จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
![](../../../upload/thumb/d/da/Yrulogo.gif/150px-Yrulogo.gif)
ชื่อ |
มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา |
ชื่อ (อังกฤษ) |
Yala Rajabhat University (YRU) |
ก่อตั้ง |
พ.ศ. 2477 |
ประเภทสถาบัน |
รัฐ |
อธิการบดี |
ผศ.ไกรสร ศรีไตรรัตน์ |
เพลงประจำสถาบัน |
เพลงมาร์ชสถาบันราชภัฏยะลา |
สีประจำสถาบัน |
สีชมพู-เทา |
ที่ตั้ง/วิทยาเขต |
133 ถ.เทศบาล 3 ต.สะเตง อ.เมือง จ.ยะลา 95000 |
เว็บไซต์ |
http://www.yru.ac.th |
สถาบันราชภัฏยะลา เดิมเป็นโรงเรียนอาชีพกสิกรรมประจำจังหวัดยะลา เปิดสอนนักเรียนชั้นประถมศึกษา ต่อมาพัฒนาเป็นโรงเรียนฝึกหัดครู และยกฐานะขึ้นเป็นวิทยาลัยครู ซึ่งมีการปรับปรุงการเรียนการสอนจนสามารถเปิดสอนถึงระดับปริญญาตรีได้ ในปี พ.ศ. 2538 ได้มีประกาศราชกิจจานุเบกษา เปลี่ยนชื่อเป็น สถาบันราชภัฏ และพัฒนามาเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฎยะลาในปัจจุบัน
[แก้] ประวัติ
- พ.ศ. 2472 "โรงเรียนอาชีพกสิกรรม" เปิดสอนหลักสูตรอาชีพกสิกรรม ชั้น ป.5-ป.6 ต่อจากหลักสูตรประถม 4 ปี
- พ.ศ. 2476 ย้ายโรงเรียนมาตั้งใกล้วัดพุทธภูมิ ณ บริเวณที่เป็นโรงเรียนคณะราษฏรบำรุงปัจจุบัน
- พ.ศ. 2477 ตั้งเป็น "โรงเรียนฝึกหัดครู" เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2477 ใช้หลักสูตรฝึกหัดครูชั้นต้น ปีที่ 1-2 นักเรียน ป.5 เป็นปีที่ 1 นักเรียน ป.6 เป็นปีที่ 2 และมีหลักสูตรประถมเกษตรกรรม
- พ.ศ. 2480 ย้ายโรงเรียนไปตั้ง ณ บริเวณซึ่งเป็นวิทยาลัยเทคนิคยะลาในปัจจุบัน
- พ.ศ. 2482 โรงเรียนต้องปิดการเรียนการสอนเนื่องจากไม่มีนักศึกษามาสมัครเรียน
- พ.ศ. 2483 เริ่มเปิดสอนหลักสูตรใหม่ รับนักเรียนที่จบชั้นประถมปีที่ 4 เข้าเรียนหลักสูตร 3 ปี
- พ.ศ. 2486 เปลี่ยนจากหลักสูตรมัธยมพิเศษเป็นหลักสูตรประโยคครูประชาบาล (ป.บ.) หลักสูตร 3 ปี และได้มีการย้ายโรงเรียนไปตั้งที่ศาลากลางจังหวัดเดิม
- พ.ศ. 2493 เปิดชั้นฝึกหัดครูมูล (ป.) รับนักเรียนชั้นมัธยมปีที่ 6 เข้าเรียนตามหลักสูตร 1 ปี และยุบเลิก ชั้นประโยคครูประชาบาลปีที่ 1
- พ.ศ. 2494 เปิดชั้นฝึกหัดครูประกาศนียบัตรจังหวัด (ว.) รับนักเรียนที่จบชั้นมัธยมปีที่ 3 หลักสูตร 2 ปี และยุบเลิกชั้นประโยคครูประชาบาลปีที่ 2
- พ.ศ. 2495 ยุกเลิกประโยคครูประชาบาลปีที่ 3 คงเปิดสอนเฉพาะหลักสูตรครูมูลและครูประกาศนียบัตร
- พ.ศ. 2498 ยุบเลิกชั้นฝึกหัดครูมูลและชั้นฝึกหัดครูประกาศนียบัตรจังหวัด เริ่มใช้หลักสูตรฝึกหัดครูประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา (ป.กศ.) รับนักเรียนที่สำเร็จชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หลักสูตร 2 ปี
- พ.ศ. 2504 ย้ายมาตั้ง ณ บริเวณที่ตั้งของสถาบันราชภัฏยะลาในปัจจุบัน
- พ.ศ. 2506 กรมการฝึกหัดครูประกาศยกฐานะโรงเรียนฝึกหัดครูเป็น "วิทยาลัยครูยะลา" เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2506 และมีหลักสูตรฝึกหัดครูประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง (ป.กศ.สูง) ต่อจากชั้น ป.กศ. อีก 2 ปี
- พ.ศ. 2510 มีหลักสูตรครูประถม (ป.ป) หลักสูตร 1 ปีรับนักเรียนที่สำเร็จชั้นประโยคมัธยมศึกษาตอนปลายทั้งสายสามัญและสายอาชีพ
- พ.ศ. 2518 ได้มีประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษเรื่อง “พระราชบัญญัติวิทยาลัยครู” ให้วิทยาลัยครูทั่วประเทศสามารถเปิดสอนได้ถึงระดับปริญญา
- พ.ศ. 2538 ได้มีประกาศในราชกิจจานุเบกษา "พระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ พ.ศ. 2538" วิทยาลัยครูยะลา จึงมีนามใหม่ “สถาบันราชภัฏยะลา” ซึ่งทำให้สถาบันสามารถเปิดสอนในระดับที่สูงกว่าปริญญาตรีได้
[แก้] สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย
- ตรามหาวิทยาลัย เป็นรูปวงรีสองวงล้อมตราพระราชลัญจกรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชที่พระราชทานให้แก่สถาบันราชภัฏ ภายในวงรีเป็นชื่อของ "สถาบันราชภัฏยะลา" ด้านบนเป็นอักษรภาษาไทย ด้านล่างเป็นอักษรภาษาอังกฤษ
- สีประจำมหาวิทยาลัย สีชมพู – เทา โดย
- สีชมพู เป็นสีของความรัก หมายถึง การรู้รัก – สามัคคี
- สีเทา เป็นสีของสมอง หมายถึง ความคิด การไตร่ตรอง ใช้เหตุผล
ดังนั้น สีชมพู – เทา จึงหมายถึง มีความคิด รู้จักไตร่ตรอง อยู่ร่วมกันด้วยความรักสามัคคี
[แก้] หน่วยงาน
|
|
- คณะวิทยาการจัดการ
- โครงการจัดตั้งคณะศิลปกรรมศาสตร์
|
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น