มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
ชื่อ | มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ (SRRU) |
ชื่อ (อังกฤษ) | Surindra Rajabhat University |
ก่อตั้ง | 15 มิถุนายน 2547 |
ประเภทสถาบัน | รัฐบาล |
อธิการบดี | ผศ.ดร.อัจฉรา ภาณุรัตน์ |
คำขวัญ | ปญฺญาชีวี ชีวิตมาหุ เสฏฐํ : ชีวิตของผู้ที่เป็นอยู่ด้วยปัญญานั้น นั้นประเสริฐ |
เพลงประจำสถาบัน | ราชภัฏสุรินทร์ |
ต้นไม้ประจำสถาบัน | - |
สีประจำสถาบัน | สีชมพู-เทา |
ที่ตั้ง/วิทยาเขต | เลขที่ 186 หมู่ที่ 1 ถนนสุรินทร์ - ปราสาทตำบลนอกเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ 32000 |
เว็บไซต์ | www.srru.ac.th |
- ดูบทความหลักที่ มหาวิทยาลัยราชภัฏ
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ (อังกฤษ: Surindra Rajabhat University ) เป็นสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งตั้งอยู่ในจังหวัดสุรินทร์ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ปัจจุบัน เปิดสอนระดับอนุปริญญา ปริญญตรี และระดับปริญญาโท โดยเป็นการจัดการศึกษาและบริการวิชาการแก่ชุมชน ในเขตจังหวัดสุรินทร์ ยโสธร อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ (บางส่วน) และบุคลากรในจังหวัดและประเทศใกล้เคียง
สารบัญ |
[แก้] สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย
- ตรามหาวิทยาลัย เป็นรูปวงรีสองวงล้อมตราพระราชลัญจกรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชที่พระราชทานให้แก่มหาวิทยาลัยราชภัฏ ภายในวงรีด้านบนเป็นอักษรภาษาไทยเขียนว่า "มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์" ด้านล่างเป็นอักษรภาษาอังกฤษเขียนว่า " SURINDRA RAJABHAT UNIVERSITY"
[แก้] ปรัชญา
ปญฺญาชีวี ชีวิตมาหุ เสฎฐํ ชีวิตของผู้ที่เป็นอยู่ด้วยปัญญานั้น นั้นประเสริฐ
[แก้] วิสัยทัศน์
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของภูมิภาคแถบอนุภาคลุ่มแม่น้ำโขง เป็นศูนย์กลางในการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา และการศึกษาเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในท้องถิ่นและในภูมิภาค ให้มีศัก ยภาพในการประกอบอาชีพและการดำเนินชีวิต มุ่งศึกษา วิจัย เพื่อสร้างองค์ความรู้ บูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นและสากล เพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน
[แก้] พันธกิจ
- ผลิตบัณฑิตและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อสนองตอบความต้องการกำลังคนของท้องถิ่นและของประเทศ มีดุลยภาพระหว่างคุณลักษณะทางวิชาการและวิชาชีพ ควบคู่ไปกับคุณธรรม จริยธรรม และการมีจิตสำนึกของความเป็นพลเมืองดี
- ศึกษาวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้บูรณาการศาสตร์สากลกับภูมิปัญญาพื้นบ้าน เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาและพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
- ให้บริการทางวิชาการแก่สังคม เสริมสร้างและถักทอ ความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยกับท้องถิ่น ด้วยการบูรณาการการเรียนการสอน การวิจัยและให้บริการทางวิชาการ เพื่อให้มหาวิทยาลัยคงสถานะความเป็นศูนย์กลางการพัฒนาท้องถิ่นและภูมิภาคอย่างเป็นรูปธรรม
- ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่น ด้วยการศึกษา วิจัย ฟื้นฟู เผยแพร่ และธำรงรักษาไว้ซึ่งมรดกทางวัฒนธรรมอันดีงาม เพื่อสร้างความภาคภูมิใจในความเป็นท้องถิ่นและประเทศชาติร่วมกัน
- ผลิตและพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้ได้คุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครู เพื่อสร้างความเข้มแข็งของวิชาชีพครู อันจะนำไปสู่การยกระดับและมาตรฐานการศึกษาของชาติ
[แก้] คณะ
- คณะครุศาสตร์
- คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- คณะวิทยาการจัดการ
- คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์
- คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
- บัณฑิตวิทยาลัย
[แก้] โปรแกรมวิชาระดับบัณฑิตศึกษา
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
รายชื่อสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย แบ่งตามประเภท |
---|