ภาษามาเลย์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษามาเลย์ (Bahasa Melayu, بهاس ملايو: บาฮาซา มลายู) |
||
---|---|---|
พูดใน: | ประเทศมาเลเซีย ประเทศบรูไน ประเทศสิงคโปร์ ทางใต้ของประเทศไทย ทางใต้ของประเทศฟิลิปปินส์พื้นที่ต่อเนื่องของประเทศอินโดนีเซีย | |
จำนวนคนพูดทั้งหมด: | 20-30 ล้าน | |
อันดับ: | 54 | |
ตระกูลของภาษา: | ออสโตรนีเซียน มาลาโย-โพลีนีเชียน มาลาโย-โพลีนีเชียนตะวันตก ซุนดิก มาลายิก มาลายัน มาเลย์ท้องถิ่น ภาษามาเลย์ |
|
สถานะทางการ | ||
ภาษาราชการของ: | ประเทศมาเลเซีย ประเทศบรูไน ประเทศสิงคโปร์ | |
องค์กรควบคุม: | Dewan Bahasa dan Pustaka (Institute of Language and Literature: สถาบันภาษาและวรรณกรรม) | |
รหัสภาษา | ||
ISO 639-1: | ms | |
ISO 639-2: | may (B) | msa (T) |
ISO/DIS 639-3: | variously: msa — ภาษามาเลย์ทั่วไป mly — ภาษามาเลย์เฉพาะ btj — ภาษามาเลย์บาคานีส bve — ภาษามาเลย์เบราว bvu — ภาษามาเลย์บูกิต coa — ภาษามาเลย์หมู่เกาะโคคอส jax — ภาษามาเลย์จามบิ meo — ภาษามาเลย์เกดะห์ mqg — ภาษามาเลย์โกตา บังกุน กูไต xmm — ภาษามาเลย์มานาโด max — ภาษามาเลย์โมลุกกะเหนือ mfa — ภาษามลายูปัตตานี msi — ภาษามาเลย์ซาบาห์ vkt — ภาษามาเลย์เต็งการง กูไต |
|
หมายเหตุ: หน้านี้อาจจะมีตัวอักษรหรือสัญลักษณ์ IPA ในลักษณะยูนิโคด |
ภาษามาเลย์ ซึ่งเรียกในภาษาท้องถิ่นว่า Bahasa Melayu เป็นภาษากลุ่มออสโตรนีเชียน ที่พูดโดยชนชาติมลายูซึ่งเป็นชนพื้นเมืองของคาบสมุทรมลายู ทางใต้ของประเทศไทย ประเทศสิงคโปร์ และบางส่วนของเกาะสุมาตรา เป็นภาษาราชการของประเทศมาเลเซียและประเทศบรูไน และเป็น 1 ใน 4 ภาษาราชการของประเทศสิงคโปร์ นอกจากนี้ยังใช้เป็นที่แพร่หลายในประเทศติมอร์ตะวันออก
ในการใช้ภาษาโดยทั่วไป ถือว่าเหมือนกัน หรือสื่อสารเข้าใจกันได้กับภาษาอินโดนีเซีย (บาฮาซาอินโดนีเซีย) อันเป็นภาษาราชการของประเทศอินโดนีเซีย แต่ใช้ชื่อแยกต่างกันด้วยเหตุผลทางการเมือง อย่างไรก็ตาม เมื่ออยู่ในพื้นที่ต่างกัน การใช้ภาษา รสนิยมทางภาษา จึงแตกต่างกันไป แต่ไม่มากนัก
มาตรฐานอย่างเป็นทางการของภาษามลายูนั้น มีการตกลงร่วมกันระหว่างอินโดนีเซีย มาเลเซีย และบรูไน ว่าใช้บาฮาซารีเยา (Bahasa Riau) เป็นมาตรฐาน อันเป็นภาษาของหมู่เกาะรีเยา ซึ่งถือว่าเป็นต้นกำเนิดของภาษามลายูมาช้านาน