มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
ชื่อ | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล |
ชื่อ (อังกฤษ) | Rajamangala University of Technology (RMUT) |
ก่อตั้ง | พ.ศ. 2518 (วิทยาลัย) พ.ศ. 2531 (สถาบัน) 18 มกราคม พ.ศ. 2548 (มหาวิทยาลัย) |
ประเภทสถาบัน | รัฐ |
เพลงประจำสถาบัน | สดุดีราชมงคล |
สีประจำสถาบัน | สีเหลืองและสีน้ำเงิน |
ที่ตั้ง/วิทยาเขต | - |
เว็บไซต์ |
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล เป็นระบบมหาวิทยาลัยในประเทศไทย ซึ่งมีอยู่ 9 แห่งทั่วประเทศ ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2518 ในชื่อ วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา และเปลี่ยนชื่อเป็น สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ในปี พ.ศ. 2531 ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนสถานะเป็นมหาวิทยาลัยในปี พ.ศ. 2548
ในปี 2549 จากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยในประเทศไทย โดย สกอ. ผลปรากฏว่า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ได้รับการจัดอันดับมหาวิทยาลัยดีเด่นในด้านการเรียนการสอน และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ได้รับการจัดอันดับดีเด่นในด้านการเกษตร
สารบัญ |
[แก้] ประวัติ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล เกิดจากการเรียกร้องการศึกษาของนักเรียนอาชีวศึกษาในสมัยย้อนไปเมื่อ 30 ปีก่อน ซึ่งถูกสังคมมองว่าเป็นนักเรียนชั้นสองของสังคม จัดการศึกษาได้เพียงแค่ระดับปวส. และการก้าวสู่ระดับปริญญาตรีนั้นจะต้องผ่านการสอบแข่งขันกับนักเรียนสายสามัญ ประกอบทั้งสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าทั้งสามแห่ง (ลาดกระบัง พระนครเหนือ และ ธนบุรี) ซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่เน้นการสอนทางด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีย้ายสังกัดจาก กระทรวงศึกษาธิการไปอยู่ทบวงมหาวิทยาลัย ซึ่งมุ่งเน้นรับเฉพาะนักเรียนสายสามัญและการแข่งขันจากการสอบเข้าที่ยากยิ่ง ทำให้นักเรียนอาชีวศึกษา อาทิ วิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพฯ วิทยาลัยพณิชยการพระนคร วิทยาลัยเทคนิคช่างกลพระนครเหนือ ฯลฯ รวมตัวกันเรียกร้องให้กระทรวงศึกษาธิการจัดการศึกษาให้ถึงระดับปริญญา และในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2518 วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา จึงได้ถือกำเนิดขึ้น ตามร่างพระราชบัญญัติ “วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา พุทธศักราช 2518” ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาและมีผลบังคับใช้เป็นต้นมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตครูอาชีวศึกษาระดับปริญญาตรี ให้การศึกษาทางด้านอาชีพทั้งระดับต่ำกว่าปริญญาตรี ระดับปริญญาตรี และประกาศนียบัตรชั้นสูง ทำการวิจัยส่งเสริมการศึกษาทางด้านวิชาชีพ และให้บริการทางวิชาการแก่สังคม วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา ในช่วงแรกที่เปิดทำการเรียนการสอนมีอุปสรรคนานานัปการ ขาดอุปกรณ์การเรียนการสอน บุคลากร สถานที่ กระทรวงศึกษาธิการจึงได้ให้โอนบุคลากร ทรัพย์สินสถาบันอาชีวศึกษาที่สังกัด กรมอาชีวศึกษาเดิม 28 แห่งดังต่อไปนี้
|
|
ย้ายมาสังกัด วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา โดยเปลี่ยนชื่อต่อวิทยาลัยมาเป็น "วิทยาเขต" ตามลำดับ วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา ได้พัฒนาระบบการเรียนการสอนให้ได้มาตรฐานการศึกษาที่มีคุณภาพและศักยภาพ มีความพร้อมในหลายๆ ด้าน จนกระทั่งในปี 2531 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อใหม่ว่า สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ซึ่งหมายความว่า สถาบันเทคโนโลยีอันเป็นมิ่งมงคลแห่งพระราชา ในวันที่ 15 กันยายน พุทธศักราช 2531 สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล มีภารกิจหลักคือ จัดการศึกษา (ระดับต่ำกว่าปริญญาตรี ระดับปริญญาตรี และระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต) ทำการวิจัยสิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรม ให้บริการทางวิชาการแก่สังคม ทำนุบำรุงศาสนาศิลปวัฒนธรรม และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
สืบเนื่องจากแนวทางการปฏิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ที่มุ่งเน้นการกระจายอำนาจ การบริหารจัดการสู่สถานศึกษาระดับอุดมศึกษา เพื่อให้สถานศึกษาของรัฐดำเนินการโดยอิสระ และมีความคล่องตัวในการบริหารจัดการภายใต้การกำกับดูแลของสภาสถานศึกษา ดังนั้น สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลจึงได้ปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติฉบับเดิมและยกร่างเป็นพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล โดยมีการรวมวิทยาเขต จัดตั้งเป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล จำนวน 9 แห่ง โดยมีวัตถุประสงค์ให้ 9 มหาวิทยาลัย เป็นมหาวิทยาลัยสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่สามารถจัดการศึกษาวิชาการ และวิชาชีพชั้นสูงที่เน้นการปฏิบัติทั้งในระดับปริญญาตรี โท และ เอก เพื่อรองรับการศึกษาต่อของผู้สำเร็จการศึกษาจากสถาบันอาชีวศึกษาเป็นหลัก รวมถึงให้โอกาสแก่ผู้เรียนจากวิทยาลัยชุมชน และการศึกษาขั้นพื้นฐานในการศึกษาต่อวิชาชีพระดับปริญญาตรี ซึ่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั้ง 9 แห่งอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
[แก้] การก้าวสู่มหาวิทยาลัย
จากพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. 2548 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงลงพระปรมาภิไธย เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2548 และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2548 พระราชบัญญัติดังกล่าว มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 19 มกราคม 2548 มีผลให้สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ตามพระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. 2518 ปรับเปลี่ยนเป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั้งเก้าแห่งคือ
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
[แก้] การศึกษา
วิทยาเขต | กรุงเทพ | ตะวันออก | ธัญบุรี | พระนคร | รัตนโกสินทร์ | ศรีวิชัย | สุวรรณภูมิ | ล้านนา | อีสาน |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ | |||||||||
คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม | |||||||||
คณะคหกรรมศาสตร์ | |||||||||
คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร | |||||||||
คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ | |||||||||
คณะเทคโนโลยีสังคม | |||||||||
คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน | |||||||||
คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตร | |||||||||
คณะนาฏศิลปและดุริยางค์ | |||||||||
คณะบริหารธุรกิจ | |||||||||
คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ | |||||||||
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ | |||||||||
คณะวิทยาศาสตร์ | |||||||||
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | |||||||||
คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ | |||||||||
คณะวิศวกรรมศาสตร์ | |||||||||
คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ | |||||||||
คณะวิศวกรรมเกษตร | |||||||||
คณะศิลปกรรมและออกแบบอตุสาหกรรม | |||||||||
คณะศิลปกรรมศาสตร์ | |||||||||
คณะศิลปศาสตร์ | |||||||||
คณะศิลปศาสตร์ประยุกต์ | |||||||||
คณะศึกษาศาสตร์ | |||||||||
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ | |||||||||
คณะอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการโรงแรม | |||||||||
คณะอุตสาหกรรมสิ่งทอ | |||||||||
คณะอุตสาหกรรมสิ่งทอและออกแบบแฟชั่น | |||||||||
บัณฑิตวิทยาลัย | |||||||||
คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ | |||||||||
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร | |||||||||
คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
[แก้] สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย
[แก้] ตราสัญลักษณ์ประติมากรรม
ประติมากรรมรูปดอกบัวนี้ เป็นเครื่องหมายแห่งความคิดความรู้สึกร่วม ในอันที่จะช่วยกันพัฒนา การศึกษาด้านวิชาชีพให้เจริญก้าวหน้าสืบไป รูปดอกบัวซ้อนกัน 3 ชั้น เพื่อให้เกิดความรู้สึกโปร่งเบามีกลีบบัว 8 เส้น เส้นทั้ง 8 หมายถึง มรรค 8 ประการ ส่วนยอดแหลมแทรกขึ้นสู่ฟ้า หมายถึง ผู้จะพบความสำเร็จได้จะต้องใช้ความพยายาม อย่างสูงสุด ในการผ่านแต่ละขั้นตอนการเรียนรู้ นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นที่ได้รับพระราชทานนามสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล อีกทั้งได้รับพระบรมราชานุญาตอัญเชิญตราพระราชลัญจกรประจำพระองค์รัชกาลที่ 9 พร้อม พระมหาพิชัยมงกุฎ มาเป็นตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย ทั้งนี้คณาจารย์และนักศึกษาต่างสำนักในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์อย่างหาที่สุดมิได้
[แก้] สีประจำมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ได้กำหนดให้สีเหลืองและสีน้ำเงินเป็นสีประจำสถาบัน
- สีเหลือง เป็นสีวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9
- สีน้ำเงิน เป็นสีสัญลักษณ์ของสถาบันพระมหากษัตริย์
[แก้] เพลงประจำมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
|
|
[แก้] อันดับมหาวิทยาลัย
ตามการจัด อันดับมหาวิทยาลัยในประเทศไทย จาก สกอ. ในปี 2549 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ได้รับการจัดอันดับที่โดดเด่น ดังนี้
- อันดับ 5 ในประเทศไทยในด้านการเกษตร - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
- อันดับ 5 ในประเทศไทยในด้านการเรียนการสอน - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
[แก้] บุคคลสำคัญจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
- ฯพณฯ วิเชษ เกษมทองศรี อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
- อ.เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ช่างหลวงประจำพระองค์(ศิลปกรรมเพาะช่าง)
- คุณศุภรัตน์ นาคบุญนำ ผู้ประกาศข่าวช่องเจ็ดสี (วข.บพิตรพิมุข)
- คุณสายสวรรค์ ขยันยิ่ง ผู้ประกาศข่าว
- คุณนรีกระจ่าง คันธมาส ศิลปินนักร้อง
- คุณสุเทพ วงศ์กำแหง ศิลปิน (เพาะช่าง)
- ศาสตราจารย์ ดร.วิรุณ ตั้งเจริญ อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (ศิลปกรรมเพาะช่าง)
- คุณปฏิธาน ปฐวีกานต์ ศิลปินนักแสดง (วข.อุเทนถวาย)
- คุณตะวัน ศรีปาน นักกีฬาฟุตบอลทีมชาติ (วข.นนทบุรี)
- คุณจรัล มโนเพ็ชร ศิลปินคำเมือง (วข.ภาคพายัพ)
- คุณเกียรติกมล ล่าทา (ตุ้ย เอเอฟ 3) นักร้อง (วข.พระนคร)
[แก้] รายชื่อผู้บริหาร
ผู้บริหารมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล จากอดีต วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา, สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
- 2518-2527 - ศาสตราจารย์สวาสดิ์ ไชยคุณา อธิการบดีวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา
- 2527-2530 - ศาสตราจารย์อนันต์ กรุแก้ว อธิการบดีวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา
- 2530-2538รองศาสตราจารย์ธรรมนูญ ฤทธิ์มณี อธิการบดีวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาและสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล
- 2538-2542 - รองศาสตราจารย์วินิจ โชติสว่าง อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
- 2543-2548 - รองศาสตราจารย์นำยุทธ สงค์ธนาพิทักษ์ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
[แก้] อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั้งเก้า
- รศ.ดร.นำยุทธ สงค์ธนาพิทักษ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
- ผศ.เฉลิม มัติโก อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
- รศ.ดวงสุดา เตโชติรส อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
- รศ.ดร.อิสสรีย์ หรรษาจรูญโรจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
- รศ.ไพบูลย์ มากจันทร์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
- รศ.ดร.วินิจ โชติสว่าง อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
- ผศ.จริยา หาสิตพาณิชกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
- นายชัยยง เอื้อวิริยานุกูล อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
- ผศ.ประชีพ ชูพันธ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
[แก้] บัณฑิตนักปฏิบัติ
บัณฑิตนักปฏิบัติ เป็นคำที่ใช้กล่าวในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั้ง 9 แห่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นมหาวิทยาลัยสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่สามารถจัดการศึกษาวิชาการ และวิชาชีพชั้นสูงที่เน้นการปฏิบัติทั้งในระดับปริญญาตรี โท และ เอก เพื่อรองรับการศึกษาต่อของผู้สำเร็จการศึกษาจากสถาบันอาชีวศึกษาเป็นหลัก รวมถึงให้โอกาสแก่ผู้เรียนจากวิทยาลัยชุมชน และการศึกษาขั้นพื้นฐานในการศึกษาต่อวิชาชีพระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั้ง 9 แห่งอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
รายชื่อสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย แบ่งตามประเภท |
---|