ดาวเสาร์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพดาวเสาร์จากยานวอยเอเจอร์ 2 ถ่ายเมื่อ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2524 |
|||||||
ลักษณะเฉพาะของวงโคจร | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
จุดเริ่มยุค J2000 | |||||||
ระยะจุดไกลดวงอาทิตย์ที่สุด: | 1,503,983,449 กม. (10.05350840 หน่วยดาราศาสตร์) |
||||||
ระยะจุดใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด: | 1,349,467,375 กม. (9.02063224 หน่วยดาราศาสตร์) |
||||||
กึ่งแกนเอก: | 1,426,725,413 กม. (9.53707032 หน่วยดาราศาสตร์) |
||||||
เส้นรอบวงของวงโคจร: | 59.879 หน่วยดาราศาสตร์ | ||||||
ความเยื้องศูนย์กลาง: | 0.05415060 | ||||||
คาบดาราคติ: | 10,757.7365 วัน (29.45 ปีจูเลียน) |
||||||
คาบซินอดิก: | 378.09 วัน | ||||||
อัตราเร็วเฉลี่ยในวงโคจร: | 9.638 กม./วินาที | ||||||
อัตราเร็วสูงสุดในวงโคจร: | 10.182 กม./วินาที | ||||||
อัตราเร็วต่ำสุดในวงโคจร: | 9.136 กม./วินาที | ||||||
ความเอียง: | 2.48446° (5.51° กับระนาบศูนย์สูตรของดวงอาทิตย์) |
||||||
ลองจิจูดของจุดโหนดขึ้น: | 113.71504° | ||||||
ระยะมุมจุดใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด: | 338.71690° | ||||||
จำนวนดาวบริวาร: | 56[1] | ||||||
ลักษณะเฉพาะทางกายภาพ | |||||||
เส้นผ่านศูนย์กลางตามแนวศูนย์สูตร: | 120,536 กม. (9.449×โลก) |
||||||
เส้นผ่านศูนย์กลางตามแนวขั้ว: | 108,728 กม. (8.552×โลก) |
||||||
ความแป้น: | 0.09796 | ||||||
พื้นที่ผิว: | 4.27×1010 กม.² (83.703×โลก) |
||||||
ปริมาตร: | 7.46×1014 กม.³ (688.79×โลก) |
||||||
มวล: | 5.6846×1026 กก. (95.162×โลก) |
||||||
ความหนาแน่นเฉลี่ย: | 0.6873 กรัม/ซม.³ (น้อยกว่าน้ำ) | ||||||
ความโน้มถ่วงที่ศูนย์สูตร: | 8.96 เมตร/วินาที² (0.914 จี) |
||||||
ความเร็วหลุดพ้น: | 35.49 กม./วินาที | ||||||
คาบการหมุนรอบตัวเอง: | 0.4440092592 วัน (10 ชม. 39 นาที 22.40000 วินาที) |
||||||
ความเร็วการหมุนรอบตัวเอง: | 9.87 กม./วินาที (35,500 กม./ชม.) |
||||||
ความเอียงของแกน: | 26.73° | ||||||
ไรต์แอสเซนชันของขั้วเหนือ: | 40.59° (2 ชั่วโมง 42 นาที 21 วินาที) |
||||||
เดคลิเนชันของขั้วเหนือ: | 83.54° | ||||||
อัตราส่วนสะท้อน: | 0.47 | ||||||
อุณหภูมิ: | 93 K (ที่ยอดเมฆ) | ||||||
อุณหภูมิพื้นผิว: เคลวิน |
|
||||||
ลักษณะเฉพาะของบรรยากาศ | |||||||
ความดันบรรยากาศที่พื้นผิว: | 140 กิโลปาสกาล | ||||||
องค์ประกอบ: | >93% ไฮโดรเจน >5% ฮีเลียม 0.2% มีเทน 0.1% ไอน้ำ 0.01% แอมโมเนีย 0.0005% อีเทน 0.0001% ไฮโดรเจนฟอสไฟด์ |
ดาวเสาร์ เป็นตัวแทนของเทพแซทเทิร์น(Saturn) เทพแห่งการเพาะปลูกในตำนานของชาวโรมัน ส่วนในตำนานกรีกมีชื่อว่า โครนอส (Cronos) ซึ่งเป็นบิดาแห่งซูส (Zeus)เทพแห่งดาวพฤหัสบดี โดยดาวเสาร์เป็นดาวเคราะห์ ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 6 ที่ระยะทาง 1,433 ล้านกิโลเมตร จัดเป็นดาวเคราะห์แก๊ส มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองในระบบสุริยะรองจากดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์มีวงแหวนขนาดใหญ่ ที่ประกอบขึ้นจากก้อนหินที่มีน้ำแข็งปะปน สัญลักษณ์แทนดาวเสาร์ คือ ♄
[แก้] ลักษณะเฉพาะทางกายภาพ
ดาวเสาร์มีรูปร่างป่องออกตามแนวเส้นศูนย์สูตร ที่เรียกว่าทรงกลมแป้น (oblate spheroid) เส้นผ่านศูนย์กลางตามแนวขั้วสั้นกว่าตามแนวเส้นศูนย์สูตรเกือบ 10% เป็นผลจากการหมุนรอบตัวเองอย่างรวดเร็ว ดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ ก็มีลักษณะเป็นทรงกลมแป้นเช่นกัน แต่ไม่มากเท่าดาวเสาร์ ดาวเสาร์เป็นดาวเคราะห์เพียงดวงเดียวในระบบสุริยะ ที่มีความหนาแน่นเฉลี่ยน้อยกว่าน้ำ (0.70 กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร) อย่างไรก็ตาม บรรยากาศชั้นบนของดาวเสาร์มีความหนาแน่นน้อยกว่านี้ ขณะที่ที่แกนมีความหนาแน่นมากกว่าน้ำ วงแหวนของดาวเสาร์ประกอบไปด้วย เศษหินและน้ำแข็งขนาดเล็ก เรียงตัวอยู่ในระนาบเดียวกัน และวงแหวนของดาวเสาร์ก็ประกอบไปด้วย วงแหวนย่อยๆมากมาย ความจริงแล้ววงแหวนดาวเสาร์นั้นบางมาก โดยมีความหนาเฉลี่ยเพียง 500 กิโลเมตรเท่านั้น แต่เศษวัตถุในวงแหวนมีความสามารถในการสะท้อนแสงดี และกว้างกว่า 80,000 กิโลเมตร จึงสามารถสังเกตุได้จากโลก
ดาวเคราะห์: ดาวพุธ - ดาวศุกร์ - โลก - ดาวอังคาร - ดาวพฤหัสฯ - ดาวเสาร์ - ดาวยูเรนัส - ดาวเนปจูน
ดาวเคราะห์แคระ: ซีรีส - พลูโต - อีริส
อื่น ๆ: ดวงอาทิตย์ - ดวงจันทร์ - แถบดาวเคราะห์น้อย - ดาวหาง - แถบไคเปอร์ - เมฆออร์ต
[แก้] อ้างอิง
- ↑ Saturn: Moons - NASA
ดาวเสาร์ เป็นบทความเกี่ยวกับ ดาราศาสตร์ หรือ จักรวาลวิทยา ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับ ดาวเสาร์ ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ |