มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
พระจอมเกล้าธนบุรี
ชื่อ | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) |
ชื่อ (อังกฤษ) | King Mongkut's University of Technology Thonburi (KMUTT) |
ก่อตั้ง | 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2503 |
ประเภทสถาบัน | มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐบาล |
อธิการบดี | รศ. ดร. ไกรวุฒิ เกียรติโกมล |
เพลงประจำสถาบัน | พระจอมเกล้าธนบุรี |
ต้นไม้ประจำสถาบัน | ดอกธรรมรักษา |
สีประจำสถาบัน | แสด เหลือง |
ที่ตั้ง/วิทยาเขต | 126 ถนนประชาอุทิศ (สุขสวัสดิ์ 48) แขวงบางมด เขตทุ่งครุ กรุงเทพฯ 10140 |
เว็บไซต์ | www.kmutt.ac.th |
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) หรือที่รู้จักในชื่อ "บางมด" เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐบาล เดิมชื่อ วิทยาลัยเทคนิคธนบุรี, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตธนบุรี และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
สารบัญ |
[แก้] ประวัติ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เดิมคือ "วิทยาลัยเทคนิคธนบุรี" ซึ่งเป็นวิทยาลัยในสังกัดกรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ โดยได้รับการสถาปนาขึ้นเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2503 ที่ถนนประชาอุทิศ (ซอยสุขสวัสดิ์ 48) แขวงบางมด เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร
ในระยะเริ่มแรก วิทยาลัยรับผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สายวิทยาศาสตร์ เข้าศึกษาหลักสูตรประชาสนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง มีกำหนด 3 ปี ใน 4 สาขาวิชา คือ
- ช่างก่อสร้าง
- ช่างไฟฟ้า
- ช่างยนต์
- ช่างเทคนิคการผลิต
ในปี พ.ศ. 2506 ยูเนสโก (UNESCO) และกองทุนพิเศษสหประชาชาติ ได้ให้ความช่วยเหลือแก่วิทยาลัย มีโครงการ 5 ปี โดยจัดหาผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ ที่เปิดสอนอยู่ ให้ทุนการศึกษาอบรมเพิ่มเติมแก่อาจารย์ และจัดซื้ออุปกรณ์การศึกษาให้แก่วิทยาลัยตามความต้องการ ในปี พ.ศ. 2508 วิทยาลัยโดยความเห็นชอบของกระทรวงศึกษาธิการ และคณะรัฐมนตรี ให้เปิดสอนในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง โดยมีหลักสูตร 2 ปี ต่อจากประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง โครงการนี้ได้รับความช่วยเหลือจาก ยูเนสโก และกองทุนพิเศษสหประชาชาิติอีก โดยจัดเป็นโครงการ 4 ปี เริ่มเมื่อปี พ.ศ. 2509 ในรูปแบบเดียวกับโครงการแรก คือ ผู้เชี่ยวชาญ ทุนการศึกษา อบรมแก่อาจารย์ และอุปกรณ์การศึกษา
หลังจากนั้น วิทยาลัยเทคนิคธนบุรี ได้ยกระดับขึ้นเป็น "สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตธนบุรี" เมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2514 โดยเป็นสถาบันการศึกษาและวิจัยระดับอุดมศึกษา เป็นนิติบุคคลมีฐานะเป็นกรมสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย
ปัจจุบัน สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้เปลี่ยนสถาพเป็น "มหาวิทยาัลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี" ตั้งแต่วันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2541 ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 115 ตอนที่ 11 ก ลงวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2541
[แก้] หลักสูตรระดับปริญญาตรี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศ เน้นการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี เปิดสอนระดับปริญญาตรี ใน 5 คณะ 23 สาขาวิชา ดังนี้
[แก้] คณะวิศวกรรมศาสตร์เว็บ
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.) หลักสูตร 4 ปี ใน 12 สาขาวิชา ดังนี้
|
|
[แก้] คณะวิทยาศาสตร์
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) หลักสูตร 4 ปี ใน 4 สาขาวิชา ดังนี้
- สาขาวิชาคณิตศาสตร์ เน้นด้านคณิตศาสตร์ประยุกต์ และคอมพิวเตอร์
- สาขาวิชาเคมี เน้นด้านเคมีอุตสาหกรรม และเคมีสิ่งแวดล้อม
- สาขาวิชาฟิสิกส์ เน้นฟิสิกส์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมและการแพทย์ รวมทั้งการสร้างสรรค์และพัฒนาระบบเลเซอร์ชนิดต่างๆ
- สาขาวิชาจุลชีววิทยา มี 2 หลักสูตร (ชั้นปีที่ 1 เรียนร่วมกัน แยกสาขาชั้นปีที่ 2)
- จุลชีววิทยา : เน้นด้านจุลชีววิทยาในอุตสาหกรรมอาหาร การแพทย์ การเกษตร การแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม วิศวกรรมพันธุศาสตร์
- วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร : เน้นด้านการแปรรูปอาหาร การควบคุมคุณภาพอาหาร การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร
[แก้] คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม
เปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) หลักสูตร 4 ปี ใน 2 สาขาวิชา ดังนี้
- สาขาเทคโนโลยีการพิมพ์ : เป็นหลักสูตรที่รองรับการขยายตัวทางอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อุตสาหกรรมการพิมพ์ และการพิมพ์บรรจุภัณฑ์ ผู้เข้าศึกษาในหลักสูตรนี้ ควรมีความถนัดในสาขา วิชาเคมี และฟิสิกส์ เพื่อนำมาวิเคราะห์และสังเคราะห์ด้านวัสดุ และอุปกรณ์ทางการพิมพ์ บัณฑิตที่ สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรนี้ จะมีความรู้ความสามารถด้านการพิมพ์ และบรรจุภัณฑ์เป็นอย่างดี
- สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ประยุกต์และมัลติมีเดีย : เป็นหลักสูตรที่รองรับการผลิตบุคลากรที่มี ความรู้ความสามารถในการพัฒนาและใช้เทคโนโลยีมัลติมีเดียสมัยใหม่ หลักสูตรนี้จะปูพื้นฐานด้านวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ สังคมศาสตร์ วิทยาศาสตร์พื้นฐาน ศิลปะการออกแบบ และการถ่ายภาพ หลังจากนั้นจะเข้าสู่หมวดวิชาเฉพาะด้าน ซึ่งประกอบไปด้วยกลุ่มวิชาต่างๆ คือ กลุ่มวิชาการศึกษา กลุ่มวิชาเทคโนโลยีพื้นฐาน (อิเล็กทรอนิกส์) กลุ่มวิชาเทคโนโลยี-มัลติมีเดีย กลุ่มวิชาคอมพิวเตอร์ กลุ่มวิชาคอมพิวเตอร์ประยุกต์-มัลติมีเดีย เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้ผู้สำเร็จการศึกษามีความรู้ความเข้าใจหลักการและ เทคนิคการสร้าง ตั้งแต่การสร้างสื่อพื้นฐานของมัลติมีเดีย จนสามารถพัฒนาเป็นชุดมัลติมีเดียเพื่อประยุกต์ใช้ทางการศึกษา (บทเรียน CAI) สื่อสารมวลชน และการโฆษณาประชาสัมพันธ์ ตลอดจนสามารถแนะนำและจัดทำฐานข้อมูลทางการศึกษาในระบบทางด่วนข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ.
[แก้] คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
เปิดสอนหลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต (สถ.บ.) หลักสูตร 5 ปี ใน 4 สาขาวิชา ดังนี้
- สถาปัตยกรรม (หลักสูตรภาษาอังกฤษ)
- สถาปัตยกรรมภายใน (หลักสูตรภาษาอังกฤษ)
- ศิลปอุตสาหกรรม (หลักสูตรภาษาอังกฤษ)
- นิเทศศิลป์ (หลักสูตรภาษาอังกฤษ)
[แก้] คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
นับจากปีเทคโนโลยีสารสนเทศไทย พ.ศ. 2538 ที่คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้เริ่มเปิดสอนหลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อผลิตบัณฑิต และมหาบัณฑิตที่มีคุณภาพ ออกรับใช้สังคมไทยที่กำลังประสบปัญหาขาดแคลนทรัพยากรบุคคลทางด้าน ไอทีจวบจนกระทั่งปัจจุบัน กล่าวได้ว่า เป็นภาระกิจที่ยากลำบากโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในยามที่ประเทศไทยประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ อย่างรุนแรง ควบคู่ไปกับการที่โลกมีความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศไปอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ จำเป็นต้องใช้นวัตกรรมหลายอย่างในการฝ่าฟันอุปสรรคนานาประการในช่วงรอยต่อ ของการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ และสังคมขนาดใหญ่ของประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นการจัดองค์กร ในรูปแบบที่มีพลวัตสูง การเพิ่มผลผลิตและคุณภาพการศึกษาเพื่อการแสวงหารายได้เพื่อเลี้ยงดูตนเอง ไม่ให้เป็นภาระกับรัฐบาล และอีกหลายสิ่งที่ทรัพยากรบุคคลของคณะฯ ได้ร่วมกันทุ่มเทให้เกิดขึ้น สิ่งเหล่านี้ ทำให้คณะฯ ประสบความสำเร็จ ในระดับที่น่าพอใจกล่าวคือ เป็นเพียงคณะเดียวในประเทศไทยที่เปิดสอน สาขาเทคโนโลยี สารสนเทศครบถ้วนทั้ง ปริญญาตรี โท และเอก ท่ามกลางแรงกดดันจากหลากหลายปัจจัย ทั้งภายในและภายนอกคณะฯ ยังคงยืนยันในเรื่องคุณภาพของบัณฑิต ทั้งด้านวิชาชีพ และการสื่อสารในยุค โลกาภิวัฒน์ซึ่งพอกล่าวเป็นตัวอย่างได้ว่า คณะเทคโนโลยีสารสนเทศมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มีคณาจารย์ที่มีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาโท และมีการกำหนดให้ผู้สำเร็จการศึกษาของคณะฯ ต้องผ่านการ ทดสอบภาษาอังกฤษที่ได้มาตรฐานสากล
เปิดสอนหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปริญญาเอก) ใน 2 สาขาวิชา ดังนี้
- ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (Doctor of Philosophy Program in Computer Science)
- ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ (Doctor of Philosophy Program in Information Technology)
เปิดสอนหลักสููตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (ปริญญาโท) ใน 4 สาขาวิชา ดังนี้
- วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ (Master of Science Program in Information Technology)
- วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (Master of Science Program in Electronic Business)
- วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีวสารสนเทศ (Master of Science Program in Bioinformatics)
- วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ (Master of Science Program in Software Engineering)
เปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (ปริญญาตรี) หลักสูตร 4 ปี ใน 1 สาขาวิชา ดังนี้
- สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (หลักสูตรภาษาอังกฤษ)
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)หลักสูตร 2 ปี (ปวส.ต่อเนื่อง) ใน 1 สาขาวิชา ดังนี้
- สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ (ภาคปกติ) มี สองวิทยาเขต คือ
- วิทยาเขตกรุงเทพฯ
- วิทยาเขตราชบุรี
และในปีการศึกษา 2550 ทางคณะได้มีการเปิดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรีเพิ่มขึ้นอีก 1 หลักสูตร คือ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)หลักสูตร 4 ปี ใน 1 สาขาวิชา ดังนี้
- สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ หลักสูตร 4 ปี
[แก้] ศูนย์และสถาบันในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
สำนักวิจัยและบริการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สวท) จัดตั้งขึ้นตามประกาศพระราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 114 ตอนที่ 16 ก. เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกิจจานุเบกษาฉบับนี้ คือ ให้สำนักวิจัยและบริการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นหน่วยงานที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ เพื่อเป็นแหล่งดำเนินการวิจัย การพัฒนาและการวิศวกรรม ถ่ายทอดเทคโนโลยีสหวิทยบริการ เพื่อสนองนโยบายด้านการพัฒนาการศึกษาวิทยาศาสตร์และเน้นนโยบายการพึ่งพาตนเอง สร้างขีดความสามารถของภาครัฐและเอกชน ในการพัฒนาวิชาการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่างๆ ประกอบด้วยศูนย์ต่าง ๆ ดังนี้
- สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม
- ศูนย์การศึกษาต่อเนื่อง
- ศูนย์วิจัยและบริการอุสาหกรรมการเกษตรและอุตสาหกรรมชีวเคมี
- ศูนย์นวัตกรรมระบบ
- ศูนย์นวัตกรรมนโยบาย
- ศูนย์เทคโนโลยีซ่อมบำรุงรักษา
- ศูนย์ส่งเสริมงานวิจัยและทรัพย์สินทางปัญญา
- ศูนย์พัฒนาผลิตภาพอุตสาหกรรม(CIPD)
- ศูนย์วิจัยและพัฒนาจราจรและขนส่ง ( ศพจ. )
- ศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์ทางด้านอาคาร
- ศูนย์วิศวกรรมอุณหภาพ
- สำนักงานเทคโนโลยี SMEs
- ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์เพื่อมาตรฐานและอุตสาหกรรม
- สถาบันพัฒนาและฝึกอบรมโรงงานต้นแบบ
- สถาบันการเรียนรู้
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
![]() |
รายชื่อสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย แบ่งตามประเภท |
---|