นกรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ สิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๒ ต้นสกุล ทองแถม )
- พระองค์เจ้าชายเจริญรุ่งราษี
- พระองค์เจ้าหญิงกาญจนากร
พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ ทรงเริ่มการศึกษาวิชาอักษรไทย และบาลี กับพระองค์เจ้ากฤษณา หม่อมเจ้าหญิงจอ และพระยาปริยัติธรรมธาดา (เปี่ยม) และทรงศึกษาภาษาต่างประเทศกับ นางเลียวโนเว็น และ นายแป็ตเตอสัน จนสามารถตรัส และเขียนภาษาอังกฤษได้ดี
ทรงผนวชเป็นสามเณรที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๑ และเสด็จไปประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ทรงผนวชที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๘ และประทับที่วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม และได้ศึกษาพระธรรมวินัยกับสมเด็จพระสังฆราช (สา) เมื่อลาสิกขาแล้วทรงศึกษาวิชากฎหมายจากขุนหลวงไกรศรี (หนู) แล้วเข้ารับราชการเป็นนักเรียนศาลฎีกาในสมัยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระเทเวศร์วัชรินทร์ เป็นอธิบดีศาลฎีกา
เมื่อวันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๑๘ ได้เกิดสุริยุปราคาเต็มดวง ขึ้นในประเทศไทย "ท่านทอง" พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ ได้ทรงคำนวนการเกิดสุริยุปราคาถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คณะนักดาราศาสตร์อังกฤษได้ตั้งค่ายสังเกตสุริยุปราคาที่แหลมเจ้าลาย จังหวัดเพชรบุรี นักดาราศาสตร์เหล่านี้ไม่สามารถถ่ายภาพสุริยุปราคาไว้ได้ คงมีแต่ภาพวาดฝีพระหัตถ์ของพระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ และถูกบันทึกอยู่ในตำราดาราศาสตร์ ในนามของ Prince Tong
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรณาโปรดเกล้าฯ ให้ทรงกรม เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๔ เป็นกรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม ทรงเป็นกำลังสำคัญของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในการรักษาดินแดนไทยทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในกรณีพิพาทกับฝรั่งเศส ครั้งวิกฤต ร.ศ. ๑๑๒ ทรงเป็นแม่ทัพใหญ่ฝ่ายใต้ปราบปรามกบฏจีนฮ่อในมณฑลลาวพวนจนสงบราบคาบ
ในเวลาต่อมา ทรงดำรงตำแหน่งข้าหลวงต่างพระองค์สำเร็จราชการมณฑลฝ่ายเหนือ พ.ศ. ๒๔๓๖ ได้ทรงตั้งกองบัญชาการมณฑลลาวพวนที่ บ้านหมากแข้ง ทรงสร้างความเจริญ จากหมู่บ้านชนบทจนเป็นเมืองอุดร และต่อมาได้ยกฐานะเป็นจังหวัดอุดรธานี
พ.ศ. ๒๔๔๒ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็น กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ทรงดำรงตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการทหารเรือ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม สิ้นพระชมน์ ณ วังตรอกสาเก เมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๗ โรคอันตะ (ไส้ใหญ่ ) พิการ สิริพระชันษาได้ ๖๘ พรรษา ทรงเป็นต้นราชสกุล ทองใหญ่
สารบัญ |
[แก้] พระโอรส-ธิดา
[แก้] หม่อมพริ้ง
- พลตรี หม่อมเจ้าทองฑีฆายุ ทองใหญ่ (พ.ศ. ๒๔๒๙-๒๔๘๕) เษกสมรส หม่อมลุดมิล่า บาร์ซูคอฟ อิวาโนวิตซ์ ชายาชาวรัสเซีย ขณะที่ศึกษาวิชาการทหารม้าที่รัสเซีย ท่านได้รับความอนุเคราะห์จากพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงพิษณุโลกประชานารถ ต้นตระกูลจักรพงษ์รับเป็นลูกบุญธรรม ทรงมีบุตรชาย 2 คนและบุตรหญิงสองคนคือ
- ม.ร.ว. จักรทอง ทองใหญ่ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (2513-14)สมรสกับ ศาสตราจารย์ ท่านผู้หญิงนพคุณ ทองใหญ่ ณ อยุธยา (ทาคากิ)ท่านทั้งสองมีบุตร 4 คนคือ
- ม.ล. ประจักษ์ศิลป ทองใหญ่ (2482-ปัจจุบัน) สมรสกับ ผ.ศ. วันดี ทองใหญ่ อดีตคณบดีคณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา มีบุตร 3 คนคือ
- นายประวาลทอง ทองใหญ่ ณ อยุธยา มหาบัณฑิตการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยแบรดลี่
- นายน้ำทอง ทองใหญ่ ณ อยุธยา ครุศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- น.ส. ประวีณศรี ไตรประคอง มหาบัณฑิตการจัดการธุรกิจ ศศินทร์
- ม.ล. นีลรารา ชิโมมูระ สมรสกับ นายยาซูโอะ ชิโมมูระ นักวิทยาศาสตร์ทางด้านพลังงานนิวเคลียร์ ชื่อดังของประเทศญี่ปุ่น มีบุตร 3 คนคือ
- นายฮิโรโนบุ ชิโมมูระ
- นายบุนจิโร่ ชิโมมูระ
- นายมิโนรู ชิโมมูระ
- ม.ล. ประจักษ์ศิลป ทองใหญ่ (2482-ปัจจุบัน) สมรสกับ ผ.ศ. วันดี ทองใหญ่ อดีตคณบดีคณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา มีบุตร 3 คนคือ
- ม.ร.ว. พักตร์พริ้ง ทองใหญ่ สมรสกับ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช อดีตนายกรัฐมนตรี (2518-19)
- ม.ร.ว. ผ่องลักษณ์ ทองใหญ่ สมรสกับ ม.ร.ว. ปิยะ รังสิต
- ม.ร.ว. สิงคฑา ทองใหญ่ อดีตเสรีไทยและสมรสกับ นางวิเวียน ใช้ชีวิตในประเทศสหรัฐอเมริกาจนสิ้นชีวิต
- ม.ร.ว. จักรทอง ทองใหญ่ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (2513-14)สมรสกับ ศาสตราจารย์ ท่านผู้หญิงนพคุณ ทองใหญ่ ณ อยุธยา (ทาคากิ)ท่านทั้งสองมีบุตร 4 คนคือ
- หม่อมเจ้าทองอนุวัติ ทองใหญ่ (พ.ศ. ๒๔๓๑-๒๔๙๖) เษกสมรส
[แก้] หม่อมจันทร์
- หม่อมเจ้าหญิงอุไรวรรณ ทองใหญ่ (พ.ศ. ๒๔๓๑-๒๕๒๐)
- หม่อมเจ้าหญิงสอิ้งมาศ ทองใหญ่ (พ.ศ. ๒๔๓๔-๒๕๑๕) เษกสมรส
- หม่อมเจ้าหญิงมาลากนก ทองใหญ่ (พ.ศ. ๒๔๓๘-๒๔๘๒)
- หม่อมเจ้าลายฉลุทอง ทองใหญ่ (พ.ศ. ๒๔๔๔-๒๕๓๔) เษกสมรสกับ หม่อมเจ้านงลักษณ์ทัศนีย์ สวัสดิวัฒน์ กับหม่อมอีก ๑ คน
- หม่อมเจ้าหญิงเถาทองตรา ทองใหญ่ (พ.ศ. ๒๔๔๕-๒๔๙๖)
[แก้] หม่อมนวม
- หม่อมเจ้าหญิงพันธ์สิหิงค์ ทองใหญ่ (พ.ศ. ๒๔๓๓-๒๔๗๔) เษกสมรสกับหม่อมเจ้าทองเชื้อธรรมชาติ ทองแถม
- หม่อมเจ้าหญิงนาฏนพคุณ ทองใหญ่ (พ.ศ. ๒๔๓๕-๒๔๕๖) เษกสมรสกับ หม่อมเจ้าพันธุคำนพคุณ ทองแถม
- หม่อมเจ้าไศลทอง ทองใหญ่ (พ.ศ. ๒๔๓๖-๒๕๑๒) เษกสมรส
- หม่อมเจ้าหญิงลำทองแร่ ทองใหญ่ (พ.ศ. ๒๔๓๙-๒๕๒๗) เษกสมรส
- หม่อมเจ้าหญิงแพร่ทองทราย ทองใหญ่ (พ.ศ. ๒๔๔๑-๒๔๙๓) เษกสมรส
- หม่อมเจ้าหญิงสลักทองนูน ทองใหญ่ (พ.ศ. ๒๔๔๓-๒๕๑๓) เษกสมรส
- หม่อมเจ้าทองทูลถวาย ทองใหญ่ (พ.ศ. ๒๔๔๕-๒๕๓๐) เษกสมรส
- หม่อมเจ้าทองประทาศรี ทองใหญ่ (พ.ศ. ๒๔๔๙-๒๕๒๖) เษกสมรส .....บิดา พล.อ.อ.หม่อมราชวงศ์ศิริพงษ์ ทองใหญ่ (อดีตผู้บัญชาการทหารอากาศ)
- หม่อมเจ้าทองคำเปลว ทองใหญ่ (พ.ศ. ๒๔๕๕-?) เษกสมรส
[แก้] หม่อมเปลี่ยน
- หม่อมเจ้าทองมุ่นใหญ่ ทองใหญ่ (พ.ศ. ๒๔๓๖-?)
- หม่อมเจ้าหญิงมาลกสุวรรณ ทองใหญ่ (พ.ศ. ๒๔๓๙-?)
- หม่อมเจ้าหญิงข่ายทองถัก ทองใหญ่ (พ.ศ. ๒๔๔๑-๒๕๓๑) เษกสมรส
[แก้] หม่อมทองสุก
- หม่อมเจ้าก่องกาญจนา ทองใหญ่ (พ.ศ. ๒๔๓๘-๒๕๐๐) ทองสุก
- หม่อมเจ้าหญิงกรัณฑ์คำ ทองใหญ่ (พ.ศ. ๒๔๓๙-๒๕๒๘)
[แก้] หม่อมแก้ว
- หม่อมเจ้าทองแกมแก้ว ทองใหญ่ (พ.ศ. ๒๔๔๙-๒๔๓๓) เษกสมรสกับ เจ้าหญิงประกายคำ ณ ลำพูน ราชธิดาใน พลตรี เจ้าจักรคำขจรศักดิ์, เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ ๑๐
สมัยก่อนหน้า: กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์ |
'พระนามกรมพระเจ้าบรมวงศ์เธอชั้น ๔ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม' |
สมัยถัดไป: กรมหลวงพรหมวรานุรักษ์ |
[แก้] ลิงก์ภายนอก
[แก้] อ้างอิง
- Jeffy Finestone. 2542. สมุดพระรูป พระราชโอรส พระราชธิดา พระราชนัดดาใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. ปรียนันทนา รังสิต,ม.ร.ว. โลมาโฮลดิ้ง
สมุหพระกลาโหม | เจ้าพระยามหาเสนา (ปลี) · เจ้าพระยามหาเสนา (บุนนาค) · เจ้าพระยามหาเสนา (ปิ่น) · เจ้าพระยามหาเสนา (บุญมา) · เจ้าพระยาวรวงศาสุรศักดิ์ (แสง วงศาโรจน์) · เจ้าพระยามหาเสนา (สังข์) · เจ้าพระยามหาเสนา (น้อย) · สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) · สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) · เจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) · เจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ (พุ่ม ศรีไชยันต์) |
เสนาบดีกระทรวง | สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ · พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม · สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช · พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช · เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต (หม่อมราชวงศ์อรุณ ฉัตรกุล) · เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต (แย้ม ณ นคร) · สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต · พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช · พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร · พระยาราชวังสัน (ศรี กมลนาวิน) · พระยาประเสริฐสงคราม |
รัฐมนตรีว่าการ | พระยาราชวังสัน (ศรี กมลนาวิน) · พระยาประเสริฐสงคราม · แปลก พิบูลสงคราม · มังกร พรหมโยธี · หลวงเกรียงศักดิ์พิชิต (พิชิต เกรียงศักดิ์พิชิต) · สินธุ์ กมลนาวิน · ชิต มั่นศิลป สินาดโยธารักษ์ · จิร วิชิตสงคราม · หลวงชาตินักรบ (ศุข ชาตินักรบ) · สฤษดิ์ ธนะรัชต์ · ถนอม กิตติขจร · ทวี จุลละทรัพย์ · ครวญ สุทธานินทร์ · ทวิช เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา · ประมาณ อดิเรกสาร · กฤษณ์ สีวะรา · เสนีย์ ปราโมช · สงัด ชลออยู่ · เล็ก แนวมาลี · เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ · เปรม ติณสูลานนท์ · พะเนียง กานตรัตน์ · ชาติชาย ชุณหะวัณ · ชวลิต ยงใจยุทธ · ประพัฒน์ กฤษณะจันทร์ · สุจินดา คราประยูร · บรรจบ บุนนาค · วิจิตร สุขมาก · ชวน หลีกภัย · ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา · เชษฐา ฐานะจาโร · สัมพันธ์ บุญญานันทน์ · บุญรอด สมทัศน์ |
ทหารเรือวังหน้า | พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว · กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ |
ทหารเรือวังหลวง | สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ · เจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ |
กระทรวงทหารเรือ / กองทัพเรือ |
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ · พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นปราบปรปักษ์ · สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ · พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม · พระยาชลยุทธโยธินทร์ · สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช · สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต · พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ · สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงนครราชสีมา · พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร · พระยาปรีชาชลยุทธ์ (วัน จารุภา) · พระยาวิชิตชลธี (ทองดี สุวรรณพฤกษ์) · สินธุ์ กมลนาวิน · พระยาวิจารณ์จักรกิจ (บุญชัย สวาทะสุข) · หลวงพลสินธวาณัติก์ (เปล่ง พลสินธ์ สมิตเมฆ) · หลวงยุทธศาสตร์โกศล (ประยูร ยุทธศาสตร์โกศล) · หลวงชำนาญอรรถยุทธ์ (เอื้อน กุลไกรเวส) · สวัสดิ์ ภูติอนันต์ · ครรชิตพล อาภากร · จรูญ เฉลิมเตียรณ · ถวิล รายนานนท์ · กมล สีตกะลิน · เฉิดชาย ถมยา · สงัด ชลออยู่ · อมร ศิริกายะ · กวี สิงหะ · สมุทร์ สหนาวิน · สมบูรณ์ เชื้อพิบูลย์ · ประพัฒน์ จันทวิรัช · นิพนธ์ ศิริธร · ธาดา ดิษฐบรรจง · ประพัฒน์ กฤษณจันทร์ · วิเชษฐ การุณยวนิช · ประเจตน์ ศิริเดช · วิจิตร ชำนาญการณ์ · สุวัชชัย เกษมศุข · ธีระ ห้าวเจริญ · ประเสริฐ บุญทรง · ทวีศักดิ์ โสมาภา · ชุมพล ปัจจุสานนท์ · สามภพ อัมระปาล · สถิรพันธุ์ เกยานนท์ |
![]() |
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม เป็นบทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ |