หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช | |
นายกรัฐมนตรี คนที่ 6
|
|
ดำรงตำแหน่ง 17 กันยายน พ.ศ. 2488 – 31 มกราคม พ.ศ. 2489 (ยุบสภา) 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 - 13 มีนาคม พ.ศ. 2518 (ไม่ได้รับความไว้วางใจ) 20 เมษายน พ.ศ. 2519 - 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 (ปฏิวัติ) |
|
สมัยก่อนหน้า | ทวี บุณยเกตุ (พ.ศ. 2488) สัญญา ธรรมศักดิ์ (พ.ศ. 2518) ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช (พ.ศ. 2519) |
---|---|
สมัยถัดไป | ควง อภัยวงศ์ (พ.ศ. 2489) ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช (พ.ศ. 2518) ธานินทร์ กรัยวิเชียร (พ.ศ. 2519) |
|
|
เกิด | 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2448 |
ถึงแก่อสัญกรรม | 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 |
สังกัดพรรค | พรรคประชาธิปัตย์ |
สมรสกับ | ท่านผู้หญิงอุศนา ปราโมช |
หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช (20 พฤษภาคม พ.ศ. 2448 — 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2540) เกิดที่โรงทหารในจังหวัดนครสวรรค์ เวลาใกล้รุ่ง นายกรัฐมนตรี 4 สมัย โอรสในพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคำรบ กับหม่อมแดง (บุนนาค) สมรสกับท่านผู้หญิง อุศนา ปราโมช มีบุตรชาย-หญิง ทั้งสิ้น 3 คน บุตรชายได้แก่ ม.ล.เสรี ปราโมช (ถึงแก่กรรม) ม.ล.อัศนี ปราโมช (องคมนตรีในรัชกาลปัจจุบัน) และบุตรตรี ม.ล.นียนา ปราโมช (ถึงแก่กรรม)
สารบัญ |
[แก้] การศึกษา
เริ่มศึกษาที่โรงเรียนราชินี โรงเรียนอัสสัมชัญ โรงเรียนเทพศิรินทร์ และโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ตามลำดับ จากนั้นได้เดินทางไปศึกษาต่อที่ โรงเรียนเทรนต์ (Trent College) ในเมืองนอตติงแฮมไชร์ ประเทศอังกฤษ และได้เข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี สาขานิติศาสตร์ที่วิทยาลัยวอร์สเตอร์ (Worcester College) ของมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด ในประเทศอังกฤษ แล้วสำเร็จการศึกษาด้วยคะแนนระดับเกียรตินิยมอันดับสอง หลังจากนั้น ก็เข้าศึกษาต่อที่สำนักเนติบัณฑิตอังกฤษ ณ สำนักเกรย์อินน์ ในกรุงลอนดอน ได้คะแนนเป็นที่หนึ่ง ได้รับรางวัลเป็นเงิน 300 กีนีย์จากสำนักกฎหมายอังกฤษ (เกียรติประวัติอันนี้ได้เล่าลือมาถึงเมืองไทย จนมีการเข้าใจว่าได้รับเงินรางวัลพระราชทานจากพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษ ซึ่งไม่เป็นความจริง แต่คนส่วนใหญ่ก็ยังเข้าใจอย่างนั้น) และทางโรงเรียนเทรนด์ได้ประกาศให้นักเรียนหยุดเรียนหนึ่งวัน เพื่อเป็นการระลึกถึงและได้เรียกวันนั้นว่า " วันเสนีย์ " (Seni Day) นับเป็นคนไทยคนแรกและเป็นชาวเอเชียคนแรกที่ทำได้ เมื่อเดินทางกลับมายังประเทศไทย มรว. เสนีย์ ปราโมช ได้ศึกษาวิชากฎหมายไทยเพิ่มเติม จนกระทั่งได้รับเนติบัณฑิตไทย และเข้าฝึกงานที่ศาลฎีกาเป็นเวลา 6 เดือน จึงได้เป็นผู้พิพากษา
[แก้] ชีวิตการงาน
- เป็นผู้พิพากษาศาลแพ่ง
- ผู้ช่วยกรรมการศาลฎีกาและ
- ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ ตามลำดับ
- ช่วงหลังของการรับราชการ ได้ย้ายไปกระทรวงการต่างประเทศ และไดัรับแต่งตั้งเป็นเอกอัครราชทูตไทยประจำสหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2484 เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกเข้าสู่ประเทศไทย หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ได้ประกาศนโยบายเป็นอิสระ ไม่ขึ้นกับรัฐบาลในประเทศไทย และได้รวบรวมคนไทยในต่างประเทศ จัดตั้งขบวนการเสรีไทยขึ้นเพื่อต่อต้านญี่ปุ่นอย่างลับ ๆ โดยปฏิบัติการติดต่อกับฝ่ายสัมพันธมิตร
- เป็นอาจารย์สอนวิชากฎหมายในมหาวิทยาลัยหลายแห่ง เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นต้น
- รับราชการถวายและเล่นดนตรีร่วมกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประจำทุกวันศุกร์ ในวงลายคราม
[แก้] การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
เมื่อสงครามโลกสิ้นสุดลง มรว. เสนีย์ ปราโมช ได้เดินทางกลับมารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2488 ในช่วงที่ดำรงตำแหน่ง ท่านได้ปฏิบัติภารกิจเกี่ยวกับการเจรจากับฝ่ายสัมพันธมิตร ซึ่งครั้งแรกอังกฤษได้ยื่นข้อเรียกร้องให้ประเทศไทยเป็นเมืองในอาณัติของอังกฤษ แต่หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ได้ดำเนินการเจรจาให้ไทยได้หลุดพ้นจากการเป็นเมืองในอาณัติได้ และจำเป็นต้องประกาศพระราชบัญญัติอาชญากรสงคราม เพื่อลงโทษผู้นำหรือหัวหน้ารัฐบาล ที่ร่วมก่อให้เกิดสงครามและต้องเป็นฝ่ายปราชัย ซึ่งถ้าหากรัฐบาลไม่ตราพระราชบัญญัตินี้ ฝ่ายสัมพันธมิตรก็จะนำตัวผู้ต้องหาเป็นอาชญากรสงครามไปดำเนินคดีในต่างประเทศ
มรว. เสนีย์ ปราโมช หมุนเวียนดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอยู่ 4 ครั้ง ซึ่งในครั้งสุดท้ายได้เกิดเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 ตำรวจและกองกำลังติดอาวุธเคลื่อนเข้าปิดล้อมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งมีนักศึกษาและประชาชนหลายพันคน ร่วมชุมนุมประท้วงการกลับเข้ามาของจอมพลถนอม กิตติขจร ที่ถูกประชาชนลุกฮือขับไล่ออกจากประเทศเมื่อ 3 ปีก่อน พลเรือเอก สงัด ชลออยู่ ได้จัดตั้งคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินเข้ายึดอำนาจจาก มรว. เสนีย์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น
หลังจากพ้นตำแหน่งแล้ว มรว. เสนีย์ ปราโมช ได้ลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และวางมือจากการเมือง ใช้ชีวิตสงบเงียบตลอดมา และได้ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 รวมอายุได้ 92 ปีเศษ
ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
- สมัยที่ 1 : คณะรัฐมนตรี คณะที่ 13 : 17 กันยายน 2488 - 31 มกราคม 2489
- สมัยที่ 2 : คณะรัฐมนตรี คณะที่ 35 : 15 กุมภาพันธ์ 2518 - 13 มีนาคม 2518
- สมัยที่ 3 : คณะรัฐมนตรี คณะที่ 37 : 20 เมษายน 2519 - 25 กันยายน 2519
- สมัยที่ 4 : คณะรัฐมนตรี คณะที่ 38 : 25 กันยายน 2519 - 6 ตุลาคม 2519
[แก้] ก่อตั้งพรรคประชาธิปัตย์
มรว. เสนีย์ ปราโมช ดำเนินการจัดตั้งพรรคประชาธิปัตย์ ร่วมกับนายควง อภัยวงศ์ ขึ้นในวันเสาร์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2489 โดยชื่อ " ประชาธิปัตย์ " หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมชเป็นผู้บัญญัติขึ้น โดยมีความหมายว่า " ผู้บำเพ็ญประชาธิปไตย " โดยมีจุดมุ่งหมายคือ ต่อต้านการกระทำอันเป็นเผด็จการไม่ว่าวิธีการใด ๆ โดยมีนายควง อภัยวงศ์ เป็นหัวหน้าพรรคคนแรก หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช เป็นรองหัวหน้าพรรค หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ที่ยุบพรรคก้าวหน้ามารวมกับพรรคประชาธิปัตย์ เป็นเลขาธิการพรรค และนายชวลิต อภัยวงศ์ เป็นรองเลขาธิการพรรค
มรว. เสนีย์ ปราโมช ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์คนที่สอง สืบต่อจากนายควง อภัยวงศ์ที่ถึงแก่อสัญญกรรมไปในปี พ.ศ. 2511 และได้ลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคในปี พ.ศ. 2522 หลังจากการลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยที่สี่ของท่านในปี พ.ศ. 2519
[แก้] ระหว่างเล่นการเมือง
มรว. เสนีย์ ปราโมช เข้ารับตำแหน่งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์สืบต่อจากนายควง อภัยวงศ์ ที่ถึงแก่อสัญญกรรมไปในปี พ.ศ. 2511 ระหว่างการเป็นหัวหน้าพรรคนั้น มรว. เสนีย์ ปราโมช ได้ชื่อว่าเป็นนักการเมืองที่เป็นสุภาพบุรุษ เล่นการเมืองด้วยความบริสุทธิ์ โปร่งใส มาตลอด แต่มักประสบปัญหาความวุ่นวายในพรรค เนื่องจากสมาชิกพรรคมักสร้างปัญหาโดยการต่อรองขอตำแหน่งทางการเมือง และบางส่วนก็จะออกจากพรรคไปตั้งพรรคใหม่ จนเกิดความวุ่นวาย ไม่สามารถควบคุมพรรคได้ จึงได้ฉายาจากสื่อมวลชนว่า " ฤๅษีเลี้ยงลิง " หรือ " พระเจ้าตา " เพราะถูกมองว่าอ่อนแอ ไม่สามารถควบคุมบริหารพรรคและรัฐบาลได้
[แก้] ชีวิตหลังการเมือง
หลังจากเหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 แล้ว หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ได้วางมือจากการรับตำแหน่งทางการเมือง แต่ยังรักษาการหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ต่อไปอีกระยะ จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. 2522 จึงได้หัวหน้าคนใหม่ ชีวิตหลังจากนี้ หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ใช้ชีวิตอยู่ที่บ้านเอกมัย ใช้เวลาไปกับการอ่านหนังสือ และรวบรวมงานประพันธ์ต่าง ๆ ที่เคยแต่งไว้ก่อนหน้านี้และแต่งเพิ่มเติม เช่น ประชุมสารนิพนธ์, แปลกวีนิพนธ์, ชีวลิขิต เป็นต้น รวมทั้งการวาดรูป ทั้งรูปสีน้ำ สีน้ำมัน รูปสเก็ตซ์ เล่นดนตรี แต่งเพลงและปลูกไม้ดอก โดยเฉพาะกุหลาบ ซึ่งล้วนเป็นงานอดิเรกที่ทำเป็นประจำ และยังคงให้สัมภาษณ์แสดงความคิดเห็นต่อเหตุการณ์บ้านเมืองเป็นระยะ ๆ รวมทั้งยังให้คำปรึกษากับพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะที่เป็นปูชนียบุคคลสำคัญในพรรคด้วย
[แก้] วาทะหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
[แก้] คำกล่าวถึง
ท่านอาจารย์หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช เป็นบุรุษรัตนะผู้หนึ่ง มิฉะนั้นท่านจะสอบกฎหมายอังกฤษได้ที่ ๑ ได้อย่างไร แล้วยังได้รับพระมหากรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งเป็นผู้พิพากษา เป็นเอกอัครราชทูตไทยประจำสหรัฐอเมริกา เป็นนายกรัฐมนตรีหลายครั้ง ท่านเป็นผู้เจรจาเพื่อความรอดพ้นจากความเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ เมื่อไทยเป็นฝ่ายแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง บุรุษเช่นนี้ หาได้ยาก | ||
สัญญา ธรรมศักดิ์ อดีตประธานองคมนตรี |
เป็นนักการเมืองที่สะอาด บริสุทธิ์ ซื่อสัตย์ น่าเชื่อถือ ยึดเอาความถูกต้อง และคุณธรรมเป็นหลักการตัดสินใจทางการเมืองใด ๆ เป็นไปอย่างรอบคอบและรัดกุม รู้แพ้ รู้ชนะและรู้อภัย ไม่มีเล่ห์เหลี่ยมทางการเมืองใด ๆ ที่ไม่ชอบมาพากล ท่านเป็นแบบอย่างของนักการเมืองที่ดีเยี่ยมที่นักการเมืองที่ดีทุกคนควรยึดถือ | ||
พลอากาศเอก สิทธิ เศวตศิลา องคมนตรี |
[แก้] ดูเพิ่ม
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
- งานแปลกวีนิพนธ์ของ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช
- เพลงพระราชนิพนธ์ ศุกร์สัญลักษณ์
- ขบวนการเสรีไทยในอเมริกา
- หนังสือชีวลิขิต
สมัยก่อนหน้า: ทวี บุณยเกตุ |
นายกรัฐมนตรีไทย พ.ศ. 2488-พ.ศ. 2489 |
สมัยถัดไป: ควง อภัยวงศ์ |
สมัยก่อนหน้า: สัญญา ธรรมศักดิ์ |
นายกรัฐมนตรีไทย พ.ศ. 2518-พ.ศ. 2518 |
สมัยถัดไป: หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช |
สมัยก่อนหน้า: ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช |
นายกรัฐมนตรีไทย พ.ศ. 2519-พ.ศ. 2519 |
สมัยถัดไป: ธานินทร์ กรัยวิเชียร |
สมุหพระกลาโหม | เจ้าพระยามหาเสนา (ปลี) · เจ้าพระยามหาเสนา (บุนนาค) · เจ้าพระยามหาเสนา (ปิ่น) · เจ้าพระยามหาเสนา (บุญมา) · เจ้าพระยาวรวงศาสุรศักดิ์ (แสง วงศาโรจน์) · เจ้าพระยามหาเสนา (สังข์) · เจ้าพระยามหาเสนา (น้อย) · สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) · สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) · เจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) · เจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ (พุ่ม ศรีไชยันต์) |
เสนาบดีกระทรวง | สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ · พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม · สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช · พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช · เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต (หม่อมราชวงศ์อรุณ ฉัตรกุล) · เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต (แย้ม ณ นคร) · สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต · พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช · พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร · พระยาราชวังสัน (ศรี กมลนาวิน) · พระยาประเสริฐสงคราม |
รัฐมนตรีว่าการ | พระยาราชวังสัน (ศรี กมลนาวิน) · พระยาประเสริฐสงคราม · แปลก พิบูลสงคราม · มังกร พรหมโยธี · หลวงเกรียงศักดิ์พิชิต (พิชิต เกรียงศักดิ์พิชิต) · สินธุ์ กมลนาวิน · ชิต มั่นศิลป สินาดโยธารักษ์ · จิร วิชิตสงคราม · หลวงชาตินักรบ (ศุข ชาตินักรบ) · สฤษดิ์ ธนะรัชต์ · ถนอม กิตติขจร · ทวี จุลละทรัพย์ · ครวญ สุทธานินทร์ · ทวิช เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา · ประมาณ อดิเรกสาร · กฤษณ์ สีวะรา · เสนีย์ ปราโมช · สงัด ชลออยู่ · เล็ก แนวมาลี · เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ · เปรม ติณสูลานนท์ · พะเนียง กานตรัตน์ · ชาติชาย ชุณหะวัณ · ชวลิต ยงใจยุทธ · ประพัฒน์ กฤษณะจันทร์ · สุจินดา คราประยูร · บรรจบ บุนนาค · วิจิตร สุขมาก · ชวน หลีกภัย · ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา · เชษฐา ฐานะจาโร · สัมพันธ์ บุญญานันทน์ · บุญรอด สมทัศน์ |
เสนาบดีกระทรวง | เจ้าพระยาภาณุวงศ์ มหาโกษาธิบดี · สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ |
รัฐมนตรีว่าการ | พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นเทววงศ์วโรทัย · พระศรีวิสารวาจา (ศรีวิสาร ฮุนตระกูล) · พระยาอภิบาลราชไมตรี (ต่อม บุนนาค) · พระยาพหลพลพยุหเสนา · พระยาศรีเสนา (ศรีเสนา สมบัติศิริ) · ปรีดี พนมยงค์ · เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร์ ณ สงขลา) · แปลก พิบูลสงคราม · ดิเรก ชัยนาม · หลวงวิจิตรวาทการ · เสนีย์ ปราโมช · ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ · หลวงอรรถกิติกำจร (อรรถกิจ พนมยงค์) · ปรีดิเทพย์พงษ์ เทวกุล · พจน์ สารสิน · บุญเกิด สุตันตานนท์ · พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ · ถนัด คอมันตร์ · จรูญพันธุ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา · ถนอม กิตติขจร · ชาติชาย ชุณหะวัณ · พิชัย รัตตกุล · อุปดิศร์ ปาจรียางกูร · สิทธิ เศวตศิลา · สุบิน ปิ่นขยัน · อาทิตย์ อุไรรัตน์ · อาสา สารสิน · ปองพล อดิเรกสาร · ประสงค์ สุ่นศิริ · ทักษิณ ชินวัตร · กระแส ชนะวงศ์ · เกษมสโมสร เกษมศรี · อำนวย วีรวรรณ · ประจวบ ไชยสาส์น · สุรินทร์ พิศสุวรรณ · สุรเกียรติ์ เสถียรไทย · กันตธีร์ ศุภมงคล · นิตย์ พิบูลสงคราม |
เสนาบดี (กระทรวงธรรมการ) |
เจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค) · เจ้าพระยาวิชิตวงษ์วุฒิไกร · เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี · เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี · พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร |
รัฐมนตรีว่าการ (กระทรวงธรรมการ) |
เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี · พระยาพหลพลพยุหเสนา · พระสารสาสน์ประพันธ์ · สินธุ์ กมลนาวิน |
รัฐมนตรีว่าการ (กระทรวงศึกษาธิการ) |
แปลก พิบูลสงคราม · ประยูร ภมรมนตรี · ทวี บุณยเกตุ · พระตีรณสารวิศวกรรม · เดือน บุนนาค · พระยาศราภัยพิพัฒ · เสนีย์ ปราโมช · มังกร พรหมโยธี · สวัสดิ์ ส. สวัสดิเกียรติ · เลียง ไชยกาล · มุนี มหาสันทนะ เวชยันต์รังสฤษฎ์ · ปิ่น มาลากุล · สุกิจ นิมมานเหมินท์ · อภัย จันทวิมล · เกรียง กีรติกร · ก่อ สวัสดิ์พาณิชย์ · นิพนธ์ ศศิธร · ประชุม รัตนเพียร · ศิริ สิริโยธิน · ภิญโญ สาธร · บุญสม มาร์ติน · สิปปนนท์ เกตุทัต · เกษม ศิริสัมพันธ์ · ชวน หลีกภัย · มารุต บุนนาค · มานะ รัตนโกเศศ · เทียนชัย สิริสัมพันธ์ · สมบุญ ระหงษ์ · สัมพันธ์ ทองสมัคร · สุขวิช รังสิตพล · ชิงชัย มงคลธรรม · ชุมพล ศิลปอาชา · ปัญจะ เกสรทอง · สมศักดิ์ ปริศนานันทกุล · เกษม วัฒนชัย · ทักษิณ ชินวัตร · สุวิทย์ คุณกิตติ · ปองพล อดิเรกสาร · อดิศัย โพธารามิก · จาตุรนต์ ฉายแสง · วิจิตร ศรีสอ้าน |
เสนาบดี | สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ · พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร · พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ · เจ้าพระยาอภัยราชามหายุติธรรมธร (หม่อมราชวงศ์ลบ สุทัศน์) · เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร์ ณ สงขลา) |
รัฐมนตรีว่าการ | พระยาเทพวิทุรพหุลศรุตาบดี (บุญช่วย วณิกกุล) · พระยานิติศาสตร์ไพศาล (วัน จามรมาน) · เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร์ ณ สงขลา) · หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ · ดิเรก ชัยนาม · พระยานลราชวสุวัจน์ (ทองดี นลราชสุวัจน์) · หลวงชำนาญนิติเกษตร (อุทัย แสงมณี) · เสนีย์ ปราโมช · พระยาอรรถการีย์นิพนธ์ (สิทธิ จุณณานนท์) · พระมนูภาณวิมลศาสตร์ (ชม จามรมาน) · เลียง ไชยกาล · เขมชาติ บุณยรัตพันธุ์ · พระนิติธารณ์พิเศษ (ชุบ มัธยมจันทร์) · หลวงจำรูญเนติศาสตร์ (จำรูญ โปษยานนท์) · กมล วรรณประภา · ประกอบ หุตะสิงห์ · กิตติ สีหนนท์ · เทียม ไชยนันท์ · ใหญ่ ศวิตชาต · บุญเท่ง ทองสวัสดิ์ · ประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์ · ชวน หลีกภัย · เสมา รัตนมาลัย · สุธรรม ภัทราคม · มารุต บุนนาค · พิภพ อะสีติรัตน์ · สะอาด ปิยวรรณ · จำรัส มังคลารัตน์ · อุทัย พิมพ์ใจชน · ประภาศน์ อวยชัย · สวัสดิ์ คำประกอบ · วิเชียร วัฒนคุณ · สุวิทย์ คุณกิตติ · ไสว พัฒโน · เฉลิม อยู่บำรุง · สุทัศน์ เงินหมื่น · พงศ์เทพ เทพกาญจนา · จาตุรนต์ ฉายแสง · ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ · สุวัจน์ ลิปตพัลลภ · ชิดชัย วรรณสถิตย์ · ชาญชัย ลิขิตจิตถะ |
หมวดหมู่: บทความที่ขาดแหล่งอ้างอิง | นายกรัฐมนตรีไทย | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม | บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2448 | บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2540 | นักการเมืองไทย | ผู้พิพากษา | นักกฎหมายชาวไทย | หม่อมราชวงศ์ | ราชสกุลปราโมช | พรรคประชาธิปัตย์ | นักดนตรีชาวไทย | เพลงพระราชนิพนธ์