ภาษาฮีบรู
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษาฮีบรู (עִבְרִית ‘Ivrit) | ||
---|---|---|
การออกเสียง (IPA): | //ʔivˈʁit/ (อิฟริต, อิสราเอลมาตรฐาน), /ʕivˈriθ/ (อิฟริธ, ตะวันออก) /ivˈʀis/ (อิฟริส, อัชเคนาซี)/ | |
พูดใน: | ประเทศอิสราเอล และประเทศอื่นๆ | |
จำนวนคนพูดทั้งหมด: | ประมาณ 7 ล้านคน [1] | |
ตระกูลของภาษา: | แอฟโร-เอเชียติก เซมิติก เซมิติกตะวันตก เซมิติกกลาง เซมิติกตะวันตกเฉียงเหนือ คานาไนต์ ภาษาฮีบรู |
|
ระบบการเขียน: | อักษรฮีบรู | |
สถานะทางการ | ||
ภาษาราชการของ: | ประเทศอิสราเอล | |
องค์กรควบคุม: | สถาบันภาษาฮีบรู (Academy of the Hebrew Language האקדמיה ללשון העברית HaAqademia LaLashon Ha‘Ivrit) |
|
รหัสภาษา | ||
ISO 639-1: | he | |
ISO 639-2: | heb | |
ISO/DIS 639-3: | heb | |
หมายเหตุ: หน้านี้อาจจะมีตัวอักษรหรือสัญลักษณ์ IPA ในลักษณะยูนิโคด |
ภาษาฮีบรูปัจจุบัน (Modern Hebrew) เป็นภาษากลุ่มเซมิติกในกลุ่มแอฟโร-เอเชียติก มีเอกลักษณ์ เนื่องจากว่าไบเบิลภาษาฮีบรูดั้งเดิม หรือโตราห์ (Torah) ที่ศาสนายูดาย (Judaism) ได้สอนไว้ว่าได้เขียนไว้ในสมัยของ โมเสส เมื่อ 3,300 ปีมาแล้ว เขียนเป็นภาษาฮีบรูคลาสสิก (Biblical หรือ Classical Hebrew) ชาวยิวได้เรียกภาษาฮีบรูว่าภาษาศักดิ์สิทธิ์ ("The Sacred Language" หรือ לשון הקודש Leshon ha-Kodesh: เลโชน ฮา-โกเดช) เนื่องจากคำจารึกที่เขียนเป็นภาษาฮีบรูถือว่าศักดิ์สิทธิ์ หลังจากเยรูซาเล็มถูกชาวบาบิโลนทำลายครั้งแรก 586 ปีก่อนคริสตกาล ผู้รู้ส่วนใหญ่เห็นว่า ภาษาฮีบรูชนิดที่ใช้ในไบเบิลถูกแทนที่ด้วยฮีบรูมิชนาอิก (Mishnaic) และภาษาอราเมอิกชนิดท้องถิ่น ในชีวิตประจำวัน หลังจากการหดหายของชาวยิวในบางส่วนของจูเดีย (Judea) ที่ชาวโรมันเข้าไปครอบครอง ภาษาฮีบรูเลิกใช้เป็นภาษาพูดราว ๆ พ.ศ. 743 แต่ยังคงเป็นภาษาเขียนที่สำคัญตลอดหลายศตวรรษ นอกจากจะใช้ในศาสนาแล้ว งานเขียนสำหรับวัตถุประสงค์อื่น ๆ เช่น จดหมาย วิทยาศาสตร์ ปรัชญา การแพทย์ บทกวี บันทึกศาล ล้วนใช้ภาษาฮีบรู ซึ่งได้เข้ากับวงความรู้และคำเฉพาะใหม่ ๆ โดยคำยืมและคำประดิษฐ์ใหม่
ภาษาฮีบรูได้กลับมาเป็นภาษาพูดอีกครั้งในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 เป็นภาษาฮีบรูปัจจุบัน ซึ่งแทนที่ภาษาต่าง ๆ ที่พูดโดยชาวยิวในสมัยนั้น เช่นภาษาอาหรับ ภาษาจูเดสโม (Judezmo, ภาษาลาดิโน Ladino ก็เรียก) ภาษายิดดิช ภาษารัสเซีย และภาษาอื่น ๆ ของชาวยิวที่อาศัยอยู่ต่างประเทศ เป็นภาษาของศาสนายิวส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่ในประเทศอิสราเอล
ภาษาฮีบรูปัจจุบันได้กลายเป็นภาษาราชการในปาเลสไตน์อังกฤษ (British Palestine) ในพ.ศ. 2464 และภาษาราชการหลักของประเทศอิสราเอล (ภาษาอาหรับยังคงเป็นภาษาราชการต่อไป) ชื่อในภาษาฮีบรูของภาษาฮีบรูคือ עברית, หรือ Ivrit (อ่านว่า "อิฝริต eev-REET" หรือ /iv.'rit/ ใน IPA)