มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
ชื่อ | มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม (RMU) |
ชื่อ (อังกฤษ) | Rajabhat Maha sarakham University |
ก่อตั้ง | 15 มิถุนายน พ.ศ. 2547 |
ประเภทสถาบัน | รัฐบาล |
อธิการบดี | รองศาสตราจารย์ ดร.สมเจตน์ ภูศรี |
คำขวัญ | สุวิชโช ชเน สุโต โหตุ " ผู้มีความรู้ดี ย่อมเป็นเด่นในหมู่ชน " |
เพลงประจำสถาบัน | สถาบันราชมหาสารคาม |
ต้นไม้ประจำสถาบัน | - |
สีประจำสถาบัน | สีก้ำกึ่ง เขียว-แดง |
ที่ตั้ง/วิทยาเขต | 80 ถนน นครสวรรค์ ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม 44000 |
เว็บไซต์ | www.rmu.ac.th |
- ดูบทความหลักที่ มหาวิทยาลัยราชภัฏ
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม (อังกฤษ: Rajabhat Maha sarakham University )
สารบัญ |
[แก้] ประวัติ
- ปี พ.ศ. 2535 วิทยาลัยครูทุกแห่งได้รับพระราชทานนามว่า " สถาบันราชภัฏ "ใช้คำภาษาอังกฤษว่า " Rajabhat Institute " แล้วต่อท้ายด้วยชื่อเดิมหรือชื่อจังหวัด นามนี้ได้รับพระราชทานเมื่อ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2535
- ปี พ.ศ. 2538 สถาบันราชภัฏมหาสารคามได้ดำเนินงานตาม พ.ร.บ. สถาบันราชภัฏ พ.ศ. 2538 ตั้งแต่วันที่ 19 มกราคม 2535 เป็นต้นมา พัฒนาการของสถาบันราชภัฏมหาสารคาม ซึ่งเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2473 เมื่อนับมาถึงปี 2542 นี้ สถาบันราชภัฏมหาสารคาม มีอายุครบ 69 ปี ปัจจุบันสถาบันราชภัฏมหาสารคามจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ พ.ศ. 2538 และแผนพัฒนาการศึกษาระยะที่ 8 พ.ศ. 2540-2544 มี รศ. ดร. สุวกิจ ศรีปัดถา เป็นอธิการบดี สถาบันราชภัฏมหาสารคาม เปิดสอนในระดับอนุปริญญา และปริญญาตรีจำนวน 52 โปรแกรมวิชา จำแนกเป็น 3 ปริญญา คือ ครุศาสตรบัณฑิต ( ค.บ.) ศิลปศาสตร์บัณฑิต ( ศศ.บ.) และวิทยาศาสตร์บัณฑิต (วท.บ.) จุดเน้นอันสำคัญของสถาบันราชภัฏคือ " เป็นสถาบันการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น " และจะเปิดสอนในระดับปริญญาโท ปริญญาเอกต่อไปในอนาคต
- ปี พ.ศ. 2547 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 ซึ่งส่งผลให้สถาบันราชภัฏมหาสารคาม เปลี่ยนสถานะเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน 2547 เป็นต้นไป และได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น "มหาวิทยาลัยราชภัฏหาสารคาม"
[แก้] สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย
[แก้] ตราประจำมหาวิทยาลัย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า พระราชทานพระราชลัญจกรประจำ พระองค์ รัชกาลที่ 9ให้เป็นตราสัญลักษณ์ ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม มีลักษณะเป็นรูปไข่ วงในคือ พระราชลัญจกรประจำพระองค์รัชกาลที่ 9 เป็นรูปพระที่นั่งอัฐทิศ ประกอบตัวจักร กลางวงจักรมีอักขระเป็น อุ หือเลข 9 รอบวงจักรมีรัศมีเปล่งออกโดยรอบ เหนือจักรเป็นรูปเศวตฉัตรเจ็ดชั้น ฉัตรตั้งอยู่บนพระที่นั่งอัฐทิศ แปลความหมายว่า ทรงมีพระบรมเดชานุภาพในแผ่นดินวงนอก เป็นชื่อมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ
[แก้] สีประจำมหาวิทยาลัย
สีประจำสถาบัน สีเขียว-แดง
[แก้] ปรัชญา
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม เป็นอุดมศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น
[แก้] วิสัยทัศน์
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามเป็นสถาบันอุดมศีกษาชั้นนำเพื่อท้องถิ่นในภาคอีสาน มีความเชี่ยวชาญในการผลิตพัฒนาครูและวิชาชีพหลากหลายสาขา เป็นผู้นำทางวิชาการด้านต่างๆ เสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนและสังคม จัดการศึกษาที่ยืดหยุ่นหลากหลายรูปแบบโดยนำภูมิปัญญาท้องถิ่นผสมผสานกับความเป็นสากล ใช้ระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีที่เหมาะสม มีการประกันคุณภาพ ปลูกฝังความรัก ความเข้าใจในศิลปวัฒนธรรมตลอดจนสิ่งแแวดล้อมของท้องถิ่นและธรรมชาติ
[แก้] พันธกิจ
- จะจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาและวิชาชีพชั้นสูงที่สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่นภาคอีสาน
- เปิดโอกาสให้มหาชนเข้าถึงอุดมศึกษาและได้รับการศึกษาจากรูปแบบที่หลากหลาย
- พัฒนาครูให้สามารถจัดการเรียนการสอนได้ตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
- ศึกษาวิจัยและเรียนรู้ร่วมกับชุมชนและนำความรู้ที่ได้กลับไปช่วยพัฒนาคนในท้องถิ่นให้ามารถพึ่งตนเองบนพื้นฐานของเศรษฐกิจแบบพอเพียง
- นำกระบวนการประกันคุณภาพเข้ามาใช้ในการจัดการศึกษาทุกระดับ
- ช่วยให้นักศึกษาแต่ละคนได้ค้นหาและพัฒนาศักยภาพไปถึงจุดสูงสุดด้วยสื่อและกิจกรรมที่หลากหลาย
[แก้] คณะ
ปัจจุบันมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามเปิดสอนในระดับอนุปริญญา ปริญญาตรี ประกาศนียบัตรบัณฑิต และปริญญาโท มีทั้งหลักสูตรทั่วไปและหลักสูตรภาคสมทบ ประกอบด้วยคณะทั้งหมด 6 คณะ ได้แก่
- คณะครุศาสตร์
- คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- คณะวิทยาการจัดการ
- คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์
- คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
- บัณฑิตวิทยาลัย
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
![]() |
รายชื่อสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย แบ่งตามประเภท |
---|